โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพาต

กระทู้ข่าว
โรคหลอดเลือดสมองหรือที่ทุกคนเรียกสั้นๆว่าโรคอัมพาตนั้น  เป็นโรคที่ทุกคนไม่อยากเป็น แต่ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงได้  เพราะเป็นโรคที่พบบ่อยมาก  ทุกๆ 4 นาที  มีคนไทยเป็นโรคอัมพาต 1 คน  และทุกๆ 10 นาที  มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคอัมพาต 1 คน ดังนั้นโรคอัมพาตเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราทุกคน  ทางองค์การอนามัยโรค (WHO) จึงได้กำหนดให้วันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันอัมพาตโลก  เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงการส่งเสริม  ป้องกัน  และดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอัมพาต  
     โรคอัมพาตมี 2 ชนิด  คือ  เลือดออกในสมองและสมองขาดเลือด  ปัจจุบันคนไทย 1 ใน 4 เป็นอัมพาตชนิดเลือดออกในสมอง  และ  3 ใน 4  เป็นอัมพาตชนิดสมองขาดเลือด
        ในอดีตผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตมีโอกาสหายน้อยมาก  แต่ในปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยอัมพาตชนิดสมองขาดเลือดมีโอกาสหายสูงกว่าร้อยละ 50 ถ้าผู้ป่วยมาทันเวลา (ช้าที่สุดไม่เกิน 270 นาที)  ให้ผู้ป่วยรีบมาถึงโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว  ในแต่ละปีมีผู้ป่วยอัมพาตเกิดขึ้นจำนวนมาก  ในภาคอีสานมีผู้ป่วยโรคอัมพาตชนิดสมองขาเลือดปีละมากกว่า 20,000 คน  แต่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเพียง 750 คน  หรือประมาณ  3.3  เท่านั้น สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษาที่ดีดังกล่าว คือ ไม่รู้จักว่าอาการผิดปกติใด คืออัมพาต  จึงไม่รีบมาโรงพยาบาล ทำให้มาไม่ทันระยะเวลานาทีทอง หรือ 270 นาทีชีวิต การรักษาดังกล่าวไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ถ้าท่านมารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ
        เครือข่ายบริการโรคอัมพาต  ภาคอีสานร่วมกับ สปสช.  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โรงพยาบาลขอนแก่น  ทำหนังสั้นความยาว 8 นาที  เพื่อแนะนำ 8 ขั้นตอนการรักษาโรคอัมพาต  ฝากทุกคนช่วยส่งต่อเพื่อประโยชน์ของคนไทยทุกคน  จำไว้ว่า “ทุกนาทีคือชีวิต  เร็วก็รอด ปลอดอัมพาต”

Link : http://www.youtube.com/watch?v=VWweNdTMm90&feature=youtu.be

                                                                                                           รศ.น.นพ.สมศักดิ์  เทียมเก่า
                                                                                                                      แพทย์ระบบประสาท  โรงพยาบาลศรีนรินทร์  
                                                                                                                      คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่