ดร. ธงชัย วินิจจะกุล
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
รัฐบาลกล่าวถูกต้อง ว่าโศกนาฏกรรมที่ปัตตานี มีหลายสาเหตุ ผลประโยชน์ตามชายแดน ยาเสพติด ขบวนการแยกดินแดน เป็นต้น
แต่ สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำให้คลุมเครือตลอดเวลา ทั้งๆ ที่เป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่สุด คือ ความตึงเครียด ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในดินแดนแถบนั้นมาตลอด ร้อยปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนาและชาติพันธุ์ และการกดขี่ข่มเหงของรัฐไทย ในกรุงเทพฯ มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างน้อย
กล่าวอย่างรวบยอด ก็คือ ปัญหาที่แท้จริงมาจากลัทธิชาตินิยมไทยที่มีลักษณะกดขี่ข่มเหง แถมยังรักษาอำนาจของตนไว้ด้วยการใช้ความรุนแรง และมาตรการสำคัญของชาตินิยมชนิดนี้ คือ การปกปิดอำพรางประวัติศาสตร์อัปลักษณ์ของชาติไทยอีกบทหนึ่ง
สาธารณ ชนไทยไม่มีทางเข้าใจวิกฤติ ณ ชายแดนใต้สุดของประเทศไทย และปัญหาจะไม่มีทางได้รับการแก้ไขอย่างถึงรากยั่งยืน หากไม่เริ่มจากการเข้าใจประวัติศาสตร์อัปลักษณ์บทนี้ และหากไม่ขจัดชาตินิยมที่กดขี่ข่มเหง
ลัทธิชาตินิยม
ลัทธิ ชาตินิยม กล่าวอย่างกว้างที่สุด คือ การถือมั่นพึงพอใจในอัตลักษณ์หรือตัวตนรวมหมู่ (collective identity) ชนิดหนึ่ง หากถือมั่นพอใจมากก็อาจกลายเป็นการยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูชนิดหนึ่ง เรียกว่าหลง (ชาติพวก) ตัวเอง หากหลงหนักกว่านั้นก็อาจกลายเป็นความคลั่งชาติ
ความหลงพวกตัวเอง ที่เรารู้จักกันทั่วไป ได้แก่ สถาบันนิยม ซึ่งหากอาการหนักก็อาจนำไปสู่การยกพวกตีกัน หรือตามล้างแค้นเพื่อพวกพ้องร่วมสถาบัน
เรามักไม่ค่อยคิดว่าลัทธิ ชาตินิยม คือ ความหลงประเภทเดียวกันกับสถาบันนิยม เพราะในสังคมไทยมักถือว่าชาตินิยมเป็นสิ่งดี แม้แต่นักวิชาการโดยทั่วไปยังมักอธิบายว่า "ชาตินิยมมิใช่ความคลั่งชาติ", "รักชาติไม่เป็นไร อย่าคลั่งชาติแล้วกัน"
เอาเข้าจริงความต่างระหว่างความยึดมั่นทั้งหลายนี้เป็นปริมาณนิดเดียวเท่านั้น
รัก ชาติ หลงชาติ คลั่งชาติจึงอาจเปลี่ยนไปมาฉับพลันแทบไม่ทันรู้ตัว แถมบ่อยครั้งเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า แค่รัก หรือหลง หรือคลั่งเข้าแล้ว
ลัทธิ ชาตินิยมไทย คือ ความยึดมั่นถือมั่นหรือหลงความเป็นไทยว่าดีกว่าสูงส่งกว่า ประเสริฐกว่าอัตลักษณ์รวมหมู่อย่างอื่น ลัทธิชาตินิยมไทยหรือชาติใดก็ตาม จึงเป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธาที่สังคมหนึ่งบ่มเพาะปลูกฝังแก่สมาชิก รุ่นแล้วรุ่นเล่า เพื่อสร้างพลังทางสังคมของชุมชนนั้น
ในแง่นี้ ลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมการณ์ชนิดหนึ่งคล้ายศาสนา ชาตินิยมจึงมีพลังด้านบวกสูงมากแบบเดียวกับศาสนา แต่ความหลงหรือคลั่งชาติจึงมีอันตรายมหันต์แบบเดียวกับศาสนา
นัก ประวัติศาสตร์บางกลุ่มเรียกลัทธิชาตินิยมว่าเป็น political religion หรือ socralized politics ปัญหามีอยู่ว่าเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า แค่รัก หรือหลง หรือคลั่ง เข้าแล้ว
ประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทย อันตรายของลัทธิชาตินิยมไทย???
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
รัฐบาลกล่าวถูกต้อง ว่าโศกนาฏกรรมที่ปัตตานี มีหลายสาเหตุ ผลประโยชน์ตามชายแดน ยาเสพติด ขบวนการแยกดินแดน เป็นต้น
แต่ สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำให้คลุมเครือตลอดเวลา ทั้งๆ ที่เป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่สุด คือ ความตึงเครียด ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในดินแดนแถบนั้นมาตลอด ร้อยปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนาและชาติพันธุ์ และการกดขี่ข่มเหงของรัฐไทย ในกรุงเทพฯ มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างน้อย
กล่าวอย่างรวบยอด ก็คือ ปัญหาที่แท้จริงมาจากลัทธิชาตินิยมไทยที่มีลักษณะกดขี่ข่มเหง แถมยังรักษาอำนาจของตนไว้ด้วยการใช้ความรุนแรง และมาตรการสำคัญของชาตินิยมชนิดนี้ คือ การปกปิดอำพรางประวัติศาสตร์อัปลักษณ์ของชาติไทยอีกบทหนึ่ง
สาธารณ ชนไทยไม่มีทางเข้าใจวิกฤติ ณ ชายแดนใต้สุดของประเทศไทย และปัญหาจะไม่มีทางได้รับการแก้ไขอย่างถึงรากยั่งยืน หากไม่เริ่มจากการเข้าใจประวัติศาสตร์อัปลักษณ์บทนี้ และหากไม่ขจัดชาตินิยมที่กดขี่ข่มเหง
ลัทธิชาตินิยม
ลัทธิ ชาตินิยม กล่าวอย่างกว้างที่สุด คือ การถือมั่นพึงพอใจในอัตลักษณ์หรือตัวตนรวมหมู่ (collective identity) ชนิดหนึ่ง หากถือมั่นพอใจมากก็อาจกลายเป็นการยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูชนิดหนึ่ง เรียกว่าหลง (ชาติพวก) ตัวเอง หากหลงหนักกว่านั้นก็อาจกลายเป็นความคลั่งชาติ
ความหลงพวกตัวเอง ที่เรารู้จักกันทั่วไป ได้แก่ สถาบันนิยม ซึ่งหากอาการหนักก็อาจนำไปสู่การยกพวกตีกัน หรือตามล้างแค้นเพื่อพวกพ้องร่วมสถาบัน
เรามักไม่ค่อยคิดว่าลัทธิ ชาตินิยม คือ ความหลงประเภทเดียวกันกับสถาบันนิยม เพราะในสังคมไทยมักถือว่าชาตินิยมเป็นสิ่งดี แม้แต่นักวิชาการโดยทั่วไปยังมักอธิบายว่า "ชาตินิยมมิใช่ความคลั่งชาติ", "รักชาติไม่เป็นไร อย่าคลั่งชาติแล้วกัน"
เอาเข้าจริงความต่างระหว่างความยึดมั่นทั้งหลายนี้เป็นปริมาณนิดเดียวเท่านั้น
รัก ชาติ หลงชาติ คลั่งชาติจึงอาจเปลี่ยนไปมาฉับพลันแทบไม่ทันรู้ตัว แถมบ่อยครั้งเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า แค่รัก หรือหลง หรือคลั่งเข้าแล้ว
ลัทธิ ชาตินิยมไทย คือ ความยึดมั่นถือมั่นหรือหลงความเป็นไทยว่าดีกว่าสูงส่งกว่า ประเสริฐกว่าอัตลักษณ์รวมหมู่อย่างอื่น ลัทธิชาตินิยมไทยหรือชาติใดก็ตาม จึงเป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธาที่สังคมหนึ่งบ่มเพาะปลูกฝังแก่สมาชิก รุ่นแล้วรุ่นเล่า เพื่อสร้างพลังทางสังคมของชุมชนนั้น
ในแง่นี้ ลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมการณ์ชนิดหนึ่งคล้ายศาสนา ชาตินิยมจึงมีพลังด้านบวกสูงมากแบบเดียวกับศาสนา แต่ความหลงหรือคลั่งชาติจึงมีอันตรายมหันต์แบบเดียวกับศาสนา
นัก ประวัติศาสตร์บางกลุ่มเรียกลัทธิชาตินิยมว่าเป็น political religion หรือ socralized politics ปัญหามีอยู่ว่าเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า แค่รัก หรือหลง หรือคลั่ง เข้าแล้ว