กสทช.ระบุ ปัญหาคลื่นรบกวนชายแดนไทย-ลาว ไม่จบ!! 2 ฝ่าย ( DTAC WCDMA850 และ ETLE-GSM900 ) ไม่มีคลื่นให้ย้าย เพราะทั้ง 2 ระบบต่างก็ใช้งานด้านเสียงเหมือนกัน
ประเด็นหลัก
พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค เปิดเผยว่า กรณีปัญหาคลื่นความถี่รบกวนกันบริเวณชายแดนประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ในระบบ WCDMA850 กับบริษัท ETL ในระบบ E-GSM900 ของ สปป.ลาว ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากที่ผ่านมา ดำเนินการเฉพาะบริเวณเวียงจันทน์ กับหนองคาย และอุดรธานี โดยกำหนดการปรับย้ายช่วงความถี่ไม่ให้ทับซ้อนกันในระยะ 60 กิโลเมตร จากแนวชายแดนเท่านั้น จึงยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
“การรบกวนของคลื่นดีแทค ทำให้ลูกค้าบริษัท ELT ซึ่งเป็นโอเปอเรเตอร์ของรัฐไม่สามารถใช้งานได้ จนเกิดปัญหาลูกค้าของเขาย้ายออกเกือบหมด ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 2 ฝ่ายมีความพยายามในการแก้ปัญหามาโดยตลอด แต่ไม่มีคลื่นให้ย้าย เพราะทั้ง 2 ระบบต่างก็ใช้งานด้านเสียงเหมือนกัน”
ดังนั้น จึงได้มีข้อตกลงในการปรับค่าและวัดผลสัญญาณร่วมกันโดยด่วนต่อไป รวมถึงพื้นที่อื่น ได้แก่ สะหวันนะเขต กับมุกดาหาร ปากเซ กับอุบลราชธานี และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่คลื่นวิทยุตามบริเวณไทย-ลาว (JTC) เห็นชอบให้มีการแจ้งการใช้งานคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะ 1 กิโลเมตร จากบริเวณชายแดนไทย-ลาว เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาการรบกวนในระยะยาวต่อไปด้วย
______________________________
ไร้ข้อยุติเจรจาคลื่นรบกวนชายแดนไทย-ลาว ระหว่างดีแทคและ ELT
พลอากาศตรี ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค
กสทช.ชี้การแก้ปัญหาคลื่นรบกวนชายแดนไทย-ลาว ระหว่างดีแทค และ ETL ยังไม่ได้ข้อยุติ เบื้องต้นปรับย้ายคลื่นความถี่เฉพาะบริเวณเวียงจันทน์ กับหนองคาย และอุดรฯ ขณะที่พื้นที่อื่นต้องหาทางออกร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค เปิดเผยว่า กรณีปัญหาคลื่นความถี่รบกวนกันบริเวณชายแดนประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ในระบบ WCDMA850 กับบริษัท ETL ในระบบ E-GSM900 ของ สปป.ลาว ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากที่ผ่านมา ดำเนินการเฉพาะบริเวณเวียงจันทน์ กับหนองคาย และอุดรธานี โดยกำหนดการปรับย้ายช่วงความถี่ไม่ให้ทับซ้อนกันในระยะ 60 กิโลเมตร จากแนวชายแดนเท่านั้น จึงยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
“การรบกวนของคลื่นดีแทค ทำให้ลูกค้าบริษัท ELT ซึ่งเป็นโอเปอเรเตอร์ของรัฐไม่สามารถใช้งานได้ จนเกิดปัญหาลูกค้าของเขาย้ายออกเกือบหมด ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 2 ฝ่ายมีความพยายามในการแก้ปัญหามาโดยตลอด แต่ไม่มีคลื่นให้ย้าย เพราะทั้ง 2 ระบบต่างก็ใช้งานด้านเสียงเหมือนกัน”
ดังนั้น จึงได้มีข้อตกลงในการปรับค่าและวัดผลสัญญาณร่วมกันโดยด่วนต่อไป รวมถึงพื้นที่อื่น ได้แก่ สะหวันนะเขต กับมุกดาหาร ปากเซ กับอุบลราชธานี และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่คลื่นวิทยุตามบริเวณไทย-ลาว (JTC) เห็นชอบให้มีการแจ้งการใช้งานคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะ 1 กิโลเมตร จากบริเวณชายแดนไทย-ลาว เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาการรบกวนในระยะยาวต่อไปด้วย
นอกจากนี้ ในปี 2558 กสทช.มีแผนจะจัดโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.เขตของไทย และ สปป.ลาว เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และง่ายในการเจรจา ประสานงานเรื่องปัญหาเรื่องคลื่นความถี่ระหว่างชายแดน ขณะเดียวกัน จะเชิญตัวแทนจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการประสานงานคลื่นความถี่ ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะบุคลากรใน กสทช.แต่จะเชิญตัวแทนจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา พม่า รวมถึงประเทศอื่นๆที่สนใจเข้ามาร่วมอบรมด้วย เพื่อมีแนวทางด้านการประสานงานเรื่องคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000125716
กสทช.ระบุ ปัญหาคลื่นรบกวนชายแดนไทย-ลาว ไม่จบ!! 2 ฝ่าย ( DTAC WCDMA850 และ ETLE-GSM900 ) ไม่มีคลื่นให้ย้าย ต่างก็ใช้งาน
ประเด็นหลัก
พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค เปิดเผยว่า กรณีปัญหาคลื่นความถี่รบกวนกันบริเวณชายแดนประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ในระบบ WCDMA850 กับบริษัท ETL ในระบบ E-GSM900 ของ สปป.ลาว ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากที่ผ่านมา ดำเนินการเฉพาะบริเวณเวียงจันทน์ กับหนองคาย และอุดรธานี โดยกำหนดการปรับย้ายช่วงความถี่ไม่ให้ทับซ้อนกันในระยะ 60 กิโลเมตร จากแนวชายแดนเท่านั้น จึงยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
“การรบกวนของคลื่นดีแทค ทำให้ลูกค้าบริษัท ELT ซึ่งเป็นโอเปอเรเตอร์ของรัฐไม่สามารถใช้งานได้ จนเกิดปัญหาลูกค้าของเขาย้ายออกเกือบหมด ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 2 ฝ่ายมีความพยายามในการแก้ปัญหามาโดยตลอด แต่ไม่มีคลื่นให้ย้าย เพราะทั้ง 2 ระบบต่างก็ใช้งานด้านเสียงเหมือนกัน”
ดังนั้น จึงได้มีข้อตกลงในการปรับค่าและวัดผลสัญญาณร่วมกันโดยด่วนต่อไป รวมถึงพื้นที่อื่น ได้แก่ สะหวันนะเขต กับมุกดาหาร ปากเซ กับอุบลราชธานี และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่คลื่นวิทยุตามบริเวณไทย-ลาว (JTC) เห็นชอบให้มีการแจ้งการใช้งานคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะ 1 กิโลเมตร จากบริเวณชายแดนไทย-ลาว เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาการรบกวนในระยะยาวต่อไปด้วย
______________________________
ไร้ข้อยุติเจรจาคลื่นรบกวนชายแดนไทย-ลาว ระหว่างดีแทคและ ELT
พลอากาศตรี ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค
กสทช.ชี้การแก้ปัญหาคลื่นรบกวนชายแดนไทย-ลาว ระหว่างดีแทค และ ETL ยังไม่ได้ข้อยุติ เบื้องต้นปรับย้ายคลื่นความถี่เฉพาะบริเวณเวียงจันทน์ กับหนองคาย และอุดรฯ ขณะที่พื้นที่อื่นต้องหาทางออกร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค เปิดเผยว่า กรณีปัญหาคลื่นความถี่รบกวนกันบริเวณชายแดนประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ในระบบ WCDMA850 กับบริษัท ETL ในระบบ E-GSM900 ของ สปป.ลาว ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากที่ผ่านมา ดำเนินการเฉพาะบริเวณเวียงจันทน์ กับหนองคาย และอุดรธานี โดยกำหนดการปรับย้ายช่วงความถี่ไม่ให้ทับซ้อนกันในระยะ 60 กิโลเมตร จากแนวชายแดนเท่านั้น จึงยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
“การรบกวนของคลื่นดีแทค ทำให้ลูกค้าบริษัท ELT ซึ่งเป็นโอเปอเรเตอร์ของรัฐไม่สามารถใช้งานได้ จนเกิดปัญหาลูกค้าของเขาย้ายออกเกือบหมด ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 2 ฝ่ายมีความพยายามในการแก้ปัญหามาโดยตลอด แต่ไม่มีคลื่นให้ย้าย เพราะทั้ง 2 ระบบต่างก็ใช้งานด้านเสียงเหมือนกัน”
ดังนั้น จึงได้มีข้อตกลงในการปรับค่าและวัดผลสัญญาณร่วมกันโดยด่วนต่อไป รวมถึงพื้นที่อื่น ได้แก่ สะหวันนะเขต กับมุกดาหาร ปากเซ กับอุบลราชธานี และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่คลื่นวิทยุตามบริเวณไทย-ลาว (JTC) เห็นชอบให้มีการแจ้งการใช้งานคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะ 1 กิโลเมตร จากบริเวณชายแดนไทย-ลาว เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาการรบกวนในระยะยาวต่อไปด้วย
นอกจากนี้ ในปี 2558 กสทช.มีแผนจะจัดโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.เขตของไทย และ สปป.ลาว เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และง่ายในการเจรจา ประสานงานเรื่องปัญหาเรื่องคลื่นความถี่ระหว่างชายแดน ขณะเดียวกัน จะเชิญตัวแทนจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการประสานงานคลื่นความถี่ ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะบุคลากรใน กสทช.แต่จะเชิญตัวแทนจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา พม่า รวมถึงประเทศอื่นๆที่สนใจเข้ามาร่วมอบรมด้วย เพื่อมีแนวทางด้านการประสานงานเรื่องคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000125716