ภาพ “โหยวชุน” หรือ “ท่องไปในวสันตฤดู” วาดโดย “จ่าน จื่อเชียน”
สมัยราชวงศ์สุย ขนาด 43×80.5 เซนติเมตร ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม(กู้กง) กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
ในประวัติศาสตร์ศิลปะจีนถือว่าภาพ “ท่องไปในวสันตฤดู” ของ จ่าน จื่อเชียน เป็นภาพม้วนทิวทัศน์แบบจีนที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นภาพทิวทัศน์ภูเขาแม่น้ำที่วาดในสมัยราชวงศ์สุย(ค.ศ.581-618)เพียงภาพเดียวที่ตกทอดสืบต่อมา เนื่องจากราชวงศ์สุยปกครองแผ่นดินด้วยระยะเวลาสั้นๆ เพียง 30 ปีก็เปลี่ยนผ่านไปสู่ราชวงศ์ถังอันเป็นยุคที่อารยะธรรมจีนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดอีกสมัยหนึ่ง
รูปแบบการวาดภาพ ท่องไปในวสันตฤดู ของจิตรกร ถือว่าเป็นการเปลี่ยนรูปแบบจิตรกรรมทิวทัศน์จีน จากเดิมที่จิตรกรมักจะวาดภาพโดยเน้นบุคคลเป็นสำคัญ หากมีทิวทัศน์อยู่บ้างก็จะเป็นเพียงฉากหลังเท่านั้น ทั้งยังไม่ทิ้งช่องว่างในภาพซึ่งแม้แต่ผลงานของบิดาแห่งจิตรกรรมจีน กู้ ข่ายจือ จิตรกรเอกสมัยราชวงศ์จิ้นก็เป็นเช่นเดียวกัน ขณะที่ภาพของจ่าน จื่อเชียน นั้นต่างออกไป เขาวาดให้ภูเขาแม่น้ำเป็นวัตถุหลัก ส่วนบุคคลเป็นเพียงส่วนประกอบ ทั้งยังทิ้งพื้นที่ว่างไว้ในภาพให้ความรู้สึก “ใกล้แต่เหมือนไกล” ซึ่งกลายมาเป็นปรัชญาในการวาดภาพทิวทัศน์ของจีนในยุคต่อมา
ภาพ ท่องไปในวสันตฤดู บรรยายทิวทัศน์ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ต้นไม้ผลิบานเขียวขจี สายน้ำไหลรินจากด้านบนซ้ายมายังกลางภาพ มหานทีกว้างใหญ่เต็มไปด้วยเกลียวคลื่นเล็กๆ ทั้งยังมีนักท่องเที่ยวอยู่ในนาวาลำหนึ่งที่ลอยอยู่กลางน้ำ บางส่วนชมทิวทัศน์อยู่ริมสองฝั่ง บนคนเดินเท้าบางคนอยู่บนหลังม้า มีสะพานน้อยๆ และกระท่อมชาวบ้าน อีกทั้งอารามหลังหนึ่งหลบอยู่ด้านหลังแนวป่า วัตถุในภาพทั้งภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ คน มา เรือ และสิ่งก่อสร้างล้วนผสมกลมกลืน ใช้การย่อวัตถุไกล ขยายวัตถุใกล้ เพื่อสร้างมิติให้กับภาพ สามารถพบความเป็นเอกภาพในความไร้ระเบียบของกลุ่มต้นไม้ทั้งสองฝั่ง ลายเส้นฝีพู่กันละเอียดรวดรับหมดจด ส่วนต้นไม้ระบายด้วยสีเขียวขับเน้นให้เด่นที่สุดในภาพ ทว่าดึงสายตาด้วยที่ว่างขนาดใหญ่ของลำน้ำ กลายเป็นภาพที่มีสีสันแต่ไม่ไร้รสนิยม อย่างไรก็ตาม จุดเด่นอาจกลายเป็นจุดด้อยในขณะเดียวกัน นักวิชาการในยุคหลังให้ความเห็นว่า หากภาพนี้จะมีข้อด้อยอยู่บ้างก็เห็นจะอยู่ที่ต้นไม้ ซึ่งทั้งหมดมีลักษณะโครงร่างของลำต้นแบบเดียวกันทั้งภาพ จึงเป็นส่วนที่ทำให้อารมณ์ของภาพขาดหายไป แม้ว่าจิตรกรจะใช้สองวิธีในการวาดใบไม้ ทั้งการระบายและจุดหมึก แต่ในความเห็นนักวิชาการพบว่าไม่ช่วยดึงรสชาติของภาพให้เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร
ในยุคแรก ภาพนี้เป็นสมบัติของ จักรพรรดิซ่งฮุยจง แห่งยุคซ่งเหนือ ที่ระบุเอาไว้ว่าเป็น ภาพท่องไปในวสันตฤดู โดยจ่าน จื่อเชียน ต่อมาภาพดังกล่าวตกทอดไปนอกราชสำนัก จนกระทั่งสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงจึงค่อยกลับมาเป็นสมบัติในวังอีกครั้ง และถูกขโมยไปในปลายยุคราชวงศ์ชิง ต่อมา ปี 1946 ภาพท่องไปในวสันตฤดู ถูกพบอยู่ที่ร้านขายของเก่าแห่งหนึ่งในเมืองฉางชุน สุดท้ายตกเป็นของ หม่า จี้ชวน ช่างฝีมือแห่งย่านหลิวลี่ฉ่างซึ่งเป็นศูนย์รวมงานศิลปะและวรรณคดีเลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์ชิงที่เมืองปักกิ่ง ต่อมา หม่า จี้ชวนเสนอขายภาพวาดชิ้นนี้ให้กับชาวต่างชาติด้วยราคาสูงลิบ แต่นักสะสมของเก่า จาง ปั๋วจีว์ ทราบข่าว ด้วยความที่ไม่อยากให้สมบัติชาติถูกขายไป เขาจึงไปขอซื้อ ทว่าสู้ราคาไม่ไหว จาง ปั๋วจีว์ จึงตัดใจขายบ้านหลังหนึ่งและเครื่องประดับของภรรยาทั้งหมด เพื่อซื้อภาพชิ้นนี้เอาไว้ได้ และได้มอบให้กับพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม(กู้กง)แห่งปักกิ่งไปพร้อมกับวัตถุโบราณอื่นๆ ในปี 1956
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://mblog.manager.co.th/porduangporn/2014/05/08/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%936/
ภาพ “เป่ยฉีเจี้ยวซู” หรือ “งานอาลักษณ์สมัยฉีเหนือ” วาดโดย “หยัง จื่อหวา”
สมัยราชวงศ์เหนือใต้ ยุคเป่ยฉี(ฉีเหนือ) ขนาด 80×240 ซ.ม.(ภาพบางส่วน) ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์บอสตัน สหรัฐอเมริกา
ภาพ “เป่ยฉีเจี้ยวซู(北齐校书)” เดิมทีวาดโดยจิตรกรนาม “หยัง จื่อหวา(杨子华)” จิตรกรนามกระเดื่องที่ได้รับการขนานนามร่วมกับ “กู้ ข่ายจือ(顾恺之)” ยอดจิตรกรเอกแห่งประวัติศาสตร์แผ่นดินจีน ทว่าภาพต้นฉบับที่แท้จริงนั้นได้สูญหายไปเนิ่นนานแล้ว ส่วนภาพที่ได้รับการเก็บรักษาไว้ยังพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์บอสตัน สหรัฐอเมริกานี้เป็นภาพเลียนแบบโดยศิลปินในสมัยราชวงศ์ซ่ง หยัง จื่อหวา เป็นจิตรกรในราชสำนัก ถนัดวาดภาพขุนนางสำคัญ ภาพทิวทัศน์อุทยาน ภาพรถม้า และโดยเฉพาะภาพม้าที่ร่ำลือกันว่าเหมือนจริงจนแทบได้ยินเสียงร้องของม้าดังออกมาจากภาพเลยทีเดียว
ภาพ “เป่ยฉีเจี้ยวซู” ได้สะท้อนบรรยากาศงานอาลักษณ์ หรืองานตรวจแก้หนังสือ ตำรา ในยุคฉีเหนือ(ค.ศ.556) รัชสมัยของพระเจ้าเหวิน เซวียนตี้(文宣帝) โดยตำแหน่งนี้ได้ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยซีฮั่น(西汉:ฮั่นตะวันตก) จากนั้นถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อราชสำนักอย่างยิ่ง ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะได้รับเกียรติและความเคารพนับถืออย่างสูง โดยในภาพเป็นเหตุการณ์ที่เหล่าขุนนางกำลังจัดระเบียบ “อู่จิง(五经)” หรือคัมภีร์ทั้งห้าตามหลักปรัชญาลัทธิขงจื๊อ อันประกอบด้วย “อี้จิง(易经:โหราศาสตร์)” “ซั่งซู(尚书:ประวัติศาสตร์)” “ซือจิง(诗经:บทกวี)” “หลี่จี้(礼记:พิธีกรรม)” และ”ชุนชิว(春秋:พงศาวดารและปรากฎการณ์ธรรมชาติ)”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://mblog.manager.co.th/porduangporn/2014/06/20/beiqijiaoshu-2/
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.nipic.com/show/2/27/b6a3d90203abf8d9.html
ภาพ “หลิงกู่ทั่นเหมย(灵谷探梅)” หรือ “กิ่งเหมย ณ วัดหลิงกู่” วาดโดย “สือ เทา(石涛)”
สมัยราชวงศ์ชิงตอนต้น ขนาด 97.5×50. 3 ซม. ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หนานจิง(นานกิง) มณฑลเจียงซู ประเทศจีน
ภาพ “กิ่งเหมย ณ วัดหลิงกู่” นี้จิตรกรนามสือ เทา วาดกิ่งเหมยที่ชูช่อแข่งกับใบไผ่ โดยใช้สีหมึกเข้ม-จางอย่างมีมิติ ลายเส้นหมดจดชัดเจน ทั้งยังวาดใบไผ่พลิ้วไหวเสมือนหนึ่งโดนสายลมที่มองไม่เห็นพัดพา สร้างเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา
ทั้งไผ่ และ เหมย ล้วนเป็นต้นไม้ที่ได้รับความสำคัญยิ่งในหมู่ชาวจีน ได้รับการขนานนามว่าเป็น สามสหายแห่งเหมันต์ฤดู ซึ่งประกอบด้วย ต้นสน เหมย และต้นไผ่ เพราะทั้ง สน ไผ่ และเหมย ล้วนชูช่อเบ่งบานต้านทานอากาศหนาวเหน็บของแผ่นดินจีนได้อย่างดี จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง พากเพียร อดทน ที่มักปรากฏอยู่เสมอในงานศิลปะของจีน ทั้งในงานเขียน บทเพลง บทกวี รวมถึงภาพวาดต่างๆ ส่วนวัดหลิงกู่นั้น เป็นวัดหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไม่น้อย เดิมวัดหลิงกู่ (灵谷寺) ชื่อว่าวัดไคซ่าน (开善寺) ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียง(ค.ศ.502-557) แต่ในสมัยราชวงศ์หมิง ถูกโยกย้ายมาตั้งอยู่ ณ บริเวณเขตภูเขาจงซานแห่งหนานจิงพร้อมกับสุสานของ จู หยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นผู้ประทานนามใหม่ของวัดแห่งนี้ว่า วัดหลิงกู่
“สือเทาจื้อฮว่าเซียง(石涛自画像)” ภาพที่จิตรกรสือ เทา วาดตัวเอง ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กงไทเป ไต้หวัน
จิตรกรนาม “สือ เทา” คือหนึ่งในจิตรกร นักเขียนอักษรจีน ที่กล่าวได้ว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประวัติศาสตร์จีน เป็นจิตรกรสมัยต้นราชวงศ์ชิงที่มีอายุอยู่ระหว่าง ค.ศ.1642-1078 อายุศิริรวม 55 ปี เดิมชื่อว่า จู รั่วจี๋(朱若极) ชาวเมืองฉวนโจว มณฑลกว่างซี บางตำราว่ามีศักดิ์เป็นเหลนรุ่นที่ 10 ของพระเจ้าจิ้งเจียงแห่งราชวงศ์หมิง ในรัชสมัยของจักรพรรดิซุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิงเมื่อครั้งที่จู รั่วจี๋อายุได้ 16 ปี ครอบครัวประสบความลำบาก เขาจึงได้อพยพจากกุ้ยหลินมายังฉวนโจว โดยบวชเป็นพระพำนักอยู่ที่วัดเซี่ยงซาน และเปลี่ยนชื่อเป็น สือ เทา
ภาพ “เฉาหู(巢湖图)” ภาพทิวทัศน์ที่ขึ้นชื่อของ สือ เทา ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมืองเทียนจิน ประเทศจีน
ภาพ “ไอ้เหลียน(爱莲图)” ภาพดอกบัวที่ถือเป็นหนึ่งในผลงานอันโดดเด่นของ สือ เทา
ชีวิตของสือ เทานั้นเรียกได้ว่าต้องพเนจรเร่ร่อนไปทั่วสารทิศ เคยไปพำนักอยู่บนยอดเขาหวงซาน มณฑลอานฮุยอยู่นับ 10 ปี ภายหลังจึงเดินทางมายังหนานจิง สมัยที่จักรพรรดิคังซีเสด็จประพาสทางใต้ สือ เทาเคยเข้าเฝ้าถวายภาพวาดประกอบบทกวี จนได้รับฉายาว่าเป็น “ขุนนางในผ้าเหลือง” ทั้งยังเคยเดินทางขึ้นเหนือเพื่อคบหาบรรดาขุนนางและคหบดี ทว่าท้ายที่สุดไม่ประสบความสำเร็จจึงเดินทางกลับหนานจิง และวาดรูปขายเลี้ยงชีพใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ที่เมืองหยังโจว และใช้เวลาทบทวนปรับปรุงเคล็ดวิธีการวาดภาพที่เขาสั่งสมประสบการณ์มาตลอดชีวิต ทำให้ผลงานในยุคหลังของสือ เทา ได้รับการยอมรับว่ามีความโดดเด่นกว่าในยุคแรกมาก โดยนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังจัดให้ สือ เทา เป็นตัวแทนของจิตรกรแนวปัจเจกนิยมคนสำคัญในสมัยนั้น บทความที่สือ เทารวบรวมเกี่ยวกับแนวคิดด้านการวาดภาพของเขา ถือว่ามีคุณูปการต่อวงการศิลปะจีนอย่างมาก โดยหลักการวาดภาพที่เขาให้ความสำคัญมากคือการเคลื่อนไหวพู่กันอย่างฉับพลัน และเป็นธรรมชาติ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://mblog.manager.co.th/porduangporn/2014/06/27/linggutanmei/
ภาพ “เด็กน้อยเล่นในสวนยามฤดูสารท” วาดโดย ซู ฮั่นเฉิน
สมัยราชวงศ์ซ่ง ม้วนภาพ ขนาด 197.5 x 108.7 ซ.ม. ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์พระราชวังไต้หวัน(กู้กง) กรุงไทเป ไต้หวัน
ภาพ “ชิวถิงซี่อิง(秋庭戏婴)” ซึ่งแปลว่า เด็กน้อยเล่นในสวนยามฤดูสารทหรือฤดูใบไม้ร่วง เป็นผลงานของจิตรกรนาม ซู ฮั่นเฉิน(苏汉臣) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง(宋)(ค.ศ. 960 – 1279) ซู ฮั่นเฉิน เป็นชาวเมืองไคเฟิง เคยเป็นช่างหัตถศิลป์ในสำนักศิลปะสมัยจักรพรรดิซ่งฮุยจง มีความถนัดในการวาดภาพบุคคล ภาพนักพรตเต๋า สตรี และเด็ก โดยเฉพาะภาพการละเล่นของเด็กที่รังสรรค์โดยจิตรกรผู้นี้ถือได้ว่ามีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนกระทั่งผลงานของเขาได้รับคำจำกัดความว่า “สีสันสดใส เคลื่อนไหวดุจมีชีวิต”
ซู ฮั่นเฉิน มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคซ่งเหนือเชื่อมต่อต้นยุคซ่งใต้ แม้ว่าจะเคยทำงานรับใช้ ซ่งฮุยจง จักรพรรดิองค์ที่แปดแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือซึ่งทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านจิตรกรรมอย่างสูง ทว่าก็เป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักสั่นคลอน สุดท้ายเมื่อราชวงศ์ซ่งเหนือล่มสลาย ซู ฮั่นเฉินจึงอพยพลี้ภัยลงใต้ไปใช้ชีวิตอยู่เมืองเฉียนถัง(ปัจจุบันคือเมืองหังโจว) ในแถบดินแดนเจียงหนัน(ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง) จนกระทั่งราชวงศ์ซ่งใต้ฟื้นคืน เขาจึงได้กลับเข้ารับใช้ราชสำนักอีกครั้ง
บางส่วนของม้วนภาพ ฉังชุนไป่จื้อ(长春百子) อีกหนึ่งผลงานเด่นของ ซู ฮั่นเฉิน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กงไทเป ไต้หวัน
ภาพ จวงจิ้งซื่อหนี่ว์(妆靓仕女) อีกหนึ่งผลงานเด่นของ ซู ฮั่นเฉิน
เดิมเป็นสมบัติในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม กู้กง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์บอสตัน สหรัฐอเมริกา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://mblog.manager.co.th/porduangporn/2014/07/10/shuhanqi/
ภาพจีนโบราณ 2
สมัยราชวงศ์สุย ขนาด 43×80.5 เซนติเมตร ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม(กู้กง) กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
ในประวัติศาสตร์ศิลปะจีนถือว่าภาพ “ท่องไปในวสันตฤดู” ของ จ่าน จื่อเชียน เป็นภาพม้วนทิวทัศน์แบบจีนที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นภาพทิวทัศน์ภูเขาแม่น้ำที่วาดในสมัยราชวงศ์สุย(ค.ศ.581-618)เพียงภาพเดียวที่ตกทอดสืบต่อมา เนื่องจากราชวงศ์สุยปกครองแผ่นดินด้วยระยะเวลาสั้นๆ เพียง 30 ปีก็เปลี่ยนผ่านไปสู่ราชวงศ์ถังอันเป็นยุคที่อารยะธรรมจีนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดอีกสมัยหนึ่ง
รูปแบบการวาดภาพ ท่องไปในวสันตฤดู ของจิตรกร ถือว่าเป็นการเปลี่ยนรูปแบบจิตรกรรมทิวทัศน์จีน จากเดิมที่จิตรกรมักจะวาดภาพโดยเน้นบุคคลเป็นสำคัญ หากมีทิวทัศน์อยู่บ้างก็จะเป็นเพียงฉากหลังเท่านั้น ทั้งยังไม่ทิ้งช่องว่างในภาพซึ่งแม้แต่ผลงานของบิดาแห่งจิตรกรรมจีน กู้ ข่ายจือ จิตรกรเอกสมัยราชวงศ์จิ้นก็เป็นเช่นเดียวกัน ขณะที่ภาพของจ่าน จื่อเชียน นั้นต่างออกไป เขาวาดให้ภูเขาแม่น้ำเป็นวัตถุหลัก ส่วนบุคคลเป็นเพียงส่วนประกอบ ทั้งยังทิ้งพื้นที่ว่างไว้ในภาพให้ความรู้สึก “ใกล้แต่เหมือนไกล” ซึ่งกลายมาเป็นปรัชญาในการวาดภาพทิวทัศน์ของจีนในยุคต่อมา
ภาพ ท่องไปในวสันตฤดู บรรยายทิวทัศน์ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ต้นไม้ผลิบานเขียวขจี สายน้ำไหลรินจากด้านบนซ้ายมายังกลางภาพ มหานทีกว้างใหญ่เต็มไปด้วยเกลียวคลื่นเล็กๆ ทั้งยังมีนักท่องเที่ยวอยู่ในนาวาลำหนึ่งที่ลอยอยู่กลางน้ำ บางส่วนชมทิวทัศน์อยู่ริมสองฝั่ง บนคนเดินเท้าบางคนอยู่บนหลังม้า มีสะพานน้อยๆ และกระท่อมชาวบ้าน อีกทั้งอารามหลังหนึ่งหลบอยู่ด้านหลังแนวป่า วัตถุในภาพทั้งภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ คน มา เรือ และสิ่งก่อสร้างล้วนผสมกลมกลืน ใช้การย่อวัตถุไกล ขยายวัตถุใกล้ เพื่อสร้างมิติให้กับภาพ สามารถพบความเป็นเอกภาพในความไร้ระเบียบของกลุ่มต้นไม้ทั้งสองฝั่ง ลายเส้นฝีพู่กันละเอียดรวดรับหมดจด ส่วนต้นไม้ระบายด้วยสีเขียวขับเน้นให้เด่นที่สุดในภาพ ทว่าดึงสายตาด้วยที่ว่างขนาดใหญ่ของลำน้ำ กลายเป็นภาพที่มีสีสันแต่ไม่ไร้รสนิยม อย่างไรก็ตาม จุดเด่นอาจกลายเป็นจุดด้อยในขณะเดียวกัน นักวิชาการในยุคหลังให้ความเห็นว่า หากภาพนี้จะมีข้อด้อยอยู่บ้างก็เห็นจะอยู่ที่ต้นไม้ ซึ่งทั้งหมดมีลักษณะโครงร่างของลำต้นแบบเดียวกันทั้งภาพ จึงเป็นส่วนที่ทำให้อารมณ์ของภาพขาดหายไป แม้ว่าจิตรกรจะใช้สองวิธีในการวาดใบไม้ ทั้งการระบายและจุดหมึก แต่ในความเห็นนักวิชาการพบว่าไม่ช่วยดึงรสชาติของภาพให้เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร
ในยุคแรก ภาพนี้เป็นสมบัติของ จักรพรรดิซ่งฮุยจง แห่งยุคซ่งเหนือ ที่ระบุเอาไว้ว่าเป็น ภาพท่องไปในวสันตฤดู โดยจ่าน จื่อเชียน ต่อมาภาพดังกล่าวตกทอดไปนอกราชสำนัก จนกระทั่งสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงจึงค่อยกลับมาเป็นสมบัติในวังอีกครั้ง และถูกขโมยไปในปลายยุคราชวงศ์ชิง ต่อมา ปี 1946 ภาพท่องไปในวสันตฤดู ถูกพบอยู่ที่ร้านขายของเก่าแห่งหนึ่งในเมืองฉางชุน สุดท้ายตกเป็นของ หม่า จี้ชวน ช่างฝีมือแห่งย่านหลิวลี่ฉ่างซึ่งเป็นศูนย์รวมงานศิลปะและวรรณคดีเลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์ชิงที่เมืองปักกิ่ง ต่อมา หม่า จี้ชวนเสนอขายภาพวาดชิ้นนี้ให้กับชาวต่างชาติด้วยราคาสูงลิบ แต่นักสะสมของเก่า จาง ปั๋วจีว์ ทราบข่าว ด้วยความที่ไม่อยากให้สมบัติชาติถูกขายไป เขาจึงไปขอซื้อ ทว่าสู้ราคาไม่ไหว จาง ปั๋วจีว์ จึงตัดใจขายบ้านหลังหนึ่งและเครื่องประดับของภรรยาทั้งหมด เพื่อซื้อภาพชิ้นนี้เอาไว้ได้ และได้มอบให้กับพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม(กู้กง)แห่งปักกิ่งไปพร้อมกับวัตถุโบราณอื่นๆ ในปี 1956
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาพ “เป่ยฉีเจี้ยวซู” หรือ “งานอาลักษณ์สมัยฉีเหนือ” วาดโดย “หยัง จื่อหวา”
สมัยราชวงศ์เหนือใต้ ยุคเป่ยฉี(ฉีเหนือ) ขนาด 80×240 ซ.ม.(ภาพบางส่วน) ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์บอสตัน สหรัฐอเมริกา
ภาพ “เป่ยฉีเจี้ยวซู(北齐校书)” เดิมทีวาดโดยจิตรกรนาม “หยัง จื่อหวา(杨子华)” จิตรกรนามกระเดื่องที่ได้รับการขนานนามร่วมกับ “กู้ ข่ายจือ(顾恺之)” ยอดจิตรกรเอกแห่งประวัติศาสตร์แผ่นดินจีน ทว่าภาพต้นฉบับที่แท้จริงนั้นได้สูญหายไปเนิ่นนานแล้ว ส่วนภาพที่ได้รับการเก็บรักษาไว้ยังพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์บอสตัน สหรัฐอเมริกานี้เป็นภาพเลียนแบบโดยศิลปินในสมัยราชวงศ์ซ่ง หยัง จื่อหวา เป็นจิตรกรในราชสำนัก ถนัดวาดภาพขุนนางสำคัญ ภาพทิวทัศน์อุทยาน ภาพรถม้า และโดยเฉพาะภาพม้าที่ร่ำลือกันว่าเหมือนจริงจนแทบได้ยินเสียงร้องของม้าดังออกมาจากภาพเลยทีเดียว
ภาพ “เป่ยฉีเจี้ยวซู” ได้สะท้อนบรรยากาศงานอาลักษณ์ หรืองานตรวจแก้หนังสือ ตำรา ในยุคฉีเหนือ(ค.ศ.556) รัชสมัยของพระเจ้าเหวิน เซวียนตี้(文宣帝) โดยตำแหน่งนี้ได้ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยซีฮั่น(西汉:ฮั่นตะวันตก) จากนั้นถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อราชสำนักอย่างยิ่ง ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะได้รับเกียรติและความเคารพนับถืออย่างสูง โดยในภาพเป็นเหตุการณ์ที่เหล่าขุนนางกำลังจัดระเบียบ “อู่จิง(五经)” หรือคัมภีร์ทั้งห้าตามหลักปรัชญาลัทธิขงจื๊อ อันประกอบด้วย “อี้จิง(易经:โหราศาสตร์)” “ซั่งซู(尚书:ประวัติศาสตร์)” “ซือจิง(诗经:บทกวี)” “หลี่จี้(礼记:พิธีกรรม)” และ”ชุนชิว(春秋:พงศาวดารและปรากฎการณ์ธรรมชาติ)”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาพ “หลิงกู่ทั่นเหมย(灵谷探梅)” หรือ “กิ่งเหมย ณ วัดหลิงกู่” วาดโดย “สือ เทา(石涛)”
สมัยราชวงศ์ชิงตอนต้น ขนาด 97.5×50. 3 ซม. ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หนานจิง(นานกิง) มณฑลเจียงซู ประเทศจีน
ภาพ “กิ่งเหมย ณ วัดหลิงกู่” นี้จิตรกรนามสือ เทา วาดกิ่งเหมยที่ชูช่อแข่งกับใบไผ่ โดยใช้สีหมึกเข้ม-จางอย่างมีมิติ ลายเส้นหมดจดชัดเจน ทั้งยังวาดใบไผ่พลิ้วไหวเสมือนหนึ่งโดนสายลมที่มองไม่เห็นพัดพา สร้างเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา
ทั้งไผ่ และ เหมย ล้วนเป็นต้นไม้ที่ได้รับความสำคัญยิ่งในหมู่ชาวจีน ได้รับการขนานนามว่าเป็น สามสหายแห่งเหมันต์ฤดู ซึ่งประกอบด้วย ต้นสน เหมย และต้นไผ่ เพราะทั้ง สน ไผ่ และเหมย ล้วนชูช่อเบ่งบานต้านทานอากาศหนาวเหน็บของแผ่นดินจีนได้อย่างดี จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง พากเพียร อดทน ที่มักปรากฏอยู่เสมอในงานศิลปะของจีน ทั้งในงานเขียน บทเพลง บทกวี รวมถึงภาพวาดต่างๆ ส่วนวัดหลิงกู่นั้น เป็นวัดหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไม่น้อย เดิมวัดหลิงกู่ (灵谷寺) ชื่อว่าวัดไคซ่าน (开善寺) ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียง(ค.ศ.502-557) แต่ในสมัยราชวงศ์หมิง ถูกโยกย้ายมาตั้งอยู่ ณ บริเวณเขตภูเขาจงซานแห่งหนานจิงพร้อมกับสุสานของ จู หยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นผู้ประทานนามใหม่ของวัดแห่งนี้ว่า วัดหลิงกู่
“สือเทาจื้อฮว่าเซียง(石涛自画像)” ภาพที่จิตรกรสือ เทา วาดตัวเอง ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กงไทเป ไต้หวัน
จิตรกรนาม “สือ เทา” คือหนึ่งในจิตรกร นักเขียนอักษรจีน ที่กล่าวได้ว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประวัติศาสตร์จีน เป็นจิตรกรสมัยต้นราชวงศ์ชิงที่มีอายุอยู่ระหว่าง ค.ศ.1642-1078 อายุศิริรวม 55 ปี เดิมชื่อว่า จู รั่วจี๋(朱若极) ชาวเมืองฉวนโจว มณฑลกว่างซี บางตำราว่ามีศักดิ์เป็นเหลนรุ่นที่ 10 ของพระเจ้าจิ้งเจียงแห่งราชวงศ์หมิง ในรัชสมัยของจักรพรรดิซุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิงเมื่อครั้งที่จู รั่วจี๋อายุได้ 16 ปี ครอบครัวประสบความลำบาก เขาจึงได้อพยพจากกุ้ยหลินมายังฉวนโจว โดยบวชเป็นพระพำนักอยู่ที่วัดเซี่ยงซาน และเปลี่ยนชื่อเป็น สือ เทา
ภาพ “เฉาหู(巢湖图)” ภาพทิวทัศน์ที่ขึ้นชื่อของ สือ เทา ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมืองเทียนจิน ประเทศจีน
ภาพ “ไอ้เหลียน(爱莲图)” ภาพดอกบัวที่ถือเป็นหนึ่งในผลงานอันโดดเด่นของ สือ เทา
ชีวิตของสือ เทานั้นเรียกได้ว่าต้องพเนจรเร่ร่อนไปทั่วสารทิศ เคยไปพำนักอยู่บนยอดเขาหวงซาน มณฑลอานฮุยอยู่นับ 10 ปี ภายหลังจึงเดินทางมายังหนานจิง สมัยที่จักรพรรดิคังซีเสด็จประพาสทางใต้ สือ เทาเคยเข้าเฝ้าถวายภาพวาดประกอบบทกวี จนได้รับฉายาว่าเป็น “ขุนนางในผ้าเหลือง” ทั้งยังเคยเดินทางขึ้นเหนือเพื่อคบหาบรรดาขุนนางและคหบดี ทว่าท้ายที่สุดไม่ประสบความสำเร็จจึงเดินทางกลับหนานจิง และวาดรูปขายเลี้ยงชีพใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ที่เมืองหยังโจว และใช้เวลาทบทวนปรับปรุงเคล็ดวิธีการวาดภาพที่เขาสั่งสมประสบการณ์มาตลอดชีวิต ทำให้ผลงานในยุคหลังของสือ เทา ได้รับการยอมรับว่ามีความโดดเด่นกว่าในยุคแรกมาก โดยนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังจัดให้ สือ เทา เป็นตัวแทนของจิตรกรแนวปัจเจกนิยมคนสำคัญในสมัยนั้น บทความที่สือ เทารวบรวมเกี่ยวกับแนวคิดด้านการวาดภาพของเขา ถือว่ามีคุณูปการต่อวงการศิลปะจีนอย่างมาก โดยหลักการวาดภาพที่เขาให้ความสำคัญมากคือการเคลื่อนไหวพู่กันอย่างฉับพลัน และเป็นธรรมชาติ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาพ “เด็กน้อยเล่นในสวนยามฤดูสารท” วาดโดย ซู ฮั่นเฉิน
สมัยราชวงศ์ซ่ง ม้วนภาพ ขนาด 197.5 x 108.7 ซ.ม. ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์พระราชวังไต้หวัน(กู้กง) กรุงไทเป ไต้หวัน
ภาพ “ชิวถิงซี่อิง(秋庭戏婴)” ซึ่งแปลว่า เด็กน้อยเล่นในสวนยามฤดูสารทหรือฤดูใบไม้ร่วง เป็นผลงานของจิตรกรนาม ซู ฮั่นเฉิน(苏汉臣) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง(宋)(ค.ศ. 960 – 1279) ซู ฮั่นเฉิน เป็นชาวเมืองไคเฟิง เคยเป็นช่างหัตถศิลป์ในสำนักศิลปะสมัยจักรพรรดิซ่งฮุยจง มีความถนัดในการวาดภาพบุคคล ภาพนักพรตเต๋า สตรี และเด็ก โดยเฉพาะภาพการละเล่นของเด็กที่รังสรรค์โดยจิตรกรผู้นี้ถือได้ว่ามีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนกระทั่งผลงานของเขาได้รับคำจำกัดความว่า “สีสันสดใส เคลื่อนไหวดุจมีชีวิต”
ซู ฮั่นเฉิน มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคซ่งเหนือเชื่อมต่อต้นยุคซ่งใต้ แม้ว่าจะเคยทำงานรับใช้ ซ่งฮุยจง จักรพรรดิองค์ที่แปดแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือซึ่งทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านจิตรกรรมอย่างสูง ทว่าก็เป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักสั่นคลอน สุดท้ายเมื่อราชวงศ์ซ่งเหนือล่มสลาย ซู ฮั่นเฉินจึงอพยพลี้ภัยลงใต้ไปใช้ชีวิตอยู่เมืองเฉียนถัง(ปัจจุบันคือเมืองหังโจว) ในแถบดินแดนเจียงหนัน(ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง) จนกระทั่งราชวงศ์ซ่งใต้ฟื้นคืน เขาจึงได้กลับเข้ารับใช้ราชสำนักอีกครั้ง
บางส่วนของม้วนภาพ ฉังชุนไป่จื้อ(长春百子) อีกหนึ่งผลงานเด่นของ ซู ฮั่นเฉิน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กงไทเป ไต้หวัน
ภาพ จวงจิ้งซื่อหนี่ว์(妆靓仕女) อีกหนึ่งผลงานเด่นของ ซู ฮั่นเฉิน
เดิมเป็นสมบัติในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม กู้กง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์บอสตัน สหรัฐอเมริกา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้