จาก twitterของคุณ Supinya Klangnarong
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://twitter.com/supinya
สำหรับท่านที่ติดตามเเรื่องช่อง 3 อนาล็อกคู่ขนานไม่ได้เพราะคนละบริษัทตามที่ช่อง 3 อ้าง
ดิฉันจะใช้พื้นที่ใน TL อธิบายหลักคิดของมาตรา9 พรบ.51 และ มาตรา 43 พรบ.53 อีกครั้ง
Attention please...โปรดตั้งใจฟัง ดังนี้
1. การประกอบกิจการด้วยตนเอง ตามมาตรา9 (พรบ.การประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2551)
2.ประเด็นหลักไม่ใช่เรื่องนิติบุคคลเดียวกันหรือไม่ แต่พิจารณาที่การกระทำ/พฤติกรรมว่าการนำcontentมาในกรณีนี้ 'ประกอบกิจการด้วยตนเอง' หรือไม่
3.การนำเนื้อหา(content)จากช่องanalogมาเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่digitalกรณีนี้ ยังไม่ใช่จุดที่จะตัดสินว่า'ไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตนเอง'
4. กสท. ต้องดูพฤติกรรมอื่นๆประกอบ เช่น อำนาจในการควบคุมกิจการ การปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และ รับผิดชอบในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น
5.อาทิ @TrueVisions (ผู้รับใบอนุญาตช่องฯ) นำcontent ของ CNN/BBCทั้งหมดมาออก24ชั่วโมงก็มิได้หมายความว่าทรูวิชั่นส์ไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตนเอง
6. ตราบใดที่ @TrueVisions ยังบริหารจัดการกิจการนั้นด้วยตนเองและปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบอนุญาต (มาตรา9 นี้ใช้กับผู้รับใบอนุญาตทุกราย)
7. ดูรายละเอียดของผู้รับใบอนุญาตอย่าง @TrueVisions CTH GMM RS ในการนำผังรายการของต่างประเทศมาออก 24 ชั่วโมง
https://broadcast.nbtc.go.th/tv/?type=NTYwNDAwMDAwMDAx …
8. มาตรา9 ใช้บังคับกับผู้รับใบอนุญาตทุกรายทั้งทีวีใช้คลื่น-ไม่ใช้คลื่น ฟรีทีวี-เพย์ทีวี หัวใจสำคัญคือ 'ผู้มีอำนาจควบคุมไม่เปลี่ยนมือ'
9. เมื่อมาตรา9 ใช้กับผู้รับใบอนุญาตทุกราย แต่ความต่างของ ฟรีทีวีและเพย์ทีวีคือ 'ผังรายการที่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาตนั้น'
10. อาทิฟรีทีวีต้องจัดทำผังที่ละเอียดว่าเพย์ทีวี เช่นช่องวาไรตี้ต้องมีรายการข่าวไม่ต่ำว่าร้อยละ25 มีรายการเด็ก ข่าวพระราชสำนัก ต้องจัดเรท
11. เรื่องผังสำคัญไม่แพ้ สัดส่วนผู้ถือหุ้น/เจ้าของ ถ้าผู้รับใบอนุญาตใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวอำนาจการควบคุม ต้องแจ้ง กสทช. เพื่อพิจารณานัยยะ
12 แม้แต่กลุ่มวิทยุท้องถิ่นเล็กๆ ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการที่มี 'อำนาจควบคุม' ของบริษัท ต้องแจ้ง กสทช.เพื่อพิจารณาว่าถ่ายโอนสิทธิ์หรือไม่
13. เพื่อป้องกันการถ่ายโอนสิทธิ์ในใบอนุญาตใช้คลื่นฯหรือการประกอบกิจการ ปรกติจะดูที่ 'ผู้มีอำนาจควบคุม' เป็นหลัก ไม่ใช่ผังรายการของสถานี
14.ดังนั้น การจะใช้ดุลยพินิจตัดสินว่า ผู้รับใบอนุญาตนั้น ประกอบกิจการด้วยตนเองหรือไม่ จึงจะพิจารณาที่อำนาจในการควบคุม บริหารจัดการเป็นสำคัญ
15.จากข้อ 1-14 พูดถึงมาตรา9 พรบ.51 ที่เน้นในมิติการประกอบกิจการ จากนี้จะพูดถึงมิติสิทธิ์การใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 43 พรบ.กสทช.53บ้าง
16.มาตรา43 พรบ.องค์กรฯ เป็นเรื่องการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนไม่ได้ มอบการบริหารจัดการให้บุคคลอื่นประกอบกิจการแทนไม่ได้
17.กรณีนี้แม้ช่อง3อนาล็อกและช่อง3ดิจิตอลจะเป็นกิจการที่ใช้คลื่น แต่การไปนำ content มา ไม่ใช่การโอนสิทธิในคลื่นความถี่ให้ผู้อื่นบริหารแทน
18. เทียบเคียงกับการใช้คลื่นด้านโทรคมนาคม บอร์ด กทค. (รายงานคณะอนุกรรมการเพื่อการศึกษามาตรา 46 พรบ.ประกอบกิจการโทรคม)
19. คำว่า 'ประกอบกิจการ' ตามมาตรา 46 ของโทรคมนาคม เทียบได้กับมาตรา 43 ของด้านวิทยุ-โทรทัศน์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับคลื่นความถี่
20. มาตรา43 (วิทยุ-ทีวี) และ มาตรา46(โทรคมนาคม) มุ่งหมายถึงการดำเนินการในส่วนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ (Essential element) ของการประกอบกิจการ
21. การตีความคำว่า 'บริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยตนเอง' จึงต้องอยู่บนพื้นฐานหลักการที่ว่า ผู้รับใบอนุญาตจะต้องสามารถควบคุม (control)
22.ผู้รับใบฯจะต้องสามารถควบคุมการใช้งานคลื่นค.ถี่ซึ่งเป็นเป็นองค์ประกอบหลักได้และต้องรับผิดชอบต่อการกระทำต่างๆที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคลื่นด้วย
23. สรุป 'การประกอบกิจการด้วยตนเอง' หรือไม่ จะดูที่อำนาจในการควบคุม (control) องค์ประกอบสำคัญ และ การต้องรับผิดชอบกับการกระทำต่างๆ
24. อย่างไรก็ตาม ผู้รับใบอนุญาตทำดิจิตอลทีวีทุกราย มีรายละเอียดสำคัญคือต้องทำตาม 'เงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบกิจการ' ประเภทนั้นๆด้วย
25. เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตภาพรวมจะเหมือนกันทุกราย แต่จะมีเงื่อนไขละเอียดแตกต่างกันตามประเภทช่องวาไรตี้ ช่องข่าว ช่องเด็กเยาวชน เป็นต้น
สรุป ผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอล จะต้องไม่โอนสิทธิ์ในการใช้คลื่นไปให้คนอื่น และ ต้องมีอำนาจบริหารจัดการสถานี รับผิดชอบเนื้อหาเต็ม
สรุป ไม่ว่าทางเครือช่อง3ดิจิตอลจะไปจัดทำ-จัดซื้อ-จัดหา-จัดจ้างเนื้อหามาจากที่ใด แต่ต้องทำตามเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตครบถ้วนเหมือนช่องอื่นๆ /จบ/
สรุปแบบบ้านๆคือ ผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอล จะเที่ยวเอาคลื่น/สิทธิ์ประกอบกิจการไปขาย/ให้คนอื่นเช่าช่วงต่อทั้งหมดไม่ได้ หัวใจมาตรา9อยู่ตรงนี้
ดังนั้น ถ้าเครือช่อง3ดิจิตอล ยืนยันได้ว่าไม่ได้นำคลื่น/สิทธิ์ในการประกอบกิจการไปขายต่อหรือให้คนอื่นเช่าช่วงต่อ(ทั้งหมด) ก็จึงไม่ควรขัดมาตรา9
สรุปแบบบ้านๆอีกที การไปซื้อเนื้อหาจากที่อื่นมาออกในช่องตัวเอง ไม่เป็นปัญหาเท่าการขายเวลาให้คนอื่นเช่าช่วงเกินข้อกำหนดตามกฏหมาย #มาตรา9
ช่อง3ดิจิตอลไปจัดซื้อจัดจ้าง content จากบริษัทอื่นๆ ที่ไม่ใช่บริษัทในเครือตนเองก็ยังทำได้ ตราบเท่าที่มีอำนาจบริหารจัดการสิทธิ์นั้นในช่องตน
ถ้าช่อง3ดิจิตอลจะไปจัดซื้อ-จัดหาเนื้อหาจากช่อง3อนาล็อกกันเอง ยิ่งง่ายกว่า เพราะอยู่ใน holding company เดียวกัน ที่โยงอำนาจควบคุมกิจการชัดเจน
มาตรา9 ไม่ได้ห้ามผู้รับใบอนุญาต ไปจัดซื้อ-จัดหา-จัดจ้างเนื้อหารายการจากที่อื่นๆ แต่ห้ามการขายโอนสิทธิ์ประกอบการหรือห้ามให้คนอื่นเช่าช่วงต่อ
การประกอบกิจการด้วยตนเอง คือ การต้องไม่โอนสิทธิ์การประกอบกิจการไปให้คนอื่นเช่าช่วงต่อเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดตามมาตรา 9
ทั้งหมดคือการอธิบายหลักคิดเรื่องมาตรา9และมาตรา 43 ของข้าพเจ้าในฐานะคนที่มีส่วนร่วมร่าง พรบ.53 และใช้อำนาจกำกับดูแล ใครเห็นต่างแย้งได้ค่ะ
ในทางตรงกันข้าม การจะไปแก้ประกาศตามมาตรา9 ให้คนอื่นเช่าช่วงได้ถึง100% ยิ่งขัดเจตนารมย์ของมาตรา9 จะกระทบภาพรวมกฏหมายทั้งหมด น่ากลัวมาก
อย่าไปสับสนคำว่า คนละนิติบุคคล ให้เน้นที่การประกอบกิจการด้วยตนเอง/การไม่ให้เช่าช่วงต่อ(แบ่งเวลา) จับหลักกฏหมายให้ดีๆแล้วจะเห็นคำตอบชัดเจน
สรุป ช่อง3อนาล็อกมีทางออกบนช่อง3ดิจิตอล ถ้ายินยอมให้ช่อง3ดิจิตอลบริหารจัดการทั้งหมดตามเงื่อนไข โดยไม่ต้อง/ไม่ควรไปแก้ประกาศใดๆทั้งสิ้น
ที่สำคัญ ถ้าเราไปนิยาม 3อนาล็อกกับ3ดิจิตอล เป็น 'คนอื่น' ของกันและกัน จะยุ่งมากในแง่ของ media ownership และการครอบงำกิจการสื่อ
รายละเอียดลึกๆทางช่อง3ดิจิตอลต้องไปเคลียร์กับช่อง3อนาล็อกเอง ไม่ใช่ภาระ กสทช. สิ่งที่ กสท.จะพิจารณาคือการยื่นขอมาในนาม3ดิจิตอลแบบครบถ้วน
ทุกปัญหามีทางออก แต่ถ้าไม่ประสงค์จะเดินออก ก็มิอาจบังคับใจ แต่ก็ต้องตกอยู่ในสภาพที่กติกากลางกำหนด ถ้าแหกกฏ จะกระทบต่อคนอื่นๆทั้งหมด
ปล. ทั้งหมดคือทวิตส่วนตัวของข้าพเจ้า ที่อิงจากที่มาของมติ กสท.วานนี้และการอธิบายเพิ่มเติม ทุกท่านโต้แย้งได้ จึงเรียนมาเพื่อทราบค่ะ
ขอสรุปเป็นภาษาอังกฤษถึงช่อง3ว่า We have done our duty best to serve you a fair treatment & options.Now it's your call. Make it right. #Ch3
กรณีคนละบริษัทของช่อง 3 มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับท่านที่สนใจครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับท่านที่ติดตามเเรื่องช่อง 3 อนาล็อกคู่ขนานไม่ได้เพราะคนละบริษัทตามที่ช่อง 3 อ้าง
ดิฉันจะใช้พื้นที่ใน TL อธิบายหลักคิดของมาตรา9 พรบ.51 และ มาตรา 43 พรบ.53 อีกครั้ง
Attention please...โปรดตั้งใจฟัง ดังนี้
1. การประกอบกิจการด้วยตนเอง ตามมาตรา9 (พรบ.การประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2551)
2.ประเด็นหลักไม่ใช่เรื่องนิติบุคคลเดียวกันหรือไม่ แต่พิจารณาที่การกระทำ/พฤติกรรมว่าการนำcontentมาในกรณีนี้ 'ประกอบกิจการด้วยตนเอง' หรือไม่
3.การนำเนื้อหา(content)จากช่องanalogมาเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่digitalกรณีนี้ ยังไม่ใช่จุดที่จะตัดสินว่า'ไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตนเอง'
4. กสท. ต้องดูพฤติกรรมอื่นๆประกอบ เช่น อำนาจในการควบคุมกิจการ การปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และ รับผิดชอบในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น
5.อาทิ @TrueVisions (ผู้รับใบอนุญาตช่องฯ) นำcontent ของ CNN/BBCทั้งหมดมาออก24ชั่วโมงก็มิได้หมายความว่าทรูวิชั่นส์ไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตนเอง
6. ตราบใดที่ @TrueVisions ยังบริหารจัดการกิจการนั้นด้วยตนเองและปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบอนุญาต (มาตรา9 นี้ใช้กับผู้รับใบอนุญาตทุกราย)
7. ดูรายละเอียดของผู้รับใบอนุญาตอย่าง @TrueVisions CTH GMM RS ในการนำผังรายการของต่างประเทศมาออก 24 ชั่วโมง https://broadcast.nbtc.go.th/tv/?type=NTYwNDAwMDAwMDAx …
8. มาตรา9 ใช้บังคับกับผู้รับใบอนุญาตทุกรายทั้งทีวีใช้คลื่น-ไม่ใช้คลื่น ฟรีทีวี-เพย์ทีวี หัวใจสำคัญคือ 'ผู้มีอำนาจควบคุมไม่เปลี่ยนมือ'
9. เมื่อมาตรา9 ใช้กับผู้รับใบอนุญาตทุกราย แต่ความต่างของ ฟรีทีวีและเพย์ทีวีคือ 'ผังรายการที่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาตนั้น'
10. อาทิฟรีทีวีต้องจัดทำผังที่ละเอียดว่าเพย์ทีวี เช่นช่องวาไรตี้ต้องมีรายการข่าวไม่ต่ำว่าร้อยละ25 มีรายการเด็ก ข่าวพระราชสำนัก ต้องจัดเรท
11. เรื่องผังสำคัญไม่แพ้ สัดส่วนผู้ถือหุ้น/เจ้าของ ถ้าผู้รับใบอนุญาตใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวอำนาจการควบคุม ต้องแจ้ง กสทช. เพื่อพิจารณานัยยะ
12 แม้แต่กลุ่มวิทยุท้องถิ่นเล็กๆ ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการที่มี 'อำนาจควบคุม' ของบริษัท ต้องแจ้ง กสทช.เพื่อพิจารณาว่าถ่ายโอนสิทธิ์หรือไม่
13. เพื่อป้องกันการถ่ายโอนสิทธิ์ในใบอนุญาตใช้คลื่นฯหรือการประกอบกิจการ ปรกติจะดูที่ 'ผู้มีอำนาจควบคุม' เป็นหลัก ไม่ใช่ผังรายการของสถานี
14.ดังนั้น การจะใช้ดุลยพินิจตัดสินว่า ผู้รับใบอนุญาตนั้น ประกอบกิจการด้วยตนเองหรือไม่ จึงจะพิจารณาที่อำนาจในการควบคุม บริหารจัดการเป็นสำคัญ
15.จากข้อ 1-14 พูดถึงมาตรา9 พรบ.51 ที่เน้นในมิติการประกอบกิจการ จากนี้จะพูดถึงมิติสิทธิ์การใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 43 พรบ.กสทช.53บ้าง
16.มาตรา43 พรบ.องค์กรฯ เป็นเรื่องการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนไม่ได้ มอบการบริหารจัดการให้บุคคลอื่นประกอบกิจการแทนไม่ได้
17.กรณีนี้แม้ช่อง3อนาล็อกและช่อง3ดิจิตอลจะเป็นกิจการที่ใช้คลื่น แต่การไปนำ content มา ไม่ใช่การโอนสิทธิในคลื่นความถี่ให้ผู้อื่นบริหารแทน
18. เทียบเคียงกับการใช้คลื่นด้านโทรคมนาคม บอร์ด กทค. (รายงานคณะอนุกรรมการเพื่อการศึกษามาตรา 46 พรบ.ประกอบกิจการโทรคม)
19. คำว่า 'ประกอบกิจการ' ตามมาตรา 46 ของโทรคมนาคม เทียบได้กับมาตรา 43 ของด้านวิทยุ-โทรทัศน์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับคลื่นความถี่
20. มาตรา43 (วิทยุ-ทีวี) และ มาตรา46(โทรคมนาคม) มุ่งหมายถึงการดำเนินการในส่วนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ (Essential element) ของการประกอบกิจการ
21. การตีความคำว่า 'บริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยตนเอง' จึงต้องอยู่บนพื้นฐานหลักการที่ว่า ผู้รับใบอนุญาตจะต้องสามารถควบคุม (control)
22.ผู้รับใบฯจะต้องสามารถควบคุมการใช้งานคลื่นค.ถี่ซึ่งเป็นเป็นองค์ประกอบหลักได้และต้องรับผิดชอบต่อการกระทำต่างๆที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคลื่นด้วย
23. สรุป 'การประกอบกิจการด้วยตนเอง' หรือไม่ จะดูที่อำนาจในการควบคุม (control) องค์ประกอบสำคัญ และ การต้องรับผิดชอบกับการกระทำต่างๆ
24. อย่างไรก็ตาม ผู้รับใบอนุญาตทำดิจิตอลทีวีทุกราย มีรายละเอียดสำคัญคือต้องทำตาม 'เงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบกิจการ' ประเภทนั้นๆด้วย
25. เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตภาพรวมจะเหมือนกันทุกราย แต่จะมีเงื่อนไขละเอียดแตกต่างกันตามประเภทช่องวาไรตี้ ช่องข่าว ช่องเด็กเยาวชน เป็นต้น
สรุป ผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอล จะต้องไม่โอนสิทธิ์ในการใช้คลื่นไปให้คนอื่น และ ต้องมีอำนาจบริหารจัดการสถานี รับผิดชอบเนื้อหาเต็ม
สรุป ไม่ว่าทางเครือช่อง3ดิจิตอลจะไปจัดทำ-จัดซื้อ-จัดหา-จัดจ้างเนื้อหามาจากที่ใด แต่ต้องทำตามเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตครบถ้วนเหมือนช่องอื่นๆ /จบ/
สรุปแบบบ้านๆคือ ผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอล จะเที่ยวเอาคลื่น/สิทธิ์ประกอบกิจการไปขาย/ให้คนอื่นเช่าช่วงต่อทั้งหมดไม่ได้ หัวใจมาตรา9อยู่ตรงนี้
ดังนั้น ถ้าเครือช่อง3ดิจิตอล ยืนยันได้ว่าไม่ได้นำคลื่น/สิทธิ์ในการประกอบกิจการไปขายต่อหรือให้คนอื่นเช่าช่วงต่อ(ทั้งหมด) ก็จึงไม่ควรขัดมาตรา9
สรุปแบบบ้านๆอีกที การไปซื้อเนื้อหาจากที่อื่นมาออกในช่องตัวเอง ไม่เป็นปัญหาเท่าการขายเวลาให้คนอื่นเช่าช่วงเกินข้อกำหนดตามกฏหมาย #มาตรา9
ช่อง3ดิจิตอลไปจัดซื้อจัดจ้าง content จากบริษัทอื่นๆ ที่ไม่ใช่บริษัทในเครือตนเองก็ยังทำได้ ตราบเท่าที่มีอำนาจบริหารจัดการสิทธิ์นั้นในช่องตน
ถ้าช่อง3ดิจิตอลจะไปจัดซื้อ-จัดหาเนื้อหาจากช่อง3อนาล็อกกันเอง ยิ่งง่ายกว่า เพราะอยู่ใน holding company เดียวกัน ที่โยงอำนาจควบคุมกิจการชัดเจน
มาตรา9 ไม่ได้ห้ามผู้รับใบอนุญาต ไปจัดซื้อ-จัดหา-จัดจ้างเนื้อหารายการจากที่อื่นๆ แต่ห้ามการขายโอนสิทธิ์ประกอบการหรือห้ามให้คนอื่นเช่าช่วงต่อ
การประกอบกิจการด้วยตนเอง คือ การต้องไม่โอนสิทธิ์การประกอบกิจการไปให้คนอื่นเช่าช่วงต่อเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดตามมาตรา 9
ทั้งหมดคือการอธิบายหลักคิดเรื่องมาตรา9และมาตรา 43 ของข้าพเจ้าในฐานะคนที่มีส่วนร่วมร่าง พรบ.53 และใช้อำนาจกำกับดูแล ใครเห็นต่างแย้งได้ค่ะ
ในทางตรงกันข้าม การจะไปแก้ประกาศตามมาตรา9 ให้คนอื่นเช่าช่วงได้ถึง100% ยิ่งขัดเจตนารมย์ของมาตรา9 จะกระทบภาพรวมกฏหมายทั้งหมด น่ากลัวมาก
อย่าไปสับสนคำว่า คนละนิติบุคคล ให้เน้นที่การประกอบกิจการด้วยตนเอง/การไม่ให้เช่าช่วงต่อ(แบ่งเวลา) จับหลักกฏหมายให้ดีๆแล้วจะเห็นคำตอบชัดเจน
สรุป ช่อง3อนาล็อกมีทางออกบนช่อง3ดิจิตอล ถ้ายินยอมให้ช่อง3ดิจิตอลบริหารจัดการทั้งหมดตามเงื่อนไข โดยไม่ต้อง/ไม่ควรไปแก้ประกาศใดๆทั้งสิ้น
ที่สำคัญ ถ้าเราไปนิยาม 3อนาล็อกกับ3ดิจิตอล เป็น 'คนอื่น' ของกันและกัน จะยุ่งมากในแง่ของ media ownership และการครอบงำกิจการสื่อ
รายละเอียดลึกๆทางช่อง3ดิจิตอลต้องไปเคลียร์กับช่อง3อนาล็อกเอง ไม่ใช่ภาระ กสทช. สิ่งที่ กสท.จะพิจารณาคือการยื่นขอมาในนาม3ดิจิตอลแบบครบถ้วน
ทุกปัญหามีทางออก แต่ถ้าไม่ประสงค์จะเดินออก ก็มิอาจบังคับใจ แต่ก็ต้องตกอยู่ในสภาพที่กติกากลางกำหนด ถ้าแหกกฏ จะกระทบต่อคนอื่นๆทั้งหมด
ปล. ทั้งหมดคือทวิตส่วนตัวของข้าพเจ้า ที่อิงจากที่มาของมติ กสท.วานนี้และการอธิบายเพิ่มเติม ทุกท่านโต้แย้งได้ จึงเรียนมาเพื่อทราบค่ะ
ขอสรุปเป็นภาษาอังกฤษถึงช่อง3ว่า We have done our duty best to serve you a fair treatment & options.Now it's your call. Make it right. #Ch3