อย่ามัวแต่ทำงาน หรือห่วง facebook มากว่าลูำกในใส้!

การใช้โซเชียลมีเดียนั้นมีประโยชน์กับชีวิตเราในหลายๆ ด้าน แต่ก็อย่าลืมว่ามันเป็นเหมือนดาบสองคมที่อาจจะทำให้คนที่รู้ไม่เท่าทันตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ง่ายๆ ดังที่เรามักจะเห็นเรื่องราวในลักษณะนี้เป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง และจากสถิติแล้ว เราพบว่า 80% ของเด็กวัยรุ่นจะมีการใช้โซเชียลมีเดียไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ซึ่งนั่นแปลว่าพวกเขากำลังบอกเล่าเรื่องราวส่วนตัวให้กับคนอื่นๆ ได้รับรู้ มากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต นี่คือเรื่องที่น่ากังวลแน่ๆ อยู่แล้วสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่

การทำให้เด็กๆ รู้จักกับโซเชียลมีเดียอย่างถูกต้องถือเป็นความท้าทายใหม่ๆ ของพ่อแม่ในยุคนี้ เราจึงมีบทความเกี่ยวกับวิธีดูแลเด็กๆ ให้ใช้โซเชียลมีเดียอย่างถูกวิธีและไม่เป็นอันตราย ทั้งหมดนี้เป็นคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ได้จริง

1. จำกัดอายุที่เหมาะสม
ถ้าตอนนี้คุณยังไม่อนุญาตให้ลูกๆ ใช้โซเชียลมีเดีย มันเป็นเรื่องดีที่คุณจะบอกให้พวกเขารู้ว่าจะเริ่มใช้โซเชียลมีเดียได้เมื่อไร และเมื่อเด็กๆ รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ยอมให้ใช้ Facebook แน่ๆ พวกเขาก็จะเริ่มสร้างแอคเคาท์ลับๆ ขึ้นมาโดยไม่บอกให้คุณรู้ ดังนั้น พ่อแม่ต้องตัดสินใจว่าจะให้ลูกๆ เริ่มใช้โซเชียลมีเดียได้เมื่อไร โดยทั่วไปแล้วโซเชียลเน็ตเวิร์กส่วนมากจะกำหนดอายุผู้ใช้งานไว้ที่ 13-15 ปี หรือมากกว่านั้นตามพรบ.คุ้มครองเด็ก COPPA ที่ห้ามไม่ให้บริษัทเหล่านี้เก็บข้อมูลส่วนตัวของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง

2. เราเองต้องรู้จักโซเชียลมีเดียด้วย
มีนักจิตบำบัดและผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัว แนะนำว่าคนที่เป็นพ่อแม่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กบ้าง ซึ่งไม่ใช่รู้เฉพาะชื่อ แต่ต้องรู้ว่าโซเชียลมีเดียแต่ละแบบมันมีลักษณะอย่างไร และลูกๆ ของคุณใช้มันทำอะไรได้บ้าง เพราะโซเชียลมีเดียในแต่ละรูปแบบนั้นนำมาซึ่งความเสี่ยงที่แตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว โซเชียลมีเดียที่นิยมใช้ก็มีอยู่ไม่กี่อย่าง ถ้าเป็นในประเทศไทยที่นิยมกันก็จะมี Facebook, Twitter, Youtube, Instagram เป็นต้น ขอแถม Line ไปด้วยอีกอัน ถึงไม่ใช่โซเชียลมีเดีย แต่ก็เป็นแพลทฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูง และมีความเสี่ยงในการใช้งานเช่นกัน

3. บอกให้ลูกๆ ฟังเกี่ยวกับอันตรายและผลกระทบจากการใช้โซเชียลมีเดีย
เด็กส่วนมากจะไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาจากการใช้โซเชียลมีเดีย เขาจะทำอะไรไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่ทันยั้งคิดว่าอาจมีมิจฉาชีพที่คอยจับตาดูพวกเขาอยู่ ซึ่งบ่อยครั้งที่พ่อแม่ลืมบอกกับลูกๆ ว่ารูปภาพ คอมเมนต์ และการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในโซเชียลมีเดียจะสร้างผลกระทบต่ออนาคตของเด็กๆ ได้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ ขอแนะนำว่าพ่อแม่ควรจะพูดคุยเรื่องนี้ด้วยการยกตัวอย่างในชีวิตจริงมาเล่าสู่กันฟังกับลูกๆ และบอกให้ลูกๆ รู้ว่าพวกเขาสามารถถามหรือขอความช่วยเหลือจากคุณในเรื่องนี้ได้ การนำเอากรณีศึกษาเหล่านี้มาพูดคุยกับเด็กๆ จะทำให้พวกเขาคิดทบทวนมากขึ้นก่อนที่จะโพสต์รูปภาพ ข้อความ หรือแชร์โลเคชั่นในโซเชียลมีเดีย

4. วางคอมพิวเตอร์ไว้ในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน
แทนที่จะวางคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องนอนของลูกๆ คุณควรจะเอามันมาวางไว้ในพื้นที่ส่วนกลางของบ้าน เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่าลูกของคุณใช้โซเชียลมีเดียอย่างไรบ้าง เพราะว่ามีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมน้อยลงเมื่อรู้ว่าพ่อแม่สามารถมองเห็นได้ตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ตโฟน พ่อแม่ก็อาจจะตั้งกฏว่าห้ามนำเข้าไปใช้ในห้องนอนเป็นต้น นอกจากจะป้องกันพฤติกรรมไม่เหมาะสมแล้ว ยังช่วยไม่ให้เด็กๆ เล่นมือถือเพลินจนไม่หลับไม่นอนด้วย

5. ตั้งกติกาการใช้โซเชียลมีเดีย
พ่อแม่ควรจะตั้งกฏหรือเบาๆ หน่อยก็ใช้คำว่าแนะนำขึ้นมาเพื่อให้เด็กๆ ใช้โซเชียลมีเดียอย่างถูกวิธี เช่น กำหนดจำนวนชั่วโมงในการเล่นอินเทอร์เน็ตต่อวัน หรือคุณอาจจะกำหนดเวลาเพื่อให้คุณและลูกออนไลน์พร้อมๆ กันเพื่อสอนวิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของลูกๆ อยู่เสมอก็คือพ่อแม่ต้องคอยตรวจสอบ Privacy setting ในโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ ของลูกอยู่เป็นประจำ เนื่องจากแอปพลิเคชั่นเหล่านี้
มีการอัปเดตอยู่เสมอๆ ซึ่งอาจทำให้การตั้งค่าต่างๆ ไม่เหมือนเดิม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเตือนว่ากติกาเหล่านี้ไม่ควรจะเข้มงวดจนเกินไป จะต้องมีจุดที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กๆ ไม่รู้สึกกดดันมากซะจนต้องแอบใช้โซเชียลมีเดียแบบไม่ให้พ่อแม่รู้ (เหมือนคุณตอนเด็กนั่นแหละแอบเล่นเกมตอนดึกๆ)

ลองๆ เอาไปปรับใช้กันดู แต่ก็อย่าลืมว่าอย่าจำกัดจนทำให้รู้สึกอีดอัด เปิดโอกาสและเอาโอกาสนี้มาสอนในสิ่งที่ดีและไม่ดี

Credit : http://goo.gl/Hciuhi
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่