สวัสดีครับ
ขออนุญาต นำคอลัมน์ "ม็อกค่าปาท่องโก๋" ที่ผมเขียนประจำในเนชั่นสุดสัปดาห์นั้น มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน เพื่อขอคำแนะนำ คำติชม เพื่อปรับปรุงงานเขียนต่อไปในอนาคตเรื่อยๆครับ ขอบคุณครับ
เนชั่นสุดสัปดาห์ เล่มที่ 1164 ประจำวันที่ 19 กันยายน 2557
ในยุคที่ยังฉายหนังด้วยฟิล์ม คำว่า “สามวันอันตราย” เป็นอาญาสิทธิ์จาก “เจ้าของโรงหนัง” สิ่งที่ท่องจำกันขึ้นใจ ทั้งนายทุนหนัง สายหนัง ผู้กำกับ ไปจนกระทั่งถึงนักแสดง
“สามวันอันตราย” ที่ว่าก็คือ “ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์”
เป็น “สามวันอันตราย” ที่จะพิสูจน์ว่า “หน้าหนัง” กับ “รายได้” ไปด้วยกันจริงหรือไม่ ซึ่งหากหนังทำรายได้ไม่ได้ตามเป้า ก็จะโดนลดรอบได้เมื่อพ้นช่วงสุดสัปดาห์แรก
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงคือเปลี่ยนสถานะนายทุนหนังกลายเป็นเจ้าของโรงหนัง, เปลี่ยนวันหนังเข้าใหม่เป็นวันพฤหัสบดี และเปลี่ยนระบบฟิล์มมาเป็นดิจิตอล
ทว่า “อาญาสิทธิ์” ยังคงเหมือนเดิม
คือ หากหนังทำรายได้ไม่ได้ตามเป้า ก็จะโดนลดรอบได้เมื่อพ้นช่วงสุดสัปดาห์แรก แม้ว่าจะเปลี่ยนเป็น “สี่วันอันตราย” คือ “พฤหัสบดี-ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์”
แต่ทำไปทำมา ไหงกลายเป็น “หนึ่งวันอันตราย” ไปเสียได้?
คำตอบก็คือ ปัจจุบัน โรงหนังยักษ์ใหญ่มีระบบ TMS หรือ Theater Management System ที่รวมไฟล์หนังไว้ที่ Server กลาง และสั่งฉายหนังจากห้อง Control
ทำให้การปรับเปลี่ยนโปรแกรมหนังนั้นง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส นี่ถ้าไม่ติดว่าโปรแกรมหนังที่จะฉายนั้นประกาศกันล่วงหน้า 1 วัน ผมว่ามีเปลี่ยนกันในวันนั้นแน่ๆ ประเภท เช้าไม่มีคนดู ตัดรอบบ่าย ใส่เรื่องที่ทำเงินได้เข้าไปแทน หรือย้ายไปรอบที่มีคนดูน้อย เช่นรอบเช้า รอบดึก
เมื่อรวมกับปัจจัยด้าน Social Network ในยุคนี้ ที่ออกมาจากโรงปั๊บ Post ลง Facebook Twitter Instagram Line Pantip ถ้าหนังไม่ดี หนังไม่โดน ก็ตายตั้งแต่ในวันแรกๆ แล้วครับ
ทำให้ผู้ผลิตหนังไทย ต้องลุ้นกันสุดๆ ตั้งแต่วันเข้าฉายวันแรก ยิ่งมีรอบสื่อมวลชน ที่มักจะจัดฉายกันก่อนวันหนังเข้าจริง 2-3 วัน
คือถ้ามีสื่อมวลชนแหกปากบน Social Network หนังเรื่องนั้น ก็แทบจะ “ตาย” ก่อนที่จะได้เข้าฉายด้วยซ้ำ
แต่ถ้าคุณเป็นผู้ผลิตหนังไทยรายใหญ่ มีชื่อเสียงสะสมมาบ้าง หรือเป็นเครือข่ายของโรงหนัง แบบนี้ก็ยังพอมีเวลาได้หายใจบ้าง มีโอกาสยืนโปรแกรมฉายได้นานขึ้น
แต่ถ้าโปรโมทไม่ถึงขั้น หรือ PR ไม่ดีพอ และตัวหนังมันไม่ไหว ก็ช่วยอะไรไม่ได้จริงๆ รายได้ของหนังมักจะตกลงอย่างรวดเร็วมากเมื่อผ่านสัปดาห์แรกไปแล้ว
เนื่องจากคลุกคลีกับโรงหนังมานาน ผมจึงคิดสูตรเดารายได้หนังไทย เอาไว้ประมาณนี้
1. รายได้ในวันแรกของหนัง (ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล) มักจะมีรายได้ประมาณ 10% ของรายได้หนังโดยรวม เช่น วันแรกเข้าฉายได้ 10 ล้าน รายได้รวมก็มีโอกาสที่จะทำรายได้รวมถึง 100 ล้านบาทได้ แต่สูตรนี้ตัวหนังต้องดี ค่ายใหญ่ โปรโมทถึง
2. รายได้ในสัปดาห์แรก (พฤหัส-ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์แรกที่หนังเข้า) มักจะมีรายได้ประมาณ 50% ของรายได้หนังโดยรวม เช่น สัปดาห์แรก หนังทำเงินได้ 25ล้าน รายได้รวมก็มีโอกาสที่จะทำรายได้รวม 50 ล้านบาทขึ้นไป แต่สูตรนี้ก็เช่นกัน ตัวหนังต้องดี ค่ายใหญ่ โปรโมทถึง
3. รายได้ในสัปดาห์ที่สอง (พฤหัส-ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ถัดมา) เมื่อนำมาเทียบกับสัปดาห์แรก ก็จะเอามาประเมินได้ว่า รายได้จะเป็นไปตามสูตรในข้อ 1 และข้อ 2 หรือไม่ โดยถ้ารายได้ในสัปดาห์ที่สองลดลงจากสุดสัปดาห์แรก 50% ก็มีความเป็นไปได้ที่จะใกล้เคียงที่ประเมิน แต่ถ้าลดลงมากกว่า 70% ขึ้นไป ก็คงยากที่จะได้รายได้ตามที่ประเมินไว้ แต่ถ้าเกิดรายได้ลดลงแค่ 30 % ก็เป็นไปได้ว่าหนังได้รับความนิยมและมีโอกาสที่รายได้จะเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่ประเมินไว้จากสูตรในข้อ 1 และข้อ 2
ตัวอย่างเช่น “ฝากไว้ในกายเธอ” รายได้ในวันแรกเป็น 10.7% ของรายได้ทั้งหมด รายได้ในสัปดาห์แรกเป็น 46.2% ของรายได้ทั้งหมด และในสัปดาห์ที่สอง รายได้ลดลงจากสุดสัปดาห์แรก 67.4%
“ความลับนางมารร้าย” รายได้ในวันแรกเป็น 9.5% ของรายได้ทั้งหมด รายได้ในสัปดาห์แรกเป็น 40.6% ของรายได้ทั้งหมด และในสัปดาห์ที่สอง รายได้ลดลงจากสุดสัปดาห์แรก 39.8%
“คิดถึงวิทยา” รายได้ในวันแรกเป็น 6.4% ของรายได้ทั้งหมด รายได้ในสัปดาห์แรกเป็น 30.0% ของรายได้ทั้งหมด และในสัปดาห์ที่สอง รายได้ลดลงจากสุดสัปดาห์แรก 27.8%
จากตัวอย่างทั้งสามเรื่อง จะเห็นได้ว่า รายได้ที่ลดลงไปในสัปดาห์ที่สอง จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้หนังเรื่องนั้นๆ ทำรายได้มากหรือน้อย ถ้ารายได้ลดลงน้อย หนังก็จะอยู่ในโรงได้นาน และทำรายได้มากขึ้นจนทำให้ ข้อ1 และ 2 ไม่ตรง
“โหมโรง” คือตัวอย่าง Classic กรณี “ตายแล้วฟื้น”
คือทำรายได้ในสัปดาห์ที่ 2 มากกว่าสัปดาห์แรก
“โหมโรง” นี่ผมดูในโรงตั้งแต่หนังเข้าสัปดาห์แรก เพราะหลังจากได้ดูตัวอย่างหนัง ผมมีความเชื่อว่า หากใครสักคนลงทุนทำหนังที่หน้าหนังไม่ขายมากๆ แบบนี้แล้วกล้านำมาฉายในโรง หนังต้องมีดีมากๆๆ และพอหนังจบ ผมอิ่มเอิบกับความสุดยอดของหนังไปหลายวัน
แต่เชื่อไหมครับว่า ตอนนั้น ไม่ว่าผมจะเขียนอย่างไร หรือบอกกับใครๆ ว่าหนังเรื่องนี้ดีมากๆๆๆๆ ดีอย่างไรบอกเท่าไหร่ ก็ไม่มีใครสนใจไปดู
“หนังเกี่ยวกับดนตรีไทยเนี่ยนะ จะสนุกตรงไหน”
และได้ทราบรายได้ของโหมโรงในสัปดาห์แรกนั้น ช่างน่าหดหู่เสียเหลือเกิน รายได้สามวันแรก (ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์) 2.2 ล้านบาท
ทว่า รายได้ในสัปดาห์ที่สองเพิ่มขึ้น!
ใช่ครับ ในสัปดาห์ที่สอง รายได้เพิ่มขึ้น 22.8% ดูแล้วน่าเหลือเชื่อ แต่ ยังไม่หมดครับ หลังจากเกิดกระแสใน Pantip ที่มีคนเชียร์หนังจนกระทู้ท่วมห้องเฉลิมไทย
และรายการ “ถึงลูกถึงคน” Talk ข่าวของ “สรยุทธ ไร่ส้ม” ได้จัดรายการพิเศษ “โหมโรงหรือจะลาโรง” เพื่อช่วยเชียร์หนังไทยดีๆ เรื่องนี้ ผลทำให้ในสัปดาห์ที่สาม หนังทำเงินเพิ่มขึ้นถึง 199.1% และสัปดาห์ที่สี่ ก็ยังเพิ่มอีกนิดที่ 1.3% และทำรายได้ไปเรื่อยๆๆๆๆ
จนสุดท้าย หนังยืนโปรแกรมฉายในโรงกว่า 1 เดือนครึ่ง ทำรายได้ไปรวมกว่า 52 ล้านบาท ถือเป็นเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งของวงการหนังไทยเลยทีเดียว!
และแล้ว...
เหตุการณ์ที่รายได้หนังไทยในสัปดาห์ที่ 2 สูงขึ้นมากกว่าในสัปดาห์แรก ได้กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง!
คือ “ตุ๊กแกรักแป้งมาก”
“ตุ๊กแกรักแป้งมาก” เป็นหนังไทยคุณภาพดีที่สุดในรอบปีนี้ที่ผมชื่นชมมากๆ
ทว่า จากข้อมูลข่าวสารสารสนเทศที่ประกาศออกมาว่า “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” ทำรายได้แค่ 7 แสนกว่าบาทในวันแรกที่เข้าฉาย คงทำให้ทีมงานท้อแท้และหมดกำลังใจไปพอสมควร
และทำท่าทำทางว่าจะกลายเป็นหนึ่งในหนังที่เข้ากับประโยค classic เป็นสโลแกนแบบที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า
“หนังดีแบบนี้ ทำไมไม่ได้ดูในโรง”
ประโยคนี้เป็นประโยคที่ทำให้คนทำหนังดีๆ ร้องไห้มาเยอะแล้ว
และผมก็เป็นคนหนึ่งที่ปลงแล้วว่า “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” คงไม่รอด
ไม่ว่าจะด้วยปัญหาจาก “ชื่อหนัง” ที่ท่าน “เกจิ” ทั้งหลายพากันส่ายหน้า
หรือว่าจะเป็นเรื่อง “หน้าหนัง” หรืออะไรก็แล้วแต่ ฯลฯ
ทว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสิ่งหนึ่งซึ่งดูคล้ายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์แปลกๆ ได้เกิดขึ้นในเว็บบอร์ดห้องเฉลิมไทย ppantip.com เจ้าเก่า
เมื่อมีคนที่ดูหนังเรื่อง “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” แล้วออกมาเชียร์หนังกันอย่างมากมาย
ซึ่งโดยปกติมักจะมีเหตุการณ์แบบนี้บ้างประปรายครับ...
แต่กระทู้เชียร์ “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” กลับมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆๆๆ
แต่ถึงกระนั้นก็มีคนออกมาปรามาสว่า “ตุ๊กแกรักแป้งมากคงทำอย่างโหมโรงไม่ได้” และแล้ว...
“ตุ๊กแกรักแป้งมาก” กลับทำได้ครับ!
“ผีลืมหลุม” และ “ตายแล้วฟื้น” ด้วยรายได้ในสัปดาห์แรกที่ 4.5 ล้านบาท แล้วฟื้นกลับมาในสัปดาห์ที่สอง ด้วยรายได้ 5.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.78%
รายได้รวมล่าสุดอยู่ที่ 14.88 ล้านบาท (11 กันยายน 2557) และดูเหมือนจะยังไปต่อได้
ถึงแม้จะไม่ได้กลับมาแบบยิ่งใหญ่ขนาด “โหมโรง” 50 ล้าน หรือแม้กระทั่ง “พี่มาก...พระโขนง” 1,000 ล้าน ก็ตาม...
ดังนั้น หากคุณอยากร่วมเป็น หนึ่งในประวัติศาสตร์ของวงการหนังไทยในครั้งนี้ ก็อยากคิดมากครับ!
ช่วยกันเข้าโรงหนัง แล้วซื้อตั๋วดู “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” ไม่มีผิดหวังแน่นอน.
****แจ้งข่าวให้ทราบว่า ผมกำลังนำบทความ "ม็อกค่า ปาท่องโก๋" ที่เขียนมาทั้งหมด (ซึ่งหลายบทความไม่ได้นำมาลงในนี้ เพราะเป็นการรีวิวหนังเรื่องเดิมซ้ำ แต่ที่จริง ผมเขียนต่างออกไปบ้างพอสมควรครับ) มาลงใน mrcoffee.bloggang.com เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่มีความสะดวกแก่การค้นหาได้มากกว่าเดิมครับ****
ม็อกค่าปาท่องโก๋ : ผีลืมหลุม {กรณีการฟื้นกลับมาของกระแส "ตุ๊กแกรักแป้งมาก"}
ขออนุญาต นำคอลัมน์ "ม็อกค่าปาท่องโก๋" ที่ผมเขียนประจำในเนชั่นสุดสัปดาห์นั้น มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน เพื่อขอคำแนะนำ คำติชม เพื่อปรับปรุงงานเขียนต่อไปในอนาคตเรื่อยๆครับ ขอบคุณครับ
เนชั่นสุดสัปดาห์ เล่มที่ 1164 ประจำวันที่ 19 กันยายน 2557
ในยุคที่ยังฉายหนังด้วยฟิล์ม คำว่า “สามวันอันตราย” เป็นอาญาสิทธิ์จาก “เจ้าของโรงหนัง” สิ่งที่ท่องจำกันขึ้นใจ ทั้งนายทุนหนัง สายหนัง ผู้กำกับ ไปจนกระทั่งถึงนักแสดง
“สามวันอันตราย” ที่ว่าก็คือ “ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์”
เป็น “สามวันอันตราย” ที่จะพิสูจน์ว่า “หน้าหนัง” กับ “รายได้” ไปด้วยกันจริงหรือไม่ ซึ่งหากหนังทำรายได้ไม่ได้ตามเป้า ก็จะโดนลดรอบได้เมื่อพ้นช่วงสุดสัปดาห์แรก
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงคือเปลี่ยนสถานะนายทุนหนังกลายเป็นเจ้าของโรงหนัง, เปลี่ยนวันหนังเข้าใหม่เป็นวันพฤหัสบดี และเปลี่ยนระบบฟิล์มมาเป็นดิจิตอล
ทว่า “อาญาสิทธิ์” ยังคงเหมือนเดิม
คือ หากหนังทำรายได้ไม่ได้ตามเป้า ก็จะโดนลดรอบได้เมื่อพ้นช่วงสุดสัปดาห์แรก แม้ว่าจะเปลี่ยนเป็น “สี่วันอันตราย” คือ “พฤหัสบดี-ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์”
แต่ทำไปทำมา ไหงกลายเป็น “หนึ่งวันอันตราย” ไปเสียได้?
คำตอบก็คือ ปัจจุบัน โรงหนังยักษ์ใหญ่มีระบบ TMS หรือ Theater Management System ที่รวมไฟล์หนังไว้ที่ Server กลาง และสั่งฉายหนังจากห้อง Control
ทำให้การปรับเปลี่ยนโปรแกรมหนังนั้นง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส นี่ถ้าไม่ติดว่าโปรแกรมหนังที่จะฉายนั้นประกาศกันล่วงหน้า 1 วัน ผมว่ามีเปลี่ยนกันในวันนั้นแน่ๆ ประเภท เช้าไม่มีคนดู ตัดรอบบ่าย ใส่เรื่องที่ทำเงินได้เข้าไปแทน หรือย้ายไปรอบที่มีคนดูน้อย เช่นรอบเช้า รอบดึก
เมื่อรวมกับปัจจัยด้าน Social Network ในยุคนี้ ที่ออกมาจากโรงปั๊บ Post ลง Facebook Twitter Instagram Line Pantip ถ้าหนังไม่ดี หนังไม่โดน ก็ตายตั้งแต่ในวันแรกๆ แล้วครับ
ทำให้ผู้ผลิตหนังไทย ต้องลุ้นกันสุดๆ ตั้งแต่วันเข้าฉายวันแรก ยิ่งมีรอบสื่อมวลชน ที่มักจะจัดฉายกันก่อนวันหนังเข้าจริง 2-3 วัน
คือถ้ามีสื่อมวลชนแหกปากบน Social Network หนังเรื่องนั้น ก็แทบจะ “ตาย” ก่อนที่จะได้เข้าฉายด้วยซ้ำ
แต่ถ้าคุณเป็นผู้ผลิตหนังไทยรายใหญ่ มีชื่อเสียงสะสมมาบ้าง หรือเป็นเครือข่ายของโรงหนัง แบบนี้ก็ยังพอมีเวลาได้หายใจบ้าง มีโอกาสยืนโปรแกรมฉายได้นานขึ้น
แต่ถ้าโปรโมทไม่ถึงขั้น หรือ PR ไม่ดีพอ และตัวหนังมันไม่ไหว ก็ช่วยอะไรไม่ได้จริงๆ รายได้ของหนังมักจะตกลงอย่างรวดเร็วมากเมื่อผ่านสัปดาห์แรกไปแล้ว
เนื่องจากคลุกคลีกับโรงหนังมานาน ผมจึงคิดสูตรเดารายได้หนังไทย เอาไว้ประมาณนี้
1. รายได้ในวันแรกของหนัง (ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล) มักจะมีรายได้ประมาณ 10% ของรายได้หนังโดยรวม เช่น วันแรกเข้าฉายได้ 10 ล้าน รายได้รวมก็มีโอกาสที่จะทำรายได้รวมถึง 100 ล้านบาทได้ แต่สูตรนี้ตัวหนังต้องดี ค่ายใหญ่ โปรโมทถึง
2. รายได้ในสัปดาห์แรก (พฤหัส-ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์แรกที่หนังเข้า) มักจะมีรายได้ประมาณ 50% ของรายได้หนังโดยรวม เช่น สัปดาห์แรก หนังทำเงินได้ 25ล้าน รายได้รวมก็มีโอกาสที่จะทำรายได้รวม 50 ล้านบาทขึ้นไป แต่สูตรนี้ก็เช่นกัน ตัวหนังต้องดี ค่ายใหญ่ โปรโมทถึง
3. รายได้ในสัปดาห์ที่สอง (พฤหัส-ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ถัดมา) เมื่อนำมาเทียบกับสัปดาห์แรก ก็จะเอามาประเมินได้ว่า รายได้จะเป็นไปตามสูตรในข้อ 1 และข้อ 2 หรือไม่ โดยถ้ารายได้ในสัปดาห์ที่สองลดลงจากสุดสัปดาห์แรก 50% ก็มีความเป็นไปได้ที่จะใกล้เคียงที่ประเมิน แต่ถ้าลดลงมากกว่า 70% ขึ้นไป ก็คงยากที่จะได้รายได้ตามที่ประเมินไว้ แต่ถ้าเกิดรายได้ลดลงแค่ 30 % ก็เป็นไปได้ว่าหนังได้รับความนิยมและมีโอกาสที่รายได้จะเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่ประเมินไว้จากสูตรในข้อ 1 และข้อ 2
ตัวอย่างเช่น “ฝากไว้ในกายเธอ” รายได้ในวันแรกเป็น 10.7% ของรายได้ทั้งหมด รายได้ในสัปดาห์แรกเป็น 46.2% ของรายได้ทั้งหมด และในสัปดาห์ที่สอง รายได้ลดลงจากสุดสัปดาห์แรก 67.4%
“ความลับนางมารร้าย” รายได้ในวันแรกเป็น 9.5% ของรายได้ทั้งหมด รายได้ในสัปดาห์แรกเป็น 40.6% ของรายได้ทั้งหมด และในสัปดาห์ที่สอง รายได้ลดลงจากสุดสัปดาห์แรก 39.8%
“คิดถึงวิทยา” รายได้ในวันแรกเป็น 6.4% ของรายได้ทั้งหมด รายได้ในสัปดาห์แรกเป็น 30.0% ของรายได้ทั้งหมด และในสัปดาห์ที่สอง รายได้ลดลงจากสุดสัปดาห์แรก 27.8%
จากตัวอย่างทั้งสามเรื่อง จะเห็นได้ว่า รายได้ที่ลดลงไปในสัปดาห์ที่สอง จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้หนังเรื่องนั้นๆ ทำรายได้มากหรือน้อย ถ้ารายได้ลดลงน้อย หนังก็จะอยู่ในโรงได้นาน และทำรายได้มากขึ้นจนทำให้ ข้อ1 และ 2 ไม่ตรง
“โหมโรง” คือตัวอย่าง Classic กรณี “ตายแล้วฟื้น”
คือทำรายได้ในสัปดาห์ที่ 2 มากกว่าสัปดาห์แรก
“โหมโรง” นี่ผมดูในโรงตั้งแต่หนังเข้าสัปดาห์แรก เพราะหลังจากได้ดูตัวอย่างหนัง ผมมีความเชื่อว่า หากใครสักคนลงทุนทำหนังที่หน้าหนังไม่ขายมากๆ แบบนี้แล้วกล้านำมาฉายในโรง หนังต้องมีดีมากๆๆ และพอหนังจบ ผมอิ่มเอิบกับความสุดยอดของหนังไปหลายวัน
แต่เชื่อไหมครับว่า ตอนนั้น ไม่ว่าผมจะเขียนอย่างไร หรือบอกกับใครๆ ว่าหนังเรื่องนี้ดีมากๆๆๆๆ ดีอย่างไรบอกเท่าไหร่ ก็ไม่มีใครสนใจไปดู
“หนังเกี่ยวกับดนตรีไทยเนี่ยนะ จะสนุกตรงไหน”
และได้ทราบรายได้ของโหมโรงในสัปดาห์แรกนั้น ช่างน่าหดหู่เสียเหลือเกิน รายได้สามวันแรก (ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์) 2.2 ล้านบาท
ทว่า รายได้ในสัปดาห์ที่สองเพิ่มขึ้น!
ใช่ครับ ในสัปดาห์ที่สอง รายได้เพิ่มขึ้น 22.8% ดูแล้วน่าเหลือเชื่อ แต่ ยังไม่หมดครับ หลังจากเกิดกระแสใน Pantip ที่มีคนเชียร์หนังจนกระทู้ท่วมห้องเฉลิมไทย
และรายการ “ถึงลูกถึงคน” Talk ข่าวของ “สรยุทธ ไร่ส้ม” ได้จัดรายการพิเศษ “โหมโรงหรือจะลาโรง” เพื่อช่วยเชียร์หนังไทยดีๆ เรื่องนี้ ผลทำให้ในสัปดาห์ที่สาม หนังทำเงินเพิ่มขึ้นถึง 199.1% และสัปดาห์ที่สี่ ก็ยังเพิ่มอีกนิดที่ 1.3% และทำรายได้ไปเรื่อยๆๆๆๆ
จนสุดท้าย หนังยืนโปรแกรมฉายในโรงกว่า 1 เดือนครึ่ง ทำรายได้ไปรวมกว่า 52 ล้านบาท ถือเป็นเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งของวงการหนังไทยเลยทีเดียว!
และแล้ว...
เหตุการณ์ที่รายได้หนังไทยในสัปดาห์ที่ 2 สูงขึ้นมากกว่าในสัปดาห์แรก ได้กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง!
คือ “ตุ๊กแกรักแป้งมาก”
“ตุ๊กแกรักแป้งมาก” เป็นหนังไทยคุณภาพดีที่สุดในรอบปีนี้ที่ผมชื่นชมมากๆ
ทว่า จากข้อมูลข่าวสารสารสนเทศที่ประกาศออกมาว่า “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” ทำรายได้แค่ 7 แสนกว่าบาทในวันแรกที่เข้าฉาย คงทำให้ทีมงานท้อแท้และหมดกำลังใจไปพอสมควร
และทำท่าทำทางว่าจะกลายเป็นหนึ่งในหนังที่เข้ากับประโยค classic เป็นสโลแกนแบบที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า
“หนังดีแบบนี้ ทำไมไม่ได้ดูในโรง”
ประโยคนี้เป็นประโยคที่ทำให้คนทำหนังดีๆ ร้องไห้มาเยอะแล้ว
และผมก็เป็นคนหนึ่งที่ปลงแล้วว่า “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” คงไม่รอด
ไม่ว่าจะด้วยปัญหาจาก “ชื่อหนัง” ที่ท่าน “เกจิ” ทั้งหลายพากันส่ายหน้า
หรือว่าจะเป็นเรื่อง “หน้าหนัง” หรืออะไรก็แล้วแต่ ฯลฯ
ทว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสิ่งหนึ่งซึ่งดูคล้ายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์แปลกๆ ได้เกิดขึ้นในเว็บบอร์ดห้องเฉลิมไทย ppantip.com เจ้าเก่า
เมื่อมีคนที่ดูหนังเรื่อง “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” แล้วออกมาเชียร์หนังกันอย่างมากมาย
ซึ่งโดยปกติมักจะมีเหตุการณ์แบบนี้บ้างประปรายครับ...
แต่กระทู้เชียร์ “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” กลับมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆๆๆ
แต่ถึงกระนั้นก็มีคนออกมาปรามาสว่า “ตุ๊กแกรักแป้งมากคงทำอย่างโหมโรงไม่ได้” และแล้ว...
“ตุ๊กแกรักแป้งมาก” กลับทำได้ครับ!
“ผีลืมหลุม” และ “ตายแล้วฟื้น” ด้วยรายได้ในสัปดาห์แรกที่ 4.5 ล้านบาท แล้วฟื้นกลับมาในสัปดาห์ที่สอง ด้วยรายได้ 5.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.78%
รายได้รวมล่าสุดอยู่ที่ 14.88 ล้านบาท (11 กันยายน 2557) และดูเหมือนจะยังไปต่อได้
ถึงแม้จะไม่ได้กลับมาแบบยิ่งใหญ่ขนาด “โหมโรง” 50 ล้าน หรือแม้กระทั่ง “พี่มาก...พระโขนง” 1,000 ล้าน ก็ตาม...
ดังนั้น หากคุณอยากร่วมเป็น หนึ่งในประวัติศาสตร์ของวงการหนังไทยในครั้งนี้ ก็อยากคิดมากครับ!
ช่วยกันเข้าโรงหนัง แล้วซื้อตั๋วดู “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” ไม่มีผิดหวังแน่นอน.
****แจ้งข่าวให้ทราบว่า ผมกำลังนำบทความ "ม็อกค่า ปาท่องโก๋" ที่เขียนมาทั้งหมด (ซึ่งหลายบทความไม่ได้นำมาลงในนี้ เพราะเป็นการรีวิวหนังเรื่องเดิมซ้ำ แต่ที่จริง ผมเขียนต่างออกไปบ้างพอสมควรครับ) มาลงใน mrcoffee.bloggang.com เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่มีความสะดวกแก่การค้นหาได้มากกว่าเดิมครับ****