อย่าให้เขาใช้ความยากจน ความเหลื่อมล้ำมาเป็นเครื่องมือในทางด้านการเมืองอีกต่อไปเลย

กระทู้สนทนา
ย่อๆ นะครับ เอาที่เป็นประเด็นสำหรับตัวผม

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ ขอบคุณและให้กำลังใจสภาปฏิรูปแห่งชาติ ชี้การปฏิรูปประเทศในห้วงเวลานี้เป็นเรื่องยาก พร้อมแนะว่ารัฐธรรมนูญใหม่ควรออกแบบให้เป็น
ประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับคนไทย

ระบบการสอน การเรียนรู้ การให้แนวคิด ในสังคมปัจจุบัน อยากให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องลองปรับเล็กน้อย อย่าสอนให้เสรีมากนัก คำว่าเสรีต้องมีขีดจำกัด อยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ต้องรู้จักหน้าที่ ต้องรู้จักการให้เกียรติบุคคลอื่นบ้าง ไม่สอนให้คนไม่เคารพกฎหมายหรือต่อให้เรามีกี่คณะ ทำงานออกมา กฎกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ทำออกมา สปช. ออกแบบออกมาว่า จะร่างรัฐธรรมนูญกันอย่างไร ก็ไม่สำเร็จ เพราะทุกคนจะรู้สึกว่า ถูกบังคับ ไม่ยอมก็เป็นอันตราย
ประชาธิปไตยของโลกสากล เขายังต้องเคารพกฎหมาย มีกฎหมายข้อบังคับมากมาย เขาก็ไม่ได้ต่อต้านอะไรกันรุนแรงแบบบ้านเรา ถ้าเราจะไม่มีกฎหมายไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบอะไรเลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องของเสรีประชาธิปไตย ผมว่าอันตราย

เพราะฉะนั้นเราน่าจะออกแบบให้เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับคนไทย สอนให้มีสติ จะคิด จะเชื่อ เพราะเราอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและความมีเหตุผล อย่าให้เขาใช้ความยากจน ความเหลื่อมล้ำมาเป็นเครื่องมือในทางด้านการเมืองอีกต่อไปเลย



ตอนที่สก็อตแลนด์จะแยกตัวจากอังกฤษยังต้องทำประชามติเพราะมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนในชาติ พอผลออกมา ทุกคนก็ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ก็ไม่เห็นมันจะมีปัญหา  และประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับคนไทยน่ะเป็นแบบไหนหรือครับ ??  อันนี้ผมอยากทราบจริงๆ
ผมว่าประชาธิปไตยมันไปกับเผด็จการไม่ได้อ่ะ  

อย่าให้เขาใช้ความจนมาเรียกร้อง?

ประเทศอื่นเขามีแต่จะต้องพัฒนาให้คนจนเลิกจน ลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เขามีสิทธิ์มีเสียงทัดเทียมกับคนรวยนะ แต่ประเทศนี้คืออะไร เกิดมาจนก็ผิดเหรอ เกิดมาจนก็ก้มหน้าอยู่ไปแบบจนๆ เหรอ อย่าสะเออะเรียกร้องถ้าไม่มีเงิน เอาแบบนี้จริงเหรอ
และถ้า "เขา" ที่ทั่นเรียกหมายถึงลุงแม้ว ผมจะบอกว่า ที่ผ่านบ้านผมผ่อนบ้าน ผ่อนรถหมดหนี้ในสมัยเค้าครับ บ้านผมเฉพาะพี่น้องทั้งหมด 5 คน อายุไล่เลี่ยกัน คุณพ่อคุณแม่เป็นพ่อค้าแม่ค้า อยู่ที่อนุเสาวรีย์ ช่วงนั้นเศรษฐกิจดีมาก ขายของได้วันละเกือบๆ 2 หมื่น
แค่นี้แหละครับ แค่ความคิดอีกด้านหนึ่งของคนจน

เพี้ยนรมเสีย เพี้ยนรมเสีย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่