คดีแบบไหนที่ศาลจะรับดำเนินคดีและพิจารณาคดีเป็นคดีผู้บริโภค
คดีแพ่ง ที่ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจมีข้อพิพาทกันเนื่องจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
คดีแพ่ง ที่ประชาชนได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
คดีแพ่ง ที่เกี่ยวพันกับคดีทั้ง 2 ข้อข้างต้น
คดีแพ่งอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นคดีผู้บริโภค
ขั้นตอนการยื่นฟ้องต่อศาลคดีผู้บริโภค
1.ผู้ บริโภคหรือผู้เสียหาย มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่หรือต่อศาลแห่งอื่นได้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องคดีผู้บริโภคได้เฉพาะเขตศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิ ลำเนาอยู่เท่านั้น
2. ให้ยื่นฟ้องต่อศาล ที่แผนกคดีผู้บริโภค ภายในความ 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หากเลยกำหนดนี้ถือว่าขาดอายุความ
3. หาก ความเสียหายไม่เกิน 300,000 บาท ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวง ถ้าเกิน 300,000 บาทให้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด หากอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง
4. ในการฟ้องคดีผู้บริโภค สามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
5. การ ยื่นฟ้องด้วยวาจา เจ้าพนักงานคดีจะเป็นผู้บันทึกคำฟ้อง และให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ฟ้องจึงสามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีทนายความก็ได้
6.คำ ฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุที่ต้องมาฟ้องคดี รวมทั้งต้องมีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นชัดเจนพอที่จะ ให้เข้าใจได้
7.เมื่อ ศาลรับคำฟ้องแล้ว ศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว และออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัดเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ข้อดีของศาลคดีผู้บริโภค
- ศาลยุติธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นศาลผู้บริโภค
- ระบบวิธีพิจารณาคดีเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค
- การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม
- ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อคุณภาพสินค้าและบริการ
- ภาระพิสูจน์เกี่ยวกับสินค้าตกแก่ผู้ประกอบธุรกิจ
- กระบวนวิธีพิจารณาคดีรวดเร็วขึ้น และคำพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์เท่านั้น
- ให้การคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
- ศาลอาจจะใช้ผลการพิจารณาคดีเดิม เป็นฐานในการกรณีพิจารณาคดีที่ใกล้เคียงกันได้
ศาลคดีผู้บริโภคมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจทำอะไรได้บ้าง
- เปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ แทนการแก้ไขซ่อมแซม
- ให้ทำประกาศเรียกรับสินค้าคืนจากผู้บริโภค
- ห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลือ เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่าย หรือให้ทำลายสินค้าที่เหลือ กรณีที่สินค้าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจได้
- จ่ายค่าเสียหายเกินคำขอของผู้บริโภคได้หากเห็นว่าเกิดความเสียหายมากกว่าที่ได้ขอไป
- จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริง
ฯลฯ
http://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=2772:2013-03-04-04-20-37&catid=274:-digital-file-&Itemid=56
ขอแนะนำ การฟ้องคดี ผู้บริโภค กับบริษัท Truemove-H True cop. และ itruemart ครับ
คดีแพ่ง ที่ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจมีข้อพิพาทกันเนื่องจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
คดีแพ่ง ที่ประชาชนได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
คดีแพ่ง ที่เกี่ยวพันกับคดีทั้ง 2 ข้อข้างต้น
คดีแพ่งอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นคดีผู้บริโภค
ขั้นตอนการยื่นฟ้องต่อศาลคดีผู้บริโภค
1.ผู้ บริโภคหรือผู้เสียหาย มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่หรือต่อศาลแห่งอื่นได้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องคดีผู้บริโภคได้เฉพาะเขตศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิ ลำเนาอยู่เท่านั้น
2. ให้ยื่นฟ้องต่อศาล ที่แผนกคดีผู้บริโภค ภายในความ 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หากเลยกำหนดนี้ถือว่าขาดอายุความ
3. หาก ความเสียหายไม่เกิน 300,000 บาท ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวง ถ้าเกิน 300,000 บาทให้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด หากอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง
4. ในการฟ้องคดีผู้บริโภค สามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
5. การ ยื่นฟ้องด้วยวาจา เจ้าพนักงานคดีจะเป็นผู้บันทึกคำฟ้อง และให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ฟ้องจึงสามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีทนายความก็ได้
6.คำ ฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุที่ต้องมาฟ้องคดี รวมทั้งต้องมีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นชัดเจนพอที่จะ ให้เข้าใจได้
7.เมื่อ ศาลรับคำฟ้องแล้ว ศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว และออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัดเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ข้อดีของศาลคดีผู้บริโภค
- ศาลยุติธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นศาลผู้บริโภค
- ระบบวิธีพิจารณาคดีเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค
- การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม
- ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อคุณภาพสินค้าและบริการ
- ภาระพิสูจน์เกี่ยวกับสินค้าตกแก่ผู้ประกอบธุรกิจ
- กระบวนวิธีพิจารณาคดีรวดเร็วขึ้น และคำพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์เท่านั้น
- ให้การคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
- ศาลอาจจะใช้ผลการพิจารณาคดีเดิม เป็นฐานในการกรณีพิจารณาคดีที่ใกล้เคียงกันได้
ศาลคดีผู้บริโภคมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจทำอะไรได้บ้าง
- เปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ แทนการแก้ไขซ่อมแซม
- ให้ทำประกาศเรียกรับสินค้าคืนจากผู้บริโภค
- ห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลือ เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่าย หรือให้ทำลายสินค้าที่เหลือ กรณีที่สินค้าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจได้
- จ่ายค่าเสียหายเกินคำขอของผู้บริโภคได้หากเห็นว่าเกิดความเสียหายมากกว่าที่ได้ขอไป
- จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริง
ฯลฯ
http://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=2772:2013-03-04-04-20-37&catid=274:-digital-file-&Itemid=56