ข่วยอธิบายหลักการ Time dilation ระหว่างสัมพัทธภาพพิเศษ กับ สัมพัทธภาพทั่วไป คำถามคือ .....

ตามหลักแล้ว ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ต่างคนต่างมองเห็นอีกฝ่ายเวลาช้าลง (เราจะรู้สึกว่าเราอยู่นิ่ง แต่อีกฝ่ายต่างหากที่เคลื่อนที่) แต่เมื่อหยุดการเดินทางแล้วมาเจอกัน ก็เวลาเท่ากัน ไม่ได้แก่หนุ่มไปกว่ากัน

ต่างจากสัมพัทธภาพทั่วไปที่เวลาของคนที่อยู่ในสนามโน้มถ่วงสูงจะเดินช้ากว่าอย่างแท้จริง พอมาเจอกันจะพบว่าคนที่เดินทางไปสนามโน้มถ่วงสูงจะแก่กว่า  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นครับ ทำไมไม่มีผลเหมือนสัมพัทธภาพพิเศษที่ต่างคนต่างเห็นว่าเวลาอีกฝ่ายช้าลง

ตอนไอน์สไตน์สร้างสัมพัทธภาพทั่วไป เขาก็เริ่มจากการมองภาพว่า เขาอยู่ในกรอบเล็ก ๆ ที่มีช่องหน้าต่าง แล้วตกอย่างอิสระลงมาสู่พื้นโลก นั่นคือยิ่งตกใกล้โลกมากก็ยิ่งมีความเร็วมาก (มากกว่าจุดที่อยู้ห่างจากโลกหรือจุดที่อยู่สูงกว่า) ทำให้สังเกตเวลาของจุดที่อยู่ใกล้โลกช้ากว่าเวลาของจุดที่อยู่สูงกว่า (ตามการคำนวณจากทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ) แล้วก็เป็นที่มาของข้อสรุปที่บอกว่าในสนามโน้มถ่วงที่มากกว่า (ใกล้โลกมากกว่า) เวลาจะเดินช้ากว่า หลังจากนั้นเขาก็เรียนรู้เทนเซอร์แคลคูลัสเพื่อสร้างสมการทางคณิตศาสตร์มาอธิบายภาพจินตนาการดังกล่าว ............. จะเห็นว่าตอนเขาจุดประกายความคิดด้วยภาพดังกล่าว มันก็ไปเชื่อมโยงกับสัมพัทธภาพพิเศษนะ ที่บอกว่าต่างคนต่างเห็นว่าเวลาของอีกฝ่ายเดินช้ากว่า แต่เมื่อหยุดมาอยู่ในกรอบเดียวกัน ก็เวลาเท่ากัน ไม่มีใครแก่กว่าใคร แต่ทำไมเมื่อพัฒนาจนเป็นสัมพัทธภาพทั่วไปสำเร็จแล้ว สมการสนามกลับบอกว่า คนที่อยู่ในสนามโน้มถ่วงสูงกว่าจะแก่กว่า (เวลาเดินช้ากว่า) อย่างแท้จริง ไม่ใช่แบบต่างคนต่างมองแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่