คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เท่าที่ผมเข้าใจนะ
การเมืองยุค Premodern ก็คือการเมืองในยุคโบราณก่อนศตวรรษที่ 17 คือยังมีการปกครองแบบเมือง อาณาจักร จักรวรรดิ คำว่ารัฐาธิปัตย์หรือ sovereignty ยังไม่มีความชัดเจนเพราะกษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจเด็ดขาดเหนือหัวเมืองต่างๆ ไม่มีพรมแดนแน่นอน มีแต่การแพร่บารมีของกษัตริย์ไปยังหัวเมืองเหล่านั้น ที่ใช้เรื่องความภักดีหรือการแต่งงานสืบสายเลือดกันเป็นตัวผูกไว้ ประชาชนก็มิได้คิดว่าตนเป็นพลเมืองอาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจ อิทธิพลของศาสนาเหนือการเมืองยังคงมีสูงมาก
การเมืองยุค Modern คิดว่าน่าจะเกิดขึ้นจากทำสนธิสัญญา Westphalia ในปี 1648 ในยุโรป ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดรัฐชาติ มีรัฐาธิปัตย์ที่ชัดเจน มีพรมแดนแน่นอน ประชาชนเกิดสำนึกและมีการนิยามว่าตนเป็นกลุ่มเดียวเดียวกับรัฐศูนย์กลาง จากกระบวนการทำให้เกิดความรู้สึกเป็นชาติเดียวกันและการล่มสลายของระบบศักดินาที่ทำให้คนทุกคนเชื่อว่ามีความเท่าเทียมกัน รัฐชาติหรือ Nation State ที่เป็นรูปธรรมก็คืออิตาลีในปี 1870 และเยอรมันในปี 1871 การเมืองในยุคนี้เต็มไปด้วยอุดมการณ์ชาตินิยม ฟาสซิสต์ คอมมิวนิสต์ หรือประชาธิปไตยที่เน้นศูนย์กลางที่รัฐ รัฐเริ่มประกาศตนเป็นฆราวาส ไม่ยอมให้ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง
การเมืองยุค Postmodern ผมเดาเองว่าน่าจะเกิดในยุคหลังสงครามเย็น อุดมการณ์ในยุค Modern ต่างๆ ยังคงดำรงอยู่แต่ก็ถูกท้าทายโดยแนวคิดอื่นๆ เช่นเสรีนิยม กระแสทุนนิยมมีอิทธิพลไปทั่วโลกยิ่งกว่าเดิมโดยเฉพาะแนวคิดเสรีนิยมใหม่ โดยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าน้อยที่สุด ทำให้องค์กรที่ไม่สังกัดรัฐอย่างเช่นบริษัทข้ามชาติหรือองค์กรที่ไม่ใช่รัฐข้ามชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อชาติ การเสื่อมลงของแนวคิดรัฐชาติยุค Modern ที่มีรัฐเป็นศูนย์กลาง พรมแดนของรัฐที่เคยแข็งกระด้างกลับอ่อนนุ่ม สัญลักษณ์คือกำแพงเบอร์ลินที่ล่มสลายในปี 1990 ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปและอาเซียนที่เน้นการเป็นหนึ่งเดียวของภูมิภาค คนท่องเที่ยวในภูมิภาคเหล่านั้นไม่ต้องอาศัยพาสปอร์ตเหมือนแต่เดิม ผู้ใช้แรงงานสามารถอพยพไปทำงานตามพื้นที่ต่างๆ ได้เสรียิ่งขึ้น นอกจากนี้โลกอินเทอร์เน็ตยังทำให้มีการนิยามชุนชมใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องอิงกับรัฐยุคโมเดิร์นอีกต่อไป การเมืองยุคโพสโมเดิร์นโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยเช่นผู้หญิง พวกรักร่วมเพศหรือชนชายขอบต่างๆ เข้ามามีอิทธิพลต่อการเมืองกระแสหลักมากขึ้น ประชาชนเริ่มแสดงออกอะไรบ้างอย่างที่รัฐถือว่าไม่ภักดีเช่นหันมาวิจารณ์ประเทศตัวเองมากกว่าจะเชียร์แบบสุดลิ่มทิ่มประตูหรือมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของชาติอื่นมากขึ้น
การเมืองยุค Premodern ก็คือการเมืองในยุคโบราณก่อนศตวรรษที่ 17 คือยังมีการปกครองแบบเมือง อาณาจักร จักรวรรดิ คำว่ารัฐาธิปัตย์หรือ sovereignty ยังไม่มีความชัดเจนเพราะกษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจเด็ดขาดเหนือหัวเมืองต่างๆ ไม่มีพรมแดนแน่นอน มีแต่การแพร่บารมีของกษัตริย์ไปยังหัวเมืองเหล่านั้น ที่ใช้เรื่องความภักดีหรือการแต่งงานสืบสายเลือดกันเป็นตัวผูกไว้ ประชาชนก็มิได้คิดว่าตนเป็นพลเมืองอาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจ อิทธิพลของศาสนาเหนือการเมืองยังคงมีสูงมาก
การเมืองยุค Modern คิดว่าน่าจะเกิดขึ้นจากทำสนธิสัญญา Westphalia ในปี 1648 ในยุโรป ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดรัฐชาติ มีรัฐาธิปัตย์ที่ชัดเจน มีพรมแดนแน่นอน ประชาชนเกิดสำนึกและมีการนิยามว่าตนเป็นกลุ่มเดียวเดียวกับรัฐศูนย์กลาง จากกระบวนการทำให้เกิดความรู้สึกเป็นชาติเดียวกันและการล่มสลายของระบบศักดินาที่ทำให้คนทุกคนเชื่อว่ามีความเท่าเทียมกัน รัฐชาติหรือ Nation State ที่เป็นรูปธรรมก็คืออิตาลีในปี 1870 และเยอรมันในปี 1871 การเมืองในยุคนี้เต็มไปด้วยอุดมการณ์ชาตินิยม ฟาสซิสต์ คอมมิวนิสต์ หรือประชาธิปไตยที่เน้นศูนย์กลางที่รัฐ รัฐเริ่มประกาศตนเป็นฆราวาส ไม่ยอมให้ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง
การเมืองยุค Postmodern ผมเดาเองว่าน่าจะเกิดในยุคหลังสงครามเย็น อุดมการณ์ในยุค Modern ต่างๆ ยังคงดำรงอยู่แต่ก็ถูกท้าทายโดยแนวคิดอื่นๆ เช่นเสรีนิยม กระแสทุนนิยมมีอิทธิพลไปทั่วโลกยิ่งกว่าเดิมโดยเฉพาะแนวคิดเสรีนิยมใหม่ โดยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าน้อยที่สุด ทำให้องค์กรที่ไม่สังกัดรัฐอย่างเช่นบริษัทข้ามชาติหรือองค์กรที่ไม่ใช่รัฐข้ามชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อชาติ การเสื่อมลงของแนวคิดรัฐชาติยุค Modern ที่มีรัฐเป็นศูนย์กลาง พรมแดนของรัฐที่เคยแข็งกระด้างกลับอ่อนนุ่ม สัญลักษณ์คือกำแพงเบอร์ลินที่ล่มสลายในปี 1990 ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปและอาเซียนที่เน้นการเป็นหนึ่งเดียวของภูมิภาค คนท่องเที่ยวในภูมิภาคเหล่านั้นไม่ต้องอาศัยพาสปอร์ตเหมือนแต่เดิม ผู้ใช้แรงงานสามารถอพยพไปทำงานตามพื้นที่ต่างๆ ได้เสรียิ่งขึ้น นอกจากนี้โลกอินเทอร์เน็ตยังทำให้มีการนิยามชุนชมใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องอิงกับรัฐยุคโมเดิร์นอีกต่อไป การเมืองยุคโพสโมเดิร์นโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยเช่นผู้หญิง พวกรักร่วมเพศหรือชนชายขอบต่างๆ เข้ามามีอิทธิพลต่อการเมืองกระแสหลักมากขึ้น ประชาชนเริ่มแสดงออกอะไรบ้างอย่างที่รัฐถือว่าไม่ภักดีเช่นหันมาวิจารณ์ประเทศตัวเองมากกว่าจะเชียร์แบบสุดลิ่มทิ่มประตูหรือมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของชาติอื่นมากขึ้น
แสดงความคิดเห็น
การเมืองยุคก่อนสมัยใหม่ premodern ยุคสมัยใหม่ modern ยุคหลังสมัยใหม่ postmodern