...ตอนหน้าหนาว ทำงานกัน สมัยนั้นไม่ใช่ว่าจะได้ฉันน้ำร้อน (น้ำปานะ) ทุกวันนะ
ถ้าเป็นวันพระจึงจะได้ นอกจากนั้นจะได้เฉพาะเวลาทำงาน
ได้ยินเสียงตีระฆังทำงานนั้น จิตใจมีความขัดแย้ง ใจหนึ่งไม่อยากทำงาน
อยากนั่งสมาธิมากกว่า ใจหนึ่งก็รู้ว่าการทำงานคือการปฏิบัติเหมือนกัน
กิเลสบอกว่า...“ไม่เป็นไร เสร็จแล้วจะได้ฉันน้ำร้อนแก้หนาว”...
...แล้วก็มีอยู่ช่วงหนึ่งปีนั้นเราก็กำลังยกก้อนหินใหญ่ๆ
มาวางเป็นแนว เป็นแถว เป็นงานหนักพอสมควร
วันหนึ่งทำหลายชั่วโมง แล้วก็พอถึงเวลาที่เคยเลิกฉันน้ำหู sensitive มาก
คือได้ยินเสียงสามเณรถือกาน้ำมา กลั๊กๆ (เสียงกระทบของกาน้ำ) แต่ไกลเลย ห้าสิบเมตรก็ได้ยินนะ...
...วันนั้นสามเณรก็วางกาไว้ อากาศหนาวมาก เห็นไอออกจากกา
“เดี๋ยวจะได้ฉันน้ำร้อนแล้ว...” พระเณรทุกรูปเริ่มชลอแต่หลวงพ่อทำไม่รู้ไม่ชี้
ท่านยกไม้เท้าขึ้นชี้ทำอย่างงั้น ทำอย่างนี้ เราคิดว่าแป๊บเดียวก็เสร็จ
แล้วก็จะได้ฉันน้ำร้อน ห้านาที...สิบนาที...ชักสงสัย เอ๊ะ !
ท่านไม่ทราบว่ากามาแล้วหรือเปล่า เอ๊ะแล้วถ้าเราบอกท่านจะเป็นการบังอาจมั๊ย ?
ไม่ ไม่ดีกว่า ก็เลยทำงานต่อ ทีนี้มันก็รู้สึกทรมานใจ เพราะว่า แหม! มันก็เย็นลง
เย็นลง แล้วท่านก็ไม่สนใจเลย ท่านก็มองมาทางนี้ มองทุกทิศ
เว้นแต่ตรงที่มีกาน้ำ ก็ซักชั่วโมง ชั่วโมงครึ่ง
ท่านก็ “โอ๊ะ ! น้ำร้อนมาแล้ว นิมนต์ นิมนต์” มันก็ค้านอยู่ในใจ
น้ำร้อนที่ไหนกันล่ะ มันเย็นมานานแล้ว แล้วใจหนึ่งมันก็อยากประท้วง
ไม่ฉันหรอกกลับกุฏิเลยดีกว่า ใจหนึ่งก็บอก อย่า ยังดีกว่าไม่ได้ฉันอะไรเลย...
...หลวงพ่อท่านรู้ ท่านใช้วิธีฝึกคนด้วยการทรมาน
ทรมานไม่ใช่เรื่องการให้เป็นทุกข์เปล่าๆ หรอก
ท่านต้องการให้เราเห็น อริยสัจ ต้องการให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทุกข์กับสมุทัย
ถ้าเราไม่เชื่อมั่นว่าท่านทำด้วยความเมตตากรุณา เราก็คงไม่ไหวเหมือนกัน
แต่เรารู้เราเชื่อว่าที่ท่านทำอย่างนี้เพื่อให้เราเห็นใจตัวเอง เพื่อที่จะได้เข้าใจ...
...ถ้าเราวางใจถูกตั้งแต่แรกเลย ตอนที่ได้ยินสามเณรถือกาน้ำมา
วางใจว่า ฉันก็ดีไม่ฉันก็ดี ก็ไม่มีปัญหา จะทำงานเท่าไหร่ก็ไม่มีทุกข์ใช่มั้ย
แต่พอได้ยินเสียงกาน้ำแล้วจิตก็เริ่มปรุงแต่ง เมื่อไหร่จะได้ทาน
ก็เพราะเราคิดว่า “เมื่อไหร่จะ” นี่จิตก็ไม่สงบแล้ว ไม่ได้อยู่ในปัจจุบันแล้ว
อยู่ในอนาคตพอจิตมันหลุดออกจากปัจจุบันเมื่อไหร่จะเป็นทุกข์ทันที
ก็ถ้าหลวงพ่อท่านจะเทศน์ให้เราฟัง เทศน์ทฤษฎีให้เราฟังเรื่องอริยสัจสี่
เราก็คงจะซาบซึ้งในระดับหนึ่ง แต่มันไม่เหมือนการเจอเหตุการณ์อย่างนี้ มันถึงใจจริงๆ นะ....
...โววาทธรรม พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ...
...ขออนุโมทนาบุญกับเจ้าของภาพประกอบ
ขอให้ท่านผู้อ่านเจริญในธรรม...
..โววาทธรรม พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ...!!!
...ตอนหน้าหนาว ทำงานกัน สมัยนั้นไม่ใช่ว่าจะได้ฉันน้ำร้อน (น้ำปานะ) ทุกวันนะ
ถ้าเป็นวันพระจึงจะได้ นอกจากนั้นจะได้เฉพาะเวลาทำงาน
ได้ยินเสียงตีระฆังทำงานนั้น จิตใจมีความขัดแย้ง ใจหนึ่งไม่อยากทำงาน
อยากนั่งสมาธิมากกว่า ใจหนึ่งก็รู้ว่าการทำงานคือการปฏิบัติเหมือนกัน
กิเลสบอกว่า...“ไม่เป็นไร เสร็จแล้วจะได้ฉันน้ำร้อนแก้หนาว”...
...แล้วก็มีอยู่ช่วงหนึ่งปีนั้นเราก็กำลังยกก้อนหินใหญ่ๆ
มาวางเป็นแนว เป็นแถว เป็นงานหนักพอสมควร
วันหนึ่งทำหลายชั่วโมง แล้วก็พอถึงเวลาที่เคยเลิกฉันน้ำหู sensitive มาก
คือได้ยินเสียงสามเณรถือกาน้ำมา กลั๊กๆ (เสียงกระทบของกาน้ำ) แต่ไกลเลย ห้าสิบเมตรก็ได้ยินนะ...
...วันนั้นสามเณรก็วางกาไว้ อากาศหนาวมาก เห็นไอออกจากกา
“เดี๋ยวจะได้ฉันน้ำร้อนแล้ว...” พระเณรทุกรูปเริ่มชลอแต่หลวงพ่อทำไม่รู้ไม่ชี้
ท่านยกไม้เท้าขึ้นชี้ทำอย่างงั้น ทำอย่างนี้ เราคิดว่าแป๊บเดียวก็เสร็จ
แล้วก็จะได้ฉันน้ำร้อน ห้านาที...สิบนาที...ชักสงสัย เอ๊ะ !
ท่านไม่ทราบว่ากามาแล้วหรือเปล่า เอ๊ะแล้วถ้าเราบอกท่านจะเป็นการบังอาจมั๊ย ?
ไม่ ไม่ดีกว่า ก็เลยทำงานต่อ ทีนี้มันก็รู้สึกทรมานใจ เพราะว่า แหม! มันก็เย็นลง
เย็นลง แล้วท่านก็ไม่สนใจเลย ท่านก็มองมาทางนี้ มองทุกทิศ
เว้นแต่ตรงที่มีกาน้ำ ก็ซักชั่วโมง ชั่วโมงครึ่ง
ท่านก็ “โอ๊ะ ! น้ำร้อนมาแล้ว นิมนต์ นิมนต์” มันก็ค้านอยู่ในใจ
น้ำร้อนที่ไหนกันล่ะ มันเย็นมานานแล้ว แล้วใจหนึ่งมันก็อยากประท้วง
ไม่ฉันหรอกกลับกุฏิเลยดีกว่า ใจหนึ่งก็บอก อย่า ยังดีกว่าไม่ได้ฉันอะไรเลย...
...หลวงพ่อท่านรู้ ท่านใช้วิธีฝึกคนด้วยการทรมาน
ทรมานไม่ใช่เรื่องการให้เป็นทุกข์เปล่าๆ หรอก
ท่านต้องการให้เราเห็น อริยสัจ ต้องการให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทุกข์กับสมุทัย
ถ้าเราไม่เชื่อมั่นว่าท่านทำด้วยความเมตตากรุณา เราก็คงไม่ไหวเหมือนกัน
แต่เรารู้เราเชื่อว่าที่ท่านทำอย่างนี้เพื่อให้เราเห็นใจตัวเอง เพื่อที่จะได้เข้าใจ...
...ถ้าเราวางใจถูกตั้งแต่แรกเลย ตอนที่ได้ยินสามเณรถือกาน้ำมา
วางใจว่า ฉันก็ดีไม่ฉันก็ดี ก็ไม่มีปัญหา จะทำงานเท่าไหร่ก็ไม่มีทุกข์ใช่มั้ย
แต่พอได้ยินเสียงกาน้ำแล้วจิตก็เริ่มปรุงแต่ง เมื่อไหร่จะได้ทาน
ก็เพราะเราคิดว่า “เมื่อไหร่จะ” นี่จิตก็ไม่สงบแล้ว ไม่ได้อยู่ในปัจจุบันแล้ว
อยู่ในอนาคตพอจิตมันหลุดออกจากปัจจุบันเมื่อไหร่จะเป็นทุกข์ทันที
ก็ถ้าหลวงพ่อท่านจะเทศน์ให้เราฟัง เทศน์ทฤษฎีให้เราฟังเรื่องอริยสัจสี่
เราก็คงจะซาบซึ้งในระดับหนึ่ง แต่มันไม่เหมือนการเจอเหตุการณ์อย่างนี้ มันถึงใจจริงๆ นะ....
...โววาทธรรม พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ...
...ขออนุโมทนาบุญกับเจ้าของภาพประกอบ
ขอให้ท่านผู้อ่านเจริญในธรรม...