คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เจ้าของกระทู้ เข้าใจถูก ในบทว่า "ไผหนอมาแปลว่าห้ามเสียได้"
เวลาเราพูดว่า ศีลมีกี่ข้อๆ แต่ะละข้อๆมีอะไรบ้าง "ศีลข้อนี้ ห้ามฆ่าสัตว์" (เป็นต้น) การพูดอย่างนี้ เป็นภาษาพูด คือเว้นการอธิบายไป และมันเป็นเรื่องของการสื่อสารมวลชน ที่จะต้องใช้คำที่สั้นที่สุด และกินความที่ต้องการสื่อไว้มากที่สุด
ถ้าจะให้อธิบายเต็มๆอย่างนี้ ว่า:-- ศีลไม่ได้นับเป็นข้อๆนะ ที่นับเป็นข้อๆนั้นคือ สิกขาบท แปลว่า บทในการศึกษา และศีลก็ไม่ใช่บัญญัติข้อห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ที่แกะสลักไว้บนแท่นหิน ที่ใครๆจะละเมิดไม่ได้เพราะจะถูกลงโทษ แต่ศีลเป็นเรื่องของการศึกษา อธิสีลสิกขา เช่น ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ แปลว่า ฉันที่พูดอยู่นี้ ตั้งไว้ซึ่งบทในการศึกษาว่าเว้นจากการทำสัตว์มีปาณให้ตกล่วง นั่นหมายความว่า ฉันคนนี้ ที่ได้สมาทานบทนั้นไว้ ก็ต้องไปศึกษาดูว่า จะมีชีวิตอยู่อย่างไร โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์ โดยปกติ (ตัวอย่างเช่น ถ้าฉันไม่ต้องการฆ่ามดหนูแมลงสาบ ฉันก็จะต้องทำความสะอาดบ้าน และปิดรูรั่วต่างๆ หรือ ถ้าฉันไม่ต้องการฆ่าคน ฉันก็จะต้องหลีกเลี่ยงการทะเลาะต่างๆ และหลีกเลี่ยงสถานอโคจร ไม่เอาตัวเข้าไปในสถานการณ์ที่จะต้องมีการฆ่ากัน เป็นต้น) พูดง่ายๆ ถ้าฉันศึกษาสำเร็จ ฉันจะมีชีวิตที่ไม่ต้องฆ่าสัตว์ โดยเป็นปกติอยู่แล้ว คือไม่ต้องรู้สึกว่ามีการห้ามอะไร.
ถ้าจะให้อธิบายอย่างนี้ จะไม่สามารถสื่อสารกับมวลชนได้ การสื่อสารกับมวลชน จะต้องสั้นๆตรงๆ ไม่ซับซ้อน และจะต้องพูดให้คนที่ต่ำที่สุดฟังรู้เรื่อง หมายความว่า ไม่ต้องไปสนใจพวกที่คิดพิจารณาเองเป็น คนกลุ่มนี้เขาจะหาทางเข้ามาเองได้อยู่แล้ว แต่ให้คิดว่าจะต้องสื่อสารให้คนทีคิดไม่เป็นฟังรู้เรื่องที่สุดที่เขาจะรับได้ ดังนั้น พูดไปเลยว่า "ห้ามฆ่าสัตว์" จำไปเลยอย่างนี้.
อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด
ศีล5 สิกขาบทข้อที่5 สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา คือเว้นจากสุราเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท (ไม่ได้บอกว่าห้ามกินเหล้า)
ข้อเกี่ยวกับเหล้า ในมงคลสูตร (ที่เรียกกันว่ามงคล38) มีตัวบทว่า มชฺชปานา จ สญฺญโม แปลว่า ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา
สิกขาบทของภิกขุที่มีมาในพระวินัย ยกขึ้นว่า "สุราเมรยปาเน ปาจิตฺติยํ" // ไม่มีคำว่า "ปมาทฏฺฐานา" เหมือนกรณีศีล5 ข้อที่5
ทั้ง 3 บท ข้างต้น มีรายละเอียด มีแง่มุม ที่ต้องนั่งอธิบายว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งไม่สามารถ(ไม่ควร)นำมาพูดในที่สาธารณะในลักษณะทั่วไป. ในที่สาธารณะ ควรพูดไปเลยแบบแห้งๆแข็งๆ เป็นมิติเดียว จำไปเลยง่ายๆ ให้ท่องไปสอบเหมือนๆกันทุกคน ว่า "ห้ามกินเหล้า".
เจ้าของกระทู้ เข้าใจถูก ในบทว่า "ไผหนอมาแปลว่าห้ามเสียได้"
เวลาเราพูดว่า ศีลมีกี่ข้อๆ แต่ะละข้อๆมีอะไรบ้าง "ศีลข้อนี้ ห้ามฆ่าสัตว์" (เป็นต้น) การพูดอย่างนี้ เป็นภาษาพูด คือเว้นการอธิบายไป และมันเป็นเรื่องของการสื่อสารมวลชน ที่จะต้องใช้คำที่สั้นที่สุด และกินความที่ต้องการสื่อไว้มากที่สุด
ถ้าจะให้อธิบายเต็มๆอย่างนี้ ว่า:-- ศีลไม่ได้นับเป็นข้อๆนะ ที่นับเป็นข้อๆนั้นคือ สิกขาบท แปลว่า บทในการศึกษา และศีลก็ไม่ใช่บัญญัติข้อห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ที่แกะสลักไว้บนแท่นหิน ที่ใครๆจะละเมิดไม่ได้เพราะจะถูกลงโทษ แต่ศีลเป็นเรื่องของการศึกษา อธิสีลสิกขา เช่น ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ แปลว่า ฉันที่พูดอยู่นี้ ตั้งไว้ซึ่งบทในการศึกษาว่าเว้นจากการทำสัตว์มีปาณให้ตกล่วง นั่นหมายความว่า ฉันคนนี้ ที่ได้สมาทานบทนั้นไว้ ก็ต้องไปศึกษาดูว่า จะมีชีวิตอยู่อย่างไร โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์ โดยปกติ (ตัวอย่างเช่น ถ้าฉันไม่ต้องการฆ่ามดหนูแมลงสาบ ฉันก็จะต้องทำความสะอาดบ้าน และปิดรูรั่วต่างๆ หรือ ถ้าฉันไม่ต้องการฆ่าคน ฉันก็จะต้องหลีกเลี่ยงการทะเลาะต่างๆ และหลีกเลี่ยงสถานอโคจร ไม่เอาตัวเข้าไปในสถานการณ์ที่จะต้องมีการฆ่ากัน เป็นต้น) พูดง่ายๆ ถ้าฉันศึกษาสำเร็จ ฉันจะมีชีวิตที่ไม่ต้องฆ่าสัตว์ โดยเป็นปกติอยู่แล้ว คือไม่ต้องรู้สึกว่ามีการห้ามอะไร.
ถ้าจะให้อธิบายอย่างนี้ จะไม่สามารถสื่อสารกับมวลชนได้ การสื่อสารกับมวลชน จะต้องสั้นๆตรงๆ ไม่ซับซ้อน และจะต้องพูดให้คนที่ต่ำที่สุดฟังรู้เรื่อง หมายความว่า ไม่ต้องไปสนใจพวกที่คิดพิจารณาเองเป็น คนกลุ่มนี้เขาจะหาทางเข้ามาเองได้อยู่แล้ว แต่ให้คิดว่าจะต้องสื่อสารให้คนทีคิดไม่เป็นฟังรู้เรื่องที่สุดที่เขาจะรับได้ ดังนั้น พูดไปเลยว่า "ห้ามฆ่าสัตว์" จำไปเลยอย่างนี้.
อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด
ศีล5 สิกขาบทข้อที่5 สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา คือเว้นจากสุราเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท (ไม่ได้บอกว่าห้ามกินเหล้า)
ข้อเกี่ยวกับเหล้า ในมงคลสูตร (ที่เรียกกันว่ามงคล38) มีตัวบทว่า มชฺชปานา จ สญฺญโม แปลว่า ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา
สิกขาบทของภิกขุที่มีมาในพระวินัย ยกขึ้นว่า "สุราเมรยปาเน ปาจิตฺติยํ" // ไม่มีคำว่า "ปมาทฏฺฐานา" เหมือนกรณีศีล5 ข้อที่5
ทั้ง 3 บท ข้างต้น มีรายละเอียด มีแง่มุม ที่ต้องนั่งอธิบายว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งไม่สามารถ(ไม่ควร)นำมาพูดในที่สาธารณะในลักษณะทั่วไป. ในที่สาธารณะ ควรพูดไปเลยแบบแห้งๆแข็งๆ เป็นมิติเดียว จำไปเลยง่ายๆ ให้ท่องไปสอบเหมือนๆกันทุกคน ว่า "ห้ามกินเหล้า".
แสดงความคิดเห็น
เอาจริงๆคำว่า "สิกขาปะทัง สมาธิยามิ" เอากันตรงๆตัว แปลว่าอะไรครับ
ปะทัง แปลว่า รักษา เช่นปะทังชีวิต อันนี้มั่วครับ
สมาธิ แปลว่า อย่างต่อเนื่อง ตั้งใจ มั่วเช่นกัน
ยามิ อันนี้ไม่รู้
แปลมั่วๆได้ว่า รักษาการศึกษาอย่างต่อเนื่องในเรื่อง " สมมุติการกินของเมา " ฟังดูน่ารักจังเลยครับ คือไม่ได้ห้ามนะ แต่ให้ศึกษาอย่างต่อเนื่องและอดทน แจกแจงข้อดีข้อเสีย ไผหนอมาแปลว่าห้ามเสียได้ อันนี้ผมมั่วเช่นกัน
จึงถามผู้รู้โดนพลันว่าแปลกันจริงๆ ศีลห้าที่เราท่องๆกันอยู่เนี่ย มันแปลจริงๆว่ากระไรเอาเรียงคำเลยนะครับ ถามด้วยไม่รู้ครับ