สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
บริษัทไทยจำนวนมากเล่นแผนการตลาดเป็นอยู่แบบเดียว คือสงครามราคา
กำไรมันก็หั่นไปเรื่อย ๆ แต่มาบีบให้ลูกน้องทำงานมากขึ้น
และคนไทยไม่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล คือรับคนเก่ง ๆ มา เอามาสอนคนอายุน้อยที่เงินเดือนน้อย แล้วก็ถีบหัวส่ง
พอไอ้รุ่นนั้นมันเงินเดือนเยอะ ก็ให้สอนรุ่นใหม่อีก แล้วก็ถีบหัวส่งอีกรอบ
บริษัทต่างชาติที่คิดจะใช้แผนนี้ค่อนข้างตกยุค มักจะโดนขยี้ทิ้งไปหมดแล้ว
กำไรมันก็หั่นไปเรื่อย ๆ แต่มาบีบให้ลูกน้องทำงานมากขึ้น
และคนไทยไม่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล คือรับคนเก่ง ๆ มา เอามาสอนคนอายุน้อยที่เงินเดือนน้อย แล้วก็ถีบหัวส่ง
พอไอ้รุ่นนั้นมันเงินเดือนเยอะ ก็ให้สอนรุ่นใหม่อีก แล้วก็ถีบหัวส่งอีกรอบ
บริษัทต่างชาติที่คิดจะใช้แผนนี้ค่อนข้างตกยุค มักจะโดนขยี้ทิ้งไปหมดแล้ว
ความคิดเห็นที่ 4
บริษัทฝรั่งมีวิธีการคิดเงินเดือนต่างจากคนไทย
เพราะฝรั่งมักจะทำงานเป็น Project สัก 5 ปี เมื่อสร้าง Project ขึ้นมาก็ต้องใช้คน
การใส่เงินเดือนแพงๆ ฝรั่งชอบทำกัน เพราะทำให้ฐานเงินเดือนตัวเองสูงขึ้นด้วย
และการทำงานเป็น Project แปลว่า ต้องหาพนักงานจากที่อื่น ไม่ได้สร้างพนักงานเอง
เงินเดือนแพงกว่าที่เดิม เกือบ 1 เท่าตัว หรือ ตำแหน่งสำคัญแพงเท่าไหร่ก็ต้องยอม
เพราะเมื่อเทียบเป็น % ค่าจ้างแล้ว ก็ยังคุ้ม เมื่อเทียบกับมูลค่าโครงการทั้งหมด
ส่วนคนไทยไม่ได้คิดแบบนี้ และคนไทยยังติดนิสัยเสีย ชอบใช้ของถูก มันก็เลยวนกลับมาที่ฐานเงินเดือน
ผู้บริหารไทยก็จะหาวิธีลดเงินเดือน โดยใช้ outsource หรือ แรงงานต่างชาติ ไง
เพราะฝรั่งมักจะทำงานเป็น Project สัก 5 ปี เมื่อสร้าง Project ขึ้นมาก็ต้องใช้คน
การใส่เงินเดือนแพงๆ ฝรั่งชอบทำกัน เพราะทำให้ฐานเงินเดือนตัวเองสูงขึ้นด้วย
และการทำงานเป็น Project แปลว่า ต้องหาพนักงานจากที่อื่น ไม่ได้สร้างพนักงานเอง
เงินเดือนแพงกว่าที่เดิม เกือบ 1 เท่าตัว หรือ ตำแหน่งสำคัญแพงเท่าไหร่ก็ต้องยอม
เพราะเมื่อเทียบเป็น % ค่าจ้างแล้ว ก็ยังคุ้ม เมื่อเทียบกับมูลค่าโครงการทั้งหมด
ส่วนคนไทยไม่ได้คิดแบบนี้ และคนไทยยังติดนิสัยเสีย ชอบใช้ของถูก มันก็เลยวนกลับมาที่ฐานเงินเดือน
ผู้บริหารไทยก็จะหาวิธีลดเงินเดือน โดยใช้ outsource หรือ แรงงานต่างชาติ ไง
ความคิดเห็นที่ 8
จากที่เคยทำงานกับอเมริกันนะ เขาเน้นกำไร+คนต้องไปพร้อมๆกัน
ทำมากได้มาก ไม่ใช่ว่าทำมากก็ยังได้เท่าเดิมแบบไทย
เช่น
ถ้าลูกค้า 20 คน เงินเดือน 10k + คอม
ถ้าลูกค้า 30 คน เงินเดือนจะเป็นแบบ 12k + คอม
ถ้าลูกค้า 40 คน เงินเดือน 14 k+คอม
ไม่มีแบบ ลุกค้า 20 ก็แล้ว 30 ก็แล้ว 40 ก็แล้ว ปีนึงขึ้นเงินให้ 500 แบบนั้นไม่ใช่ละ
ทำมากได้มาก ไม่ใช่ว่าทำมากก็ยังได้เท่าเดิมแบบไทย
เช่น
ถ้าลูกค้า 20 คน เงินเดือน 10k + คอม
ถ้าลูกค้า 30 คน เงินเดือนจะเป็นแบบ 12k + คอม
ถ้าลูกค้า 40 คน เงินเดือน 14 k+คอม
ไม่มีแบบ ลุกค้า 20 ก็แล้ว 30 ก็แล้ว 40 ก็แล้ว ปีนึงขึ้นเงินให้ 500 แบบนั้นไม่ใช่ละ
ความคิดเห็นที่ 68
อ่านดูแล้ว ทัศนคติ นี่เป็นสิ่งสำคัญ
หลายคนบอกบ.ฝรั่งให้เงินเดือนดี เพราะกำไรเยอะ ต้นทุนน้อยขายแพงๆ(ที่ข้างบนยกตัวอย่างเรื่องต้นทุนวัตถุดิบยา) นั่นคือมองที่ปลายทางแล้วครับ
คุณแปลกใจไหม ทำไมโรงงานsmeไทยๆบ่นค่าแรงสามร้อย ทำเจ๊งขาดทุน แต่โรงงานข้ามชาติที่ทำสินค้าแบบเดียวกัน เขาให้ค่าแรงเกินสามร้อยมานานแล้ว?(แรงงานมีทักษะนะครับไม่ใช่แรงงานแบกหาม) บางคนอ้างว่า เขามีทุนหนา สายป่านยาว เอ๊ะ มีทุนหนาแต่ถ้าทำแล้วขาดทุนก็เจ๊งเหมือนกัน ค่าเงินสูง ก็ไม่น่าเกี่ยว เพราะในทางกลับกัน เราก็ส่งขายของบ้านเขาได้เช่นกัน(คือต้นทุนค่าแรงถูกไม่ต่างกัน เผลอๆค่าแรงโรงงานไทยถูกกว่าอีก) แต่ทำไมเราสู้เขาไม่ได้ หรือเลียนแบบเขายังไม่ได้เลย?
จริงๆแล้วบ.ฝรั่งเขามาได้ขนาดนี้ เพราะเขาให้คุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา เขากล้าลงทุนR&D เพื่อที่จะมีสินค้าใหม่ๆออกมาขาย เป็นผู้นำคนอื่น และเขาก็มีระบบกฎหมายที่เข้มแข็ง รวมไปถึงกองทัพที่คอยรักษาผลประโยชน์ประเทศเขา(คนอื่นเลยเกรงใจ ไม่กล้าละเมิดง่ายๆ)
เวลาเขาจ้างคน เขาเน้นจ้างคนเก่งมาทำงาน กล้าทุ่มเงินเดือนสูงๆจูงใจ เพราะรู้ว่าคนเก่งๆ ย่อมสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ และส่งผลให้เขาลดต้นทุนไปในตัว(กลับกันบ.บ้านเราหลายเจ้า คิดลดเงินเดือนว่าคือการลดต้นทุน แล้วคนเก่งที่ไหนจะอยากมาทำ?) แต่แน่นอน ในทางกลับกัน หากคุณทำงานได้ไม่ตามที่คาดหวัง เขาก็ไม่เก็บเอาไว้ ระบบประเมินKPIที่เข้มแข็ง(ที่ข้าราชการบางคนบ่น เพราะลอกเขามา แต่ทำได้ไม่ดีเหมือนเขา) ผมพบเห็นอดีตเพื่อนร่วมงานจำนวนมาก ที่ไม่ผ่านโปรฯ (ในขณะที่บ.บ้านเรา ถ้าไม่ถึงกับทำตัวเลวร้ายมากก็น่าจะผ่าน) รวมไปถึงถ้าหน่วยธุรกิจไหนขาดทุน และมองไม่เห็นอนาคต เขาก็พร้อมจะตัดไปทันทีด้วยการลดคน เลิกจ้าง แต่การเลิกจ้างของเขาก็มีเงินชดเชยแน่นอนชัดเจน ให้คนที่โดนเลิกจ้างมีโอกาสไปหางานใหม่ได้ไม่ยาก
และพูดถึง R&D ก็เพราะเขามีระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นร้อยปี เขาเลยตระหนักและเข้าใจ คุณค่าของ"ความคิด"และการวิจัย ว่ามันสามารถสร้างอะไรใหม่ๆ พัฒนาคุณภาพชีวิต และทำกำไรภายหลังได้อย่างชัดเจน ผมขอยกตัวอย่างคลาสสิคอย่างหญ้าเปล้าน้อย
เคสหญ้าเปล้าน้อย เป็นสมุนไพรไทย ที่ใช้กันมานาน แต่ก็ใช้ตามตำราโบราณ ไม่ได้มีการวิจัยอะไรชัดเจน แต่พอมีบ.ญี่ปุ่นนำไปทำวิจัย สกัดสาร จนทำเป็นยาเม็ดแคปซูลออกมาขาย ไปจดสิทธิบัตร ก็มีคนโวยวายว่า ญี่ปุ่นชุบมือเปิบ?!?!?!?!?!?!
คำถามคือ เมื่อก่อนเรารู้จักแค่เป็นสมุนไพร แต่ไม่ได้คิดทำการวิจัย ใช้ตามตำราโบราณไปตามๆกันเท่านั้น ผลข้างเคียงมีอะไรบ้างก็ไม่รู้ เสี่ยงชีวิตกันเอาเอง และถามจริงๆคุณจะไปเด็ดหญ้าเปล้าน้อยมากินกันเองหรือไม่? ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ รู้จักชื่อเพราะเรื่องจดสิทธิบัตร ไม่ได้รู้จักสมุนไพรนี้มาก่อนเลยในชีวิตด้วยซ้ำ
นั่นคือคนไทยเองมองไม่เห็นคุณค่าอะไร แล้วจะมาเรียกร้องโวยวายตอนคนอื่นเขา ทุ่มเท ลงทุน ทำวิจัย หมดไปนับร้อยนับพันล้าน เพื่อสกัดสารเคมีจากตัวสมุนไพร เพื่อทดสอบผลกระทบ เพื่อทดลองวิจัยคลินิก เพื่อที่จะนำมาใช้ได้อย่างแพร่หลายและปลอดภัย ถ้าเราจะเอาผลงานวิจัยที่เขาต้องทุ่มเท ลงทุน มาใช้ดื้อๆนั่นตะหากที่เรียกว่าชุบมือเปิบ เห็นผลงานเขา ทำเป็นยาเม็ดขาย ใช้งานได้ดี ส่งผลกระทบข้างเคียงน้อย แล้วไปหาว่าเขาเอากำไรเกินควร จากสิ่งที่คนไทยรู้อยู่แล้ว(?)
ทัศนคติตรงนี้สำคัญครับ ไม่เคยคิดจะลงทุนพัฒนาอะไร จะลอกเลียนแบบเขา หรือก่นด่าเขาว่าเอากำไรจากวัตถุดิบมากเกินไป เราๆก็คงไปได้ไม่ไกลมากกว่านี้สักเท่าไรนั่นแหละ
ต่ออีกนิดเรื่องproductivity มุมมองการผลิตที่ยังมองต่างกัน เวลาเราบอกอยากได้กำไรเพิ่มจะทำอย่างไร หลายคนตอบง่ายๆว่า ก็ลดต้นทุนการผลิตไง ขายเท่าเดิม แต่ต้นทุนถูกลงก็กำไรเพิ่มแล้ว ใช่ครับ คำตอบถูกต้องบางส่วน แต่ในการลดต้นทุนนั้น ไม่ใช่แค่ว่าตัดวัตถุดิบ แล้วลดคุณภาพลงไปดื้อๆ แต่มันต้องศึกษาวิจัยว่า ใช้วัตถุดิบอะไรทดแทน แล้วคุณภาพมาใกล้เคียงของเดิม หรือแม้แต่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ฝึกฝนงานงาน เข้มงวดกับระบบdiscipline รวมไปถึงใช้ความรู้ทางสถิติมาช่วย พวกนี้เป็นการลดต้นทุนทางอ้อมทั้งนั้น หรืออีกทางก็คือขยายตลาด เพิ่มproduct line พวกนี้ก็ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ที่บอกว่าต่าง ผมจะยกตัวอย่างงบประมาณของราชการเทียบให้ดู ที่มีคนชอบพูดว่า เวลาได้งบมาต้องใช้ให้หมด ห้ามเหลือ เพราะถ้าเหลือปีหน้าจะถูกตัด เราเลยพบเห็นการใช้งบทิ้งๆขว้างๆ ไปดูงานบ้าง จัดกิจกรรมอะไรเลื่อนลอยบ้าง ตรงนี้แหละครับที่มองต่างจากเอกชนข้ามชาติ บ.ฝรั่งเขาเน้นเรื่องการลดต้นทุน ถ้าหน่วยงานไหนใช้งบได้มีประสิทธิภาพ ผลงานออกมาเท่าเดิมหรือดีกว่าเดิม แต่ใช้งบน้อยกว่าเดิม นั่นคือคุณพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานนั่นไง และถ้าจะของบเพิ่ม ก็ต้องมีproject หรือแผนงานที่สมเหตุสมผลเช่นกัน การประเมินผลตรงนี้สำคัญ หลายคนบ่นกับระบบKPI แต่บ.ฝรั่งเขาให้ความสำคัญมาก มันไม่ใช่ระบบเอกสาร แต่เป็นระบบตรวจวัดความก้าวหน้า ถ้าออกแบบไม่ดี ก็ไม่เห็นผล แต่ถ้าออกแบบดี มันก็จะช่วยคัดกรองผลงาน ของคนที่ทำงานเก่ง ออกจากคนที่ทำงานเยอะแต่ไร้ประสิทธิภาพออกจากกัน
ป.ล. เรื่องเส้นสาย เด็กเส้น บ.ฝรั่งก็มีครับ connection ดีๆรู้จักผู้บริหาร มันก็ไปได้ไกล มีโอกาสได้จับprojectดีๆ แต่อย่างที่บอก ด้วยระบบประเมินที่ดี ทำให้คัดกรองคนไม่เก่งออกไปได้ แต่คนที่เก่งด้วยเส้นด้วยไปได้ไกลสุดๆ และอาจก้าวกระโดด promotion ได้อย่างรวดเร็วกว่าบ้านเราที่ยังยึดถือระบบอาวุโสเป็นหลัก
หลายคนบอกบ.ฝรั่งให้เงินเดือนดี เพราะกำไรเยอะ ต้นทุนน้อยขายแพงๆ(ที่ข้างบนยกตัวอย่างเรื่องต้นทุนวัตถุดิบยา) นั่นคือมองที่ปลายทางแล้วครับ
คุณแปลกใจไหม ทำไมโรงงานsmeไทยๆบ่นค่าแรงสามร้อย ทำเจ๊งขาดทุน แต่โรงงานข้ามชาติที่ทำสินค้าแบบเดียวกัน เขาให้ค่าแรงเกินสามร้อยมานานแล้ว?(แรงงานมีทักษะนะครับไม่ใช่แรงงานแบกหาม) บางคนอ้างว่า เขามีทุนหนา สายป่านยาว เอ๊ะ มีทุนหนาแต่ถ้าทำแล้วขาดทุนก็เจ๊งเหมือนกัน ค่าเงินสูง ก็ไม่น่าเกี่ยว เพราะในทางกลับกัน เราก็ส่งขายของบ้านเขาได้เช่นกัน(คือต้นทุนค่าแรงถูกไม่ต่างกัน เผลอๆค่าแรงโรงงานไทยถูกกว่าอีก) แต่ทำไมเราสู้เขาไม่ได้ หรือเลียนแบบเขายังไม่ได้เลย?
จริงๆแล้วบ.ฝรั่งเขามาได้ขนาดนี้ เพราะเขาให้คุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา เขากล้าลงทุนR&D เพื่อที่จะมีสินค้าใหม่ๆออกมาขาย เป็นผู้นำคนอื่น และเขาก็มีระบบกฎหมายที่เข้มแข็ง รวมไปถึงกองทัพที่คอยรักษาผลประโยชน์ประเทศเขา(คนอื่นเลยเกรงใจ ไม่กล้าละเมิดง่ายๆ)
เวลาเขาจ้างคน เขาเน้นจ้างคนเก่งมาทำงาน กล้าทุ่มเงินเดือนสูงๆจูงใจ เพราะรู้ว่าคนเก่งๆ ย่อมสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ และส่งผลให้เขาลดต้นทุนไปในตัว(กลับกันบ.บ้านเราหลายเจ้า คิดลดเงินเดือนว่าคือการลดต้นทุน แล้วคนเก่งที่ไหนจะอยากมาทำ?) แต่แน่นอน ในทางกลับกัน หากคุณทำงานได้ไม่ตามที่คาดหวัง เขาก็ไม่เก็บเอาไว้ ระบบประเมินKPIที่เข้มแข็ง(ที่ข้าราชการบางคนบ่น เพราะลอกเขามา แต่ทำได้ไม่ดีเหมือนเขา) ผมพบเห็นอดีตเพื่อนร่วมงานจำนวนมาก ที่ไม่ผ่านโปรฯ (ในขณะที่บ.บ้านเรา ถ้าไม่ถึงกับทำตัวเลวร้ายมากก็น่าจะผ่าน) รวมไปถึงถ้าหน่วยธุรกิจไหนขาดทุน และมองไม่เห็นอนาคต เขาก็พร้อมจะตัดไปทันทีด้วยการลดคน เลิกจ้าง แต่การเลิกจ้างของเขาก็มีเงินชดเชยแน่นอนชัดเจน ให้คนที่โดนเลิกจ้างมีโอกาสไปหางานใหม่ได้ไม่ยาก
และพูดถึง R&D ก็เพราะเขามีระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นร้อยปี เขาเลยตระหนักและเข้าใจ คุณค่าของ"ความคิด"และการวิจัย ว่ามันสามารถสร้างอะไรใหม่ๆ พัฒนาคุณภาพชีวิต และทำกำไรภายหลังได้อย่างชัดเจน ผมขอยกตัวอย่างคลาสสิคอย่างหญ้าเปล้าน้อย
เคสหญ้าเปล้าน้อย เป็นสมุนไพรไทย ที่ใช้กันมานาน แต่ก็ใช้ตามตำราโบราณ ไม่ได้มีการวิจัยอะไรชัดเจน แต่พอมีบ.ญี่ปุ่นนำไปทำวิจัย สกัดสาร จนทำเป็นยาเม็ดแคปซูลออกมาขาย ไปจดสิทธิบัตร ก็มีคนโวยวายว่า ญี่ปุ่นชุบมือเปิบ?!?!?!?!?!?!
คำถามคือ เมื่อก่อนเรารู้จักแค่เป็นสมุนไพร แต่ไม่ได้คิดทำการวิจัย ใช้ตามตำราโบราณไปตามๆกันเท่านั้น ผลข้างเคียงมีอะไรบ้างก็ไม่รู้ เสี่ยงชีวิตกันเอาเอง และถามจริงๆคุณจะไปเด็ดหญ้าเปล้าน้อยมากินกันเองหรือไม่? ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ รู้จักชื่อเพราะเรื่องจดสิทธิบัตร ไม่ได้รู้จักสมุนไพรนี้มาก่อนเลยในชีวิตด้วยซ้ำ
นั่นคือคนไทยเองมองไม่เห็นคุณค่าอะไร แล้วจะมาเรียกร้องโวยวายตอนคนอื่นเขา ทุ่มเท ลงทุน ทำวิจัย หมดไปนับร้อยนับพันล้าน เพื่อสกัดสารเคมีจากตัวสมุนไพร เพื่อทดสอบผลกระทบ เพื่อทดลองวิจัยคลินิก เพื่อที่จะนำมาใช้ได้อย่างแพร่หลายและปลอดภัย ถ้าเราจะเอาผลงานวิจัยที่เขาต้องทุ่มเท ลงทุน มาใช้ดื้อๆนั่นตะหากที่เรียกว่าชุบมือเปิบ เห็นผลงานเขา ทำเป็นยาเม็ดขาย ใช้งานได้ดี ส่งผลกระทบข้างเคียงน้อย แล้วไปหาว่าเขาเอากำไรเกินควร จากสิ่งที่คนไทยรู้อยู่แล้ว(?)
ทัศนคติตรงนี้สำคัญครับ ไม่เคยคิดจะลงทุนพัฒนาอะไร จะลอกเลียนแบบเขา หรือก่นด่าเขาว่าเอากำไรจากวัตถุดิบมากเกินไป เราๆก็คงไปได้ไม่ไกลมากกว่านี้สักเท่าไรนั่นแหละ
ต่ออีกนิดเรื่องproductivity มุมมองการผลิตที่ยังมองต่างกัน เวลาเราบอกอยากได้กำไรเพิ่มจะทำอย่างไร หลายคนตอบง่ายๆว่า ก็ลดต้นทุนการผลิตไง ขายเท่าเดิม แต่ต้นทุนถูกลงก็กำไรเพิ่มแล้ว ใช่ครับ คำตอบถูกต้องบางส่วน แต่ในการลดต้นทุนนั้น ไม่ใช่แค่ว่าตัดวัตถุดิบ แล้วลดคุณภาพลงไปดื้อๆ แต่มันต้องศึกษาวิจัยว่า ใช้วัตถุดิบอะไรทดแทน แล้วคุณภาพมาใกล้เคียงของเดิม หรือแม้แต่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ฝึกฝนงานงาน เข้มงวดกับระบบdiscipline รวมไปถึงใช้ความรู้ทางสถิติมาช่วย พวกนี้เป็นการลดต้นทุนทางอ้อมทั้งนั้น หรืออีกทางก็คือขยายตลาด เพิ่มproduct line พวกนี้ก็ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ที่บอกว่าต่าง ผมจะยกตัวอย่างงบประมาณของราชการเทียบให้ดู ที่มีคนชอบพูดว่า เวลาได้งบมาต้องใช้ให้หมด ห้ามเหลือ เพราะถ้าเหลือปีหน้าจะถูกตัด เราเลยพบเห็นการใช้งบทิ้งๆขว้างๆ ไปดูงานบ้าง จัดกิจกรรมอะไรเลื่อนลอยบ้าง ตรงนี้แหละครับที่มองต่างจากเอกชนข้ามชาติ บ.ฝรั่งเขาเน้นเรื่องการลดต้นทุน ถ้าหน่วยงานไหนใช้งบได้มีประสิทธิภาพ ผลงานออกมาเท่าเดิมหรือดีกว่าเดิม แต่ใช้งบน้อยกว่าเดิม นั่นคือคุณพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานนั่นไง และถ้าจะของบเพิ่ม ก็ต้องมีproject หรือแผนงานที่สมเหตุสมผลเช่นกัน การประเมินผลตรงนี้สำคัญ หลายคนบ่นกับระบบKPI แต่บ.ฝรั่งเขาให้ความสำคัญมาก มันไม่ใช่ระบบเอกสาร แต่เป็นระบบตรวจวัดความก้าวหน้า ถ้าออกแบบไม่ดี ก็ไม่เห็นผล แต่ถ้าออกแบบดี มันก็จะช่วยคัดกรองผลงาน ของคนที่ทำงานเก่ง ออกจากคนที่ทำงานเยอะแต่ไร้ประสิทธิภาพออกจากกัน
ป.ล. เรื่องเส้นสาย เด็กเส้น บ.ฝรั่งก็มีครับ connection ดีๆรู้จักผู้บริหาร มันก็ไปได้ไกล มีโอกาสได้จับprojectดีๆ แต่อย่างที่บอก ด้วยระบบประเมินที่ดี ทำให้คัดกรองคนไม่เก่งออกไปได้ แต่คนที่เก่งด้วยเส้นด้วยไปได้ไกลสุดๆ และอาจก้าวกระโดด promotion ได้อย่างรวดเร็วกว่าบ้านเราที่ยังยึดถือระบบอาวุโสเป็นหลัก
แสดงความคิดเห็น
ทำไมบริษัทฝรั่งถึงให้เงินเดือนได้มากกว่าบริษัทไทย?