ก็อปปี้มาจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140810/189872.html
รูปเอามาจาก
http://www.bbc.com/news/blogs-magazine-monitor-28686607 กับ
http://www.telegraph.co.uk/news/picturegalleries/worldnews/11021811/Who-are-the-Iraqi-Yazidis.html?frame=3000881
นับตั้งแต่เข้ายึดเมืองโมซุล ศูนย์กลางความเจริญทางเหนือของอิรักได้สำเร็จเมื่อต้นเดือนมิถุนายน กองกำลังใต้การนำของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส หรือชื่อเดิม ไอซิส) เดินหน้าภารกิจโหดในการเปลี่ยนโฉมพื้นที่ที่ยึดครองได้ตามชายแดนอิรักและซีเรีย ให้เป็นหนึ่งเดียวกับอาณาจักรอิสลาม หรือคอลิฟะฮ์ ที่ทางกลุ่มสถาปนาขึ้นมาเองตามอุดมการณ์เฉพาะตัวของกลุ่ม ด้วยการบังคับชนกลุ่มน้อยเปลี่ยนศาสนาความเชื่อ ระเบิดทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา หรือนิกายอื่นของอิสลามด้วยกันเอง และเข่นฆ่าคนที่ขัดขืน ก่อนที่สถานการณ์อิสราเอลถล่มกาซาย่อยยับจะมายึดครองพื้นที่ข่าวโลกอยู่หลายสัปดาห์
กระทั่งเมื่อ ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่งสหรัฐ มีคำสั่งให้เครื่องบินรบกลับไปยังน่านฟ้าอิรักอีกครั้ง เพื่อหย่อนความช่วยเหลืออาหารแก่ชนกลุ่มน้อย "ยาซีดิ" ที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์หมิ่นเหม่กับการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ครั้งใหม่) และหากจำเป็น อาจใช้ปฏิบัติการทางอากาศสนับสนุนกองกำลังอิรักที่พยายามสกัดการรุกคืบของกลุ่มไอเอส และเพื่อคุ้มครองพลเรือนที่ติดค้างอยู่ หรือเพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่สหรัฐที่ทำงานอยู่ภาคพื้นดินด้วย
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าอีกครั้งเมื่อกว่าที่โลกจะหันไปให้ความสนใจกับชะตากรรมชนกลุ่มน้อย จนเมื่อไอเอสได้รุกคืบถึงเมืองซินจาร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือใกล้ชายแดนซีเรีย ห่างประมาณ 80 กิโลเมตรจากโมซุล ซึ่งถือเป็นการเพลี่ยงพล้ำครั้งใหญ่ครั้งแรกของกองกำลังชาวเคิร์ดที่พยายามปกป้องพื้นที่ทางเหนือ
จากนั้น ไอเอสและกองกำลังแนวร่วม สังหารชนกลุ่มน้อยยาซีดิหลายร้อยคน ในจำนวนนี้เป็นเด็กราว 40 คน ชาวบ้านราว 1.3-2 แสนคนจากเมืองซินจาร์ เมืองหลักของประชากรกลุ่มนี้พากันหลบหนีไปยังโดฮุค ในเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน ทางเหนือ หรือเข้าไปในเมืองเออร์บิน ที่น่าห่วงอย่างยิ่งคือ มีอยู่ประมาณ 4 หมื่นคนพากันหลบหนีติดอยู่บนภูเขาซินจาร์ ขาดทั้งอาหารและน้ำ จึงเป็นที่มาของแผนช่วยเหลือของสหรัฐ
ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชนเผ่ายาซีดิถูกสังหารหมู่ สมาชิกรัฐสภาอิรักตัวแทนชนเผ่ากล่าวว่า "ประวัติศาสตร์ของเรา พวกเราเผชิญการถูกสังหารหมู่ 72 ครั้ง และกำลังวิตกมากว่าที่ซินจาร์ อาจเป็นครั้งที่ 73"
ชนเผ่ายาซีดิ เป็นใครทำไมไอเอส ต้องกวาดล้างแบบสิ้นซาก
ยาซีดิ (Yazidis/Yezidis) เป็นกลุ่มที่มีความเชื่อทางศาสนาเก่าแก่ราว 4,000 ปีในยุคก่อนอิสลาม รากเง้าความเชื่อมาจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาเทวนิยมในอาณาจักรเปอร์เซียโบราณ ต่อมาผสมผสานพิธีกรรมบางอย่างจากศาสนาคริสต์ อิสลามและยูดาย เช่น พิธีล้างบาปของคริสต์ การขริบอวัยวะเพศของอิสลาม การบูชาไฟจากโซโรอัสเตอร์ ลักษณะความเชื่อที่พัฒนามาจากศาสนาอื่นทำให้ยาซีดิ มักถูกเอ่ยว่าเป็นลัทธิหรือนิกายหนึ่งมากกว่าศาสนา
ความเชื่อหลายเรื่องเป็นความลับ ด้วยการที่ไม่อนุญาตให้คนนอกหันมานับถือ และสาวกก็ไม่แลกเปลี่ยนความเชื่อของตนกับคนนอก
บางครั้ง ยาซีดิ ถูกจัดเป็นพวกเคิร์ดนอกรีต ซึ่งหมายความว่าเป็นชาติพันธุ์เคิร์ด แต่เป็นพวกนอกกระแสหลักทางวัฒนธรรม และความเป็นชาวอิรักที่ไม่ใช่อาหรับและไม่ใช่มุสลิม จึงเป็นชนกลุ่มน้อยเสี่ยงที่สุดกลุ่มหนึ่งในการถูกกีดกันและกวาดล้าง
ขนาดของประชากรยาซีดิทั่วโลกไม่ทราบแน่ชัด ส่วนมากประเมินว่าน่าจะอยู่ราวๆ 6 แสนคน ส่วนมากประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ อาศัยในพื้นที่ทางเหนือของอิรัก อิหร่าน ซีเรีย และตุรกี ในแถบเทือกเขาคอเคซัสอย่างจอร์เจียและอาร์เมเนีย ก็มีเช่นกันแต่ไม่มากนัก แต่ราวครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดกระจุกตัวอยู่ทางเหนือของอิรัก และเมืองซินจาร์เป็นเมืองหลัก
ชาวยาซีดิจำนวนมากอพยพไปยังยุโรป ที่ซึ่งความเชื่อของพวกเขาเคยเป็นข่าวพาดหัวในทางลบ อาทิ การฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ (honor killing) สตรีคนหนึ่งที่ออกเดทกับชายชาวเยอรมัน เนื่องจากตามขนบประเพณี ยาซีดิไม่อนุญาตให้แต่งงานกับคนนอก
เยอรมนีมีชาวยาซีดิมากที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรปราว 4 หมื่นคน
ความเชื่อ
ชาวยาซีดิ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียวและบูชาเทพ 7 องค์ แต่องค์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ เมเล็ก ทาอุส (Melek Taus) หรือเทพนกยูง
ในทัศนะของคริสต์และยูดาย เทพนกยูง เป็นเทพตกสวรรค์หรือเป็นซาตาน แต่ชาวยาซีดิเชื่อว่า เทพนกยูงได้รับการอภัยหลังถูกทดสอบจากพระเจ้าและได้กลับสู่สวรรค์ พวกเขาบูชาเทพนกยูง เป็นเทพแห่งเทพของพระเจ้า
ความสำคัญของเทพนกยูงนี้เอง กลายเป็นที่มาของฉลากแปะชาวยาซีดิว่า เป็นพวกบูชาปีศาจ
ชาวยาซีดิบูชาพระเจ้าวันละสามครั้ง โดยหันหน้าไปทางตำแหน่งพระอาทิตย์เสมอ ส่วนโครงสร้างสังคมของชนกลุ่มนี้เป็นแบบชั้นวรรณะ แยกระหว่างนักบวชกับฆราวาส มีความเชื่อและหลักปฏิบัติแบบเฉพาะ อาทิ ไม่สวมชุดสีฟ้า และห้ามกินดอกกะหล่ำ แต่ก็เช่นเดียวกับความเชื่อหลายอย่างที่ยังไม่ชัดว่า ข้อห้ามเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติตามสม่ำเสมอหรือไม่
ในศตวรรษที่ 12 มีบุคคลชื่อว่า อาบิ อิบน์ มูซาฟีร์ เป็นผู้นำกอบกู้ยาซีดิ และคาดกันว่าเป็นผู้ก่อร่างรูปแบบความเชื่อที่ยืนยาวมาถึงทุกวันนี้ สุสานของเขาในเมืองลาลิช ทางเหนืออิรัก กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และชาวยาซีดิจำนวนมากที่หลบหนีจากซินจาร์ก็ไปหลบภัยที่นั่น
การถูกมองว่าเป็นพวกบูชาปีศาจ นำไปสู่การเข่นฆ่าตลอดหลายศตวรรษ ในยุคจักรวรรดิออตโตมัน ศตวรรษที่ 18-19 ชาวยาซีดิตกเป็นเป้าสังหารหมู่ในระดับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 72 ครั้ง และในสมัยประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ก็มีการทำลายหมู่บ้านจำนวนมากระหว่างสู้รับกับทหารเคิร์ด
หลายปีที่ผ่านมา มีแรงกดดันให้ชาวยาซีดิ เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเพิ่มมากขึ้น
กลุ่มอัล-ไกดาในอิรัก ก่อนเปลี่ยนมาเป็นไอซิสและไอเอสในปัจจุบัน ก็เคยออกคำขู่เมื่อปี 2550 ให้สังหารยาซิดีทิ้งทั้งหมด เพราะถือเป็นพวกรีต ทำให้ชาวยาซิดีหนีออกจากอิรักราว 7 หมื่นคน
ในปีเดียวกันนั้น เกิดเหตุโจมตีทำลายหมู่บ้านยาซีดิสองแห่งด้วยรถบรรทุกระเบิด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน เป็นเหตุโจมตีที่คร่าชีวิตคนมากที่สุดนับจากสหรัฐนำทัพบุกอิรักในปี 2543 ต่อมา ยังเกิดเหตุกลุ่มมือปืนหยุดรถบัส สั่งผู้โดยสารชาวคริสต์ลงจากรถ ก่อนสังหารชาวยาซิดีที่เหลือ 23 คน เพื่อล้างแค้นที่มีสตรียาซิดีคนหนึ่งถูกสังหารฐานเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม
รู้จักกับชาว 'ยาซีดิ' เหยื่อล่าสุดของไอเอส
รูปเอามาจาก http://www.bbc.com/news/blogs-magazine-monitor-28686607 กับ http://www.telegraph.co.uk/news/picturegalleries/worldnews/11021811/Who-are-the-Iraqi-Yazidis.html?frame=3000881
นับตั้งแต่เข้ายึดเมืองโมซุล ศูนย์กลางความเจริญทางเหนือของอิรักได้สำเร็จเมื่อต้นเดือนมิถุนายน กองกำลังใต้การนำของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส หรือชื่อเดิม ไอซิส) เดินหน้าภารกิจโหดในการเปลี่ยนโฉมพื้นที่ที่ยึดครองได้ตามชายแดนอิรักและซีเรีย ให้เป็นหนึ่งเดียวกับอาณาจักรอิสลาม หรือคอลิฟะฮ์ ที่ทางกลุ่มสถาปนาขึ้นมาเองตามอุดมการณ์เฉพาะตัวของกลุ่ม ด้วยการบังคับชนกลุ่มน้อยเปลี่ยนศาสนาความเชื่อ ระเบิดทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา หรือนิกายอื่นของอิสลามด้วยกันเอง และเข่นฆ่าคนที่ขัดขืน ก่อนที่สถานการณ์อิสราเอลถล่มกาซาย่อยยับจะมายึดครองพื้นที่ข่าวโลกอยู่หลายสัปดาห์
กระทั่งเมื่อ ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่งสหรัฐ มีคำสั่งให้เครื่องบินรบกลับไปยังน่านฟ้าอิรักอีกครั้ง เพื่อหย่อนความช่วยเหลืออาหารแก่ชนกลุ่มน้อย "ยาซีดิ" ที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์หมิ่นเหม่กับการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ครั้งใหม่) และหากจำเป็น อาจใช้ปฏิบัติการทางอากาศสนับสนุนกองกำลังอิรักที่พยายามสกัดการรุกคืบของกลุ่มไอเอส และเพื่อคุ้มครองพลเรือนที่ติดค้างอยู่ หรือเพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่สหรัฐที่ทำงานอยู่ภาคพื้นดินด้วย
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าอีกครั้งเมื่อกว่าที่โลกจะหันไปให้ความสนใจกับชะตากรรมชนกลุ่มน้อย จนเมื่อไอเอสได้รุกคืบถึงเมืองซินจาร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือใกล้ชายแดนซีเรีย ห่างประมาณ 80 กิโลเมตรจากโมซุล ซึ่งถือเป็นการเพลี่ยงพล้ำครั้งใหญ่ครั้งแรกของกองกำลังชาวเคิร์ดที่พยายามปกป้องพื้นที่ทางเหนือ
จากนั้น ไอเอสและกองกำลังแนวร่วม สังหารชนกลุ่มน้อยยาซีดิหลายร้อยคน ในจำนวนนี้เป็นเด็กราว 40 คน ชาวบ้านราว 1.3-2 แสนคนจากเมืองซินจาร์ เมืองหลักของประชากรกลุ่มนี้พากันหลบหนีไปยังโดฮุค ในเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน ทางเหนือ หรือเข้าไปในเมืองเออร์บิน ที่น่าห่วงอย่างยิ่งคือ มีอยู่ประมาณ 4 หมื่นคนพากันหลบหนีติดอยู่บนภูเขาซินจาร์ ขาดทั้งอาหารและน้ำ จึงเป็นที่มาของแผนช่วยเหลือของสหรัฐ
ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชนเผ่ายาซีดิถูกสังหารหมู่ สมาชิกรัฐสภาอิรักตัวแทนชนเผ่ากล่าวว่า "ประวัติศาสตร์ของเรา พวกเราเผชิญการถูกสังหารหมู่ 72 ครั้ง และกำลังวิตกมากว่าที่ซินจาร์ อาจเป็นครั้งที่ 73"
ชนเผ่ายาซีดิ เป็นใครทำไมไอเอส ต้องกวาดล้างแบบสิ้นซาก
ยาซีดิ (Yazidis/Yezidis) เป็นกลุ่มที่มีความเชื่อทางศาสนาเก่าแก่ราว 4,000 ปีในยุคก่อนอิสลาม รากเง้าความเชื่อมาจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาเทวนิยมในอาณาจักรเปอร์เซียโบราณ ต่อมาผสมผสานพิธีกรรมบางอย่างจากศาสนาคริสต์ อิสลามและยูดาย เช่น พิธีล้างบาปของคริสต์ การขริบอวัยวะเพศของอิสลาม การบูชาไฟจากโซโรอัสเตอร์ ลักษณะความเชื่อที่พัฒนามาจากศาสนาอื่นทำให้ยาซีดิ มักถูกเอ่ยว่าเป็นลัทธิหรือนิกายหนึ่งมากกว่าศาสนา
ความเชื่อหลายเรื่องเป็นความลับ ด้วยการที่ไม่อนุญาตให้คนนอกหันมานับถือ และสาวกก็ไม่แลกเปลี่ยนความเชื่อของตนกับคนนอก
บางครั้ง ยาซีดิ ถูกจัดเป็นพวกเคิร์ดนอกรีต ซึ่งหมายความว่าเป็นชาติพันธุ์เคิร์ด แต่เป็นพวกนอกกระแสหลักทางวัฒนธรรม และความเป็นชาวอิรักที่ไม่ใช่อาหรับและไม่ใช่มุสลิม จึงเป็นชนกลุ่มน้อยเสี่ยงที่สุดกลุ่มหนึ่งในการถูกกีดกันและกวาดล้าง
ขนาดของประชากรยาซีดิทั่วโลกไม่ทราบแน่ชัด ส่วนมากประเมินว่าน่าจะอยู่ราวๆ 6 แสนคน ส่วนมากประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ อาศัยในพื้นที่ทางเหนือของอิรัก อิหร่าน ซีเรีย และตุรกี ในแถบเทือกเขาคอเคซัสอย่างจอร์เจียและอาร์เมเนีย ก็มีเช่นกันแต่ไม่มากนัก แต่ราวครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดกระจุกตัวอยู่ทางเหนือของอิรัก และเมืองซินจาร์เป็นเมืองหลัก
ชาวยาซีดิจำนวนมากอพยพไปยังยุโรป ที่ซึ่งความเชื่อของพวกเขาเคยเป็นข่าวพาดหัวในทางลบ อาทิ การฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ (honor killing) สตรีคนหนึ่งที่ออกเดทกับชายชาวเยอรมัน เนื่องจากตามขนบประเพณี ยาซีดิไม่อนุญาตให้แต่งงานกับคนนอก
เยอรมนีมีชาวยาซีดิมากที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรปราว 4 หมื่นคน
ความเชื่อ
ชาวยาซีดิ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียวและบูชาเทพ 7 องค์ แต่องค์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ เมเล็ก ทาอุส (Melek Taus) หรือเทพนกยูง
ในทัศนะของคริสต์และยูดาย เทพนกยูง เป็นเทพตกสวรรค์หรือเป็นซาตาน แต่ชาวยาซีดิเชื่อว่า เทพนกยูงได้รับการอภัยหลังถูกทดสอบจากพระเจ้าและได้กลับสู่สวรรค์ พวกเขาบูชาเทพนกยูง เป็นเทพแห่งเทพของพระเจ้า
ความสำคัญของเทพนกยูงนี้เอง กลายเป็นที่มาของฉลากแปะชาวยาซีดิว่า เป็นพวกบูชาปีศาจ
ชาวยาซีดิบูชาพระเจ้าวันละสามครั้ง โดยหันหน้าไปทางตำแหน่งพระอาทิตย์เสมอ ส่วนโครงสร้างสังคมของชนกลุ่มนี้เป็นแบบชั้นวรรณะ แยกระหว่างนักบวชกับฆราวาส มีความเชื่อและหลักปฏิบัติแบบเฉพาะ อาทิ ไม่สวมชุดสีฟ้า และห้ามกินดอกกะหล่ำ แต่ก็เช่นเดียวกับความเชื่อหลายอย่างที่ยังไม่ชัดว่า ข้อห้ามเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติตามสม่ำเสมอหรือไม่
ในศตวรรษที่ 12 มีบุคคลชื่อว่า อาบิ อิบน์ มูซาฟีร์ เป็นผู้นำกอบกู้ยาซีดิ และคาดกันว่าเป็นผู้ก่อร่างรูปแบบความเชื่อที่ยืนยาวมาถึงทุกวันนี้ สุสานของเขาในเมืองลาลิช ทางเหนืออิรัก กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และชาวยาซีดิจำนวนมากที่หลบหนีจากซินจาร์ก็ไปหลบภัยที่นั่น
การถูกมองว่าเป็นพวกบูชาปีศาจ นำไปสู่การเข่นฆ่าตลอดหลายศตวรรษ ในยุคจักรวรรดิออตโตมัน ศตวรรษที่ 18-19 ชาวยาซีดิตกเป็นเป้าสังหารหมู่ในระดับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 72 ครั้ง และในสมัยประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ก็มีการทำลายหมู่บ้านจำนวนมากระหว่างสู้รับกับทหารเคิร์ด
หลายปีที่ผ่านมา มีแรงกดดันให้ชาวยาซีดิ เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเพิ่มมากขึ้น
กลุ่มอัล-ไกดาในอิรัก ก่อนเปลี่ยนมาเป็นไอซิสและไอเอสในปัจจุบัน ก็เคยออกคำขู่เมื่อปี 2550 ให้สังหารยาซิดีทิ้งทั้งหมด เพราะถือเป็นพวกรีต ทำให้ชาวยาซิดีหนีออกจากอิรักราว 7 หมื่นคน
ในปีเดียวกันนั้น เกิดเหตุโจมตีทำลายหมู่บ้านยาซีดิสองแห่งด้วยรถบรรทุกระเบิด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน เป็นเหตุโจมตีที่คร่าชีวิตคนมากที่สุดนับจากสหรัฐนำทัพบุกอิรักในปี 2543 ต่อมา ยังเกิดเหตุกลุ่มมือปืนหยุดรถบัส สั่งผู้โดยสารชาวคริสต์ลงจากรถ ก่อนสังหารชาวยาซิดีที่เหลือ 23 คน เพื่อล้างแค้นที่มีสตรียาซิดีคนหนึ่งถูกสังหารฐานเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม