เผยอียูยันแช่แข็ง เจรจาค้าเสรีกับไทย
เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปเผย อียูไม่มีแผนหวนขึ้นโต๊ะเจรจา จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศไทย แจงส่งผู้แทนพบหารือเจ้ากระทรวงบัวแก้วเมื่อกันยายนแค่หยั่งท่าที
เว็บไซต์นิตยสาร นิกเกอิ เอเชียน รีวิว เผยแพร่รายงานเมื่อ 14 ตุลาคม ระบุว่า ผู้นำรัฐประหารไทยกำลังพยายามสร้างความยอมรับในหมู่นักการทูตของสหภาพยุโรป ในระหว่างเข้าร่วมการประชุมอาเซม ที่นครมิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม
รายงาน ชื่อ “Thailand’s coup leader works to win over EU’s diplomats” เขียนโดย Simon Marks ระบุว่า การเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-อียู ได้ถูกแช่แข็ง อยู่ในสภาพลูผีลูกคน หลังจากสหภาพยุโรปประณามการรัฐประหารในประเทศไทย
บรรดาเจ้าหน้าที่อียู เปิดเผยว่า แม้เคยเจรจากันสองรอบก่อนหน้านี้ แต่เวลานี้ยังไม่มีแผนที่จะกลับขึ้นโต๊ะเจรจาข้อตกลงการค้ากับประเทศไทย จนกว่าไทยจะยึดมั่นพันธะที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง และมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย
“ไม่มีแผนที่จะเจรจากันอีกในขณะนี้ ยังไม่มีกำหนดวันเวลาของการเจรจารอบใหม่” เจ้าหน้าที่ด้านการค้าของอียูผู้หนึ่ง ซึ่งขอสงวนนาม กล่าว
นับแต่การรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม อียูยังได้ระงับการเยี่ยมเยือนอย่างเป็นทางการ และทบทวนความร่วมมือทางทหารกับประเทศไทย
เมื่อเดือนมิถุนายน คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป มีผลสรุปการประชุมเกี่ยวกับประเทศไทย ว่า สมาชิกอียู 28 ประเทศจะทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทย
เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้หนึ่งของอียูกล่าวถึงความสัมพันธ์กับไทยว่า “เราไม่สามารถกลับไปมีความสัมพันธ์ขั้นปกติได้ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้ การรัฐประหารอาจทำให้เกิดเสถียรภาพในระยะสั้น แต่ในระยะกลาง สถานการณ์อาจเลวร้ายลง” และว่า “ข้อสรุปการประชุมเมื่อเดือนมิถุนายนยังคงมีผล แทบไม่มีสัญญาณว่ายุโรปพร้อมจะรับฟังแผนการของรัฐบาลทหารของไทย”
เจ้าหน้าที่ผู้นี้บอกอีกว่า กรณีผู้แทนอียูประจำประเทศไทยเข้าพบหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศไทย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ในกรุงเทพ เมื่อวันที่ 24 กันยายนนั้น เป็นแค่การฟื้นการติดต่ออย่างระมัดระวัง เพื่อดูความเป็นไปได้ที่จะพูดจากัน
ด้านนักการทูตชั้นผู้ใหญ่ของไทยคนหนึ่งในกรุงบรัสเซลส์ บอกว่า ความสัมพันธ์ไทยกับยุโรปมีความแข็งแกร่งมาก ไม่มีใครอยากตัดสัมพันธ์ ยุโรปก็ต้องคิดถึงผลประโยชน์ของตนด้วย
ประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับสามในกลุ่มคู่ค้าประเทศอาเซียนและประเทศสมาชิกอียูของสหภาพยุโรป และอียูก็เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสามของไทยเช่นกัน อีกทั้งอียูยังเป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นของไทยด้วย.
เผยอียูยันแช่แข็ง เจรจาค้าเสรีกับไทย
เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปเผย อียูไม่มีแผนหวนขึ้นโต๊ะเจรจา จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศไทย แจงส่งผู้แทนพบหารือเจ้ากระทรวงบัวแก้วเมื่อกันยายนแค่หยั่งท่าที
เว็บไซต์นิตยสาร นิกเกอิ เอเชียน รีวิว เผยแพร่รายงานเมื่อ 14 ตุลาคม ระบุว่า ผู้นำรัฐประหารไทยกำลังพยายามสร้างความยอมรับในหมู่นักการทูตของสหภาพยุโรป ในระหว่างเข้าร่วมการประชุมอาเซม ที่นครมิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม
รายงาน ชื่อ “Thailand’s coup leader works to win over EU’s diplomats” เขียนโดย Simon Marks ระบุว่า การเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-อียู ได้ถูกแช่แข็ง อยู่ในสภาพลูผีลูกคน หลังจากสหภาพยุโรปประณามการรัฐประหารในประเทศไทย
บรรดาเจ้าหน้าที่อียู เปิดเผยว่า แม้เคยเจรจากันสองรอบก่อนหน้านี้ แต่เวลานี้ยังไม่มีแผนที่จะกลับขึ้นโต๊ะเจรจาข้อตกลงการค้ากับประเทศไทย จนกว่าไทยจะยึดมั่นพันธะที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง และมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย
“ไม่มีแผนที่จะเจรจากันอีกในขณะนี้ ยังไม่มีกำหนดวันเวลาของการเจรจารอบใหม่” เจ้าหน้าที่ด้านการค้าของอียูผู้หนึ่ง ซึ่งขอสงวนนาม กล่าว
นับแต่การรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม อียูยังได้ระงับการเยี่ยมเยือนอย่างเป็นทางการ และทบทวนความร่วมมือทางทหารกับประเทศไทย
เมื่อเดือนมิถุนายน คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป มีผลสรุปการประชุมเกี่ยวกับประเทศไทย ว่า สมาชิกอียู 28 ประเทศจะทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทย
เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้หนึ่งของอียูกล่าวถึงความสัมพันธ์กับไทยว่า “เราไม่สามารถกลับไปมีความสัมพันธ์ขั้นปกติได้ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้ การรัฐประหารอาจทำให้เกิดเสถียรภาพในระยะสั้น แต่ในระยะกลาง สถานการณ์อาจเลวร้ายลง” และว่า “ข้อสรุปการประชุมเมื่อเดือนมิถุนายนยังคงมีผล แทบไม่มีสัญญาณว่ายุโรปพร้อมจะรับฟังแผนการของรัฐบาลทหารของไทย”
เจ้าหน้าที่ผู้นี้บอกอีกว่า กรณีผู้แทนอียูประจำประเทศไทยเข้าพบหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศไทย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ในกรุงเทพ เมื่อวันที่ 24 กันยายนนั้น เป็นแค่การฟื้นการติดต่ออย่างระมัดระวัง เพื่อดูความเป็นไปได้ที่จะพูดจากัน
ด้านนักการทูตชั้นผู้ใหญ่ของไทยคนหนึ่งในกรุงบรัสเซลส์ บอกว่า ความสัมพันธ์ไทยกับยุโรปมีความแข็งแกร่งมาก ไม่มีใครอยากตัดสัมพันธ์ ยุโรปก็ต้องคิดถึงผลประโยชน์ของตนด้วย
ประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับสามในกลุ่มคู่ค้าประเทศอาเซียนและประเทศสมาชิกอียูของสหภาพยุโรป และอียูก็เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสามของไทยเช่นกัน อีกทั้งอียูยังเป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นของไทยด้วย.