ไนจีเรียต้มพญ.4.7ล. อ้างเป็นศัลยแพทย์ แชตหลอกโอนเงิน ป.ตามรวบ-คาบ้าน!
http://www.thairath.co.th/content/454545
โดย ทีมข่าวหน้า 1 วันที่ 4 ต.ค. 2557 06:10
ป.รวบ 1 ในสมาชิกแก๊ง 419 Scam ชาวไนจีเรีย ตุ๋นเปื่อยแพทย์หญิงเจ้าของคลินิกเสริมความงาม สูญไป 4.7 ล้านบาท เผยเหยื่อตกหลุมพราง หลังคนร้ายอ้างเป็นศัลยกรรมแพทย์ชาวอังกฤษประจำยูเอ็น แชตผ่านเว็บไซต์หาคู่จนสนิทสนม ก่อนคนร้ายปั้นเรื่องจะมาหาที่เมืองไทย อ้อนขอให้ออกค่าธรรมเนียมขนส่งเครื่องมือแพทย์ให้ก่อนสุดท้ายโดนหลอกให้เสียเงินอีกเป็นชุด กว่าจะรู้ตัวสูญเงินไปเกือบหมด
แพทย์หญิงไทยโดนแก๊งไนจีเรียตุ๋นเปื่อย 4.7 ล้านบาท โดยเมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 3 ต.ค. พ.ต.ท.จักรภพ ศรีหนา สว.กก.2 บก.ป. นำกำลังจับกุมนายออนเยคาชี นาทาเนียล อมาดิ อายุ 37 ปี ชาวไนจีเรีย สมาชิกแก๊ง 419 Scam แก๊งต้มตุ๋นระดับโลก พร้อมของกลาง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ 3 เครื่อง บัตรประจำตัวพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในชื่อนายจอห์น เฟดดี ตามหมายจับศาลอาญา ลงวันที่ 30 ก.ย.57 ข้อหา ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน จับกุมได้ที่หมู่บ้านพฤกษา 86 หมู่ 2 ต.ศีรษะจรเข้น้อย อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ
พ.ต.ท.จักรภพเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ผู้ต้องหาอ้างตัวชื่อ นายเทอรี เชลดัน เป็นศัลยแพทย์ ชาวอังกฤษ ประจำองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เข้ามาติดต่อกับ พญ.หนู (นามสมมติ) อายุ 44 ปี ผู้เสียหาย เจ้าของคลินิกเสริมความงามในจังหวัดหนึ่งพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย ผ่านเว็บไซต์จัดหาคู่แห่งหนึ่ง โดยติดต่อกันเรื่อยมากว่า 1 เดือน เมื่อสนิทสนมมากขึ้น อ้างว่าจะเดินทางมาหาผู้เสียหายในวันที่ 16 ก.ย. โดยส่งสำเนาตั๋วเครื่องบิน และการจองโรงแรมที่พักในเมืองพัทยา จ.ชลบุรี มาให้ดูเพื่อให้เหยื่อตายใจ พร้อมระบุว่าได้ฝากส่งเครื่องมือแพทย์มาด้วย แต่ติดขัดที่ขั้นตอนการขนส่ง ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ขอให้เหยื่อออกเงินในส่วนนี้ให้ก่อน ต่อมาผู้ต้องหาให้ผู้ร่วมแก๊งอีกหลายคนทั้งชายและหญิง สลับกันติดต่อเหยื่อ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ขนส่งสินค้าประเทศฟิลิปปินส์ ขอให้ส่งเงิน 2,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 91,000 บาท เป็นค่าธรรมเนียมนำของออกมา ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้ แต่ถูกกลุ่มคนร้ายหลอกต่อว่า เครื่องมือแพทย์ที่นำส่งนั้นติดอยู่ที่สนามบินในประเทศฟิลิปปินส์ มีการสแกนกระเป๋าแล้วพบเงินจำนวนมาก เป็นการนำเงินออกนอกประเทศโดยผิดกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับเพิ่มอีก 25,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมขู่ด้วยว่าอาจทำให้มีปัญหาไปถึงเนื่องจากชื่อผู้รับเป็นชื่อผู้เสียหาย
สว.กก.2 บก.ป.กล่าวต่อว่า เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปให้ กลุ่มคนร้ายได้ทำทีส่งภาพถ่ายใบเสร็จที่อ้างว่าจ่ายเป็นค่าปรับจากศุลกากรประเทศฟิลิปปินส์มาให้ดู แต่คาดว่าเป็นเอกสารปลอมทำขึ้นใช้ในการหลอกลวงให้แนบเนียนเท่านั้น จากนั้นผู้ต้องหาได้อ้างปัญหาติดขัดอีกว่าจะต้องเสียภาษีอีก 80,000 ดอลลาร์สหรัฐฯขอให้ช่วยออกในส่วนนี้ก่อนแล้วจะใช้คืนภายหลัง ผู้เสียหายมีเงินไม่พอ แต่ยังถูกหว่านล้อมจนต้องให้ไปอีก 40,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 77 ในชื่อบัญชีผู้หญิงไทยคนหนึ่ง อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากรฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย เมื่อผู้ต้องหาเห็นว่ายังคงหลอกเอาเงินจากผู้เสียหายรายนี้ได้อย่างต่อเนื่อง พยายามจะขอให้โอนเงินมาให้อีกโดยอ้างปัญหาต่างๆ ผู้เสียหายผิดสังเกตไปปรึกษากับเพื่อนและญาติ ตรวจสอบจนรู้ว่าถูกหลอก สูญเงินไปทั้งสิ้น 147,800 เหรียญสหรัฐฯคิดเป็นเงินไทย 4,729,600 บาท จึงเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ป.ก่อนส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น พร้อมรวบรวมพยานหลักฐาน ใช้เทคนิคการสืบสวนสมัยใหม่ตามแนวคิด พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.ขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ต้องหา และติดตามจับกุมไว้ได้
เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ อ้างว่าไม่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงผู้เสียหาย มีหน้าที่ไปกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารผู้ร่วมแก๊งที่เป็นชื่อคนไทยเท่านั้น ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้เร่งสืบสวนขยายผลติดตามจับกุมผู้ร่วมกระทำความผิดที่เหลือ โดยก่อนหน้านี้ได้จับกุมนายอาฮาเมฟูลา ชิบุยเค คาลิ อายุ 33 ปี ชาวไนจีเรีย ที่มีส่วนพัวพันแก๊งดังกล่าว แต่พยานหลักฐานที่พบยังคงดำเนินคดีได้ในข้อหา เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด นำส่งพนักงานสอบสวน สน.ประเวศ ดำเนินคดี โดยในส่วนของผู้เสียหายรายนี้ จากการตรวจสอบไอพีแอดเดรสเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อพูดคุยผ่านเว็บไซต์ยาฮูแชตนั้น พบว่าใช้งานที่ประเทศมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เจ้าหน้าที่ได้เร่งรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อติดตามตัวผู้ร่วมขบวนการดังกล่าวแล้ว
สำหรับแก๊ง 419 Scam เป็นแก๊งคนร้ายจากประเทศไนจีเรีย มีเครือข่ายหลายประเทศทั่วโลก เจ้าหน้าที่หน่วยงานสอบสวนกลาง สหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) ติดตามสืบสวนจับกุมมานาน เนื่องจากพบวงเงินที่ได้จากการหลอกลวงผู้เสียหายทั่วโลกไปแล้วกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 32,000 ล้านบาท
ไนจีเรียต้มพญ.4.7ล. อ้างเป็นศัลยแพทย์ แชตหลอกโอนเงิน ป.ตามรวบ-คาบ้าน!
http://www.thairath.co.th/content/454545
โดย ทีมข่าวหน้า 1 วันที่ 4 ต.ค. 2557 06:10
ป.รวบ 1 ในสมาชิกแก๊ง 419 Scam ชาวไนจีเรีย ตุ๋นเปื่อยแพทย์หญิงเจ้าของคลินิกเสริมความงาม สูญไป 4.7 ล้านบาท เผยเหยื่อตกหลุมพราง หลังคนร้ายอ้างเป็นศัลยกรรมแพทย์ชาวอังกฤษประจำยูเอ็น แชตผ่านเว็บไซต์หาคู่จนสนิทสนม ก่อนคนร้ายปั้นเรื่องจะมาหาที่เมืองไทย อ้อนขอให้ออกค่าธรรมเนียมขนส่งเครื่องมือแพทย์ให้ก่อนสุดท้ายโดนหลอกให้เสียเงินอีกเป็นชุด กว่าจะรู้ตัวสูญเงินไปเกือบหมด
แพทย์หญิงไทยโดนแก๊งไนจีเรียตุ๋นเปื่อย 4.7 ล้านบาท โดยเมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 3 ต.ค. พ.ต.ท.จักรภพ ศรีหนา สว.กก.2 บก.ป. นำกำลังจับกุมนายออนเยคาชี นาทาเนียล อมาดิ อายุ 37 ปี ชาวไนจีเรีย สมาชิกแก๊ง 419 Scam แก๊งต้มตุ๋นระดับโลก พร้อมของกลาง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ 3 เครื่อง บัตรประจำตัวพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในชื่อนายจอห์น เฟดดี ตามหมายจับศาลอาญา ลงวันที่ 30 ก.ย.57 ข้อหา ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน จับกุมได้ที่หมู่บ้านพฤกษา 86 หมู่ 2 ต.ศีรษะจรเข้น้อย อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ
พ.ต.ท.จักรภพเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ผู้ต้องหาอ้างตัวชื่อ นายเทอรี เชลดัน เป็นศัลยแพทย์ ชาวอังกฤษ ประจำองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เข้ามาติดต่อกับ พญ.หนู (นามสมมติ) อายุ 44 ปี ผู้เสียหาย เจ้าของคลินิกเสริมความงามในจังหวัดหนึ่งพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย ผ่านเว็บไซต์จัดหาคู่แห่งหนึ่ง โดยติดต่อกันเรื่อยมากว่า 1 เดือน เมื่อสนิทสนมมากขึ้น อ้างว่าจะเดินทางมาหาผู้เสียหายในวันที่ 16 ก.ย. โดยส่งสำเนาตั๋วเครื่องบิน และการจองโรงแรมที่พักในเมืองพัทยา จ.ชลบุรี มาให้ดูเพื่อให้เหยื่อตายใจ พร้อมระบุว่าได้ฝากส่งเครื่องมือแพทย์มาด้วย แต่ติดขัดที่ขั้นตอนการขนส่ง ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ขอให้เหยื่อออกเงินในส่วนนี้ให้ก่อน ต่อมาผู้ต้องหาให้ผู้ร่วมแก๊งอีกหลายคนทั้งชายและหญิง สลับกันติดต่อเหยื่อ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ขนส่งสินค้าประเทศฟิลิปปินส์ ขอให้ส่งเงิน 2,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 91,000 บาท เป็นค่าธรรมเนียมนำของออกมา ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้ แต่ถูกกลุ่มคนร้ายหลอกต่อว่า เครื่องมือแพทย์ที่นำส่งนั้นติดอยู่ที่สนามบินในประเทศฟิลิปปินส์ มีการสแกนกระเป๋าแล้วพบเงินจำนวนมาก เป็นการนำเงินออกนอกประเทศโดยผิดกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับเพิ่มอีก 25,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมขู่ด้วยว่าอาจทำให้มีปัญหาไปถึงเนื่องจากชื่อผู้รับเป็นชื่อผู้เสียหาย
สว.กก.2 บก.ป.กล่าวต่อว่า เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปให้ กลุ่มคนร้ายได้ทำทีส่งภาพถ่ายใบเสร็จที่อ้างว่าจ่ายเป็นค่าปรับจากศุลกากรประเทศฟิลิปปินส์มาให้ดู แต่คาดว่าเป็นเอกสารปลอมทำขึ้นใช้ในการหลอกลวงให้แนบเนียนเท่านั้น จากนั้นผู้ต้องหาได้อ้างปัญหาติดขัดอีกว่าจะต้องเสียภาษีอีก 80,000 ดอลลาร์สหรัฐฯขอให้ช่วยออกในส่วนนี้ก่อนแล้วจะใช้คืนภายหลัง ผู้เสียหายมีเงินไม่พอ แต่ยังถูกหว่านล้อมจนต้องให้ไปอีก 40,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 77 ในชื่อบัญชีผู้หญิงไทยคนหนึ่ง อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากรฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย เมื่อผู้ต้องหาเห็นว่ายังคงหลอกเอาเงินจากผู้เสียหายรายนี้ได้อย่างต่อเนื่อง พยายามจะขอให้โอนเงินมาให้อีกโดยอ้างปัญหาต่างๆ ผู้เสียหายผิดสังเกตไปปรึกษากับเพื่อนและญาติ ตรวจสอบจนรู้ว่าถูกหลอก สูญเงินไปทั้งสิ้น 147,800 เหรียญสหรัฐฯคิดเป็นเงินไทย 4,729,600 บาท จึงเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ป.ก่อนส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น พร้อมรวบรวมพยานหลักฐาน ใช้เทคนิคการสืบสวนสมัยใหม่ตามแนวคิด พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.ขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ต้องหา และติดตามจับกุมไว้ได้
เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ อ้างว่าไม่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงผู้เสียหาย มีหน้าที่ไปกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารผู้ร่วมแก๊งที่เป็นชื่อคนไทยเท่านั้น ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้เร่งสืบสวนขยายผลติดตามจับกุมผู้ร่วมกระทำความผิดที่เหลือ โดยก่อนหน้านี้ได้จับกุมนายอาฮาเมฟูลา ชิบุยเค คาลิ อายุ 33 ปี ชาวไนจีเรีย ที่มีส่วนพัวพันแก๊งดังกล่าว แต่พยานหลักฐานที่พบยังคงดำเนินคดีได้ในข้อหา เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด นำส่งพนักงานสอบสวน สน.ประเวศ ดำเนินคดี โดยในส่วนของผู้เสียหายรายนี้ จากการตรวจสอบไอพีแอดเดรสเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อพูดคุยผ่านเว็บไซต์ยาฮูแชตนั้น พบว่าใช้งานที่ประเทศมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เจ้าหน้าที่ได้เร่งรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อติดตามตัวผู้ร่วมขบวนการดังกล่าวแล้ว
สำหรับแก๊ง 419 Scam เป็นแก๊งคนร้ายจากประเทศไนจีเรีย มีเครือข่ายหลายประเทศทั่วโลก เจ้าหน้าที่หน่วยงานสอบสวนกลาง สหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) ติดตามสืบสวนจับกุมมานาน เนื่องจากพบวงเงินที่ได้จากการหลอกลวงผู้เสียหายทั่วโลกไปแล้วกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 32,000 ล้านบาท