สธ.ไทยรับลูกสหรัฐ เตรียมเสนอ ครม.ให้เห็นชอบส่งความช่วยเหลือทั้งแพทย์ พยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ ไปยัง 4 ประเทศอีโบลาระบาด
ชี้เป็นกลยุทธ์สำคัญ ยึดหลักควบคุมที่ต้นตอดีกว่าตั้งรับ
ด้านศิริราชฯ ยังอุบผลวิจัยผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ ยันจะแถลงในวันที่ 2 ตุลาคมเท่านั้น
วันที่ 29 กันยายน 2557 นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วย สธ. ตรวจเยี่ยม
และรับฟังผลการดำเนินงานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมควบคุมโรค และกรมอนามัย และมอบนโยบายให้ 3 หน่วยงาน ว่า สำหรับกรมควบคุมโรค
บทบาทที่เน้นหนัก 3 ด้านคือ 1.การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด 2.การควบคุมป้องกันโรคจาก
การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีตกค้างในเกษตรกร พิษสารตะกั่ว เป็นต้น
และ 3.สำหรับการควบคุมโรคติดต่อที่มีอยู่เดิม เช่น วัณโรค โรคมาลาเรีย เอดส์ ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งต้องเสริมความเข้มแข็งระบบการป้องกัน
โรคด้วยวัคซีนต่างๆ ในกลุ่มเด็ก และการเฝ้าระวังโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อที่อุบัติใหม่ ที่กำลังเป็นปัญหาขณะนี้ โรคติดเชื้ออีโบลาในประเทศแอฟริกาตะวันตก
4 ประเทศ โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา ตนได้มีโอกาสไปประชุมกับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ 30 กว่าประเทศ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การ
อนามัยโลก ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำเนียบขาว ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมปรึกษาหารือการควบคุมโรคอีโบลา
ซึ่งประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญมาก และต้องการพลังนานาชาติไปช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้ได้ เนื่องจากระบบ
การสาธารณสุขของ 4 ประเทศที่มีการระบาดของโรคขณะนี้เกิดปัญหา โรงพยาบาลไม่เพียงพอ ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยอีโบลาได้เต็มที่
นพ.รัชตะกล่าวต่อว่า ในส่วนของประเทศไทย ตนเตรียมเสนอเข้าสู่การประชุม ครม. เพื่อพิจารณาในการเตรียมแผนความร่วมมือกับนานาชาติในการควบคุม
โรคอีโบลาที่ประเทศต้นตอ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญและให้ผลดีกว่าการตั้งรับในประเทศไทย แผนหลักคือการระดมเงินบริจาคร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น สภากาชาดไทย
การจัดส่งเวชภัณฑ์ การเตรียมแผนการจัดส่งบุคลากรการแพทย์อาสา ซึ่งจะต้องมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน และมีระบบดูแลสุขภาพของอาสาสมัครด้วย
รวมทั้งการพิจารณาส่งความช่วยเหลือไปทางเครื่องบินของกองทัพอากาศ
"การช่วยเหลือของประเทศต่างๆ สหรัฐมีมติจะสร้างโรงพยาบาลภาคสนามขนาด 1,700 เตียง และทหารกว่า 3,00 นาย ในการดูแลผู้ป่วย รวมไปถึงอังกฤษด้วย
ส่วนบางประเทศขณะนี้ได้ส่งยา เวชภัณฑ์ เงิน และกำลังคนทั้งแพทย์ พยาบาล และนักระบาดวิทยา ไปช่วยเหลือแล้ว เช่น จีน คิวบา และเยอรมนี"
นอกจากนั้น ทางด้านคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะแถลงข่าวใน
"ครั้งแรกของไทย ศิริราชผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ” ในวันที่ 2 ตุลาคม และทางผู้บริหารของคณะแพทยศาสตร์ฯ
ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียด ระบุว่าจะชี้แจงในวันที่ 2 ตุลาคมนี้เท่านั้น.
http://www.thaipost.net/news/300914/96908
ชงส่งหมอไทยไปแอฟริกาสู้อีโบลา "รัชตะ"เตรียมเสนอครม.ชี้ต้องคุมที่ต้นตอ / ศิริราชอุบไต๋วัคซีนไข้เลือดออกอีโบลา
ชี้เป็นกลยุทธ์สำคัญ ยึดหลักควบคุมที่ต้นตอดีกว่าตั้งรับ
ด้านศิริราชฯ ยังอุบผลวิจัยผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ ยันจะแถลงในวันที่ 2 ตุลาคมเท่านั้น
วันที่ 29 กันยายน 2557 นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วย สธ. ตรวจเยี่ยม
และรับฟังผลการดำเนินงานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมควบคุมโรค และกรมอนามัย และมอบนโยบายให้ 3 หน่วยงาน ว่า สำหรับกรมควบคุมโรค
บทบาทที่เน้นหนัก 3 ด้านคือ 1.การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด 2.การควบคุมป้องกันโรคจาก
การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีตกค้างในเกษตรกร พิษสารตะกั่ว เป็นต้น
และ 3.สำหรับการควบคุมโรคติดต่อที่มีอยู่เดิม เช่น วัณโรค โรคมาลาเรีย เอดส์ ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งต้องเสริมความเข้มแข็งระบบการป้องกัน
โรคด้วยวัคซีนต่างๆ ในกลุ่มเด็ก และการเฝ้าระวังโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อที่อุบัติใหม่ ที่กำลังเป็นปัญหาขณะนี้ โรคติดเชื้ออีโบลาในประเทศแอฟริกาตะวันตก
4 ประเทศ โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา ตนได้มีโอกาสไปประชุมกับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ 30 กว่าประเทศ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การ
อนามัยโลก ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำเนียบขาว ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมปรึกษาหารือการควบคุมโรคอีโบลา
ซึ่งประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญมาก และต้องการพลังนานาชาติไปช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้ได้ เนื่องจากระบบ
การสาธารณสุขของ 4 ประเทศที่มีการระบาดของโรคขณะนี้เกิดปัญหา โรงพยาบาลไม่เพียงพอ ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยอีโบลาได้เต็มที่
นพ.รัชตะกล่าวต่อว่า ในส่วนของประเทศไทย ตนเตรียมเสนอเข้าสู่การประชุม ครม. เพื่อพิจารณาในการเตรียมแผนความร่วมมือกับนานาชาติในการควบคุม
โรคอีโบลาที่ประเทศต้นตอ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญและให้ผลดีกว่าการตั้งรับในประเทศไทย แผนหลักคือการระดมเงินบริจาคร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น สภากาชาดไทย
การจัดส่งเวชภัณฑ์ การเตรียมแผนการจัดส่งบุคลากรการแพทย์อาสา ซึ่งจะต้องมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน และมีระบบดูแลสุขภาพของอาสาสมัครด้วย
รวมทั้งการพิจารณาส่งความช่วยเหลือไปทางเครื่องบินของกองทัพอากาศ
"การช่วยเหลือของประเทศต่างๆ สหรัฐมีมติจะสร้างโรงพยาบาลภาคสนามขนาด 1,700 เตียง และทหารกว่า 3,00 นาย ในการดูแลผู้ป่วย รวมไปถึงอังกฤษด้วย
ส่วนบางประเทศขณะนี้ได้ส่งยา เวชภัณฑ์ เงิน และกำลังคนทั้งแพทย์ พยาบาล และนักระบาดวิทยา ไปช่วยเหลือแล้ว เช่น จีน คิวบา และเยอรมนี"
นอกจากนั้น ทางด้านคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะแถลงข่าวใน
"ครั้งแรกของไทย ศิริราชผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ” ในวันที่ 2 ตุลาคม และทางผู้บริหารของคณะแพทยศาสตร์ฯ
ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียด ระบุว่าจะชี้แจงในวันที่ 2 ตุลาคมนี้เท่านั้น.
http://www.thaipost.net/news/300914/96908