สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
อย่าต่อเน็ต
http://tcp.nbtc.go.th/th/complain_guide/detail/17
สิทธิและช่องทางการร้องเรียน
กรณี "การร้องเรียนต่อผู้ให้บริการโดยตรง"
1. กรณีที่ผู้บริโภคได้รับความเสียหายยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการต้องออกหนังสือแจ้งการรับเรื่องร้องเรียน พร้อมแจ้งสิทธิให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 7 วัน
2. ถ้าผู้ให้บริการตรวจเรื่องร้องเรียน ปรากฏว่าเรื่องร้องเรียนไม่มีมูล ผู้ให้บริการต้องทำหนังสือแจ้งให้กับผู้ร้องเรียนทราบภายใน 14 วัน พร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่รับพิจารณาเรื่องร้องเรียน และแจ้งสิทธิในการร้องเรียนต่อ กสทช. และหน่วยงานอื่น โดยระบุสถานที่ติดต่อและเลขหมายโทรศัพท์ของหน่วยงานนั้นๆ ให้ทราบโดยชัดเจน
3. แต่หากผู้ร้องเรียนยังคงเห็นว่าเรื่องร้องเรียนมีมูล เป็นสาระ หรือสมเหตุสมผล ผู้ร้องเรียนสามารถส่งเรื่องให้ กสทช. พิจารณา และ รท. จะเป็นผู้แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องเรียนและผู้ให้บริการทราบภายใน 14 วัน และถ้าผลปรากฏว่าเรื่องร้องเรียนมีมูล ให้ผู้ให้บริการดำเนินการแก้ไขต่อไป
4. ผู้ให้บริการต้องแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ยกเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จ จะต้องแจ้งความคืบหน้าและกำหนดเวลาที่คาดจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทุก 10 วัน
5. กรณีผลการเจรจาระหว่างผู้ให้บริการและผู้ร้องเรียนไม่ได้ข้อยุติ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ให้บริการต้องเสนอรายงานกระบวนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน บันทึกการเจรจารายละเอียดพยานหลักฐานทั้งหมดให้ รท. ทราบภายใน 3 วัน นับจากวันที่การเจรจาตกลงเสร็จสิ้น เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและระงับข้อพิพาทโดย กสทช. ต่อไป
กรณี "ร้องเรียนต่อกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (รท.) สำนักงาน กสทช."
1. กรณีผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ รท. หลังจาก รท. ตรวจสอบและรับเรื่องร้องเรียนแล้ว รท. ต้องออกหนังสือแจ้งการรับเรื่องร้องเรียน ให้แก่ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 7 วัน
2. ให้ รท. ดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียน ระหว่างผู้ร้องเรียน และผู้ให้บริการ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
3. กรณีที่ได้ข้อยุติ ให้ รท. ให้ความช่วยเหลือแก่คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
4. กรณีไม่ได้ข้อยุติ ให้ รท. สรุปข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน และข้อพิจารณาเสนอต่อกรรมการสถาบันวินิจฉัย และนำเสนอต่อ กสทช. เพื่อพิจารณาต่อไป
5. เรื่องร้องเรียนดังต่อไปนี้ รท. จะไม่รับไว้พิจารณา และจะทำการแจ้งผู้ร้องเรียนต่อไป
- เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของผู้ให้บริการ
- เรื่องที่ผู้ให้บริการได้แก้ไขปัญหาจนผู้ร้องเรียนพอใจแล้ว
- เรื่องที่ กสทช.ได้วินิจฉัยหรือระงับข้อพิพาทแล้วหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์
- เรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในศาล
http://tcp.nbtc.go.th/th/complain_guide/detail/17
สิทธิและช่องทางการร้องเรียน
กรณี "การร้องเรียนต่อผู้ให้บริการโดยตรง"
1. กรณีที่ผู้บริโภคได้รับความเสียหายยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการต้องออกหนังสือแจ้งการรับเรื่องร้องเรียน พร้อมแจ้งสิทธิให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 7 วัน
2. ถ้าผู้ให้บริการตรวจเรื่องร้องเรียน ปรากฏว่าเรื่องร้องเรียนไม่มีมูล ผู้ให้บริการต้องทำหนังสือแจ้งให้กับผู้ร้องเรียนทราบภายใน 14 วัน พร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่รับพิจารณาเรื่องร้องเรียน และแจ้งสิทธิในการร้องเรียนต่อ กสทช. และหน่วยงานอื่น โดยระบุสถานที่ติดต่อและเลขหมายโทรศัพท์ของหน่วยงานนั้นๆ ให้ทราบโดยชัดเจน
3. แต่หากผู้ร้องเรียนยังคงเห็นว่าเรื่องร้องเรียนมีมูล เป็นสาระ หรือสมเหตุสมผล ผู้ร้องเรียนสามารถส่งเรื่องให้ กสทช. พิจารณา และ รท. จะเป็นผู้แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องเรียนและผู้ให้บริการทราบภายใน 14 วัน และถ้าผลปรากฏว่าเรื่องร้องเรียนมีมูล ให้ผู้ให้บริการดำเนินการแก้ไขต่อไป
4. ผู้ให้บริการต้องแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ยกเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จ จะต้องแจ้งความคืบหน้าและกำหนดเวลาที่คาดจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทุก 10 วัน
5. กรณีผลการเจรจาระหว่างผู้ให้บริการและผู้ร้องเรียนไม่ได้ข้อยุติ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ให้บริการต้องเสนอรายงานกระบวนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน บันทึกการเจรจารายละเอียดพยานหลักฐานทั้งหมดให้ รท. ทราบภายใน 3 วัน นับจากวันที่การเจรจาตกลงเสร็จสิ้น เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและระงับข้อพิพาทโดย กสทช. ต่อไป
กรณี "ร้องเรียนต่อกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (รท.) สำนักงาน กสทช."
1. กรณีผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ รท. หลังจาก รท. ตรวจสอบและรับเรื่องร้องเรียนแล้ว รท. ต้องออกหนังสือแจ้งการรับเรื่องร้องเรียน ให้แก่ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 7 วัน
2. ให้ รท. ดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียน ระหว่างผู้ร้องเรียน และผู้ให้บริการ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
3. กรณีที่ได้ข้อยุติ ให้ รท. ให้ความช่วยเหลือแก่คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
4. กรณีไม่ได้ข้อยุติ ให้ รท. สรุปข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน และข้อพิจารณาเสนอต่อกรรมการสถาบันวินิจฉัย และนำเสนอต่อ กสทช. เพื่อพิจารณาต่อไป
5. เรื่องร้องเรียนดังต่อไปนี้ รท. จะไม่รับไว้พิจารณา และจะทำการแจ้งผู้ร้องเรียนต่อไป
- เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของผู้ให้บริการ
- เรื่องที่ผู้ให้บริการได้แก้ไขปัญหาจนผู้ร้องเรียนพอใจแล้ว
- เรื่องที่ กสทช.ได้วินิจฉัยหรือระงับข้อพิพาทแล้วหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์
- เรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในศาล
แสดงความคิดเห็น
สุดทนกับทรูอินเตอร์เน็ต
1. มีพัดลมอยู่ใกล้ๆ สถานที่ติดตั้งกล่อง ช่างเปิดพัดลมเอง แบบไม่ขออนุญาติ นั่งจ่อพัดลม และนั่งเฝ้าสัญญาณ หลังจากนั้น 5 นาที บอกสัญญาณในบ้ายเสีย ถ้าให้เช็คต้องเสีย 300 บาท
เรา: งั้นขอเทสสัญญาณหน้าบ้านว่ามีสัญญาณจริง?
ช่าง: ได้ เอากล่องไปเทสหน้าบ้าน
2. หลังจากเดินออกมาหน้าบ้าน เอาบุหรี่ขึ้นมาสูบ คาบบุหรี่ไป พูดกับเราไป
หลังจากรอไป 15 นาทีสัญญาณไม่มี บอกว่ากล่องแบตหมด เอาแบตเตอรี่สำรองมาเสียบ รอไปอีก 30 นาที ไม่มีสัญญาณเหมือนเดิม
หลังจากนั้น ช่างขับรถไปข้างนอกบอกไปดูสัญญาณ อีกประมาณ 20 นาที ขับรถกลับมา ขณะที่เราอยู่ในบ้าน ช่างได้ดึงกล่องและสายไฟทุกอย่างออก และส่งให้เรา บอกว่าใช้งานได้แล้ว
เรา: ขอลองเทสก่อนค่ะ
ช่าง: เมื่อกี้ฟิวส์ขาด ตอนนี้ใช้งานได้แล้ว
เรา: ขอลองเทสก่อนค่ะ
ช่าง: บ้านนี้ทำไมเรื่องมากจัง บอกว่าใช้ได้
เรา: ช่วยต่อใหม่ เทสสัญญาณก่อนค่ะ
ช่าง: ได้ รอสัญญาณอีก 1 ชั่วโมง
เรา: จะไม่เซ็นต์อะไรทั้งนั้น ถ้าไม่ได้ลองสัญญาณก่อน
ช่าง: ใส่อารมณ์พูดเสียงดัง ประสาทหรือเปล่า? ติดมาไม่รู้กี่บ้าน ก้อเป็นแบบนี้แหละ ไม่ติดก้อไม่ต้องติด ขณะนั่น ทำกล่องเราท์เตอร์ตกพื้น
เรา: ถ้าไม่อยากติดก้อไม่ต้องติดค่ะ ให้คนอื่นมาแทนแล้วกัน
ช่าง: เออๆๆ ประสาทเปล่าว่ะ ขณะนั้นก้อเก็บของชับรถออกไป
หลังจากนั่น ประมาณ บ่าย 2 โมง ได้ข้อความจากทรู ว่าอินเตอร์เน็ตติดตั้งเรียบร้อย ใช้งานได้ อ้าว อะไรกัน เลยโทรไป call center เล่าเหตุการณ์ทั้งหมด call center บอกชอเช็คกับทางช่างก่อน
หลังจากนั้น มีช่างคนใหม่เอากล่องเราท์เตอร์มายัดเยียดจะให้รับไว้ เราบอกไม่รับ
หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้น วันอาทิตย์ ไม่มีคนอยู่บ้าน พอกลับเข้าบ้านประมาณบ่ายสาม มีกล่องเราท์เตอร์อันเดิมมาวางไว้ในบ้าน ตรงที่จอดรถ เดาได้ว่าโยนกล่องเข้ามาในบ้าน
ณ จุดนี้ สุดทนกับพฤติกรรมของช่างจริงๆ ค่ะ โทรไปโวย call center บอกว่าไม่ติดตั้งแล้วค่ะ ช่วยเอากล่องกลับไปด้วย call center บอกว่า ถ้ายกเลิกต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท เราบอกว่าไม่ได้ความผิดเรา แล้วกล่องเราก้อไม่ได้รับไว้ คุณมาโยนไว้หน้าบ้านเอง call center ก้อยืนยันว่าคุณยกเลิก คุณต้องเสีย 2, 000 บาท
สุดท้ายแล้ว เรารบกวนขอความเห็นจากคนมีประสบการณ์ในนี้หน่อยค่ะว่า เหตุการณ์นี้เราควรทำอย่างไรค่ะ? ขอบคุณมากค่ะ