กระทู้วิทยาศาสตร์และปรัชญา
ผมเรียนจบวิทยา ฟิสิกส์แต่ตอนเรียนได้เคยมีโอกาสไปนั่ง sit in เรียนวิชาปรัชญา คือวิชาการให้เหตุผล (reasoning) เป็นวิชาที่สนุกมาก อาจารย์สอนไปก็เอาเหตุการณ์ในปัจจุบัน การเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องยกตัวอย่าง เปรียบเทียบ มีการสอนเรื่องเหตุผลวิบัติด้วย (fallacy) เป็นหนึ่งบทเต็มๆเลย อาจารย์ยังเคยบอกว่าที่บ้านเมืองวุ่นวายอยู่นี้ก็เพราะว่ามีการให้เหตุผลกันแบบไม่ถูกต้อง หลายครั้งเป็นการให้เหตุผลแบบวิบัติ อย่างไรก็ตามสำหรับผมวิชาปรัชญาเป็นวิชาที่น่าสนใจมากวิชาหนึ่ง
ในหนังสืออัตชีวประวัติของริชาด ฟายแมน เรื่อง Surely You're Joking, Mr. Feynman! ฟายแมนเล่าให้ฟังว่าในสมัยที่เรียนอยู่ MIT ฟายแมนสนใจแต่วิทยาศาสตร์อย่างเดียวจนวิชาอื่นๆไม่ได้เรื่อง แต่ที่ MIT มีกฎว่าต้องลงวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์เพื่อจะให้เด็กวิทยาศาสตร์มีวัฒนธรรมกับเขาบ้าง 555+
วิชาสาขานี้นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีตัวเลือกอีกสองตัวคือวิชาดาราศาสตร์ (มันเป็นวิชาด้านมนุษยศาสตร์ตรงไหนนี่) แน่นอนฟายแมนรอดตัวจากเทอมแรกด้วยวิชาดาราศาสตร์ ปีต่อมา ฟายแมนดูรายการแล้วก็ขอผ่านวิชาพวก วรรณคดีฝรั่งเศสอะไรแนวนั้น
แล้วก็มาจบลงด้วยวิชาปรัชญา ซึ่งฟายแมนให้เหตุผลว่าเป็นอะไรที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์ที่สุดแล้ว
แน่นอนว่าปรัชญากับวิทยาศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กัน แต่ก่อนวิชาวิทยาศาสตร์นั้นถูกเรียกว่าปรัชญาธรรมชาติ หรือ Natural Philosophy ต่อมาเนื้อหาเยอะมากขึ้นจนแยกมาเป็น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ฯลฯ ในกระทู้นี้เราจะมารู้จักกับเหล่านักปรัชญาที่สำคัญในอดีต ในยุคนั้นวิทยาสาตร์แบบปัจจุบันนี้ยังไม่เกิดขึ้น แนวคิดของนักปรัชญาที่สำคัญเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ต่อมาในภายหลัง และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ก็นำไปสู่การพัฒนาของเทคโนโลยี และเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นก็สามารถสร้างเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆนำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ วนเป็นวัฎจักรแบบนี้ จนเป็นโลกสมัยใหม่ที่แสนสะดวกสบายที่เราอาศัยกันอยู่ในทุกวันนี้
เราอาจกล่าวได้ว่าโลกสมัยใหม่นี้มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดทางด้านปรัชญาก็คงไม่ผิดนัก นั้นวันนี้เราย้อนอดีตกลับไปดูชีวิตและนักปรัชญา ณ จุดเริ่มต้นกันเถอะ
----------------------------------------------------
ก่อนเข้าเนื้อหาหลักลองแวะไปฟังเพลงกันก่อนครับ หรือจะเปิดเพลงไปอ่านกระทู้นี้ไปก็ดี
ขอแนะนำเพลง Lovers On The Sun โดย David Guetta ft. Sam Martin
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Let's light it up, let's light it up
Until our hearts catch fire
And so the world, a burning light
They've never shined so bright
We'll find a way, we'll find a way
To keep the cold night
From breaking in over the walls
Into the wild side
The hunger satisfies
We're burning up
We might as well be lovers on the sun
We might as well be lovers on the sun
We might as well be lovers on the sun
We'll never know, we'll never know
What stands behind the North
But I got a feeling
It's a feeling that's we're dying for
Just close your eyes, and hold your breath
Because it feels right
We'll keep it moving till we make it to the other side
And let's enjoy the ride
We're burning up
We might as well be lovers on the sun
We might as well be lovers on the sun
We might as well be lovers on the sun
Let's light it up, let's light it up
Until our hearts catch fire
And so the world, a burning light
They've never shined so bright
----------------------------
มาเริ่มกันเลยครับ มารู้จักกับท่านแรกเลยดีกว่า
1.เทลีส (Thales of Miletus)
เทลีสได้รับการยกย่องให้เป็นนักปรัชญากรีกคนแรก ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาตะวันตกเลยทีเดียว ยิ่งใหญ่มากๆเลย ทีเดียว เรียกว่าเจ้าพ่อแห่งปรัชญาตะวันตกเลยก็ได้ เขานั้นมาจากเมือง Miletus ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ประเทศตุรกีนั่นเอง เขาน่าจะเกิดราว 620 ปีก่อนคริสตกาล เขานั้นเป็นผู้มีแนวคิดว่า มูลฐานธรรมชาติของโลกนี้ก็คือน้ำ ผู้ที่กล่าวอ้างแนวคิดของเทลีสก็คือ อริสโตเติลและเฮอรอโดทัส ซึ่งจริงๆแล้วเป็นเพราะสองคนนี้เขียนในงานของเขาทำให้เราในปัจจุบันได้รู้จักกับเทลีส
แต่ไม่ใช่เพราะสิ่งที่เทลีสนั้นพูดว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือวิธีการคิดของเขา เทลีสนั้นเป็นนักคิดคนแรกที่พยายามอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติโดย ไม่ต้องอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพูดอีกอย่างก็คือเหล่าเทพเจ้าของชาวกรีกนั่นเอง เทลีสได้แสวงหาคำอธิบายของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น โดยเขาสังเกตว่ามันก็เกิดจากสิ่งต่างๆนั่นแหละ ไม่ได้มีเทพเจ้า มาดลบัลดาลอะไรหรอก แต่เป็นสิ่งทั่วไป หลักการที่ซ่อนอยู่ ซึ่งแนวคิดนี้เกี่ยวโยงไปสู่การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในสมัยใหม่
"เทลีสนั้นเป็นนักคิดคนแรกที่พยายามอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติโดย ไม่ต้องอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพูดอีกอย่างก็คือไม่ต้องอ้อนวอน พึ่งพาเหล่าเทพเจ้าของชาวกรีกนั่นเอง"
เทลีสยังเป็นผู้ทำนายสุริยุปราคาในปี 585 ก่อนคริสตกาล ที่เกิดขึ้นระหว่างการต่อสู้กันของพวกเมเดสและพวกไลเดียน
ตามหลักอภิปรัชญาของเขา น้ำคือหลักการเหตุผลแรกของสิ่งมีชีวิตและโลกวัตถุ เห็นว่าน้ำนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นไอน้ำโดยการระเหย และกลายเป็นของแข็งโดยการเยือกแข็ง และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็ล้วนต้องอาศัยน้ำจึงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ เขาจึงเชื่อว่าน้ำคือเหตุหลักการเดียวที่อยู่เบื้องหลังโลกของธรรมชาติ
เทลสยังมีแนวคิดว่าโลกนั้นเรียบและลอยตัวอยู่บนน้ำเหมือนกับที่ไม้ลอยอยู่ในน้ำนั่นเอง
-----------------------
ถึงแม้แนวคิดหลายๆอย่างจะไม่ถูกต้องกับความเป็นจริง แต่เทลีสก็พยายามอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล โดยปราศจากอำนาจและการแทรกแทรงของเทพเจ้าตามที่คนส่วนใหญ่เชื่อกันในสมัยนั้น ไม่ใช่เพราะสิ่งที่เทลีสนั้นพูดว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือวิธีการคิดของเขานั้นต่างหาก เทลีสผู้ก่อตั้งปรัชญาตะวันตกจึงมีความสำคัญอย่างมากก็เพราะเหตุนี้เอง
ขณะที่ตอนนี้ปี 2014 จะขึ้นปี 2015 อยู่แล้ว ผ่านเลยยุคของเทลีสไปประมาณ 2600 กว่าปี ขณะนี้เองก็ยังมีบางกลุ่มคนอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจลึกลับของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เลย น่าแปลกใจไหมครับ เทลีสมาเห็นยุคปัจจุบันอาจจะสงสัยว่าผ่านมา 2600 กว่าปี มนุษย์มัวไปทำอะไรกันอยู่นะ
-------------------------------------
มีต่อครับ
==มารู้จักนักปรัชญาและแนวคิดที่สำคัญในอดีตที่นำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์กันเถอะ==
ผมเรียนจบวิทยา ฟิสิกส์แต่ตอนเรียนได้เคยมีโอกาสไปนั่ง sit in เรียนวิชาปรัชญา คือวิชาการให้เหตุผล (reasoning) เป็นวิชาที่สนุกมาก อาจารย์สอนไปก็เอาเหตุการณ์ในปัจจุบัน การเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องยกตัวอย่าง เปรียบเทียบ มีการสอนเรื่องเหตุผลวิบัติด้วย (fallacy) เป็นหนึ่งบทเต็มๆเลย อาจารย์ยังเคยบอกว่าที่บ้านเมืองวุ่นวายอยู่นี้ก็เพราะว่ามีการให้เหตุผลกันแบบไม่ถูกต้อง หลายครั้งเป็นการให้เหตุผลแบบวิบัติ อย่างไรก็ตามสำหรับผมวิชาปรัชญาเป็นวิชาที่น่าสนใจมากวิชาหนึ่ง
ในหนังสืออัตชีวประวัติของริชาด ฟายแมน เรื่อง Surely You're Joking, Mr. Feynman! ฟายแมนเล่าให้ฟังว่าในสมัยที่เรียนอยู่ MIT ฟายแมนสนใจแต่วิทยาศาสตร์อย่างเดียวจนวิชาอื่นๆไม่ได้เรื่อง แต่ที่ MIT มีกฎว่าต้องลงวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์เพื่อจะให้เด็กวิทยาศาสตร์มีวัฒนธรรมกับเขาบ้าง 555+
วิชาสาขานี้นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีตัวเลือกอีกสองตัวคือวิชาดาราศาสตร์ (มันเป็นวิชาด้านมนุษยศาสตร์ตรงไหนนี่) แน่นอนฟายแมนรอดตัวจากเทอมแรกด้วยวิชาดาราศาสตร์ ปีต่อมา ฟายแมนดูรายการแล้วก็ขอผ่านวิชาพวก วรรณคดีฝรั่งเศสอะไรแนวนั้น แล้วก็มาจบลงด้วยวิชาปรัชญา ซึ่งฟายแมนให้เหตุผลว่าเป็นอะไรที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์ที่สุดแล้ว
แน่นอนว่าปรัชญากับวิทยาศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กัน แต่ก่อนวิชาวิทยาศาสตร์นั้นถูกเรียกว่าปรัชญาธรรมชาติ หรือ Natural Philosophy ต่อมาเนื้อหาเยอะมากขึ้นจนแยกมาเป็น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ฯลฯ ในกระทู้นี้เราจะมารู้จักกับเหล่านักปรัชญาที่สำคัญในอดีต ในยุคนั้นวิทยาสาตร์แบบปัจจุบันนี้ยังไม่เกิดขึ้น แนวคิดของนักปรัชญาที่สำคัญเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ต่อมาในภายหลัง และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ก็นำไปสู่การพัฒนาของเทคโนโลยี และเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นก็สามารถสร้างเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆนำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ วนเป็นวัฎจักรแบบนี้ จนเป็นโลกสมัยใหม่ที่แสนสะดวกสบายที่เราอาศัยกันอยู่ในทุกวันนี้
เราอาจกล่าวได้ว่าโลกสมัยใหม่นี้มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดทางด้านปรัชญาก็คงไม่ผิดนัก นั้นวันนี้เราย้อนอดีตกลับไปดูชีวิตและนักปรัชญา ณ จุดเริ่มต้นกันเถอะ
----------------------------------------------------
ก่อนเข้าเนื้อหาหลักลองแวะไปฟังเพลงกันก่อนครับ หรือจะเปิดเพลงไปอ่านกระทู้นี้ไปก็ดี
ขอแนะนำเพลง Lovers On The Sun โดย David Guetta ft. Sam Martin
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
----------------------------
มาเริ่มกันเลยครับ มารู้จักกับท่านแรกเลยดีกว่า
1.เทลีส (Thales of Miletus)
เทลีสได้รับการยกย่องให้เป็นนักปรัชญากรีกคนแรก ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาตะวันตกเลยทีเดียว ยิ่งใหญ่มากๆเลย ทีเดียว เรียกว่าเจ้าพ่อแห่งปรัชญาตะวันตกเลยก็ได้ เขานั้นมาจากเมือง Miletus ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ประเทศตุรกีนั่นเอง เขาน่าจะเกิดราว 620 ปีก่อนคริสตกาล เขานั้นเป็นผู้มีแนวคิดว่า มูลฐานธรรมชาติของโลกนี้ก็คือน้ำ ผู้ที่กล่าวอ้างแนวคิดของเทลีสก็คือ อริสโตเติลและเฮอรอโดทัส ซึ่งจริงๆแล้วเป็นเพราะสองคนนี้เขียนในงานของเขาทำให้เราในปัจจุบันได้รู้จักกับเทลีส
แต่ไม่ใช่เพราะสิ่งที่เทลีสนั้นพูดว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือวิธีการคิดของเขา เทลีสนั้นเป็นนักคิดคนแรกที่พยายามอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติโดย ไม่ต้องอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพูดอีกอย่างก็คือเหล่าเทพเจ้าของชาวกรีกนั่นเอง เทลีสได้แสวงหาคำอธิบายของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น โดยเขาสังเกตว่ามันก็เกิดจากสิ่งต่างๆนั่นแหละ ไม่ได้มีเทพเจ้า มาดลบัลดาลอะไรหรอก แต่เป็นสิ่งทั่วไป หลักการที่ซ่อนอยู่ ซึ่งแนวคิดนี้เกี่ยวโยงไปสู่การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในสมัยใหม่
"เทลีสนั้นเป็นนักคิดคนแรกที่พยายามอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติโดย ไม่ต้องอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพูดอีกอย่างก็คือไม่ต้องอ้อนวอน พึ่งพาเหล่าเทพเจ้าของชาวกรีกนั่นเอง"
เทลีสยังเป็นผู้ทำนายสุริยุปราคาในปี 585 ก่อนคริสตกาล ที่เกิดขึ้นระหว่างการต่อสู้กันของพวกเมเดสและพวกไลเดียน
ตามหลักอภิปรัชญาของเขา น้ำคือหลักการเหตุผลแรกของสิ่งมีชีวิตและโลกวัตถุ เห็นว่าน้ำนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นไอน้ำโดยการระเหย และกลายเป็นของแข็งโดยการเยือกแข็ง และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็ล้วนต้องอาศัยน้ำจึงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ เขาจึงเชื่อว่าน้ำคือเหตุหลักการเดียวที่อยู่เบื้องหลังโลกของธรรมชาติ
เทลสยังมีแนวคิดว่าโลกนั้นเรียบและลอยตัวอยู่บนน้ำเหมือนกับที่ไม้ลอยอยู่ในน้ำนั่นเอง
-----------------------
ถึงแม้แนวคิดหลายๆอย่างจะไม่ถูกต้องกับความเป็นจริง แต่เทลีสก็พยายามอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล โดยปราศจากอำนาจและการแทรกแทรงของเทพเจ้าตามที่คนส่วนใหญ่เชื่อกันในสมัยนั้น ไม่ใช่เพราะสิ่งที่เทลีสนั้นพูดว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือวิธีการคิดของเขานั้นต่างหาก เทลีสผู้ก่อตั้งปรัชญาตะวันตกจึงมีความสำคัญอย่างมากก็เพราะเหตุนี้เอง
ขณะที่ตอนนี้ปี 2014 จะขึ้นปี 2015 อยู่แล้ว ผ่านเลยยุคของเทลีสไปประมาณ 2600 กว่าปี ขณะนี้เองก็ยังมีบางกลุ่มคนอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจลึกลับของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เลย น่าแปลกใจไหมครับ เทลีสมาเห็นยุคปัจจุบันอาจจะสงสัยว่าผ่านมา 2600 กว่าปี มนุษย์มัวไปทำอะไรกันอยู่นะ
-------------------------------------
มีต่อครับ