คำว่า "ธรรมกาย" ในนิกายเถรวาท

"ธรรมกาย" ในทางนิกายเถรวาท

นิกายเถรวาท
หมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด
ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี คำว่าธรรมกายในนิกายเถรวาทนั้น มีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลายนัยยะ
เช่น พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่าธรรมกาย  หมายถึง


    “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)
หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา
เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฏ
เปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; พรหมกาย หรือพรหมภูต ก็เรียก;


“กองธรรม” หรือ“ชุมนุมแห่งธรรม” ธรรมกายย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์
ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคาให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน
ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี  เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า

“ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ... รูปกายของพระองค์นี้
หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”;
สรุปตามนัยอรรถกถา ธรรมกาย ในความหมายนี้ ก็คือโลกุตตรธรรม ๙ หรืออริยสัจจ์[1]



พุทธศาสนาเถรวาทจึงกล่าวถึงกายของพระพุทธเจ้าไว้เป็น 2 นัย คือ

รูปกาย คือ กายที่เป็นมนุษย์ธรรมดาเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ และเสื่อมสลายเมื่อถึงกาลอันควร
ธรรมกาย หรือ กายธรรม คือ พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งดำรงอยู่โดยไม่ขึ้นกับกาลเวลา



-----------------------------

คัดลอกบางส่วนจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่