ในที่สุดก็มีการแสดงท่าทีชัดเจน ออกมาล่วงหน้าจากฝ่ายอัยการสูงสุดว่าจะ “ไม่สั่งฟ้อง” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในคดีอาญาจากกรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตทุกขั้นตอน สร้างความเสียหายให้แก่รัฐมูลค่าไม่น้อยกว่า 7 แสนล้านบาท
ท่าทีดังกล่าวรับรู้ได้จากการเปิดเผยของ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ ในฐานะโฆษกสำนักอัยการสูงสุด ที่ระบุว่าการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กับตัวแทนของสำนักงานอัยการฯ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน “จะเป็นเพียงแค่การพิจารณาถึงเรื่องความไม่สมบูรณ์ของสำนวน ที่ทางอัยการเห็นว่ายังมีพยานหลักฐานไม่สมบูรณ์ครบถ้วน ไม่ใช่เป็นการสรุปว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง”
ออกมาแบบนี้ก็ชัดเจนว่า “ยื้อ” และในที่สุดก็จะไม่ฟ้องนั่นแหละ!!
อย่างไรก็ดี ท่าทีแบบนี้กลับสวนทางกับฝ่ายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดย เลขาธิการ ป.ป.ช. สรรเสริญ พลเจียก ระบุก่อนหน้านี้ว่าการประชุมร่วมกันดังกล่าวในวันที่ 7 พฤศจิกายน เป็นการประชุมเพื่อให้ได้ข้อยุติว่า “ฟ้องหรือไม่ฟ้อง” โดยเมื่อได้มติแล้วแต่ละฝ่ายก็นำไปแจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบ
ความหมายจากฝ่าย ป.ป.ช.ก็คือจะไม่ยืดเยื้ออีกแล้ว นั่นคือหากอัยการสูงสุดไม่สั่งฟ้อง ทาง ป.ป.ช.ก็จะเดินหน้าฟ้องอาญา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งกำหนดวันประชุมอีกรอบในวันที่ 12 พฤศจิกายนนั่นเอง
แน่นอนว่าท่าทีของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ออกมาแบบนี้ นั่นคือ “สั่งไม่ฟ้อง” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ย่อมต้องเกิดเสียงวิพากษ์จารณ์อย่างหนักจากสังคมตามมาแน่ เพราะช่วยไม่ได้ที่จะถูกมองว่ามีเจตนาเตะถ่วงยื้อคดีออกไปเรื่อยๆ รวมถึงถูกมองในแง่ลบว่า “อาจจะ” มีเจตนาเข้าด้วยช่วยเหลือ ซึ่งสังคมย่อมมีสิทธิ์ที่จะเข้าใจอย่างนั้น มีความรู้สึกอย่างนั้นได้
แม้ว่าในความเป็นจริง การพิจารณาสำนวนคดีต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานเป็นหลัก จะใช้ความรู้สึกไม่ได้ มันก็ใช่ แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องไม่ลืมว่าคดีนี้ จากโครงการนี้คือ รับจำนำข้าวได้สร้างความเสียหายกับชาติบ้านเมือง ที่เปิดเผยตัวเลขออกมาจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมหมาย ภาษี เองว่าไม่น้อยกว่า 7 แสนล้านบาท ต้องใช้หนี้กันไม่น้อยกว่า 30 ปี “ใช้หนี้กันถึงรุ่นหลาน” จะปล่อยให้ลอยนวลกันง่ายๆแบบนี้หรือ
ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่า คดีดังกล่าวทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามแห่งชาติได้ใช้เวลาในการตรวจสอบ สอบสวนพยานหลักฐานนานเป็นปี และในที่สุดก็มี “มติเป็นเอกฉันท์” สั่งฟ้องคดีอาญา คำว่าเอกฉันท์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ดีว่าต้อง “ชัดเจน มัดแน่น” แต่ถึงอย่างไรเมื่อสำนวนส่งถึงมืออัยการสูงสุดกลับบอกว่า “สำนวนไม่สมบูรณ์” พยานหลักฐานยังไม่พอก็ตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมก็ใช้เวลามาระยะหนึ่งแล้ว ก็สามารถอุดช่องโหว่ได้ทันเวลา
แต่กลายเป็นว่าหลังจากใช้เวลาในการพิจาณาสำนวนร่วมกันนานนับเดือนแล้วมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 7 พฤศจิกายน เพื่อที่จะให้ฝ่ายอัยการสูงสุดบอกว่า “พยานหลักฐานยังไม่สมบูรณ์” อย่างนั้นหรือ อย่างไรก็ดี เมื่อมีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าผลจะออกมาแบบนี้มองอีกมุมหนึ่งมันก็ดีเหมือนกัน เพราะในเมื่อกำลังเข้าสู่โหมดของการปฏิรูปทุกภาคส่วน มันก็ถึงเวลาที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนอัยการเสียใหม่เพื่อให้สังคมรู้สึกได้ว่า “มีอิสระ” แบบเต็มร้อย ไม่ต้องสงสัยในการทำงานและสั่งคดี เพราะยิ่งสงสัยนั่นก็เท่ากับว่า “ความเสื่อมศรัทธา” ก็จะเกิดขึ้นกับสำนักงานอัยการสูงสุดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความรู้สึกในลักษณะดังกล่าวกำลังเกิดขึ้นอย่างหนักกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาแล้ว และกำลังถูกกดดันให้มีการปฏิรูปรื้อโครงสร้างกันอย่างขนานใหญ่ ในอีกไม่ช้า
ที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่าการสั่งคดีของอัยการสูงสุดหลายครั้งค้านสายตาประชาชน มีอัยการระดับสูงบางคนเข้าไปร่วมเป็นบอร์ดองค์กรรัฐวิสาหกิจบางแห่ง แต่เมื่อถูกตรวจสอบมีการสอบสวนการทุจริต เมื่อส่งสำนวนไปให้อัยการสูงสุดได้พิจารณาก็สั่งไม่ฟ้อง หรือกรณีถูกกล่าวหาว่าอัยการสูงสุดบางคนรับใชัการเมือง พิสูจน์ได้จากมีอดีตอัยการสูงสุดที่มีผลงานในการสั่งคดีไม่ฟ้องคนในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร และเคยเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่แต่งตั้งในรัฐบาลสมัยนั้น ซึ่งต่อมาก็ได้รับรางวัลให้เป็นรัฐมนตรีในที่สุด
สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ การเปลี่ยนแปลงภายในสำนักงานอัยการสูงสุดหลังจากมีการเข้ามาควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็มีการโยกย้ายอัยการสูงสุดคนเก่าคือ อรรถพล ใหญ่สว่าง ออกไปแล้วแต่งตั้งคนใหม่คือ ตระกูล วินิจฉัยภาค เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน ตามหลังการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในหน่วยงานดังกล่าวที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์การทำงานอย่างหนัก ความหมายที่ออกมาก็คืออัยการสูงสุดเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีเสียง “ยี้” จากสังคม จนต้องใช้อำนาจพิเศษเข้าไปจัดการ
ดังนั้น หากพิจารณาจากการสั่งไม่ฟ้องอาญา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากโครงการรับจำนำข้าวที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 7 แสนล้านบาท จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม หากออกมาในแนวทางแรกตามที่แสดงท่าทีออกมา แม้จะถือว่าเป็นอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของอัยการสูงสุดตามกฎหมายก็ตาม แต่รับรองว่าจะต้องถูกสังคมตั้งคำถาม พร้อมกับเสียงวิจารณ์ตามมาหนักหน่วงแน่ และถึงตอนนั้นก็จะเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่จะถูกกดดันให้มีการปฏิรูปกันอย่างขนานใหญ่แน่นอน!!
ก็ต้องรอดูว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร และถ้าหากอัยการไม่สั่งฟ้อง ป.ป.ช. จะฟ้องเองเหมือคดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของกรุงเทพฯ หรือไม่
#ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
ข่าวดี : อัยการอาจไม่สั่งฟ้องยิ่งลักษณ์ คดีทุจริตจำนำข้าว
ท่าทีดังกล่าวรับรู้ได้จากการเปิดเผยของ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ ในฐานะโฆษกสำนักอัยการสูงสุด ที่ระบุว่าการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กับตัวแทนของสำนักงานอัยการฯ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน “จะเป็นเพียงแค่การพิจารณาถึงเรื่องความไม่สมบูรณ์ของสำนวน ที่ทางอัยการเห็นว่ายังมีพยานหลักฐานไม่สมบูรณ์ครบถ้วน ไม่ใช่เป็นการสรุปว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง”
ออกมาแบบนี้ก็ชัดเจนว่า “ยื้อ” และในที่สุดก็จะไม่ฟ้องนั่นแหละ!!
อย่างไรก็ดี ท่าทีแบบนี้กลับสวนทางกับฝ่ายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดย เลขาธิการ ป.ป.ช. สรรเสริญ พลเจียก ระบุก่อนหน้านี้ว่าการประชุมร่วมกันดังกล่าวในวันที่ 7 พฤศจิกายน เป็นการประชุมเพื่อให้ได้ข้อยุติว่า “ฟ้องหรือไม่ฟ้อง” โดยเมื่อได้มติแล้วแต่ละฝ่ายก็นำไปแจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบ
ความหมายจากฝ่าย ป.ป.ช.ก็คือจะไม่ยืดเยื้ออีกแล้ว นั่นคือหากอัยการสูงสุดไม่สั่งฟ้อง ทาง ป.ป.ช.ก็จะเดินหน้าฟ้องอาญา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งกำหนดวันประชุมอีกรอบในวันที่ 12 พฤศจิกายนนั่นเอง
แน่นอนว่าท่าทีของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ออกมาแบบนี้ นั่นคือ “สั่งไม่ฟ้อง” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ย่อมต้องเกิดเสียงวิพากษ์จารณ์อย่างหนักจากสังคมตามมาแน่ เพราะช่วยไม่ได้ที่จะถูกมองว่ามีเจตนาเตะถ่วงยื้อคดีออกไปเรื่อยๆ รวมถึงถูกมองในแง่ลบว่า “อาจจะ” มีเจตนาเข้าด้วยช่วยเหลือ ซึ่งสังคมย่อมมีสิทธิ์ที่จะเข้าใจอย่างนั้น มีความรู้สึกอย่างนั้นได้
แม้ว่าในความเป็นจริง การพิจารณาสำนวนคดีต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานเป็นหลัก จะใช้ความรู้สึกไม่ได้ มันก็ใช่ แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องไม่ลืมว่าคดีนี้ จากโครงการนี้คือ รับจำนำข้าวได้สร้างความเสียหายกับชาติบ้านเมือง ที่เปิดเผยตัวเลขออกมาจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมหมาย ภาษี เองว่าไม่น้อยกว่า 7 แสนล้านบาท ต้องใช้หนี้กันไม่น้อยกว่า 30 ปี “ใช้หนี้กันถึงรุ่นหลาน” จะปล่อยให้ลอยนวลกันง่ายๆแบบนี้หรือ
ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่า คดีดังกล่าวทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามแห่งชาติได้ใช้เวลาในการตรวจสอบ สอบสวนพยานหลักฐานนานเป็นปี และในที่สุดก็มี “มติเป็นเอกฉันท์” สั่งฟ้องคดีอาญา คำว่าเอกฉันท์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ดีว่าต้อง “ชัดเจน มัดแน่น” แต่ถึงอย่างไรเมื่อสำนวนส่งถึงมืออัยการสูงสุดกลับบอกว่า “สำนวนไม่สมบูรณ์” พยานหลักฐานยังไม่พอก็ตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมก็ใช้เวลามาระยะหนึ่งแล้ว ก็สามารถอุดช่องโหว่ได้ทันเวลา
แต่กลายเป็นว่าหลังจากใช้เวลาในการพิจาณาสำนวนร่วมกันนานนับเดือนแล้วมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 7 พฤศจิกายน เพื่อที่จะให้ฝ่ายอัยการสูงสุดบอกว่า “พยานหลักฐานยังไม่สมบูรณ์” อย่างนั้นหรือ อย่างไรก็ดี เมื่อมีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าผลจะออกมาแบบนี้มองอีกมุมหนึ่งมันก็ดีเหมือนกัน เพราะในเมื่อกำลังเข้าสู่โหมดของการปฏิรูปทุกภาคส่วน มันก็ถึงเวลาที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนอัยการเสียใหม่เพื่อให้สังคมรู้สึกได้ว่า “มีอิสระ” แบบเต็มร้อย ไม่ต้องสงสัยในการทำงานและสั่งคดี เพราะยิ่งสงสัยนั่นก็เท่ากับว่า “ความเสื่อมศรัทธา” ก็จะเกิดขึ้นกับสำนักงานอัยการสูงสุดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความรู้สึกในลักษณะดังกล่าวกำลังเกิดขึ้นอย่างหนักกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาแล้ว และกำลังถูกกดดันให้มีการปฏิรูปรื้อโครงสร้างกันอย่างขนานใหญ่ ในอีกไม่ช้า
ที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่าการสั่งคดีของอัยการสูงสุดหลายครั้งค้านสายตาประชาชน มีอัยการระดับสูงบางคนเข้าไปร่วมเป็นบอร์ดองค์กรรัฐวิสาหกิจบางแห่ง แต่เมื่อถูกตรวจสอบมีการสอบสวนการทุจริต เมื่อส่งสำนวนไปให้อัยการสูงสุดได้พิจารณาก็สั่งไม่ฟ้อง หรือกรณีถูกกล่าวหาว่าอัยการสูงสุดบางคนรับใชัการเมือง พิสูจน์ได้จากมีอดีตอัยการสูงสุดที่มีผลงานในการสั่งคดีไม่ฟ้องคนในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร และเคยเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่แต่งตั้งในรัฐบาลสมัยนั้น ซึ่งต่อมาก็ได้รับรางวัลให้เป็นรัฐมนตรีในที่สุด
สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ การเปลี่ยนแปลงภายในสำนักงานอัยการสูงสุดหลังจากมีการเข้ามาควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็มีการโยกย้ายอัยการสูงสุดคนเก่าคือ อรรถพล ใหญ่สว่าง ออกไปแล้วแต่งตั้งคนใหม่คือ ตระกูล วินิจฉัยภาค เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน ตามหลังการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในหน่วยงานดังกล่าวที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์การทำงานอย่างหนัก ความหมายที่ออกมาก็คืออัยการสูงสุดเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีเสียง “ยี้” จากสังคม จนต้องใช้อำนาจพิเศษเข้าไปจัดการ
ดังนั้น หากพิจารณาจากการสั่งไม่ฟ้องอาญา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากโครงการรับจำนำข้าวที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 7 แสนล้านบาท จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม หากออกมาในแนวทางแรกตามที่แสดงท่าทีออกมา แม้จะถือว่าเป็นอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของอัยการสูงสุดตามกฎหมายก็ตาม แต่รับรองว่าจะต้องถูกสังคมตั้งคำถาม พร้อมกับเสียงวิจารณ์ตามมาหนักหน่วงแน่ และถึงตอนนั้นก็จะเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่จะถูกกดดันให้มีการปฏิรูปกันอย่างขนานใหญ่แน่นอน!!
ก็ต้องรอดูว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร และถ้าหากอัยการไม่สั่งฟ้อง ป.ป.ช. จะฟ้องเองเหมือคดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของกรุงเทพฯ หรือไม่
#ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย