หลังจากดู
Shirobako ตอนล่าสุดแล้ว ก็อยากเขียนถึงอนิเมเตอร์ในตำนานคนนี้เสียหน่อยครับ
ในเรื่องชิโรบาโกะตอนที่ 5 ธีมหลักของตอนคือเรื่องการแตกต่างทางความคิดของอนิเมเตอร์แบบดั้งเดิมกับ 3Dอนิเมเตอร์ ในเรื่องความสวยงานทางศิลป์ ความรวดเร็วในการทำงาน และความรู้สึกถูกคุกคามทางอาชีพของอนิเมเตอร์แบบเก่าในโลกอนิเมยุคใหม่
ถึงปัญหาการสื่อสารจะเป็นต้นเหตุของปัญหาในตอนนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงผลักดันให้เกิดปัญหาคือความรู้สึกข้างต้น
เรื่องได้นำผู้ควบคุมอนิเมชั่นเอนโดะที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้เทคนิค 3D เข้ามาเผชิญหน้ากับความเป็นจริงคือแขกรับเชิญซึ่งเป็นอนิเมเตอร์รุ่นพี่ ที่ปัจจุบันนอกจากงานอนิเมชั่นแล้วยังรับสอนเทคนิคการรวม 3D เข้ากับเทคนิคอนิเมชั่นแบบดั้งเดิมเพื่อพัฒนาวงการอนิเมต่อไป
ซึ่งตัวละครนี้ มีต้นแบบมาจากอนิเมเตอร์นาม
อิตาโนะ อิจิโร่
ถ้าใครอ่านกันดั้มโซเซย์คงจะนึกออกทันที (สำหรับคนที่ไม่เคยอ่าน ประวัติฉบับขยายความเพื่อความบันเทิงของคุณอิตาโนะ สามารถหาอ่านได้ในการ์ตูนเรื่อง Gundam Sousei ตอนที่ 19)
สำหรับคนที่ไม่รู้จัก คุณอิตาโนะเป็นอนิเมเตอร์มือฉมังที่คิดการเคลื่อนไหวเท่ๆ หลายอย่างตั้งแต่ยุค 70 โดยเฉพาะฉากต่อสู้ในอนิเมไซไฟอวกาศเรื่องดังๆ โดยเฉพาะมาครอส ถ้าผู้กำกับอยากได้ฉากแบบนี้ก็จะเชิญคุณอิตาโนะมาวาดซีนนั้นเลยทีเดียว
แต่นอกจากจะเป็นผู้พัฒนาเทคนิคการซีนแอคชั่นแล้ว คุณอิตาโนะยังเป็นผู้ปฏิวัติรูปแบบการอนิเมชั่นอีกด้วย
ขออธิบายถึงอนิเมในยุค 60 - 70 วิธีกำกับฉากต่อสู้ในยุคนั้นจะเป็นการเอาซีนการกระทำและบทพูดมาเรียงต่อกัน โดยมุมกล้องจะขยับไปเพียงทางซ้ายขวาอยู่ให้ความรู้สึกว่าเป็นภาพสองมิติฉายบนจอ
เพื่อให้เข้าใจง่าย ขอใช้ฉากสู้ของกันดั้มตอนแรกที่ฉายในปี 1979 เป็นตัวอย่าง
ซึ่งภายหลังคุณอิตาโนะมีส่วนร่วมในกันดั้มช่วงท้ายภาคแรกและฉบับภาพยนตร์ ก็ได้พัฒนารูปแบบคิวบู๊ขึ้นมาใหม่ โดยการขยับวัตถุในฉากให้มีระยะใกล้ไกลเหมือนการเคลื่อนไหวจริง หรือการขยับกล้องเข้าออกให้รู้สึกถึงมิติของวัตถุ
ตามที่เห็นได้จากกันดั้มฉบับภาพยนตร์ตอนที่สามที่ฉายในปี 1981
นอกจากเทคนิคมุมกล้องแล้ว คุณอิตาโนะยังได้พัฒนารูปแบบการเคลื่อนไหวของอนิเมชั่นที่รวดเร็วขึ้นอย่างฉากฟันเนลในกันดั้มเดอะมูฟวี่ ฉากระเบิดที่สมจริงยิ่งขึ้น ความสำเร็จในกันดั้มภาคแรกนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งเพราะเทคนิคของคุณอิตาโนะที่ทำให้ฉากต่อสู้ดูดุดันสมจริงยิ่งขึ้น
และการคิดค้นที่ทำให้ชื่อของอิตาโนะเป็นที่รู้จักที่สุด "ฉากถล่มมิสไซล์ของมาครอส" ที่กลายเป็นท่าบังคับของมาครอสทุกภาคจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากหาของภาคแรกไม่ได้ จึงขอใช้ของภาคฟรอนเทียร์แทน
ภายหลังเทคนิคฉากแอคชั่นของคุณอิตาโนะได้ถูกเรียกอย่างให้เกียรติว่า "ละครสัตว์ของอิตาโนะ" เป็นการเปรียบเทียบฉากแอคชั่นที่เหมือนการแสดงโชว์ละครสัตว์สุดตื่นตาตื่นใจ นับว่าเป็นคำเปรียบเทียบที่ถูกต้องอย่างมาก
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้นั้น คุณอิตาโนะไม่ใช่อนิเมเตอร์ที่นั่งอยู่หน้าโต๊ะไฟแล้วมโนฉากอนิเมชั่นขึ้นมา คุณอิตาโนะเป็นคนที่รักในการศึกษาวิจัยอย่างมาก ในมังงะเรื่องกันดั้มโซวเซย์มีฉากที่คุณอิตาโนะไปยืนสเก็ตตึกที่กำลังถูกรื้อถอนเพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวของฝุ่นควันนั้นไม่ได้เกินจริงเลย เมื่อปี 2002 คุณอิตาโนะในวัย 43 ปี อยู่ในตำแหน่งผู้กำกับเอฟเฟคของเรื่อง Macross Zero นั้นมีฉากที่ตัวเอกในเรื่องทำการสู้รบด้วยเครื่องบินรบในโลกทั้งหมดต่างจากภาคอื่นๆ เพื่อให้เข้าใจถึงความกดดันแรง G เนื่องจากหาผู้เชี่ยวชาญในญี่ปุ่นไม่ได้ คุณอิตาโนะและผู้กำกับคาวาโมริจึงดั้นด้นไปถึง NASA หานักบินทดสอบที่จะสอนเรื่องแรง G และเมื่อการสอนด้วยภาษาอังกฤษไม่เป็นผล คุณอิตาโนะจึงขึ้นไปรับแรง G ด้วยร่างกายของตัวเอง
ผลคือคุณอิตาโนะสลบคาแรงกด 6G และฉากรบเครื่องบินรบที่สมจริงใน Macross Zero
นอกจากความทุ่มเทในการทำงาน คุณอิตาโนะยังเป็นอนิเมเตอร์ที่ทุ่มเทให้กับวงการอนิเมมาก คุณอิตาโนะไม่เคยก้าวออกจากตำแหน่งอนิเมเตอร์ไปเป็นผู้กำกับเช่นเดียวกับอนิเมเตอร์รุ่นเดียวกันคนอื่นๆ ด้วยความคิดว่าหน้าที่กำกับนั้นเขาไม่สามารถฝึกฝนและแสดงฝีมือออกมาได้เต็มที่เท่าตำแหน่งอนิเมเตอร์
นอกจากนี้แม้จะเป็นอนิเมเตอร์ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจวาดฉากแอคชั่นออกมาอย่างสวยงาม คุณอิตาโนะก็ไม่ได้ปิดรับสิ่งใหม่ๆ อย่างเทคนิคอนิเมชั่นด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิค คุณอิตาโนะให้ความเห็นเกี่ยวการการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคว่าช่วยลดแรงงานและเวลาที่อนิเมเตอร์ต้องใช้ โดยยังสามารถคงสิ่งที่อนิเมเตอร์ต้องการสื่อสารออกมาได้มากกว่าอนิเมชั่นแบบดั้งเดิมต้องใช้ทั้งแรงกายและเวลา อย่างเช่นอย่างฉากรบ Macross Zero ข้างต้นก็เป็นหนึ่งในนั้น
การใช้ตัวแทนคุณอิตาโนะบอกเล่าถึงจุดเปลี่ยนผ่านของวงการอนิเมชั่น จึงช่วยสร้างน้ำหนักให้บทสนทนาสำคัญของชิโรบาโกะตอน 5 ได้อย่างดี
เพื่ออยู่ในวงการ ได้ทำงานกับอนิเมที่รักต่อไป จงเรียนรู้ให้มากขึ้น นั้นคือสิ่งที่ผู้กำหับต้องการสื่อออกมา
หวังว่าบทความนี้ และอนิเมชั่นเรื่อง
Shirobako จะทำให้ทุกท่านเข้าใจถึงการสร้างอนิเมมากขึ้นนะครับ
ขอปิดท้ายด้วยภาพคุณอิตาโนะฉบับการ์ตูนจากมังงะกัมดั้มโซวเซย์ คลิปรวมผลงานที่ได้รับการขนานนามว่า "ละครสัตว์ของอิตาโนะ"
It's the Circus
==============================
กระทู้ก่อนหน้า
มารู้จักคนในวงการอนิเมะกันเถอะ: Ubukata Tow
มารู้จักบุคคลในวงการอนิเมะกันเถอะ: ฉบับภาคผนวก Shirobako ตอน 5 - Itano Ichiro
หลังจากดู Shirobako ตอนล่าสุดแล้ว ก็อยากเขียนถึงอนิเมเตอร์ในตำนานคนนี้เสียหน่อยครับ
ในเรื่องชิโรบาโกะตอนที่ 5 ธีมหลักของตอนคือเรื่องการแตกต่างทางความคิดของอนิเมเตอร์แบบดั้งเดิมกับ 3Dอนิเมเตอร์ ในเรื่องความสวยงานทางศิลป์ ความรวดเร็วในการทำงาน และความรู้สึกถูกคุกคามทางอาชีพของอนิเมเตอร์แบบเก่าในโลกอนิเมยุคใหม่
ถึงปัญหาการสื่อสารจะเป็นต้นเหตุของปัญหาในตอนนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงผลักดันให้เกิดปัญหาคือความรู้สึกข้างต้น
เรื่องได้นำผู้ควบคุมอนิเมชั่นเอนโดะที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้เทคนิค 3D เข้ามาเผชิญหน้ากับความเป็นจริงคือแขกรับเชิญซึ่งเป็นอนิเมเตอร์รุ่นพี่ ที่ปัจจุบันนอกจากงานอนิเมชั่นแล้วยังรับสอนเทคนิคการรวม 3D เข้ากับเทคนิคอนิเมชั่นแบบดั้งเดิมเพื่อพัฒนาวงการอนิเมต่อไป
ซึ่งตัวละครนี้ มีต้นแบบมาจากอนิเมเตอร์นาม อิตาโนะ อิจิโร่
ถ้าใครอ่านกันดั้มโซเซย์คงจะนึกออกทันที (สำหรับคนที่ไม่เคยอ่าน ประวัติฉบับขยายความเพื่อความบันเทิงของคุณอิตาโนะ สามารถหาอ่านได้ในการ์ตูนเรื่อง Gundam Sousei ตอนที่ 19)
สำหรับคนที่ไม่รู้จัก คุณอิตาโนะเป็นอนิเมเตอร์มือฉมังที่คิดการเคลื่อนไหวเท่ๆ หลายอย่างตั้งแต่ยุค 70 โดยเฉพาะฉากต่อสู้ในอนิเมไซไฟอวกาศเรื่องดังๆ โดยเฉพาะมาครอส ถ้าผู้กำกับอยากได้ฉากแบบนี้ก็จะเชิญคุณอิตาโนะมาวาดซีนนั้นเลยทีเดียว
แต่นอกจากจะเป็นผู้พัฒนาเทคนิคการซีนแอคชั่นแล้ว คุณอิตาโนะยังเป็นผู้ปฏิวัติรูปแบบการอนิเมชั่นอีกด้วย
ขออธิบายถึงอนิเมในยุค 60 - 70 วิธีกำกับฉากต่อสู้ในยุคนั้นจะเป็นการเอาซีนการกระทำและบทพูดมาเรียงต่อกัน โดยมุมกล้องจะขยับไปเพียงทางซ้ายขวาอยู่ให้ความรู้สึกว่าเป็นภาพสองมิติฉายบนจอ
เพื่อให้เข้าใจง่าย ขอใช้ฉากสู้ของกันดั้มตอนแรกที่ฉายในปี 1979 เป็นตัวอย่าง
ซึ่งภายหลังคุณอิตาโนะมีส่วนร่วมในกันดั้มช่วงท้ายภาคแรกและฉบับภาพยนตร์ ก็ได้พัฒนารูปแบบคิวบู๊ขึ้นมาใหม่ โดยการขยับวัตถุในฉากให้มีระยะใกล้ไกลเหมือนการเคลื่อนไหวจริง หรือการขยับกล้องเข้าออกให้รู้สึกถึงมิติของวัตถุ
ตามที่เห็นได้จากกันดั้มฉบับภาพยนตร์ตอนที่สามที่ฉายในปี 1981
นอกจากเทคนิคมุมกล้องแล้ว คุณอิตาโนะยังได้พัฒนารูปแบบการเคลื่อนไหวของอนิเมชั่นที่รวดเร็วขึ้นอย่างฉากฟันเนลในกันดั้มเดอะมูฟวี่ ฉากระเบิดที่สมจริงยิ่งขึ้น ความสำเร็จในกันดั้มภาคแรกนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งเพราะเทคนิคของคุณอิตาโนะที่ทำให้ฉากต่อสู้ดูดุดันสมจริงยิ่งขึ้น
และการคิดค้นที่ทำให้ชื่อของอิตาโนะเป็นที่รู้จักที่สุด "ฉากถล่มมิสไซล์ของมาครอส" ที่กลายเป็นท่าบังคับของมาครอสทุกภาคจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากหาของภาคแรกไม่ได้ จึงขอใช้ของภาคฟรอนเทียร์แทน
ภายหลังเทคนิคฉากแอคชั่นของคุณอิตาโนะได้ถูกเรียกอย่างให้เกียรติว่า "ละครสัตว์ของอิตาโนะ" เป็นการเปรียบเทียบฉากแอคชั่นที่เหมือนการแสดงโชว์ละครสัตว์สุดตื่นตาตื่นใจ นับว่าเป็นคำเปรียบเทียบที่ถูกต้องอย่างมาก
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้นั้น คุณอิตาโนะไม่ใช่อนิเมเตอร์ที่นั่งอยู่หน้าโต๊ะไฟแล้วมโนฉากอนิเมชั่นขึ้นมา คุณอิตาโนะเป็นคนที่รักในการศึกษาวิจัยอย่างมาก ในมังงะเรื่องกันดั้มโซวเซย์มีฉากที่คุณอิตาโนะไปยืนสเก็ตตึกที่กำลังถูกรื้อถอนเพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวของฝุ่นควันนั้นไม่ได้เกินจริงเลย เมื่อปี 2002 คุณอิตาโนะในวัย 43 ปี อยู่ในตำแหน่งผู้กำกับเอฟเฟคของเรื่อง Macross Zero นั้นมีฉากที่ตัวเอกในเรื่องทำการสู้รบด้วยเครื่องบินรบในโลกทั้งหมดต่างจากภาคอื่นๆ เพื่อให้เข้าใจถึงความกดดันแรง G เนื่องจากหาผู้เชี่ยวชาญในญี่ปุ่นไม่ได้ คุณอิตาโนะและผู้กำกับคาวาโมริจึงดั้นด้นไปถึง NASA หานักบินทดสอบที่จะสอนเรื่องแรง G และเมื่อการสอนด้วยภาษาอังกฤษไม่เป็นผล คุณอิตาโนะจึงขึ้นไปรับแรง G ด้วยร่างกายของตัวเอง
ผลคือคุณอิตาโนะสลบคาแรงกด 6G และฉากรบเครื่องบินรบที่สมจริงใน Macross Zero
นอกจากความทุ่มเทในการทำงาน คุณอิตาโนะยังเป็นอนิเมเตอร์ที่ทุ่มเทให้กับวงการอนิเมมาก คุณอิตาโนะไม่เคยก้าวออกจากตำแหน่งอนิเมเตอร์ไปเป็นผู้กำกับเช่นเดียวกับอนิเมเตอร์รุ่นเดียวกันคนอื่นๆ ด้วยความคิดว่าหน้าที่กำกับนั้นเขาไม่สามารถฝึกฝนและแสดงฝีมือออกมาได้เต็มที่เท่าตำแหน่งอนิเมเตอร์
นอกจากนี้แม้จะเป็นอนิเมเตอร์ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจวาดฉากแอคชั่นออกมาอย่างสวยงาม คุณอิตาโนะก็ไม่ได้ปิดรับสิ่งใหม่ๆ อย่างเทคนิคอนิเมชั่นด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิค คุณอิตาโนะให้ความเห็นเกี่ยวการการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคว่าช่วยลดแรงงานและเวลาที่อนิเมเตอร์ต้องใช้ โดยยังสามารถคงสิ่งที่อนิเมเตอร์ต้องการสื่อสารออกมาได้มากกว่าอนิเมชั่นแบบดั้งเดิมต้องใช้ทั้งแรงกายและเวลา อย่างเช่นอย่างฉากรบ Macross Zero ข้างต้นก็เป็นหนึ่งในนั้น
การใช้ตัวแทนคุณอิตาโนะบอกเล่าถึงจุดเปลี่ยนผ่านของวงการอนิเมชั่น จึงช่วยสร้างน้ำหนักให้บทสนทนาสำคัญของชิโรบาโกะตอน 5 ได้อย่างดี
เพื่ออยู่ในวงการ ได้ทำงานกับอนิเมที่รักต่อไป จงเรียนรู้ให้มากขึ้น นั้นคือสิ่งที่ผู้กำหับต้องการสื่อออกมา
หวังว่าบทความนี้ และอนิเมชั่นเรื่อง Shirobako จะทำให้ทุกท่านเข้าใจถึงการสร้างอนิเมมากขึ้นนะครับ
ขอปิดท้ายด้วยภาพคุณอิตาโนะฉบับการ์ตูนจากมังงะกัมดั้มโซวเซย์ คลิปรวมผลงานที่ได้รับการขนานนามว่า "ละครสัตว์ของอิตาโนะ"
It's the Circus
==============================
กระทู้ก่อนหน้า
มารู้จักคนในวงการอนิเมะกันเถอะ: Ubukata Tow