บันทึกของผู้เฒ่า
วารสารของทหาร
หลังจากที่เกษียณอายุราชการ เมื่อ ตุลาคม ๒๕๓๕ แล้ว เราก็ยึดอาชัพเขียนหนังสือให้วารสารเป็นหลัก
เพราะสมัยนี้เขาจะจ่ายค่าตอบแทนทุกเรื่อง
มากน้อยแล้วแต่ฐานะของวารสารนั้น ๆ ก็มีเรื่องลงพิมพ์ในวารสารของทหารเหล่า ต่าง ๆ ในกองทัพบก
และอื่น ๆ มากกว่าสิบราย เป็นจำนวน หลายร้อยตอน
ทั้งเรื่องสั้นชุดฉากชีวิต บันทึกของคนเดินเท้า ความหลังริมคลองเปรม พระอภัยมณีฉบับเร่งรัด บทกลอน
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา สามก๊ก และนิยายอิงพงศาวดารจีน อีกหลายเรื่อง และได้พิมพ์รวมเล่มอีกหลายเล่ม
จนถึง พ.ศ.๒๕๔๘ ลูกชายแนะนำให้สมัครเข้าไปใช้บริการอินเตอร์เนต ที่เราไม่เคยสนใจ โดยจะออกเงินค่าสมาชิกให้
และทดลองเล่นดูสักปีหนึ่ง ไม่ชอบใจก็เลิกได้ และสมัครเป็นสมาชิก เวปบอร์ด พันทิป ดอท.คอม.เป็นแห่งแรก
คราวนี้เราก็สนใจที่เขามีกลุ่ม ถนนนักเขียน ของห้องสมุด ซึ่งเป็นที่สำหรับเอาเรื่องทุกประเภทมาวางเป็นกระทู้
ให้ผู้อื่นอ่านและวิพากษ์วิจารณ์ได้ตามสบายไม่มีข้อจำกัด เราก็เลยถือโอกาสเอาเรื่องทั้งหมด ที่เขียนมาตลอดเวลานั้น
วางจนหมดสิ้น และเก็บไว้ในบล็อกที่ใช้ชื่อว่า “เจียวต้าย” เป็นจำนวนร่วมพันตอน
จนถึง พ.ศ.๒๕๕๑ อายุ ๗๗ ปี สังขารเสื่อมโทรมลง พิมพ์คอมพิวเตอร์แล้วเจ็บหัวไหล่และซี่โครงข้างขวา จึงหยุดเขียน
เหลือแต่เรื่องที่เขียนไว้แล้วส่งไปให้วารสารอื่น ๆ จนบัดนี้ก็เลิกส่งเรื่องไปให้วารสารแล้ว จึงหวนรำลึกถึงอดีตในช่วงสุดท้าย
ถึงผลงานที่ออกไปสู่โลกภายนอก บางเรื่อง
วารสารที่ติดต่อกันนานมากเล่มหนึ่ง ก็คือ นิตยสารทหารปืนใหญ่ ซึ่งได้เข้ามาร่วมงานเป็นครั้งแรก ในฉบับประจำเดือน
มกราคม ๒๕๓๗ ด้วยเรื่องสามก๊กฉบับลิ่วล้อ ของ “เล่าเซี่ยงชุน” และได้ลงพิมพ์ติดต่อกันมาจนถึง ฉบับ มกราคม ๒๕๔๔
จึงได้เพิ่มเรื่องชุดฉากชีวิต ของ “เพทาย” พอมาถึงฉบับ มกราคม ๒๕๔๙ จึงมีเรื่องย้อนอดีต ของ พ.สมานคุรุกรรม
จนถึง พ.ศ.๒๕๕๐ การผลิตหนังสือขลุกขลัก และมีการปรับปรุงใหม่ ใน พ.ศ.๒๕๕๔ ซึ่งเราก็ได้ส่งเรื่องชุดสุดท้าย
มาร่วมด้วย ๖ ตอน ประมาณว่าเรื่องของเราทั้งหมด ที่ได้ลงพิมพ์ในนิตยสารทหารปืนใหญ่ ในช่วงเวลา ๑๖ ปีที่ผ่านมา
จะมีจำนวนมากกว่า ๖๐ ตอน
นิตยสารประจำเหล่าทหารปืนใหญ่ฉบับนี้ มีอายุพอ ๆ กับอายุของประชาธิปไตยแบบไทย และยังคงจะอยู่คู่กับเหล่าต่อไป
อีกนานแสนนาน ไม่มีวันสิ้นสุด
อีกเหล่าหนึ่งก็คือ วารสารทหารม้าที่มีชื่อ “ฟ้าหม่น” ของศูนย์การทหารม้า จะมีกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใดนั้น เราซึ่งเป็นทหารสื่อสาร
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗ ไม่เคยได้ทราบ แต่เรื่องของเราได้ปรากฏในวารสารฉบับนี้ครั้งแรก คือเรื่อง สามก๊กฉบับลิ่วล้อ ฉบับประจำ
พฤศจิกายน ๒๕๓๔ แล้วก็ได้ลงพิมพ์ติดต่อกันเกือบทุกเล่ม จนถึงฉบับประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๓๙ จึงหายไป
ระหว่างนั้นก็ได้ไปโผล่ที่ กองพลทหารม้าที่ ๑ จ.เพชรบูรณ์ ด้วยเรื่อง ซ้องกั๋ง...ขุนโจรแห่งเขาเนียซัวเปาะ ตั้งแต่ฉบับประจำเดือน
พฤษภาคม ๒๕๓๙ เช่นกัน วารสารเล่มนี้เป็นรายสามเดือน ก็มีเรื่องอิงพงศาวดารจีน ของ”เล่าเซี่ยงชุน” ลงพิมพ์ประจำอยู่จนถึง
ฉบับประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๒
“เล่าเซี่ยงชุน”ได้กลับมาเขียนเรื่องให้ วารสารฟ้าหม่นอีกรอบหนึ่งตั้งแต่ ฉบับประจำเดือน มีนาคม ๒๕๔๔ ด้วยเรื่อง
“ทหารเสือแผ่นดินถัง “ และเรื่องอื่น ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้เขียน ยุติการเขียนเรื่องใหม่ มีแต่เรื่องที่เขียนไว้แล้ว
ทยอยส่ง นิตยสารทหารสื่อสาร นิตยสารทหารปืนใหญ่ และวารสารฟ้าหม่น ของทหารม้า เท่านั้น
ประมาณได้ว่า เรื่องอิงพงศาวดารจีนของ “เล่าเซี่ยงชุน” ซึ่งมีชีวิตจริงเป็นทหารสื่อสาร ได้ลงพิมพ์ในฟ้าหม่น
ทั้งสองยุคไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ตอน และ วารสารกองพลทหารม้าที่ ๑ อีกไม่น้อยกว่า ๕๐ ตอน รวมเวลาที่ได้เสนอผลงาน
ให้ทหารม้าได้อ่านมาเป็นเวลาร่วม ๒๐ ปี
ทางด้านอินเตอร์เนต ก็ใช้วิธีสแกนเรื่องจากนิตยสารทหารสื่อสาร สมัยเก่าตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ เลือกเรื่องที่ยัง
พออ่านกันได้ในสมัยนี้ ทั้งเรื่องของท่านอื่นที่น่าสนใจ รวมทั้งนามปากกาต่าง ๆ ของตนเองด้วย มาวางแทนการเขียน
เพื่อเป็นการถนอมสังขาร และเผยแพร่นิตยสารทหารสื่อสาร ให้บุคคลภายนอกได้สัมผัสด้วย ซึ่งถ้ามีอายุยืนยาวต่อไป
ก็คงจะมีผู้รู้จักทหารสื่อสารดีขึ้น
งานนี้ก็เป็นที่ภูมิใจ ว่าเป็นการทดแทนพระคุณของเหล่าทหารสื่อสาร อีกทางหนึ่งด้วย และจะทำไปจนกว่าจะหมดแรง
###########
พ.ศ.๒๕๕๕
วารสารของทหาร ๑๐ ต.ค.๕๗
วารสารของทหาร
หลังจากที่เกษียณอายุราชการ เมื่อ ตุลาคม ๒๕๓๕ แล้ว เราก็ยึดอาชัพเขียนหนังสือให้วารสารเป็นหลัก
เพราะสมัยนี้เขาจะจ่ายค่าตอบแทนทุกเรื่อง
มากน้อยแล้วแต่ฐานะของวารสารนั้น ๆ ก็มีเรื่องลงพิมพ์ในวารสารของทหารเหล่า ต่าง ๆ ในกองทัพบก
และอื่น ๆ มากกว่าสิบราย เป็นจำนวน หลายร้อยตอน
ทั้งเรื่องสั้นชุดฉากชีวิต บันทึกของคนเดินเท้า ความหลังริมคลองเปรม พระอภัยมณีฉบับเร่งรัด บทกลอน
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา สามก๊ก และนิยายอิงพงศาวดารจีน อีกหลายเรื่อง และได้พิมพ์รวมเล่มอีกหลายเล่ม
จนถึง พ.ศ.๒๕๔๘ ลูกชายแนะนำให้สมัครเข้าไปใช้บริการอินเตอร์เนต ที่เราไม่เคยสนใจ โดยจะออกเงินค่าสมาชิกให้
และทดลองเล่นดูสักปีหนึ่ง ไม่ชอบใจก็เลิกได้ และสมัครเป็นสมาชิก เวปบอร์ด พันทิป ดอท.คอม.เป็นแห่งแรก
คราวนี้เราก็สนใจที่เขามีกลุ่ม ถนนนักเขียน ของห้องสมุด ซึ่งเป็นที่สำหรับเอาเรื่องทุกประเภทมาวางเป็นกระทู้
ให้ผู้อื่นอ่านและวิพากษ์วิจารณ์ได้ตามสบายไม่มีข้อจำกัด เราก็เลยถือโอกาสเอาเรื่องทั้งหมด ที่เขียนมาตลอดเวลานั้น
วางจนหมดสิ้น และเก็บไว้ในบล็อกที่ใช้ชื่อว่า “เจียวต้าย” เป็นจำนวนร่วมพันตอน
จนถึง พ.ศ.๒๕๕๑ อายุ ๗๗ ปี สังขารเสื่อมโทรมลง พิมพ์คอมพิวเตอร์แล้วเจ็บหัวไหล่และซี่โครงข้างขวา จึงหยุดเขียน
เหลือแต่เรื่องที่เขียนไว้แล้วส่งไปให้วารสารอื่น ๆ จนบัดนี้ก็เลิกส่งเรื่องไปให้วารสารแล้ว จึงหวนรำลึกถึงอดีตในช่วงสุดท้าย
ถึงผลงานที่ออกไปสู่โลกภายนอก บางเรื่อง
วารสารที่ติดต่อกันนานมากเล่มหนึ่ง ก็คือ นิตยสารทหารปืนใหญ่ ซึ่งได้เข้ามาร่วมงานเป็นครั้งแรก ในฉบับประจำเดือน
มกราคม ๒๕๓๗ ด้วยเรื่องสามก๊กฉบับลิ่วล้อ ของ “เล่าเซี่ยงชุน” และได้ลงพิมพ์ติดต่อกันมาจนถึง ฉบับ มกราคม ๒๕๔๔
จึงได้เพิ่มเรื่องชุดฉากชีวิต ของ “เพทาย” พอมาถึงฉบับ มกราคม ๒๕๔๙ จึงมีเรื่องย้อนอดีต ของ พ.สมานคุรุกรรม
จนถึง พ.ศ.๒๕๕๐ การผลิตหนังสือขลุกขลัก และมีการปรับปรุงใหม่ ใน พ.ศ.๒๕๕๔ ซึ่งเราก็ได้ส่งเรื่องชุดสุดท้าย
มาร่วมด้วย ๖ ตอน ประมาณว่าเรื่องของเราทั้งหมด ที่ได้ลงพิมพ์ในนิตยสารทหารปืนใหญ่ ในช่วงเวลา ๑๖ ปีที่ผ่านมา
จะมีจำนวนมากกว่า ๖๐ ตอน
นิตยสารประจำเหล่าทหารปืนใหญ่ฉบับนี้ มีอายุพอ ๆ กับอายุของประชาธิปไตยแบบไทย และยังคงจะอยู่คู่กับเหล่าต่อไป
อีกนานแสนนาน ไม่มีวันสิ้นสุด
อีกเหล่าหนึ่งก็คือ วารสารทหารม้าที่มีชื่อ “ฟ้าหม่น” ของศูนย์การทหารม้า จะมีกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใดนั้น เราซึ่งเป็นทหารสื่อสาร
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗ ไม่เคยได้ทราบ แต่เรื่องของเราได้ปรากฏในวารสารฉบับนี้ครั้งแรก คือเรื่อง สามก๊กฉบับลิ่วล้อ ฉบับประจำ
พฤศจิกายน ๒๕๓๔ แล้วก็ได้ลงพิมพ์ติดต่อกันเกือบทุกเล่ม จนถึงฉบับประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๓๙ จึงหายไป
ระหว่างนั้นก็ได้ไปโผล่ที่ กองพลทหารม้าที่ ๑ จ.เพชรบูรณ์ ด้วยเรื่อง ซ้องกั๋ง...ขุนโจรแห่งเขาเนียซัวเปาะ ตั้งแต่ฉบับประจำเดือน
พฤษภาคม ๒๕๓๙ เช่นกัน วารสารเล่มนี้เป็นรายสามเดือน ก็มีเรื่องอิงพงศาวดารจีน ของ”เล่าเซี่ยงชุน” ลงพิมพ์ประจำอยู่จนถึง
ฉบับประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๒
“เล่าเซี่ยงชุน”ได้กลับมาเขียนเรื่องให้ วารสารฟ้าหม่นอีกรอบหนึ่งตั้งแต่ ฉบับประจำเดือน มีนาคม ๒๕๔๔ ด้วยเรื่อง
“ทหารเสือแผ่นดินถัง “ และเรื่องอื่น ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้เขียน ยุติการเขียนเรื่องใหม่ มีแต่เรื่องที่เขียนไว้แล้ว
ทยอยส่ง นิตยสารทหารสื่อสาร นิตยสารทหารปืนใหญ่ และวารสารฟ้าหม่น ของทหารม้า เท่านั้น
ประมาณได้ว่า เรื่องอิงพงศาวดารจีนของ “เล่าเซี่ยงชุน” ซึ่งมีชีวิตจริงเป็นทหารสื่อสาร ได้ลงพิมพ์ในฟ้าหม่น
ทั้งสองยุคไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ตอน และ วารสารกองพลทหารม้าที่ ๑ อีกไม่น้อยกว่า ๕๐ ตอน รวมเวลาที่ได้เสนอผลงาน
ให้ทหารม้าได้อ่านมาเป็นเวลาร่วม ๒๐ ปี
ทางด้านอินเตอร์เนต ก็ใช้วิธีสแกนเรื่องจากนิตยสารทหารสื่อสาร สมัยเก่าตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ เลือกเรื่องที่ยัง
พออ่านกันได้ในสมัยนี้ ทั้งเรื่องของท่านอื่นที่น่าสนใจ รวมทั้งนามปากกาต่าง ๆ ของตนเองด้วย มาวางแทนการเขียน
เพื่อเป็นการถนอมสังขาร และเผยแพร่นิตยสารทหารสื่อสาร ให้บุคคลภายนอกได้สัมผัสด้วย ซึ่งถ้ามีอายุยืนยาวต่อไป
ก็คงจะมีผู้รู้จักทหารสื่อสารดีขึ้น
งานนี้ก็เป็นที่ภูมิใจ ว่าเป็นการทดแทนพระคุณของเหล่าทหารสื่อสาร อีกทางหนึ่งด้วย และจะทำไปจนกว่าจะหมดแรง
###########
พ.ศ.๒๕๕๕