หลังจากได้อ่านหลายๆกระทู้เกี่ยวกับปัญหาของระบบสาธารณสุข ก็มีความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นขึ้นมาบ้างค่ะ
ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยป่วยจริงหรือ ???
คุณคิดว่ายังไงคะ ?
ส่วนตัวฉันเองก็ได้คิดทบทวนมาเป็นเวลานาน เท่าที่ประสบการณ์ชีวิต และทักษะการคิดที่ผ่านมาจะพอประมวลได้
ปัจจัยที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขประสบความสำเร็จ มีปัจจัยจากอะไรได้บ้าง
1. หมอ
2. ผู้ป่วย
3. ระบบ
4. คนวางแผนระบบ
5. ประชาชนทุกคน
คุณว่าข้อไหนสำคัญที่สุด ??
แล้วปัญหาเกิดจากส่วนไหนมากที่สุด
คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยาก... มันขึ้นอยู่กับว่าคนตอบอยู่ในบทบาทไหน
ถ้าคุณเป็นคนไข้ คุณก็อาจโทษหมอ
ถ้าคุณเป็นหมอ คุณก็อาจโทษระบบ
ถ้าคุณเป็นคนวางแผนระบบ คุณก็โทษคนใช้ระบบ
ต่างคนก็ได้แต่กล่าวโทษคนอื่น โดยไม่ได้หันมามองดูตัวเองซักนิดเลยว่า เราคิดหรือทำอะไรอยู่ เราทำหน้าที่ของเราเต็มที่และดีที่สุดแล้วหรือยัง
ฉันมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสาธารณสุขของต่างประเทศ แม้จะไม่ได้มากมายอะไร แต่ก็มีหลายอย่างที่ฉันประทับใจและจดจำมาจนถึงตอนนี้
ตัวอย่างนึงที่น่าสนใจคือการมีหมอประจำบ้าน หมอส่วนใหญ่ จะเป็นหมอทั่วไป ในที่นี้ขอเน้นไปที่เรื่องราวเกี่ยวกับทันตกรรม เพราะตัวฉันเองค่อนข้างเข้าใจระบบ ถึงแม้อาจไม่เต็ม 100 แต่คิดว่าก็เข้าใจมากพอสมควร
เราเรียกว่าหมอ GP (General practice) นั่นหมายถึง การที่เราสามารถทำงานทั่วไปได้ทั้งหมดเหมือนที่เรียนมาจากมหาลัย ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน รักษาคลองรากฟัน ทำฟันปลอม ครอบฟัน และสิ่งที่หมอหลายๆคนอาจให้ความสำคัญน้อยไปหน่อยสำหรับงานป้องกัน
ฉันคิดว่า ถ้าเรามีหมอที่จะให้การรักษาเบื้องต้นเช่นนี้ได้ โรคในช่องปากก็จะไม่ดำเนินไปไกล
ยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพ
ถ้าเราอุดฟันได้ก่อนที่ฟันผุจะทะลุเข้าโพรงประสาทฟัน แทนที่จะต้องเลือกทางเลือกในการถอนฟันและทำฟันปลอมหรือรากฟันเทียม หรือการรักษาคลองรากฟันร่วมกับทำครอบฟัน จากค่าอุดฟัน เต็มที่ไม่เกินซี่ละ 1000 บาท เทียบกับการรักษาคลองรากฟันร่วมกับครอบฟัน ราคาเกือบหมื่น หรือรากฟันเทียมที่ราคาเกือบแสน
มีคนเสนอทางแก้ปัญหามากมาย ฉันก็ได้แต่คิดและทบทวนว่า...ทางออกไหนน่าจะเหมาะที่สุด ทางออกไหนจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด และทางออกไหนจะทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขที่สุด และเหมาะสมกับประเทศไทย
ฉันพยายามที่จะเป็นกลางที่สุดที่จะเขียนกระทู้นี้ เขียนในฐานะที่อีกไม่กี่เดือนฉันก็คงจะเป็นหมอจริงๆ เขียนในฐานะที่ฉันเองก็เป็นคนไข้คนนึงที่ต้องรับการรักษาจากหมอ และเขียนในฐานะที่ฉันเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่อยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสาธารณะประเทศไทยของเราให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ
ฉันยังมีความเชื่อเสมอว่า คนไทย ใจดี
ฉันยังมีความเชื่อเสมอว่า คนไทย เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก
และฉันก็เชื่อเสมอว่า คนไทย รักกัน
ฉันมีโอกาสได้ดูบทสัมภาษณ์ของคุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ฉันรู้สึกชื่นชมสิ่งที่เค้าทำเป็นอย่างมาก นี่แหละ จุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาที่ดี ... คนจากที่ต่างๆทั่วประเทศ ส่งข่าวแจ้งให้คุณบิณฑ์ทราบเกี่ยวกับบุคคลที่กำลังเจ็บป่วย ต้องการความช่วยเหลือ คุณบิณก็รับหน้าที่แจ้งข่าว ประชาสัมพันธ์ นั่นหมายถึงการเป็นสื่อกลางในการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องของเรา ซึ่งการระดมทุนแต่ละครั้งก็ได้ทุนนับแสนนับล้าน
นี่ยังเป็นสิ่งทีตอกย้ำความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทยเสมอ
เราไม่เพียงช่วยเหลือคนไทยด้วยกันเท่านั้น จากบทสัมภาษณ์เห็นว่าพี่น้องที่ไม่มีสัญชาติไทย เมื่อไหร่ที่ต้องการความช่วยเหลือ เราก็พร้อมและยินดีเสมอ
นี่แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของตัวเองได้เป็นอย่างดี แค่ทุกคนให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น
สิ่งเดียวที่ฉันอยากให้มีการพัฒนาต่อยอดคือ..
ในที่นี้เราเลือกทีจะให้การดูแลรักษากับคนไข้ที่มีอาการหนักแสนสาหัส จนหลายครั้ง เราลืมมองไปว่า
ถ้าเป็นสิ่งที่เราป้องกันได้ล่ะ เราควรป้องกันก่อนที่โรคจะร้ายแรงมั๊ย ??
แล้วใครจะเป็นคนรับบทบาทหน้าที่นี้ หน้าที่ของการป้องกัน...
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า หมอ..เป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ดีที่สุด การได้บอกเล่าเหตุผลที่มา สาเหตุ วิธีป้องกันให้กับคนไข้ได้เข้าใจ จนเค้าสามารถดูแลตัวเองได้ อาจต้องใช้เวลา และความเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อจะปรับเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ จนกระทั้งคนไข้คนหนึ่ง เข้าใจ สามารถดูแลตัวเองได้ และที่สำคัญ สามารถไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นๆในครอบครัวได้
หมอจึงควรมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ จะว่าไปงานป้องกัน เป็นงานที่ว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เพราะเป็นงานที่เหมือนไม่ต้องใช้ฝีมืออะไรมากมาย แต่เอาเข้าจริงกับต้องใช้ทักษะ จิตวิทยาอย่างมาก ในการที่จะเปลี่ยน ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และความเข้าใจของคนๆนึง
หมอเคยพูดกันว่า งานป้องกันก็ให้ทันตาภิบาลทำ หมอไม่พอ เราควรมารับมือกับเรื่องการรักษามากกว่า
ขณะที่ฉันฟัง ฉันเคยเห็นด้วยกับประโยคนี้ จนกระทั่งฉันได้เข้าใจด้วยตัวเอง ว่านี่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุชัดๆ
แล้วถ้าจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุต้องทำยังไง
โชคดีที่ฉันเกิดมาในช่วงที่ social network เปรียบเหมือนการทำการตลาด แต่โชคดีสองชั้นที่การตลาดครั้งนี้ ฟรี !!!
มีหมอ บุคลากรทางการแพทย์ หลายคนที่ตั้ง page ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ซึ่งนั่นนับเป็นสิ่งที่ดีมาก ฉันเองเป็นคนนึงที่ชอบอ่าน และทำความเข้าใจจากเพจเหล่านี้ เพราะเหมือนทำให้ฉันได้เข้าใจอะไรๆมากขึ้น จากบทความที่น่าอ่าน และน่าสนใจกว่าในหนังสือ
คุณลองจินตนาการตามสิ่งที่ความคิดเด็กคนนึงคิดดูนะคะ
ขอบอกก่อนนะคะ ว่าฉันยินดี และน้อมรับความเห็นที่แตกต่าง เพราะแต่ละคนก็สิทธิ์คิด มีสิทธิ์จินตนาการไปถึงสิ่งที่ตัวเองอยากให้เป็น
เมื่อเราทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบการมีหมอประจำบ้าน นั่นหมายความว่า เราต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถทำงานทั่วไปได้ และถ้ายิ่งมีความสามารถทำงานทั่วไปในระดับที่ยากขึ้นไปได้ก็นับเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก หากเจอกรณีที่ยากและเกินกว่าความสามารถจริงๆ จึงค่อยส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษากับผู้เชียวชาญในด้านนั้นๆ ทั้งนี้ก็ควรแนะนำความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันและดูแลตัวเองให้กับผู้ป่วยเพื่อที่เค้าจะสามารถไปบอกต่อและอธิบายให้กับคนในครอบครัวเข้าใจได้
นี่เป็นบทบาทที่หมอควรทำ
ส่วนบทบาทของผู้ป่วย ก็คือ เราต้องสนใจและใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากพอ ปัญหาตอนนี้ก็คือ เราเอาสุขภาพของเราฝากไว้ที่หมอ..
ถ้าพูดถึงคำว่าสุขภาพ คุณคิดถึงอะไร ?
หากถามคำถามนี้ไป คิดว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่จะตอบว่า หมอ โรงพยาบาล
จะมีซักกี่คนที่ตอบว่า สุขภาพ คือ การดูแลตัวเอง เรียนรู้การป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดโรค
นี่คือทัศนคตินึงที่เรามีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนให้ได้
มีกรณีที่หมอที่แทบจะต้องอดหลับอดนอน ลุกมาตรวจผู้ป่วย ที่มาหาหมอฉุกเฉินเพียงเพื่อไม่อยากรอคิวเพื่อรับบริการในช่วงเวลาปกติ นั่นแปลว่า ผู้ป่วยยังไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตัวเองที่ควรจะเป็น
จะว่าไป ระบบการศึกษาของเราอาจต้องเพิ่มทักษะเรื่องการดูแลตัวเอง เรียนรู้ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคให้มากกว่านี้ และต้องเรียนรู้ว่า อะไรคือภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วนที่จำเป็นต้องรีบมาพบแพทย์ ซึ่งส่วนนี้อาจต้องยกให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเหล่านี้ในรูปแบบที่ผู้ป่วย และครูอาจารย์ได้รับทราบ เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนที่รู้และเข้าใจเรื่องนี้ดีทีสุดคงเป็น ...หมอ
คำถามต่อมาคือ ปัจจัยเรื่องงบประมาณ
งานป้องกันบางอย่างก็อาจต้องใช้งบประมาณ ความคิดของเราส่วนใหญ่ หากไม่ป่วยจนรบกวนชีวิตประจำวันก็มักไม่ไปหาหมอ ในความเป็นจริงแล้วที่เราพยายามรณรงค์ให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจฟันทุก 6 เดือน ก็เพื่อให้เราสามารถตรวจเจอรอยโรคได้ตั้งแต่ในระยะแรก ซึ่งการรักษาไม่ยุ่งยากซับซ้อนมาก และค่าใช้จ่ายก็ไม่มากนัก
จริงๆมีไอเดียต่อยอดอีกเยอะ ไว้จะมาเขียนต่อนะคะ
ปล. ยังไม่เคยตั้งกระทู้ที่จริงจังแบบนี้ เขียนวกไปวนมาหน่อยก็ต้องขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วยนะคะ
ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านความเห็นเล็กๆจากเด็กคนนึงนะคะ
เมื่อเด็ก..ลองทำความเข้าใจระบบสาธารณสุข
ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยป่วยจริงหรือ ???
คุณคิดว่ายังไงคะ ?
ส่วนตัวฉันเองก็ได้คิดทบทวนมาเป็นเวลานาน เท่าที่ประสบการณ์ชีวิต และทักษะการคิดที่ผ่านมาจะพอประมวลได้
ปัจจัยที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขประสบความสำเร็จ มีปัจจัยจากอะไรได้บ้าง
1. หมอ
2. ผู้ป่วย
3. ระบบ
4. คนวางแผนระบบ
5. ประชาชนทุกคน
คุณว่าข้อไหนสำคัญที่สุด ??
แล้วปัญหาเกิดจากส่วนไหนมากที่สุด
คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยาก... มันขึ้นอยู่กับว่าคนตอบอยู่ในบทบาทไหน
ถ้าคุณเป็นคนไข้ คุณก็อาจโทษหมอ
ถ้าคุณเป็นหมอ คุณก็อาจโทษระบบ
ถ้าคุณเป็นคนวางแผนระบบ คุณก็โทษคนใช้ระบบ
ต่างคนก็ได้แต่กล่าวโทษคนอื่น โดยไม่ได้หันมามองดูตัวเองซักนิดเลยว่า เราคิดหรือทำอะไรอยู่ เราทำหน้าที่ของเราเต็มที่และดีที่สุดแล้วหรือยัง
ฉันมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสาธารณสุขของต่างประเทศ แม้จะไม่ได้มากมายอะไร แต่ก็มีหลายอย่างที่ฉันประทับใจและจดจำมาจนถึงตอนนี้
ตัวอย่างนึงที่น่าสนใจคือการมีหมอประจำบ้าน หมอส่วนใหญ่ จะเป็นหมอทั่วไป ในที่นี้ขอเน้นไปที่เรื่องราวเกี่ยวกับทันตกรรม เพราะตัวฉันเองค่อนข้างเข้าใจระบบ ถึงแม้อาจไม่เต็ม 100 แต่คิดว่าก็เข้าใจมากพอสมควร
เราเรียกว่าหมอ GP (General practice) นั่นหมายถึง การที่เราสามารถทำงานทั่วไปได้ทั้งหมดเหมือนที่เรียนมาจากมหาลัย ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน รักษาคลองรากฟัน ทำฟันปลอม ครอบฟัน และสิ่งที่หมอหลายๆคนอาจให้ความสำคัญน้อยไปหน่อยสำหรับงานป้องกัน
ฉันคิดว่า ถ้าเรามีหมอที่จะให้การรักษาเบื้องต้นเช่นนี้ได้ โรคในช่องปากก็จะไม่ดำเนินไปไกล
ยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพ
ถ้าเราอุดฟันได้ก่อนที่ฟันผุจะทะลุเข้าโพรงประสาทฟัน แทนที่จะต้องเลือกทางเลือกในการถอนฟันและทำฟันปลอมหรือรากฟันเทียม หรือการรักษาคลองรากฟันร่วมกับทำครอบฟัน จากค่าอุดฟัน เต็มที่ไม่เกินซี่ละ 1000 บาท เทียบกับการรักษาคลองรากฟันร่วมกับครอบฟัน ราคาเกือบหมื่น หรือรากฟันเทียมที่ราคาเกือบแสน
มีคนเสนอทางแก้ปัญหามากมาย ฉันก็ได้แต่คิดและทบทวนว่า...ทางออกไหนน่าจะเหมาะที่สุด ทางออกไหนจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด และทางออกไหนจะทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขที่สุด และเหมาะสมกับประเทศไทย
ฉันพยายามที่จะเป็นกลางที่สุดที่จะเขียนกระทู้นี้ เขียนในฐานะที่อีกไม่กี่เดือนฉันก็คงจะเป็นหมอจริงๆ เขียนในฐานะที่ฉันเองก็เป็นคนไข้คนนึงที่ต้องรับการรักษาจากหมอ และเขียนในฐานะที่ฉันเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่อยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสาธารณะประเทศไทยของเราให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ
ฉันยังมีความเชื่อเสมอว่า คนไทย ใจดี
ฉันยังมีความเชื่อเสมอว่า คนไทย เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก
และฉันก็เชื่อเสมอว่า คนไทย รักกัน
ฉันมีโอกาสได้ดูบทสัมภาษณ์ของคุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ฉันรู้สึกชื่นชมสิ่งที่เค้าทำเป็นอย่างมาก นี่แหละ จุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาที่ดี ... คนจากที่ต่างๆทั่วประเทศ ส่งข่าวแจ้งให้คุณบิณฑ์ทราบเกี่ยวกับบุคคลที่กำลังเจ็บป่วย ต้องการความช่วยเหลือ คุณบิณก็รับหน้าที่แจ้งข่าว ประชาสัมพันธ์ นั่นหมายถึงการเป็นสื่อกลางในการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องของเรา ซึ่งการระดมทุนแต่ละครั้งก็ได้ทุนนับแสนนับล้าน
นี่ยังเป็นสิ่งทีตอกย้ำความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทยเสมอ
เราไม่เพียงช่วยเหลือคนไทยด้วยกันเท่านั้น จากบทสัมภาษณ์เห็นว่าพี่น้องที่ไม่มีสัญชาติไทย เมื่อไหร่ที่ต้องการความช่วยเหลือ เราก็พร้อมและยินดีเสมอ
นี่แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของตัวเองได้เป็นอย่างดี แค่ทุกคนให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น
สิ่งเดียวที่ฉันอยากให้มีการพัฒนาต่อยอดคือ..
ในที่นี้เราเลือกทีจะให้การดูแลรักษากับคนไข้ที่มีอาการหนักแสนสาหัส จนหลายครั้ง เราลืมมองไปว่า
ถ้าเป็นสิ่งที่เราป้องกันได้ล่ะ เราควรป้องกันก่อนที่โรคจะร้ายแรงมั๊ย ??
แล้วใครจะเป็นคนรับบทบาทหน้าที่นี้ หน้าที่ของการป้องกัน...
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า หมอ..เป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ดีที่สุด การได้บอกเล่าเหตุผลที่มา สาเหตุ วิธีป้องกันให้กับคนไข้ได้เข้าใจ จนเค้าสามารถดูแลตัวเองได้ อาจต้องใช้เวลา และความเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อจะปรับเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ จนกระทั้งคนไข้คนหนึ่ง เข้าใจ สามารถดูแลตัวเองได้ และที่สำคัญ สามารถไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นๆในครอบครัวได้
หมอจึงควรมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ จะว่าไปงานป้องกัน เป็นงานที่ว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เพราะเป็นงานที่เหมือนไม่ต้องใช้ฝีมืออะไรมากมาย แต่เอาเข้าจริงกับต้องใช้ทักษะ จิตวิทยาอย่างมาก ในการที่จะเปลี่ยน ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และความเข้าใจของคนๆนึง
หมอเคยพูดกันว่า งานป้องกันก็ให้ทันตาภิบาลทำ หมอไม่พอ เราควรมารับมือกับเรื่องการรักษามากกว่า
ขณะที่ฉันฟัง ฉันเคยเห็นด้วยกับประโยคนี้ จนกระทั่งฉันได้เข้าใจด้วยตัวเอง ว่านี่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุชัดๆ
แล้วถ้าจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุต้องทำยังไง
โชคดีที่ฉันเกิดมาในช่วงที่ social network เปรียบเหมือนการทำการตลาด แต่โชคดีสองชั้นที่การตลาดครั้งนี้ ฟรี !!!
มีหมอ บุคลากรทางการแพทย์ หลายคนที่ตั้ง page ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ซึ่งนั่นนับเป็นสิ่งที่ดีมาก ฉันเองเป็นคนนึงที่ชอบอ่าน และทำความเข้าใจจากเพจเหล่านี้ เพราะเหมือนทำให้ฉันได้เข้าใจอะไรๆมากขึ้น จากบทความที่น่าอ่าน และน่าสนใจกว่าในหนังสือ
คุณลองจินตนาการตามสิ่งที่ความคิดเด็กคนนึงคิดดูนะคะ
ขอบอกก่อนนะคะ ว่าฉันยินดี และน้อมรับความเห็นที่แตกต่าง เพราะแต่ละคนก็สิทธิ์คิด มีสิทธิ์จินตนาการไปถึงสิ่งที่ตัวเองอยากให้เป็น
เมื่อเราทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบการมีหมอประจำบ้าน นั่นหมายความว่า เราต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถทำงานทั่วไปได้ และถ้ายิ่งมีความสามารถทำงานทั่วไปในระดับที่ยากขึ้นไปได้ก็นับเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก หากเจอกรณีที่ยากและเกินกว่าความสามารถจริงๆ จึงค่อยส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษากับผู้เชียวชาญในด้านนั้นๆ ทั้งนี้ก็ควรแนะนำความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันและดูแลตัวเองให้กับผู้ป่วยเพื่อที่เค้าจะสามารถไปบอกต่อและอธิบายให้กับคนในครอบครัวเข้าใจได้
นี่เป็นบทบาทที่หมอควรทำ
ส่วนบทบาทของผู้ป่วย ก็คือ เราต้องสนใจและใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากพอ ปัญหาตอนนี้ก็คือ เราเอาสุขภาพของเราฝากไว้ที่หมอ..
ถ้าพูดถึงคำว่าสุขภาพ คุณคิดถึงอะไร ?
หากถามคำถามนี้ไป คิดว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่จะตอบว่า หมอ โรงพยาบาล
จะมีซักกี่คนที่ตอบว่า สุขภาพ คือ การดูแลตัวเอง เรียนรู้การป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดโรค
นี่คือทัศนคตินึงที่เรามีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนให้ได้
มีกรณีที่หมอที่แทบจะต้องอดหลับอดนอน ลุกมาตรวจผู้ป่วย ที่มาหาหมอฉุกเฉินเพียงเพื่อไม่อยากรอคิวเพื่อรับบริการในช่วงเวลาปกติ นั่นแปลว่า ผู้ป่วยยังไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตัวเองที่ควรจะเป็น
จะว่าไป ระบบการศึกษาของเราอาจต้องเพิ่มทักษะเรื่องการดูแลตัวเอง เรียนรู้ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคให้มากกว่านี้ และต้องเรียนรู้ว่า อะไรคือภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วนที่จำเป็นต้องรีบมาพบแพทย์ ซึ่งส่วนนี้อาจต้องยกให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเหล่านี้ในรูปแบบที่ผู้ป่วย และครูอาจารย์ได้รับทราบ เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนที่รู้และเข้าใจเรื่องนี้ดีทีสุดคงเป็น ...หมอ
คำถามต่อมาคือ ปัจจัยเรื่องงบประมาณ
งานป้องกันบางอย่างก็อาจต้องใช้งบประมาณ ความคิดของเราส่วนใหญ่ หากไม่ป่วยจนรบกวนชีวิตประจำวันก็มักไม่ไปหาหมอ ในความเป็นจริงแล้วที่เราพยายามรณรงค์ให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจฟันทุก 6 เดือน ก็เพื่อให้เราสามารถตรวจเจอรอยโรคได้ตั้งแต่ในระยะแรก ซึ่งการรักษาไม่ยุ่งยากซับซ้อนมาก และค่าใช้จ่ายก็ไม่มากนัก
จริงๆมีไอเดียต่อยอดอีกเยอะ ไว้จะมาเขียนต่อนะคะ
ปล. ยังไม่เคยตั้งกระทู้ที่จริงจังแบบนี้ เขียนวกไปวนมาหน่อยก็ต้องขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วยนะคะ
ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านความเห็นเล็กๆจากเด็กคนนึงนะคะ