โดน Bank สีเขียวหลอกให้ทำประกัน ซื่อ หรือโง่ ใช่มั๊ยที่เชื่อใจธนาคาร

ดิฉันเป็นแม่ค้าขายของอยู่แถวประตูน้ำรายได้ก็แล้วแต่สภาพเศรษฐกิจมากบ้างน้อยบ้าง ก็พยายามอดออมเก็บเล็กผสมน้อยฝากธนาคารไว้เผื่อยามฉุกเฉินส่วนนึงก็ได้ทำประกันทั้งแบบฝากเงิน และ สุขภาพไว้กับบริษัทประกันหลายกรรมธรรม์จนคิดว่าเพียงพอกับความต้องการแล้ว จึงกันเงินส่วนนึงไว้สำหรับฝากเพื่อฉุกเฉิน แรกๆก็ฝากในบัญชีออมทรัพย์ ช่วงหลังๆเจ้าหน้าที่ธนาคารก็แนะนำให้ฝากในกองทุนบ้าง ฝากประจำบ้างเพื่อให้ได้ดอกมากขึ้นดิฉันก็ทำตามคำแนะนำตลอด ทำแบบนี้อยู่หลายปีจนได้เงินมาก้อนนึง
เมื่อกลางเดือนสิงหาคม ดิฉันได้เข้าไปแบงค์กสิกรเพื่อที่จะไปซื้อกองทุนของทางธนาคาร เนื่องด้วยดิฉันมีกองทุนของธนาคารอยู่แล้ว และเห็นว่าดอกเบี้ยได้มากกว่าการฝากประจำ เป็นกองทุนสั้นๆระยะเวลา6เดือนหรือ1ปี พอดีดิฉันมีเงินฝากทวีสิน ของทางแบงค์ระยะเวลา2ปีหักบัญชีทุกเดือน25,000 ได้ครบกำหนดแล้ว วันนั้นดิฉันได้ไปปิดบัญชีทวีสิน ซึ่งได้เงินต้น600,000พร้อมดอกเบี้ยเกือบ3หมื่น ดิฉันก็เลยแจ้งพนักงานว่า. ดิฉันต้องการซื้อกองทุนของธนาคาร ระยะเวลา1ปี(เนื่องด้วยเคยมีอยู่แล้วแลัวและเห็นว่าดอกเบี้ยดีประมาณ3%). จึงแจ้งพนักงานแบงค์ไปว่าจะซื้อตัวนี้
. แต่เจ้าหน้าที่กลับแนะนำว่า "พี่ตัวนี้ดอกมันน้อยนะ ได้2%กว่าๆเองตอนนี้ ไม่เหมือนตอนก่อนที่ซื้อ" เอาเป็นตัวอื่นแทนมั้ยดอกดีกว่านี้นะ
"มีแบบไหนก็ลองเสนอมา" ดิฉันพูดไป
น้องเค้าบอกพี่ลองฝากเงินตัวนี้ดีกว่า ส่งปีล่ะ150,000/ปี ส่งแค่4ปีเอง ดอกเบี้ยได้ทุก2ปีเกือบ3หมืนแน่ะ
ดิฉันนั่งคำนวนในใจ (เออดอกดีกว่าจริงแหะ)
น้องเค้าก็เลยแนะนำว่าพี่ฝากแบบนี้ซักแสน-2แสนมั้ยส่วนที่เหลือก็ซื้อกองทุนไประยะเวลา1ปี  คำนวนให้เสร็จ
ไอ้เราก็เลยถามมกลับไปว่า ส่งเป็นแสน เด๋วถึงเวลาไม่มีจ่ายล่ะไม่แย่เหรอ
น้องเค้าก็บอกว่าเด๋วพอถึงดิวจ่ายพี่ก็เอาเงินกองทุนไปจ่ายซิ โยกเงินไง เงินต้น600,000ก็ยังอยู่ได้ดอกดีกว่าด้วย
(เวลานั้นคือคล้อยตามมากๆ) พอถึง4ปีพี่ก็ไม่ต้องจ่ายแล้ว กินดอกตลอดทุก2ปี
ดิฉันก็ถามน้องเค้าว่า ว่าถ้าครบ4ปีแล้วถอนได้ใช้มั้ย?
น้องเค้าก็ยังยืนยันว่าได้ค่ะหรือจะไม่ถอนก็ได้กินดอกไปเรื่อยๆ
ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าเด๋ว4ปีถอนได้ เออ!!!เอาก็เอาสั้นๆเองแค่4ปีเอง แล้วก็ไม่ได้จ่ายอะไรเพิ่มมันเป็นการโยกเงินเองต้น600,000คงอยู่แถม4ปีมีดอกอีก60,000 ก็เลยคิดว่าน่าสนใจน้องเค้าให้เซ็นต์เอกสารเลย ดิฉันก็พลาดเองที่ไม่ได้อ่านรายละเอียด เพราะด้วยความเชื่อใจในตัวเจ้าหน้าที่ธนาคารจริงๆ
และคิดว่าน้องเค้าคงชี้แจงข้อมูลให้ฟังครบถ้วนแล้ว ประกอบกับทิ้งร้านมานานแล้ว จะต้องรีบกลับเลยเซ็นต์เอกสารให้ไป
อีก2อาทิตย์ถัดมาดิฉันก็ได้เล่มจากเมืองไทยประกันชีวิต ก็รู้สึกแปลกใจเหมือนกันแต่ด้วยมีความเชื่อใจใน"กสิกร"เลยไม่ได้เปิดดู
จนเมื่อวาน14/11 ดิฉันต้องการจะซื้อบ้านเลยไปติดต่อฝ่ายสินเชื่อของธนาคาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อสอบถามถึง ทรัพย์สินและภาระต่างๆจึงเล่าเรื่องนี้ให้เค้าฟัง น้องเค้าเลยบอกมาว่าน่าจะเข้าใจผิดแล้ว ตัวนี้ถ้า 4 ปีถอนคืนจะได้เงินไม่ครบ แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นประกันแบบไหน
พอกลับบ้านลองเปิดดู อุต๊ะ!!!!!!!เนี่ยมันประกันชีวิตนี่นา แบบ4/80 ส่ง4ปีไปรับเงินคืนตอนอายุ80
อุวะ!!!ดิฉันอายุ38ปี รออีก42ปีถึงจะได้เงินคืน 4ปีที่น้องบอกว่าถอนได้มันถอนได้ 367/1000 อ่ะ
คิดคร่าวๆถ้าฉันถอนตอน4ปีจะได้คืนตอนนั้น 3แสนกว่า ส่งไป600,000ได้คืนเท่านี้????
บอกตรงๆว่าโกรธมาก เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่ตั้งใจจะทำ ดิฉันตั้งใจเก็บเงินก้อนนี้ไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน พ่อแม่ เจ็บป่วยจะได้ไม่เดือดร้อน
แต่ธนาคารทำแบบนี้ไม่เห็นใจลูกค้าเลย ดิฉันเป็นแม่ค้ากว่าจะขายของได้กำไรแต่ละบาท เหนื่อยมากก็ต้องอดทนและพยายามอดออมให้ได้มากที่สุด
ที่ที่ไว้ใจที่สุดที่จะดูแลเงินเราคือธนาคาร แต่ธนาคารมาทำแบบนี้ในความรู้สึกตอนนี้คือมันแย่มาก
ดิฉันไม่สามารถรอใช้เงินตอนอายุ 80 ปีได้ ถ้าแม่ หรือ คนในครอบครัวดิฉันเจ็บป่วย หรือ มีความจำเป็นอื่นที่ต้องใช้เงินขึ้นมา
ต้องรอ อีก 42 ปี หรือเปล่า
อยากจะสอบถามเพื่อนๆในพันทิพย์ว่า เคสนี้จะทำยังไงได้บ้างคะ ถ้าธนาคารจะขายประกันดิฉันก็ไม่ได้ว่านะคะ แต่เจ้าหน้าที่ควรให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่สร้างความเข้าใจผิดแบบนี้ และควรเสนอแบบประกันที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าหรือเปล่า
หรือคิดว่าถ้าบอกว่าประกันแล้วจะไม่มีคนทำ เลยต้องเลี่ยงมาบอกว่า ฝากเงิน ออมเงิน ลงทุน เคยคิดย้อนกลับมั๊ยว่าทำไมคนถึงเบื่อประกัน
มันเกิดจากความเห็นแก่ได้ของคนขายไง ที่ทำให้คนเค้าเบื่อคำว่าประกัน ตอนนี้ถ้าธนาคารยังทำแบบนี้ อีกหน่อยคนทั่วไปคงจะกลัว การฝากเงินแล้วล่ะ
ใครมีความรู้รบกวนช่วยหน่อยนะคะ ตั้งแต่เมื่อคืนเครียดจนนอนไม่หลับ ไม่รู้จะทำยังไงเพราะนี่คือเงินก้อนเดียวที่ดิฉันมีอยู่ตอนนี้จริงๆ
ขอบคุณที่เสียเวลาอ่านค่ะ พิมพ์ผิดบ้างขออภัยนะคะ อาจจะตรวจไม่ละเอียด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่