เปิดตัวเครื่องวัดความอร่อย พร้อม 11 สูตรอาหารไทย"ต้มยำกุ้งน้ำใส-ข้น ผัดไทย มัสมั่น แกงเขียวหวาน
ตรวจอร่อย - เครื่องมือตรวจวัดความอร่อยของอาหารไทย ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำมาใช้ทดสอบรสชาติอาหารไทยเพื่อให้มีมาตรฐานตามโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก ที่โรงแรมโฟว์ซีซั่นส์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน
เมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่โรงแรม โฟว์ซีซั่นส์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จัดกิจกรรมส่งเสริมความสำเร็จของโครงการ ไทย ดิลิเชียส (Thai Delicious) สู่ตลาดโลก รวมทั้งเปิดตัวเครื่องวัดความอร่อยของอาหาร ที่ประมวลรสชาติอาหารไทยจากระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปทดสอบว่าอาหารชนิดนั้นๆ ปรุงขึ้นมาแล้ว ได้ค่ามาตรฐานความอร่อยสำหรับรสชาติอาหารไทยหรือไม่
โดยงานจัดเป็นกาลาดินเนอร์ มีการสาธิต การปรุงอาหารตำรับไทยแท้ๆ และการชิมอาหารจากผลิตภัณฑ์โครงการ ไทย ดิลิเชียส รวมทั้งสาธิตการใช้เครื่องมือวัดความอร่อยของอาหาร โดยมีทูตการค้าและตัวแทนหอการค้าจากประเทศต่างๆ กว่า 10 ประเทศเข้าร่วม
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สนช. แถลงว่า สนช.ได้ดำเนินโครงการ ไทย ดิลิเชียส ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศ ครัวไทยสู่ครัวโลก เพื่อส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกำหนดมาตรฐานด้านรสชาติอาหารไทยให้ได้คุณภาพที่ไม่ผิดเพี้ยนไปจากตำรับดั้งเดิมของไทย ภายใต้แนวคิดอาหารไทยไม่ว่าครัวที่ไหนต้องมีรสชาติไทยเดียวกัน ตอบสนองความต้องการรสชาติอาหารไทยในตลาดต่างประเทศ
"โดยการนำองค์ความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และการทดสอบทางประสาทสัมผัสมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหลายภาคส่วนทั่วประเทศ" นายพยุงศักดิ์กล่าว
นายพยุงศักดิ์กล่าวอีกว่า วันนี้ได้พัฒนาสูตรมาตรฐานและต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารไทยพร้อมปรุงแล้วเสร็จทั้งสิ้น 11 ตำรับ ประกอบด้วย ต้มยำกุ้งน้ำใส,ต้มยำกุ้งน้ำข้น,ผัดไทย,แกงมัสมั่น,แกงเขียวหวาน,ข้าวซอย,ไส้อั่ว,น้ำพริกหนุ่ม,น้ำพริกอ่อง,แกงเหลือง และซอสไก่กอและ ที่จะนำไปเผยแพร่สู่นานาชาติ และอยู่ระหว่างพัฒนาอีก 10 ตำรับ
ด้าน นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สนช. แถลงว่า ที่ผ่านมา สนช.ได้พัฒนาและสนับสนุนโครงการนวัตกรรมภายใต้โครงการ ไทย ดิลิเชียส ทั้งสิ้น 14 โครงการ วงเงินสนับสนุนกว่า 23.5 ล้านบาท ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนกว่า 130.6 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย โครงการระบบบริหารจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบอาหารไทยครบวงจร นำร่องในพืชวัตถุดิบอาหารไทย ได้แก่ พริก และกะเพรา
"โครงการเครื่องมือตรวจวัดมาตรฐานรสชาติอาหารไทย 2 โครงการ ได้ต้นแบบเครื่องมือตรวจวัดรสชาติอาหารไทย 2 เครื่อง ได้แก่
1.e-delicious โดยบริษัท โมบิลิส ออโตมาต้า จำกัด เครื่องมือนี้ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ จมูกอิเล็กทรอนิกส์ ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประมวลผลกลาง" นายศุภชัยกล่าว
นายศุภชัยกล่าวอีกว่า โดยทั้งสามส่วนมีความเชื่อมโยงกันและทำหน้าที่ในการตรวจวัดกลิ่น และรสชาติ รวมถึงการประมวลผลรวมของข้อมูลของทั้งกลิ่นและรสชาติอาหาร เพื่อรวมข้อมูล ประมวล และแปลผลข้อมูลเปรียบเทียบกับมาตรฐานรสชาติอาหารไทยได้
"ในส่วนของการตรวจวัดกลิ่น e-delicious จะดมกลิ่นอาหารด้วยจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย อะเรย์ของก๊าซเซ็นเซอร์ 16 หัววัด ซึ่งออกแบบให้มีความเฉพาะเจาะจงกับกลิ่นอาหารไทย มีองค์ประกอบของสารหอมระเหย ก๊าซ และกลิ่นจากองค์ประกอบต่างๆ ของอาหาร โดยตัวระบบจะควบคุมการไหลเวียนของอากาศภายในระบบเพื่อให้กลิ่นจากตัวอย่างไปถึงหัววัดทุกตัวในปริมาณการไหลที่เท่าเทียมและสม่ำเสมอ สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากหัววัดจะถูกนำไปประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งรู้จำและเปรียบเทียบกลิ่นกับกลิ่นของตัวอย่างมาตรฐานเพื่อบอกความเหมือนและความแตกต่างได้" นายศุภชัยกล่าว
นายศุภชัยกล่าวต่อว่า ส่วนการวัดรสชาติโดยลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการตรวจวัดด้วยวิธีทางไฟฟ้าเคมี โดยเครื่องตรวจวัดรสชาติที่สำคัญของอาหารไทย คือ เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน และ อูมามิ ซึ่งเป็นรสชาติที่ 5 ที่ลิ้นมนุษย์รับรู้และแยกแยะได้ การตรวจวัดรสชาติใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทีต่อหนึ่งตัวอย่าง โดยตรวจวัดกลิ่นและรสชาติของอาหารที่มีลักษณะเป็นน้ำได้ เช่น น้ำต้มยำ และน้ำซุป เป็นต้น โดยในเบื้องต้นได้ทดสอบเครื่องกับต้มยำกุ้งแล้ว ทั้งสูตรน้ำข้นและน้ำใส ซึ่งเครื่องตรวจวัดรสชาติได้และเปรียบเทียบความคล้ายคลึงของรสชาติกับตัวอย่างมาตรฐานที่มีการให้คะแนนโดยผู้ทดสอบชิม
นายศุภชัยกล่าวว่า สำหรับเครื่องมืออีกตัวสำหรับวัดค่าความอร่อยของอาหารคือ ESenS โดยบริษัท ควอลิเท็ค แล็บบอราทอรี่ เซอร์วิส จำกัด โดย ESenS เป็นเหมือนหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาดสำหรับการตรวจวัดกลิ่นและรสชาติของส่วนผสมในอาหาร โดยจะใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจวัดรสชาติเหมือนเป็นนักชิมอาหารและเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่โดยการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลที่มีความแม่นยำ ภายใน ESenS สามารถประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์และส่งผ่านทางอีเมล์และเครือข่ายทางสังคมตามความต้องการขอผู้ใช้ได้
"ตัว ESenS เป็นเครื่องมือที่ใช้มาตรวัดทางเคมี เพื่อพัฒนาอุปกรณ์สำหรับบ่งบอกค่าเชิงปริมาณของกลิ่น รสชาติ สี และสารปรุงแต่งในอาหาร โดย ESenS จะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อย ได้แก่ เซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดกลิ่น เซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดรสชาติ และเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดสี ซึ่งหลักการทำงานของเครื่อง ESenS จะเลียนแบบการรับรู้กลิ่นและรสชาติของมนุษย์ในลักษณะการเรียนรู้แบบที่เกิดขึ้นบนหัวเซ็นเซอร์ต่างๆ กัน สำหรับสารที่ต้องการตรวจสอบจะถูกตรวจวัดด้วยหัวเซ็นเซอร์ จากนั้นจะแปรสัญญาณการตรวจจับเป็นสัญญาณไฟฟ้า และระบบจะวิเคราะห์สัญญาณโดยเทียบกับฐานข้อมูลที่เก็บไว้" นายศุภชัยกล่าว
นายศุภชัยกล่าวว่า ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ตรวจสอบรสชาติของอาหารได้อย่างรวดเร็ว ควบคุณภาพของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และแม่นยำ สามารถทดสอบอาหารได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งการควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จึงตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้โดยตรง นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดเวลา ดูแลรักษาง่าย และคุ้มค่าต่อการลงทุนอีกด้วย
(ที่มา:มติชนรายวัน 1 ตุลาคม 2557 กรอบตจว.)
ไทยเปิดตัวเครื่องวัด ความอร่อยอาหาร!?
ตรวจอร่อย - เครื่องมือตรวจวัดความอร่อยของอาหารไทย ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำมาใช้ทดสอบรสชาติอาหารไทยเพื่อให้มีมาตรฐานตามโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก ที่โรงแรมโฟว์ซีซั่นส์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน
เมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่โรงแรม โฟว์ซีซั่นส์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จัดกิจกรรมส่งเสริมความสำเร็จของโครงการ ไทย ดิลิเชียส (Thai Delicious) สู่ตลาดโลก รวมทั้งเปิดตัวเครื่องวัดความอร่อยของอาหาร ที่ประมวลรสชาติอาหารไทยจากระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปทดสอบว่าอาหารชนิดนั้นๆ ปรุงขึ้นมาแล้ว ได้ค่ามาตรฐานความอร่อยสำหรับรสชาติอาหารไทยหรือไม่
โดยงานจัดเป็นกาลาดินเนอร์ มีการสาธิต การปรุงอาหารตำรับไทยแท้ๆ และการชิมอาหารจากผลิตภัณฑ์โครงการ ไทย ดิลิเชียส รวมทั้งสาธิตการใช้เครื่องมือวัดความอร่อยของอาหาร โดยมีทูตการค้าและตัวแทนหอการค้าจากประเทศต่างๆ กว่า 10 ประเทศเข้าร่วม
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สนช. แถลงว่า สนช.ได้ดำเนินโครงการ ไทย ดิลิเชียส ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศ ครัวไทยสู่ครัวโลก เพื่อส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกำหนดมาตรฐานด้านรสชาติอาหารไทยให้ได้คุณภาพที่ไม่ผิดเพี้ยนไปจากตำรับดั้งเดิมของไทย ภายใต้แนวคิดอาหารไทยไม่ว่าครัวที่ไหนต้องมีรสชาติไทยเดียวกัน ตอบสนองความต้องการรสชาติอาหารไทยในตลาดต่างประเทศ
"โดยการนำองค์ความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และการทดสอบทางประสาทสัมผัสมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหลายภาคส่วนทั่วประเทศ" นายพยุงศักดิ์กล่าว
นายพยุงศักดิ์กล่าวอีกว่า วันนี้ได้พัฒนาสูตรมาตรฐานและต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารไทยพร้อมปรุงแล้วเสร็จทั้งสิ้น 11 ตำรับ ประกอบด้วย ต้มยำกุ้งน้ำใส,ต้มยำกุ้งน้ำข้น,ผัดไทย,แกงมัสมั่น,แกงเขียวหวาน,ข้าวซอย,ไส้อั่ว,น้ำพริกหนุ่ม,น้ำพริกอ่อง,แกงเหลือง และซอสไก่กอและ ที่จะนำไปเผยแพร่สู่นานาชาติ และอยู่ระหว่างพัฒนาอีก 10 ตำรับ
ด้าน นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สนช. แถลงว่า ที่ผ่านมา สนช.ได้พัฒนาและสนับสนุนโครงการนวัตกรรมภายใต้โครงการ ไทย ดิลิเชียส ทั้งสิ้น 14 โครงการ วงเงินสนับสนุนกว่า 23.5 ล้านบาท ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนกว่า 130.6 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย โครงการระบบบริหารจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบอาหารไทยครบวงจร นำร่องในพืชวัตถุดิบอาหารไทย ได้แก่ พริก และกะเพรา
"โครงการเครื่องมือตรวจวัดมาตรฐานรสชาติอาหารไทย 2 โครงการ ได้ต้นแบบเครื่องมือตรวจวัดรสชาติอาหารไทย 2 เครื่อง ได้แก่
1.e-delicious โดยบริษัท โมบิลิส ออโตมาต้า จำกัด เครื่องมือนี้ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ จมูกอิเล็กทรอนิกส์ ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประมวลผลกลาง" นายศุภชัยกล่าว
นายศุภชัยกล่าวอีกว่า โดยทั้งสามส่วนมีความเชื่อมโยงกันและทำหน้าที่ในการตรวจวัดกลิ่น และรสชาติ รวมถึงการประมวลผลรวมของข้อมูลของทั้งกลิ่นและรสชาติอาหาร เพื่อรวมข้อมูล ประมวล และแปลผลข้อมูลเปรียบเทียบกับมาตรฐานรสชาติอาหารไทยได้
"ในส่วนของการตรวจวัดกลิ่น e-delicious จะดมกลิ่นอาหารด้วยจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย อะเรย์ของก๊าซเซ็นเซอร์ 16 หัววัด ซึ่งออกแบบให้มีความเฉพาะเจาะจงกับกลิ่นอาหารไทย มีองค์ประกอบของสารหอมระเหย ก๊าซ และกลิ่นจากองค์ประกอบต่างๆ ของอาหาร โดยตัวระบบจะควบคุมการไหลเวียนของอากาศภายในระบบเพื่อให้กลิ่นจากตัวอย่างไปถึงหัววัดทุกตัวในปริมาณการไหลที่เท่าเทียมและสม่ำเสมอ สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากหัววัดจะถูกนำไปประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งรู้จำและเปรียบเทียบกลิ่นกับกลิ่นของตัวอย่างมาตรฐานเพื่อบอกความเหมือนและความแตกต่างได้" นายศุภชัยกล่าว
นายศุภชัยกล่าวต่อว่า ส่วนการวัดรสชาติโดยลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการตรวจวัดด้วยวิธีทางไฟฟ้าเคมี โดยเครื่องตรวจวัดรสชาติที่สำคัญของอาหารไทย คือ เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน และ อูมามิ ซึ่งเป็นรสชาติที่ 5 ที่ลิ้นมนุษย์รับรู้และแยกแยะได้ การตรวจวัดรสชาติใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทีต่อหนึ่งตัวอย่าง โดยตรวจวัดกลิ่นและรสชาติของอาหารที่มีลักษณะเป็นน้ำได้ เช่น น้ำต้มยำ และน้ำซุป เป็นต้น โดยในเบื้องต้นได้ทดสอบเครื่องกับต้มยำกุ้งแล้ว ทั้งสูตรน้ำข้นและน้ำใส ซึ่งเครื่องตรวจวัดรสชาติได้และเปรียบเทียบความคล้ายคลึงของรสชาติกับตัวอย่างมาตรฐานที่มีการให้คะแนนโดยผู้ทดสอบชิม
นายศุภชัยกล่าวว่า สำหรับเครื่องมืออีกตัวสำหรับวัดค่าความอร่อยของอาหารคือ ESenS โดยบริษัท ควอลิเท็ค แล็บบอราทอรี่ เซอร์วิส จำกัด โดย ESenS เป็นเหมือนหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาดสำหรับการตรวจวัดกลิ่นและรสชาติของส่วนผสมในอาหาร โดยจะใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจวัดรสชาติเหมือนเป็นนักชิมอาหารและเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่โดยการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลที่มีความแม่นยำ ภายใน ESenS สามารถประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์และส่งผ่านทางอีเมล์และเครือข่ายทางสังคมตามความต้องการขอผู้ใช้ได้
"ตัว ESenS เป็นเครื่องมือที่ใช้มาตรวัดทางเคมี เพื่อพัฒนาอุปกรณ์สำหรับบ่งบอกค่าเชิงปริมาณของกลิ่น รสชาติ สี และสารปรุงแต่งในอาหาร โดย ESenS จะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อย ได้แก่ เซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดกลิ่น เซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดรสชาติ และเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดสี ซึ่งหลักการทำงานของเครื่อง ESenS จะเลียนแบบการรับรู้กลิ่นและรสชาติของมนุษย์ในลักษณะการเรียนรู้แบบที่เกิดขึ้นบนหัวเซ็นเซอร์ต่างๆ กัน สำหรับสารที่ต้องการตรวจสอบจะถูกตรวจวัดด้วยหัวเซ็นเซอร์ จากนั้นจะแปรสัญญาณการตรวจจับเป็นสัญญาณไฟฟ้า และระบบจะวิเคราะห์สัญญาณโดยเทียบกับฐานข้อมูลที่เก็บไว้" นายศุภชัยกล่าว
นายศุภชัยกล่าวว่า ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ตรวจสอบรสชาติของอาหารได้อย่างรวดเร็ว ควบคุณภาพของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และแม่นยำ สามารถทดสอบอาหารได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งการควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จึงตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้โดยตรง นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดเวลา ดูแลรักษาง่าย และคุ้มค่าต่อการลงทุนอีกด้วย
(ที่มา:มติชนรายวัน 1 ตุลาคม 2557 กรอบตจว.)