กำลังเป็นกระแส ขอเกาะกระแสตามไปซะหน่อย
ไหนๆใครต่อใครก็บรรยายความรู้สึกประทับใจที่ได้ชมกันไปไม่น้อยแล้ว
แน่นอนว่าผมก็คนหนึ่งที่ประทับใจ กับการตีแผ่มุมมองชีวิต ของคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่เส้นทางสายดนตรีอาชีพ
เรื่องราวชีวิตของอาจารย์จอมโหดกับลูกศิษย์จอมเฮี้ยว
ความรู้สึกฉากสุดท้าย เหมือนได้ดูหนังสงครามยังไงยังงั้น
มีกระทู้มากมายบ่งบอกบรรยายเกี่ยวกับตัวหนังไปไม่น้อย
เลยไม่อยากจะเขียนซ้ำ จึงขอเลี่ยงไปเขียนเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับดนตรีบ้างดีกว่า
Rushing or Dragging
ฉากกระชากอารมณ์ฉากหนึ่งของหนัง อ.จอมโหดถามว่า นายเล่นเร่งหรือลาก
ในดนตรีนั้นจะมีคำศัพท์ว่า lay back นั่นคือการเล่นแบบหน่วงๆ
อธิบายง่ายๆ เมื่อเปิด Metronome ก็จะมีเสียงติ๊กต็อกๆ
ผู้เล่นจะเล่นจังหวะไล่ตามหลังเสียงติ๊กต็อกนั้นเพียงเล็กน้อย ถ้ามากไปจะคร่อมจังหวะ
ถ้าเล่นนำมาก่อนก็คือ rushing หรือเร่งจังหวะนั่นเอง
สำหรับเพลงแนวแจ๊ส ให้ความสำคัญกับการเล่นหน่วงจังหวะเป็นที่สุด
ถ้าไปเล่น rushing ในเพลงประเภท funk มันจะไม่ผิดอะไร ออกจะถูกด้วยซ้ำ
แต่แจ๊สมันต้องลาก ต้องหน่วงไว้
ดังนั้น จารย์ เฟล็ทเชอร์ แกเลยเหวี่ยงเอา เวลาพระเอกเล่นเร่ง
แต่การเล่นเร่งมันก็ไม่ใช่จะแก้ไขกันง่ายๆนะ จริงๆอาจใช้เวลาเป็นปีๆกว่าจะสร้างความเคยชินขึ้นมาได้
Buddy Rich ผู้เป็นไอดอลของพระเอก
มือกลองผิวขาว ที่หวดกลองราวกับพายุคลั่ง ด้วยความเร็วและลื่นไหล
เป็นมือกลองที่ตั้งตัวเป็น soloist คนแรกๆเลยก็ว่าได้
เส้นทางสายดนตรีแกเริ่มแต่ปี 1937 โน่น
สมัยก่อนมือกลองเขาก็เล่นสนับสนุนวงไปใช่มั้ยล่ะ แต่คนนี้ต้องมีโชว์
ปัจจุบันก็เสียชีวิตไปแล้ว ตามกาลเวลา มาดูลีลาการหวดกลองของแกกัน
Charlie Parker มีฉายาว่า Bird มือแซ็กโซโฟน
นักดนตรีที่ จารย์ เฟล็ทเชอร์ อ้างถึงบ่อยๆในเรื่อง คนนี้เป็นผู้นำสาย Bebop
ช่วงที่ ปาร์คเกอร์ ย้ายมาหากินในนิวยอร์ค มีคลับแห่งหนึ่งเป็นที่รวมตัวของนักดนตรีรุ่นใหม่
มีช่วง after-hours ซึ่งนักดนตรีเหล่านี้จะมาแจมกัน
มันแจมไปแจมมาอีท่าไหนก็ไม่รู้ มันเกิดแนวเพลงสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ Bebop ขึ้นมาจนได้
แนวนี้ แรกๆไม่ได้รับการยอมรับเอาเสียเลย
โดยเฉพาะจากพวกนักดนตรีแจ๊สสาย Tradition ทั้งหลาย ไม่เว้นแม้ Louis Armstrong
นักดนตรีรุ่นใหญ่ กล่าววิจารณ์ว่า นี่มันอะไร มีแต่คอร์ดแปลกๆ ไม่มีทำนองให้จดจำ ไม่มีจังหวะให้เต้นรำ
Bebop อาจไม่ได้รับความนิยมในหมู่คนฟังมากนัก
โดยส่วนตัวผมคิดว่านี่เป็นจุดเริ่มที่ทำให้คนทั่วไป ติดภาพว่าแจ๊สฟังยาก
แต่ถึงกระนั้น พวกนักดนตรีหัวก้าวหน้าก็ยังยืนหยัดเล่นกันอยู่
จนตัดสาย Bebop ออกไปจากดนตรีแจ๊สไม่ได้
สไตล์ของ ปาร์คเกอร์ก็เป็นเช่นนี้
Caravan เพลงที่ แอนดริว ใช้ประกาศสงครามกับ จารย์ เฟล็ทเชอร์ (ว่าไปนั่น)
เพลงนี้ประพันธ์โดย Duke Ellington
ชื่อล็อคอินผมก็มาจากคนนี้แหละ เหอะๆ
Duke เป็นนักดนตรีที่สุดยอดมาก ถึงขนาดที่ Stevie Wonder ยังแต่งเพลงอุทิศให้
นั่นคือเพลง Sir Duke นั่นเอง
คือมีเรื่องเล่าอยู่ว่า สมัยที่อเมริกายังเหยียดผิวกันจัดๆ โรงแรมคนขาวจะไม่รับพวกคนดำเข้ามาเลย
แต่ โรงแรมนั้นดันจ้างวงของ Duke ซึ่งเป็นคนผิวดำ เข้าไปเล่นให้พวกคนขาวดู
ส่วนตัวผมแล้วคิดว่า Duke Ellington คือคนแรกๆที่ทำลายกำแพงของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ในอเมริกา ให้พังทลายลง
อาจจะไม่มาก แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้น ก้าวเล็กๆที่สำคัญไม่น้อย
ชื่อของ Duke Ellington ยังถูกนำมาใช้เป็นชื่อวงจนถึงทุกวันนี้
นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของเขาเป็นอย่างดี
เอาล่ะ ก็คงเขียนได้ประมาณนี้ พอแล้ว
เชิญไปชมหนังกันให้สนุกนะครับ
Whiplash (2014) เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยกับดนตรีแจ๊ส (เกี่ยวกับหนังมั้ยน้อ)
ไหนๆใครต่อใครก็บรรยายความรู้สึกประทับใจที่ได้ชมกันไปไม่น้อยแล้ว
แน่นอนว่าผมก็คนหนึ่งที่ประทับใจ กับการตีแผ่มุมมองชีวิต ของคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่เส้นทางสายดนตรีอาชีพ
เรื่องราวชีวิตของอาจารย์จอมโหดกับลูกศิษย์จอมเฮี้ยว
ความรู้สึกฉากสุดท้าย เหมือนได้ดูหนังสงครามยังไงยังงั้น
มีกระทู้มากมายบ่งบอกบรรยายเกี่ยวกับตัวหนังไปไม่น้อย
เลยไม่อยากจะเขียนซ้ำ จึงขอเลี่ยงไปเขียนเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับดนตรีบ้างดีกว่า
Rushing or Dragging
ฉากกระชากอารมณ์ฉากหนึ่งของหนัง อ.จอมโหดถามว่า นายเล่นเร่งหรือลาก
ในดนตรีนั้นจะมีคำศัพท์ว่า lay back นั่นคือการเล่นแบบหน่วงๆ
อธิบายง่ายๆ เมื่อเปิด Metronome ก็จะมีเสียงติ๊กต็อกๆ
ผู้เล่นจะเล่นจังหวะไล่ตามหลังเสียงติ๊กต็อกนั้นเพียงเล็กน้อย ถ้ามากไปจะคร่อมจังหวะ
ถ้าเล่นนำมาก่อนก็คือ rushing หรือเร่งจังหวะนั่นเอง
สำหรับเพลงแนวแจ๊ส ให้ความสำคัญกับการเล่นหน่วงจังหวะเป็นที่สุด
ถ้าไปเล่น rushing ในเพลงประเภท funk มันจะไม่ผิดอะไร ออกจะถูกด้วยซ้ำ
แต่แจ๊สมันต้องลาก ต้องหน่วงไว้
ดังนั้น จารย์ เฟล็ทเชอร์ แกเลยเหวี่ยงเอา เวลาพระเอกเล่นเร่ง
แต่การเล่นเร่งมันก็ไม่ใช่จะแก้ไขกันง่ายๆนะ จริงๆอาจใช้เวลาเป็นปีๆกว่าจะสร้างความเคยชินขึ้นมาได้
Buddy Rich ผู้เป็นไอดอลของพระเอก
มือกลองผิวขาว ที่หวดกลองราวกับพายุคลั่ง ด้วยความเร็วและลื่นไหล
เป็นมือกลองที่ตั้งตัวเป็น soloist คนแรกๆเลยก็ว่าได้
เส้นทางสายดนตรีแกเริ่มแต่ปี 1937 โน่น
สมัยก่อนมือกลองเขาก็เล่นสนับสนุนวงไปใช่มั้ยล่ะ แต่คนนี้ต้องมีโชว์
ปัจจุบันก็เสียชีวิตไปแล้ว ตามกาลเวลา มาดูลีลาการหวดกลองของแกกัน
Charlie Parker มีฉายาว่า Bird มือแซ็กโซโฟน
นักดนตรีที่ จารย์ เฟล็ทเชอร์ อ้างถึงบ่อยๆในเรื่อง คนนี้เป็นผู้นำสาย Bebop
ช่วงที่ ปาร์คเกอร์ ย้ายมาหากินในนิวยอร์ค มีคลับแห่งหนึ่งเป็นที่รวมตัวของนักดนตรีรุ่นใหม่
มีช่วง after-hours ซึ่งนักดนตรีเหล่านี้จะมาแจมกัน
มันแจมไปแจมมาอีท่าไหนก็ไม่รู้ มันเกิดแนวเพลงสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ Bebop ขึ้นมาจนได้
แนวนี้ แรกๆไม่ได้รับการยอมรับเอาเสียเลย
โดยเฉพาะจากพวกนักดนตรีแจ๊สสาย Tradition ทั้งหลาย ไม่เว้นแม้ Louis Armstrong
นักดนตรีรุ่นใหญ่ กล่าววิจารณ์ว่า นี่มันอะไร มีแต่คอร์ดแปลกๆ ไม่มีทำนองให้จดจำ ไม่มีจังหวะให้เต้นรำ
Bebop อาจไม่ได้รับความนิยมในหมู่คนฟังมากนัก
โดยส่วนตัวผมคิดว่านี่เป็นจุดเริ่มที่ทำให้คนทั่วไป ติดภาพว่าแจ๊สฟังยาก
แต่ถึงกระนั้น พวกนักดนตรีหัวก้าวหน้าก็ยังยืนหยัดเล่นกันอยู่
จนตัดสาย Bebop ออกไปจากดนตรีแจ๊สไม่ได้
สไตล์ของ ปาร์คเกอร์ก็เป็นเช่นนี้
Caravan เพลงที่ แอนดริว ใช้ประกาศสงครามกับ จารย์ เฟล็ทเชอร์ (ว่าไปนั่น)
เพลงนี้ประพันธ์โดย Duke Ellington
ชื่อล็อคอินผมก็มาจากคนนี้แหละ เหอะๆ
Duke เป็นนักดนตรีที่สุดยอดมาก ถึงขนาดที่ Stevie Wonder ยังแต่งเพลงอุทิศให้
นั่นคือเพลง Sir Duke นั่นเอง
คือมีเรื่องเล่าอยู่ว่า สมัยที่อเมริกายังเหยียดผิวกันจัดๆ โรงแรมคนขาวจะไม่รับพวกคนดำเข้ามาเลย
แต่ โรงแรมนั้นดันจ้างวงของ Duke ซึ่งเป็นคนผิวดำ เข้าไปเล่นให้พวกคนขาวดู
ส่วนตัวผมแล้วคิดว่า Duke Ellington คือคนแรกๆที่ทำลายกำแพงของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ในอเมริกา ให้พังทลายลง
อาจจะไม่มาก แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้น ก้าวเล็กๆที่สำคัญไม่น้อย
ชื่อของ Duke Ellington ยังถูกนำมาใช้เป็นชื่อวงจนถึงทุกวันนี้
นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของเขาเป็นอย่างดี
เอาล่ะ ก็คงเขียนได้ประมาณนี้ พอแล้ว
เชิญไปชมหนังกันให้สนุกนะครับ