ประวัติอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
ศึกษาที่ โรงเรียนวิสุทธรังษี โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และปริญญาศิลปศาสตร์กิตติมศักดิ์จากสหวิทยาลัยทราวดี (วิทยาลัยครูกาญจนบุรี)
เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากได้พบโคลงที่บิดาเขียนไว้เมื่อครั้งยังหนุ่ม จึงอยากเขียนได้เช่นนั้นบ้าง ผลงานมีทั้ง ร้อยกรอง และร้อยแก้ว เมื่อเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยอยู่ชุมนุมวรรณศิลป์มาก่อน
เมื่อ พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลซีไรต์จากกวีนิพนธ์รวมเล่มเรื่องเพียงความเคลื่อนไหว
เมื่อ พ.ศ. 2536 ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
และท่านยังได้รับการยกย่องให้เป็นนักกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคปัจจบัน
อดีตเคยเป็นพระเอกหนังทีวี
หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์นักกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคปัจุบันนี้เคยเป็นพระเอกมาก่อน
จริงเหรอ? แล้วท่านเป็นพระเอกเรื่องอะไรล่ะ ?
ท่านเป็นพระเอกในหนังทีวีเรื่องพระอภัยมณี เมื่อปี 2514 นั่นเองครับ
เป็นระดับพระเอกได้ ก็แสดงว่าตอนหนุ่มหล่อไม่เบา ถ้าอย่างนั้นเรามาดูภาพของท่านตอนเป็นพระเอกหนังทีวีเรื่อง "พระอภัยมณี" กันดีกว่าครับ
ผมขอคัดบางส่วนมาจากคอมลัมป์ของคุณสุริยา สุริยมณฑลจากนิตยสารโลกดาราฉบับที่ 26 วันที่15 พฤษภาคม 2514
พระอภัยมณีเวอร์ชั่น 2514
ทีมงาน
ผลิตโดยบริษัท ไชโยภาพยนตร์
อำนวยการสร้าง (ผู้จัด) คือ ครูสมโพธิ์ แสงเดือนฉาย
กำกับการแสดงโดยครูสุพรรณ บูรณพิมพ์
ถ่ายภาพ วิวัฒน์ ศิลปสมศักดิ์
ถ่ายทำด้วยระบบภาพยนตร์โทรทัศน์ใช้ฟิล์ม 16 มม. ใช้เสียงพากย์
แพร่ภาพทางช่อง 7 สี ทุกวันศุกร์
นำแสดงโดย
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ...พระอภัยมณี
ปริม ประภาพร...นางเงือก
ปัญญาผล บุญชู...นางผีเสื้อสมุทร
รัตนาภรณ์ (น้อย) อินทรกำแหง...นางผีเสื้อสมุทร (แปลง)
บัญชา แคล่วคล่อง...สินสมุทร
จ๋อง หน้าจ๋อย...ชีเปลือย
อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (พระอภัยมณี) หล่อไหมครับกับคุณป้ารัตนาภรณ์(น้อย) อินทรกำแหง (นางผีเสื้อสมุทรแปลง)
พระเอกของเรื่อง
คุณสุริยา คอลัมป์นิสต์ได้เขียนถึงอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (ขณะนั้นท่านอายุได้ 31 ปี) พระเอกของเรื่องไว้ว่า
ที่ผมสนใจเป็นพิเศษกว่าเพื่อนนั้นเห็นจะเป็น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งแสดงเป็น “พระอภัย” นั่นเอง รายนี้ว่ากันตามจริงก็เป็น “พระเอกหน้าใหม่” หรือ “สินค้าใหม่ถอดด้าม” ในวงการภาพยนตร์โทรทัศน์ มีความหล่อพอสันฐานประมาณ การที่เขาเข้ามารับบทพระเอกนั้นก็เห็นจะเป็นด้วยความมีใจรัก “พระอภัย” เป็นเดิมพันอยู่นั่นเอง ให้เล่นเรื่องอื่นๆ ก็คงไม่ยอมเล่นแน่
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
เพราะเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์เป็นนักกลอนที่มีชื่อเสียง เมื่อเป็นนักกลอนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็ต้องรัก “สุนทรภู่” เจ้าของเรื่อง “พระอภัยมณี” กันทั้งนั้นเพราะฉะนั้น เนาวรัตน์จึงเล่นด้วยความรัก ...รักบทกลอนเรื่องนี้ ...รัก “สุทรภู่” .. และรักที่จะพบว่านักสร้างภาพยนตร์ไทยที่มีความตั้งใจดีอย่างสมโพธิ์ แสงเดือนฉาย นั้นเป็นผู้ที่ได้รับความสำเร็จลงอย่างงดงามสมความตั้งใจ
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อาจยังแสดงได้ไม่ถึงบท แต่ก้ไม่ใช่เรื่องน่าวิตกแต่อย่างใด เพราะ “พระอภัยมณี” ยังอยู่อีกหลายตอนนัก เวลาที่จะสร้างให้เขากลายเป็น “ดารา” ขึ้นมาจึงยังพอมีหวังอยู่ ความมีใจรักดังกล่าวนั้นต่างหากเล่าที่จะพึงส่งเสริมเขาให้เด่นขึ้น โดยที่เขาไม่รู้ตัวเลยก็ได้ เราจงต้องถอยดูกันต่อไป
ความส่วนตัวของเจ้าของกระทู้ แสดงว่าปี 2514 ที่อาจารย์เนาวรัตน์เป็นพระเอกท่านก็มีชื่อเสียงด้านการแต่งกลอนแล้ว
การเป็นนักกลอนของท่านน่าจะมีส่วนในการได้รับเลือกให้มารับบทเป็นพระอภัยมณี
ปัญญาผล บุญชู...นางผีเสื้อสมุทร
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากหนังทีวีพระอภัยมณี 2514
นมนางผีเสื้อสมุทรและนมนางเงือก
เมื่อดูแล้วก็อดที่จะคิดไม่ได้ ก่อนอื่นผมคิดถึงเรื่องนางผีเสื้อสมุทร ในแง่ที่ว่าทำไมนมของผีเสื้อจึงแข็งปั๋งออกอย่างนั้น ยิ่งดู ๆ ก็พบว่านมนั้นทำด้วยหนังไม่ใช่ทำด้วยยาง ถ้าทำด้วยยางก็คงยืดหยุ่นได้เหมือนนมจริง แต่แล้วผมก็มาทราบเอาในภายหลังว่า การที่ใช้หนังแข็ง ๆ ทำนมปลอมขึ้นนั้นก็เพราะต้องการให้แข็ง จะให้ยืดหยุ่นไม่ได้เด็ดขาด ถ้ายืดหยุ่นเหมือนนมจริงละก็ พนักงานเซ็นเซอร์ไม่ยอมแน่เพราะ เท่ากับเป็นการยั่วยุกามารมณ์ไป ว่างั้นเถอะ
สมโพธิ์ แสงเดือนฉายผู้สร้าง “พระอภัยมณี” และผู้อยากให้นมนางผีเสื้อยืดหยุ่นได้ก็เลยจนเกล้าฯ จำต้องสร้างนมแข็งขึ้นมาอย่างที่เห็นกันในหนังนั่นแหละ
ในเรื่อง “พระอภัยมณี” นั้น ผู้ที่แสดงเป็นนางผีเสื้อสมุทร ชื่อ ปัญญาผล บุญชู แกจะมีน้ำหนักตัวเท่าไหร่ผมไม่ทราบ แต่แกต้องแบกน้ำหนักหุ่นนางผีเสื้อสมุทรไว้ถึง 70 กิโลกรัม น้อยอยู่เมื่อไหร่ล่ะ แม้กระนั้นแกก็แบกได้ และจะอ้วนแค่ไหนก็ไม่เป็นไร ขอให้แกสำแดงเดชนางผีเสื้อสมุทรอย่างเต็มความสามารถของแกก็แล้วกัน
ว่าถึงเรื่องนมแข็ง ก็เห็นอยู่กับอกของนางเงือกอีก แต่ถึงแม้จะไม่ได้จับก็รู้ว่าแข็งและพนักงานเซ็นเซอร์บอกว่าต้องแข็งแล้วละก็ อ่อนไม่ได้ ยืดหยุ่นก็ไม่ได้ จะเห็นเพียงแวบเดียวหรือกี่แวบก็ตามทีเถอะ ก็ต้องแข็งทั้งนั้น
มาลาริน บุญนาค ในบทนางเงือก
การสร้างหุ่นในสมัยที่ยังไม่มีซีจี
สมโพธิ์ แสงเดือนฉาย ผู้สร้างเรื่องนี้ ก็คนเดียวกันกับที่เคยสร้าง “ไกรทอง” มาแล้วนั่นเอง บุคคลผู้ที่เอาใจใส่ในการสร้างภาพยนตร์ประเภทที่มีหุ่นจำลองอย่างเจ้าชาละวันกุมภีร์เป็นอย่างยิ่ง ในเรื่อง “พระอภัยมณี” นี่ก็เช่นเดียวกัน ที่มีม้ามังกร, มีปลาอินทรียักษ์, ปลาฉลาม และหุ่นจำลองอื่นๆ อีกมาก กล้าลงทุนทำเหลือเกิน การที่กล้าลงทุนทำก็เห็นจะเป็นเพราะได้ไปร่ำเรียนวิชานี้มาจากโรงถ่ายโตโฮที่ญี่ปุ่น เรียนมาแล้วไม่ได้ทำอะไรเสียเลยก็ดูกระไรอยู่ ต้องสำแดงฝีมือให้ปรากฏเสียบ้างว่าคนไทยก็สามารถทำได้เหมือนกัน หุ่นต่าง ๆ เหล่านั้นทำด้วยยางซึ่งสั่งตรงมาจากญี่ปุ่น ยางที่ว่านี้อ่อนนุ่มยืดหยุ่นได้ ไม่เหมือนนมนางฝีเสื้อสมุทร เมื่อใช้สวมเข้ากับตัวคนแล้วก็จะเคลื่อนไว้ได้สะดวกไม่ยากลำบากอะไรเลย
“หุ่นตัวหนึ่ง ๆ นั้นตกในราวตัวละ 60,000 บาทครับ” สมโพธิ์บอกผม “ค่าออกแบบหุ่น, ค่าถอดแบบนะไม่สู้เท่าไหร่หรอกครับ แต่ถ้ายางนี่นะสิคิดแล้วก็ตกตัวละ 40,000 บาท รวมกันแล้วก็ 60,000 บาทนั่นแหละครับ”
ผมคิดว่าเฉพาะการลงทุนสร้างหุ่นเพียงตัวเดียวก็มากกว่าค่าสร้างภาพยนตร์สี 16 มม. ซึ่งมีเวลาฉาย 26 นาทีถึง 5 เท่า เพราะ หนัง 26 นาทีนั้น คำนวณค่าสร้างแล้วก็ตกในราวหมื่นกว่าบาท จึงมองไม่เห็นทางเลยที่ผู้สร้างจะได้ผลกำไรที่ไหนมาชื่นชม นอกจากผลงานที่ทำออกไปสู่สายตาประชาชนคนดูเท่านั้น ตกลงว่าการที่สมโพธิ์ แสงเดือนฉายไปเรียนที่โตโฮมายังขาดทุนอยู่
ฉาก
การสร้างเรื่องนี้ ถ้าเป็น “อินดอร์” ล่ะก็ ส่วนมากใช้ฉากในโรงถ่าย “ไชโย” แต่ถ้าเป็น “เอ๊าท์ดอร์” ...โน่นแน่ะครับ , ศรีราชาก็มี ระยองก็มี แหลมฉบังก็มีและที่สัตหีบก็ยังมี ที่ว่านี้ชายทะเลสวย ๆ ทั้งนั้น อีตอนที่พระอาทิตย์ลับทะเล
ถ้าชอบเรื่องเก่า ๆ ช่วยกด + หรือถูกใจด้วยนะครับ ผมจะได้ทราบว่ามีคนชอบอ่าน แล้วผมจะนำมาเขียนกระทู้อีกครับ
.......................................................................................................................................................................................................
เครดิต
คอลัมป์ "พระอภัยมณีทางโทรทัศน์สี" นิตยสารโลกดาราฉบับที่ 26 วันที่ 15 พฤษภาคม 2514
เขียนคอลัมป์โดยคุณสุริยา สุริยมณฑล
........................................................................................................................................................................................................
ให้กำลังใจอาจารย์เนาวรัตน์ได้ที่ facebook ของท่าน
https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C/135170583206861
.......................................................................................................................................................................................................
ค้นคว้าเพิ่มเติม
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C_%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C
(เกร็ดประวัติศาสตร์) ทราบไหมครับว่าอาจารย์ "เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์" ก็เคยเป็นพระเอกหนังทีวีเรื่อง"พระอภัยมณี"นะครับ
ประวัติอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
ศึกษาที่ โรงเรียนวิสุทธรังษี โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และปริญญาศิลปศาสตร์กิตติมศักดิ์จากสหวิทยาลัยทราวดี (วิทยาลัยครูกาญจนบุรี)
เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากได้พบโคลงที่บิดาเขียนไว้เมื่อครั้งยังหนุ่ม จึงอยากเขียนได้เช่นนั้นบ้าง ผลงานมีทั้ง ร้อยกรอง และร้อยแก้ว เมื่อเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยอยู่ชุมนุมวรรณศิลป์มาก่อน
เมื่อ พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลซีไรต์จากกวีนิพนธ์รวมเล่มเรื่องเพียงความเคลื่อนไหว
เมื่อ พ.ศ. 2536 ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
และท่านยังได้รับการยกย่องให้เป็นนักกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคปัจจบัน
อดีตเคยเป็นพระเอกหนังทีวี
หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์นักกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคปัจุบันนี้เคยเป็นพระเอกมาก่อน
จริงเหรอ? แล้วท่านเป็นพระเอกเรื่องอะไรล่ะ ?
ท่านเป็นพระเอกในหนังทีวีเรื่องพระอภัยมณี เมื่อปี 2514 นั่นเองครับ
เป็นระดับพระเอกได้ ก็แสดงว่าตอนหนุ่มหล่อไม่เบา ถ้าอย่างนั้นเรามาดูภาพของท่านตอนเป็นพระเอกหนังทีวีเรื่อง "พระอภัยมณี" กันดีกว่าครับ
ผมขอคัดบางส่วนมาจากคอมลัมป์ของคุณสุริยา สุริยมณฑลจากนิตยสารโลกดาราฉบับที่ 26 วันที่15 พฤษภาคม 2514
พระอภัยมณีเวอร์ชั่น 2514
ทีมงาน
ผลิตโดยบริษัท ไชโยภาพยนตร์
อำนวยการสร้าง (ผู้จัด) คือ ครูสมโพธิ์ แสงเดือนฉาย
กำกับการแสดงโดยครูสุพรรณ บูรณพิมพ์
ถ่ายภาพ วิวัฒน์ ศิลปสมศักดิ์
ถ่ายทำด้วยระบบภาพยนตร์โทรทัศน์ใช้ฟิล์ม 16 มม. ใช้เสียงพากย์
แพร่ภาพทางช่อง 7 สี ทุกวันศุกร์
นำแสดงโดย
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ...พระอภัยมณี
ปริม ประภาพร...นางเงือก
ปัญญาผล บุญชู...นางผีเสื้อสมุทร
รัตนาภรณ์ (น้อย) อินทรกำแหง...นางผีเสื้อสมุทร (แปลง)
บัญชา แคล่วคล่อง...สินสมุทร
จ๋อง หน้าจ๋อย...ชีเปลือย
อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (พระอภัยมณี) หล่อไหมครับกับคุณป้ารัตนาภรณ์(น้อย) อินทรกำแหง (นางผีเสื้อสมุทรแปลง)
พระเอกของเรื่อง
คุณสุริยา คอลัมป์นิสต์ได้เขียนถึงอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (ขณะนั้นท่านอายุได้ 31 ปี) พระเอกของเรื่องไว้ว่า
ที่ผมสนใจเป็นพิเศษกว่าเพื่อนนั้นเห็นจะเป็น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งแสดงเป็น “พระอภัย” นั่นเอง รายนี้ว่ากันตามจริงก็เป็น “พระเอกหน้าใหม่” หรือ “สินค้าใหม่ถอดด้าม” ในวงการภาพยนตร์โทรทัศน์ มีความหล่อพอสันฐานประมาณ การที่เขาเข้ามารับบทพระเอกนั้นก็เห็นจะเป็นด้วยความมีใจรัก “พระอภัย” เป็นเดิมพันอยู่นั่นเอง ให้เล่นเรื่องอื่นๆ ก็คงไม่ยอมเล่นแน่
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
เพราะเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์เป็นนักกลอนที่มีชื่อเสียง เมื่อเป็นนักกลอนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็ต้องรัก “สุนทรภู่” เจ้าของเรื่อง “พระอภัยมณี” กันทั้งนั้นเพราะฉะนั้น เนาวรัตน์จึงเล่นด้วยความรัก ...รักบทกลอนเรื่องนี้ ...รัก “สุทรภู่” .. และรักที่จะพบว่านักสร้างภาพยนตร์ไทยที่มีความตั้งใจดีอย่างสมโพธิ์ แสงเดือนฉาย นั้นเป็นผู้ที่ได้รับความสำเร็จลงอย่างงดงามสมความตั้งใจ
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อาจยังแสดงได้ไม่ถึงบท แต่ก้ไม่ใช่เรื่องน่าวิตกแต่อย่างใด เพราะ “พระอภัยมณี” ยังอยู่อีกหลายตอนนัก เวลาที่จะสร้างให้เขากลายเป็น “ดารา” ขึ้นมาจึงยังพอมีหวังอยู่ ความมีใจรักดังกล่าวนั้นต่างหากเล่าที่จะพึงส่งเสริมเขาให้เด่นขึ้น โดยที่เขาไม่รู้ตัวเลยก็ได้ เราจงต้องถอยดูกันต่อไป
ความส่วนตัวของเจ้าของกระทู้ แสดงว่าปี 2514 ที่อาจารย์เนาวรัตน์เป็นพระเอกท่านก็มีชื่อเสียงด้านการแต่งกลอนแล้ว
การเป็นนักกลอนของท่านน่าจะมีส่วนในการได้รับเลือกให้มารับบทเป็นพระอภัยมณี
ปัญญาผล บุญชู...นางผีเสื้อสมุทร
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากหนังทีวีพระอภัยมณี 2514
นมนางผีเสื้อสมุทรและนมนางเงือก
เมื่อดูแล้วก็อดที่จะคิดไม่ได้ ก่อนอื่นผมคิดถึงเรื่องนางผีเสื้อสมุทร ในแง่ที่ว่าทำไมนมของผีเสื้อจึงแข็งปั๋งออกอย่างนั้น ยิ่งดู ๆ ก็พบว่านมนั้นทำด้วยหนังไม่ใช่ทำด้วยยาง ถ้าทำด้วยยางก็คงยืดหยุ่นได้เหมือนนมจริง แต่แล้วผมก็มาทราบเอาในภายหลังว่า การที่ใช้หนังแข็ง ๆ ทำนมปลอมขึ้นนั้นก็เพราะต้องการให้แข็ง จะให้ยืดหยุ่นไม่ได้เด็ดขาด ถ้ายืดหยุ่นเหมือนนมจริงละก็ พนักงานเซ็นเซอร์ไม่ยอมแน่เพราะ เท่ากับเป็นการยั่วยุกามารมณ์ไป ว่างั้นเถอะ
สมโพธิ์ แสงเดือนฉายผู้สร้าง “พระอภัยมณี” และผู้อยากให้นมนางผีเสื้อยืดหยุ่นได้ก็เลยจนเกล้าฯ จำต้องสร้างนมแข็งขึ้นมาอย่างที่เห็นกันในหนังนั่นแหละ
ในเรื่อง “พระอภัยมณี” นั้น ผู้ที่แสดงเป็นนางผีเสื้อสมุทร ชื่อ ปัญญาผล บุญชู แกจะมีน้ำหนักตัวเท่าไหร่ผมไม่ทราบ แต่แกต้องแบกน้ำหนักหุ่นนางผีเสื้อสมุทรไว้ถึง 70 กิโลกรัม น้อยอยู่เมื่อไหร่ล่ะ แม้กระนั้นแกก็แบกได้ และจะอ้วนแค่ไหนก็ไม่เป็นไร ขอให้แกสำแดงเดชนางผีเสื้อสมุทรอย่างเต็มความสามารถของแกก็แล้วกัน
ว่าถึงเรื่องนมแข็ง ก็เห็นอยู่กับอกของนางเงือกอีก แต่ถึงแม้จะไม่ได้จับก็รู้ว่าแข็งและพนักงานเซ็นเซอร์บอกว่าต้องแข็งแล้วละก็ อ่อนไม่ได้ ยืดหยุ่นก็ไม่ได้ จะเห็นเพียงแวบเดียวหรือกี่แวบก็ตามทีเถอะ ก็ต้องแข็งทั้งนั้น
มาลาริน บุญนาค ในบทนางเงือก
การสร้างหุ่นในสมัยที่ยังไม่มีซีจี
สมโพธิ์ แสงเดือนฉาย ผู้สร้างเรื่องนี้ ก็คนเดียวกันกับที่เคยสร้าง “ไกรทอง” มาแล้วนั่นเอง บุคคลผู้ที่เอาใจใส่ในการสร้างภาพยนตร์ประเภทที่มีหุ่นจำลองอย่างเจ้าชาละวันกุมภีร์เป็นอย่างยิ่ง ในเรื่อง “พระอภัยมณี” นี่ก็เช่นเดียวกัน ที่มีม้ามังกร, มีปลาอินทรียักษ์, ปลาฉลาม และหุ่นจำลองอื่นๆ อีกมาก กล้าลงทุนทำเหลือเกิน การที่กล้าลงทุนทำก็เห็นจะเป็นเพราะได้ไปร่ำเรียนวิชานี้มาจากโรงถ่ายโตโฮที่ญี่ปุ่น เรียนมาแล้วไม่ได้ทำอะไรเสียเลยก็ดูกระไรอยู่ ต้องสำแดงฝีมือให้ปรากฏเสียบ้างว่าคนไทยก็สามารถทำได้เหมือนกัน หุ่นต่าง ๆ เหล่านั้นทำด้วยยางซึ่งสั่งตรงมาจากญี่ปุ่น ยางที่ว่านี้อ่อนนุ่มยืดหยุ่นได้ ไม่เหมือนนมนางฝีเสื้อสมุทร เมื่อใช้สวมเข้ากับตัวคนแล้วก็จะเคลื่อนไว้ได้สะดวกไม่ยากลำบากอะไรเลย
“หุ่นตัวหนึ่ง ๆ นั้นตกในราวตัวละ 60,000 บาทครับ” สมโพธิ์บอกผม “ค่าออกแบบหุ่น, ค่าถอดแบบนะไม่สู้เท่าไหร่หรอกครับ แต่ถ้ายางนี่นะสิคิดแล้วก็ตกตัวละ 40,000 บาท รวมกันแล้วก็ 60,000 บาทนั่นแหละครับ”
ผมคิดว่าเฉพาะการลงทุนสร้างหุ่นเพียงตัวเดียวก็มากกว่าค่าสร้างภาพยนตร์สี 16 มม. ซึ่งมีเวลาฉาย 26 นาทีถึง 5 เท่า เพราะ หนัง 26 นาทีนั้น คำนวณค่าสร้างแล้วก็ตกในราวหมื่นกว่าบาท จึงมองไม่เห็นทางเลยที่ผู้สร้างจะได้ผลกำไรที่ไหนมาชื่นชม นอกจากผลงานที่ทำออกไปสู่สายตาประชาชนคนดูเท่านั้น ตกลงว่าการที่สมโพธิ์ แสงเดือนฉายไปเรียนที่โตโฮมายังขาดทุนอยู่
ฉาก
การสร้างเรื่องนี้ ถ้าเป็น “อินดอร์” ล่ะก็ ส่วนมากใช้ฉากในโรงถ่าย “ไชโย” แต่ถ้าเป็น “เอ๊าท์ดอร์” ...โน่นแน่ะครับ , ศรีราชาก็มี ระยองก็มี แหลมฉบังก็มีและที่สัตหีบก็ยังมี ที่ว่านี้ชายทะเลสวย ๆ ทั้งนั้น อีตอนที่พระอาทิตย์ลับทะเล
ถ้าชอบเรื่องเก่า ๆ ช่วยกด + หรือถูกใจด้วยนะครับ ผมจะได้ทราบว่ามีคนชอบอ่าน แล้วผมจะนำมาเขียนกระทู้อีกครับ
.......................................................................................................................................................................................................
เครดิต
คอลัมป์ "พระอภัยมณีทางโทรทัศน์สี" นิตยสารโลกดาราฉบับที่ 26 วันที่ 15 พฤษภาคม 2514
เขียนคอลัมป์โดยคุณสุริยา สุริยมณฑล
........................................................................................................................................................................................................
ให้กำลังใจอาจารย์เนาวรัตน์ได้ที่ facebook ของท่าน
https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C/135170583206861
.......................................................................................................................................................................................................
ค้นคว้าเพิ่มเติม
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C_%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C