ความเดิมต่อที่ 1 : เกี่ยวกับเกริ่นนำ การเตรียมตัวก่อนไป และรถไฟคืนแรก
10 วันในทิเบต : ความศรัทธาบนดินแดนหลังคาโลก ตามหาทางช้างเผือก Everest Base Camp ที่เกือบไม่ได้ไป (1)
http://ppantip.com/topic/32766654
ตอนที่ 2 : รถไฟคืนที่ 2 และ 3 กับการเที่ยวลาซาวันแรก
10 วันในทิเบต : ความศรัทธาบนดินแดนหลังคาโลก ตามหาทางช้างเผือก Everest Base Camp ที่เกือบไม่ได้ไป (2)
http://ppantip.com/topic/32767265
วันนี้ที่ 5 แล้ว ผ่านมาครึ่งทางของทริปนี้
อากาศหนาวกว่าเมื่อวาน เนื่องจากท้องฟ้ามีเมฆมาก เราเริ่มออกเดินทางจากโรงแรมไปอารามเดรปุง (Drepung Monastery) เป็นที่แรก
อารามเดรปุง
เป็นหนึ่งในสามวิทยาลัยสงฆ์ใหญ่ของนิกายเกลุก (อีกสองอารามคืออารามเซร่าและกานเด็น) เป็นวิทยาลัยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เดิมดาไลลามะจะอยู่ที่อารามเดรปุงจนกระทั้งดาไลลามะองค์ที่ 5 สร้างพระราชวังโพตาราเสร็จ ก็ย้ายไปอยู่ที่โพตาลาแทน
ตัวอารามของเดรปุง ตั้งอยู่บนเนินเขา ทางขึ้นจึงเป็นทางขึ้นเนินตลอด ต้องขอบคุณคุณไกด์ที่ปรับโปรแกรมให้ ไม่งั้นคงแย่
เมื่อขึ้นมาถึง จะมองเห็นเมืองลาซาอยู่ไกลๆ เรามาตอนเช้า เลยได้เจอภาพเมืองลาซาที่มีหมอกจางๆลอยปกคลุมอยู่ สวยมากๆเลยค่ะ
ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวทิเบต เหมือนเป็นเรื่องที่ฝังรากลึกเข้าไปในจิตวิญญาณ จึงพบเห็นผู้คนมาสวดมนต์ ไหว้พระอยู่เสมอๆ แม้ทางขึ้นจะยากลำบาก หรือตัวเองจะเดินไม่ค่อยไหว แต่ก็ยังพยายามมา
กาสีเหลืองที่ผู้หญิงด้านซ้ายมือของรูปถือ ข้างในคล้ายๆเนยYak เอาไว้เติมเป็นเชื้อเพลิงให้เทียนในวัดค่ะ คล้ายๆบ้านเราที่เติมน้ำมันเทียน
อารามเดรปุง ดูเงียบๆตอนที่เราไปค่ะ เนื่องจากเราไปค่อนข้างเช้า บรรยากาศเลยสงบ เหมาะกับการเดินซึมซับบรรยากาศของความศรัทธาในทิเบตที่มีให้พบเห็นทุกหนแห่ง
รู้สึกว่า เวลาเดินช้าที่ทิเบต
ออกจากอารามเดรปุง เราเข้าเมืองไปแวะกินข้าวก่อนที่จะไปเที่ยวต่อที่วัดโจคัง
อาหารการกินเรา จะเห็นว่า ห่างไกลคำว่าอดอยากมาก รสชาติดีนะคะ ส่วนมากร้านอาหาร 1 ร้าน จะมีอาหาร 4 เชื้อชาติ คือ จีน ทิเบต เนปาล ตะวันตก เลือกรับประทานได้ตามชอบ
วัดโจคัง (Jokhang Temple)
อารามแห่งนี้เป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณที่แท้จริงของชาวทิเบต เนื่องจากพระราชวังโพตาราเหมือนถูกกาลเวลาและสภาพแวดล้อมเปลี่ยนให้เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์สถาน ไม่ได้เป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณเหมือนแต่ก่อน
ภายในอารามโจคังมีพระโจโวศากยมุนี (Jowo Sakyamuni) ซึ่งเป็นรูปปั้นจำลองพระศากยมุนีเมื่อตอนอายุ 12 พรรษา เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จึงมีชาวทิเบตมาสักการะตลอดทั้งวัน
เมื่อมาที่วัดโจคัง เราพบว่าด้านหน้าของวัด มีคนมากราบอัษฎางคประดิษฐ์มากมาย
การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ เป็นการแสดงความเคารพด้วยวิธีนอนพังพาบเหยียดมือ เท้า ออกไปจนสุดหล้าให้องคาพยพ 8 ตำแหน่ง คือ หน้าผาก ฝ่ามือทั้ง 2 หน้าอก เข่า ทั้ง 2 และปลายเท้าทั้ง 2 จรดพื้น เป็นการสักการะอย่างสูงสุดต่อพระรัตนตรัย ถือเป็นการกราบแสดงความเคารพอย่างสูงสุด สูงกว่าแบบเบญจางคประดิษฐ์ที่ชาวพุทธบ้านเราใช้อยู่
จาก :
http://yandhava.com/index.php?option=com_kunena&catid=24&id=3168&Itemid=138&view=topic
มักกราบหนึ่งครั้งแล้วก้าวเดินสามก้าวแล้วกราบอีกหนึ่งครั้ง มักทำจากบ้านตัวเองมาที่อารามโจคังหรือพระราชวังโพตาลา
บางคนก็จะเดินหมุนกงล้อมนต์หรือนับลูกประคำไปพร้อมสวดมนต์ ปกติจะหมุนตามเข็มนาฬิกา ในกงล้อมนต์นั้นจะมีกระดาษที่เขียนมนต์ใส่ไว้ด้านใน การหมุนก็เท่ากับการสวดมนต์
อารามเซร่า (Sera Monastery)
หนึ่งในสามวิทยาลัยสงฆ์ใหญ่ของนิกายเกลุก เหมือนอารามเดรปุง
อารามนี้ทางด้านสถาปัตยกรรม ดูไม่ได้โดดเด่นกว่าอารามอื่นที่เคยไปมา แต่มีจุดเด่นคือ ตรรกวิภาษ(Debating) ในเชิงปุจฉาวิปัชนาของ
ลามะ เป็นการถามตอบคำถามปรัชญาที่ซับซ้อน ฝ่ายลามะที่ถามจะมีท่าประกอบในการถามในเชิงสัญลักษณ์ เมื่อถามเสร็จจะแกว่งมือขวาไปด้านหลังกระทืบเท้าซ้ายแล้วตบลงบนมือซ้าย จึงมีคนเรียกเรียกว่าพระตบมือ
สิ้นสุดการเที่ยวในลาซาแล้วค่ะ พรุ่งนี้เราจะเดินทางออกนอกเมืองกัน จุดหมายคือ Everest Base Camp ค่ะ
10 วันในทิเบต : ความศรัทธาบนดินแดนหลังคาโลก ตามหาทางช้างเผือก Everest Base Camp ที่เกือบไม่ได้ไป (3)
ความเดิมต่อที่ 1 : เกี่ยวกับเกริ่นนำ การเตรียมตัวก่อนไป และรถไฟคืนแรก
10 วันในทิเบต : ความศรัทธาบนดินแดนหลังคาโลก ตามหาทางช้างเผือก Everest Base Camp ที่เกือบไม่ได้ไป (1)
http://ppantip.com/topic/32766654
ตอนที่ 2 : รถไฟคืนที่ 2 และ 3 กับการเที่ยวลาซาวันแรก
10 วันในทิเบต : ความศรัทธาบนดินแดนหลังคาโลก ตามหาทางช้างเผือก Everest Base Camp ที่เกือบไม่ได้ไป (2)
http://ppantip.com/topic/32767265
วันนี้ที่ 5 แล้ว ผ่านมาครึ่งทางของทริปนี้
อากาศหนาวกว่าเมื่อวาน เนื่องจากท้องฟ้ามีเมฆมาก เราเริ่มออกเดินทางจากโรงแรมไปอารามเดรปุง (Drepung Monastery) เป็นที่แรก
อารามเดรปุง
เป็นหนึ่งในสามวิทยาลัยสงฆ์ใหญ่ของนิกายเกลุก (อีกสองอารามคืออารามเซร่าและกานเด็น) เป็นวิทยาลัยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เดิมดาไลลามะจะอยู่ที่อารามเดรปุงจนกระทั้งดาไลลามะองค์ที่ 5 สร้างพระราชวังโพตาราเสร็จ ก็ย้ายไปอยู่ที่โพตาลาแทน
ตัวอารามของเดรปุง ตั้งอยู่บนเนินเขา ทางขึ้นจึงเป็นทางขึ้นเนินตลอด ต้องขอบคุณคุณไกด์ที่ปรับโปรแกรมให้ ไม่งั้นคงแย่
เมื่อขึ้นมาถึง จะมองเห็นเมืองลาซาอยู่ไกลๆ เรามาตอนเช้า เลยได้เจอภาพเมืองลาซาที่มีหมอกจางๆลอยปกคลุมอยู่ สวยมากๆเลยค่ะ
ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวทิเบต เหมือนเป็นเรื่องที่ฝังรากลึกเข้าไปในจิตวิญญาณ จึงพบเห็นผู้คนมาสวดมนต์ ไหว้พระอยู่เสมอๆ แม้ทางขึ้นจะยากลำบาก หรือตัวเองจะเดินไม่ค่อยไหว แต่ก็ยังพยายามมา
กาสีเหลืองที่ผู้หญิงด้านซ้ายมือของรูปถือ ข้างในคล้ายๆเนยYak เอาไว้เติมเป็นเชื้อเพลิงให้เทียนในวัดค่ะ คล้ายๆบ้านเราที่เติมน้ำมันเทียน
อารามเดรปุง ดูเงียบๆตอนที่เราไปค่ะ เนื่องจากเราไปค่อนข้างเช้า บรรยากาศเลยสงบ เหมาะกับการเดินซึมซับบรรยากาศของความศรัทธาในทิเบตที่มีให้พบเห็นทุกหนแห่ง
รู้สึกว่า เวลาเดินช้าที่ทิเบต
ออกจากอารามเดรปุง เราเข้าเมืองไปแวะกินข้าวก่อนที่จะไปเที่ยวต่อที่วัดโจคัง
อาหารการกินเรา จะเห็นว่า ห่างไกลคำว่าอดอยากมาก รสชาติดีนะคะ ส่วนมากร้านอาหาร 1 ร้าน จะมีอาหาร 4 เชื้อชาติ คือ จีน ทิเบต เนปาล ตะวันตก เลือกรับประทานได้ตามชอบ
วัดโจคัง (Jokhang Temple)
อารามแห่งนี้เป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณที่แท้จริงของชาวทิเบต เนื่องจากพระราชวังโพตาราเหมือนถูกกาลเวลาและสภาพแวดล้อมเปลี่ยนให้เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์สถาน ไม่ได้เป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณเหมือนแต่ก่อน
ภายในอารามโจคังมีพระโจโวศากยมุนี (Jowo Sakyamuni) ซึ่งเป็นรูปปั้นจำลองพระศากยมุนีเมื่อตอนอายุ 12 พรรษา เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จึงมีชาวทิเบตมาสักการะตลอดทั้งวัน
เมื่อมาที่วัดโจคัง เราพบว่าด้านหน้าของวัด มีคนมากราบอัษฎางคประดิษฐ์มากมาย
การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ เป็นการแสดงความเคารพด้วยวิธีนอนพังพาบเหยียดมือ เท้า ออกไปจนสุดหล้าให้องคาพยพ 8 ตำแหน่ง คือ หน้าผาก ฝ่ามือทั้ง 2 หน้าอก เข่า ทั้ง 2 และปลายเท้าทั้ง 2 จรดพื้น เป็นการสักการะอย่างสูงสุดต่อพระรัตนตรัย ถือเป็นการกราบแสดงความเคารพอย่างสูงสุด สูงกว่าแบบเบญจางคประดิษฐ์ที่ชาวพุทธบ้านเราใช้อยู่
จาก : http://yandhava.com/index.php?option=com_kunena&catid=24&id=3168&Itemid=138&view=topic
มักกราบหนึ่งครั้งแล้วก้าวเดินสามก้าวแล้วกราบอีกหนึ่งครั้ง มักทำจากบ้านตัวเองมาที่อารามโจคังหรือพระราชวังโพตาลา
บางคนก็จะเดินหมุนกงล้อมนต์หรือนับลูกประคำไปพร้อมสวดมนต์ ปกติจะหมุนตามเข็มนาฬิกา ในกงล้อมนต์นั้นจะมีกระดาษที่เขียนมนต์ใส่ไว้ด้านใน การหมุนก็เท่ากับการสวดมนต์
อารามเซร่า (Sera Monastery)
หนึ่งในสามวิทยาลัยสงฆ์ใหญ่ของนิกายเกลุก เหมือนอารามเดรปุง
อารามนี้ทางด้านสถาปัตยกรรม ดูไม่ได้โดดเด่นกว่าอารามอื่นที่เคยไปมา แต่มีจุดเด่นคือ ตรรกวิภาษ(Debating) ในเชิงปุจฉาวิปัชนาของ
ลามะ เป็นการถามตอบคำถามปรัชญาที่ซับซ้อน ฝ่ายลามะที่ถามจะมีท่าประกอบในการถามในเชิงสัญลักษณ์ เมื่อถามเสร็จจะแกว่งมือขวาไปด้านหลังกระทืบเท้าซ้ายแล้วตบลงบนมือซ้าย จึงมีคนเรียกเรียกว่าพระตบมือ
สิ้นสุดการเที่ยวในลาซาแล้วค่ะ พรุ่งนี้เราจะเดินทางออกนอกเมืองกัน จุดหมายคือ Everest Base Camp ค่ะ