ต่อยอดประเด็นมาจากกระทู้สงสัยเรื่องซุนกวน ของคุณจอมดาบแดนทักษิณ ^___^ (Southblade) ppantip.com/topic/32630025
อ้างจากบางส่วนของ จดหมายเหตุสามก๊ก บทชีวประวัติลกซุน
ปีค.ศ.204 ลกซุนอายุได้ 21 ปี เวลานั้นซุนกวนได้ขึ้นเป็นใหญ่ในง่อก๊กแทนที่ซุกเซ็กพี่ชายที่ล่วงลับไปแล้ว ฝ่ายลกซุนก็ได้เข้ารับราชการอยู่ในสังกัดของซุนกวน เป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาอยู่ในศาลทหารของซุนกวน ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการณ์ประจำอยู่ที่ป้อมปราการแถบอำเภอไห่ฉาง ควบตำแหน่งนายอำเภอดูแลปกครองพื้นที่แถบนั้น
เวลานั้น อำเภอไห่ฉางกำลังประสบความเดือดร้อนอันมาจากช่วงฤดูแล้งติดต่อกันยาวนานหลายปี เมื่อลกซุนได้รับตำแหน่ง จึงสั่งเปิดคลังเสบียงเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ของประชาชน อีกทั้งในอำเภอไห่ฉางเวลานั้น กำลังมีเหล่าโจรผู้ร้ายมาตั้งค่ายชุมนุม สร้างความเดือดร้อนให้แก่หัวเมืองทั้งสามแห่งในบริเวณเมืองง่อ เมืองห้อยแข และเมืองตันหยางอย่างมาก ลกซุนจึงขอให้ซุนกวนส่งทหารมาปราบปรามพวกโจรที่ชุกชุมอยู่บริเวณนั้นให้หมดสิ้นไป ซุนกวนจึงมอบหมายให้ลกซุนนำทัพเข้าปราบค่ายกองโจรของผานหลิมแห่งเมืองห้อยแขลงได้
ผลงานครั้งนี้ทำให้ลกซุนได้รับบรรดาศักดิ์ให้คุมกำลังทหาร 2,000 คน ต่อมาก็เกิดกลุ่มโจรก่อกบฏขึ้นที่กวนหยง ลกซุนจึงนำทหารเข้าปราบปราม เสร็จศึกแล้วจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนพลอยู่ประจำการที่เมืองลี่ผู
ด้วยผลงานความชอบของลกซุนทางการทหารและการดูแลความสงบที่ผ่านมา ซุนกวนจึงประทานบุตรีของซุนเซ็กให้แต่งงานด้วย ดังนั้นลกซุนจึงมีศักดิ์เป็นเขยของตระกูลซุนนับแต่นั้น
เฉินโซ่วบันทึกเพิ่มเติมว่า ซุนกวนมักปรึกษาหารือด้านการทหารและการปกครองกับลกซุนเสมอ ครั้งหนึ่ง ลกซุนเคยเสนอแนะซุนกวนว่า
“บัดนี้ เหล่าขุนศึกในแผ่นดินต่างก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ พวกเขาทั้งหลายกำลังเฝ้ามองดูสถานการณ์ว่าฝ่ายใดจะเพลี่ยงพล้ำ เพื่อที่จะหาโอกาสเข้ายึดครองดินแดนของฝ่ายนั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรเสาะแสวงหาบุคลากรชั้นยอด และคนดีมีฝีมือให้มาช่วยงานเพิ่มขึ้น”
“อย่างไรก็ตาม เผ่าซานเย่ทางใต้นั้นถือว่าเป็นกลุ่มชนที่เข้มแข็ง มีความเชี่ยวชาญในภูมิประเทศทางใต้เป็นอย่างดี หากเราไม่สามารถสยบพวกเผ่าซานเย่ลงได้แล้ว การใหญ่ของเราคงไม่อาจกระทำให้สำเร็จ ดังนั้นเราจึงควรนำทัพเข้าปราบปรามเผ่าซานเย่ แล้วชักจูงผู้คนให้มาเข้าร่วมกับเราด้วย”
ซุนกวนเห็นด้วยกับแผนนี้ จึงแต่งตั้งให้ลกซุนขึ้นเป็นแม่ทัพฝ่ายขวา
นี่เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงว่า ง่อก๊กมีปัญหารุนแรงกับชนเผ่าทางใต้ ลกซุนเองก็เสนอให้ปราบพวกนี้ด้วยความรุนแรงและก็ทำหน้าที่ติดต่อกันหลายปีด้วย
ยังมีที่น่าสนใจ หลังจากลกซุนได้สร้างชื่อเสียงรบชนะเล่าปี่ไปแล้วได้เป็นแม่ทัพใหญ่ ในง่อก๊กมีการก่อกบฏายครั้ง เช่น
ต่อมา หุยเจี๋ยม ผู้นำกลุ่มโจรได้ก่อการขึ้นที่เมืองตันหยาง โจโฉจึงถือโอกาสแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง จากนั้นหุยเจี๋ยมก็ระดมเผ่าซานเย่ให้ร่วมกันก่อการยึดเมืองตันหยาง ซุนกวนจึงสั่งให้ลกซุนนำทัพเข้าปราบความวุ่นวาย
เนื่องจากทัพของลกซุนมีกำลังพลน้อยกว่ามาก ดังนั้นลกซุนจึงวางแผนการ ด้วยการสั่งให้จัดทำธงศึกจำนวนมาก แล้วรอจนถึงยามวิกาล เขาสั่งให้ทหารระดมตีกลองแล้วเป่าแตรศึกให้ดังกระจายออกไป สร้างความสับสนและหวาดระแวงให้แก่ทัพข้าศึก จนกระทั่งกลุ่มโจรต้องล่าถอยกลับไปทันที แล้วลกซุนก็สั่งให้ตั้งค่ายทัพอยู่ในบริเวณนั้น แล้วระดมเกณฑ์ไพร่พลกองทหารเพิ่มเข้ามาในกองทัพ แล้วสั่งให้ทหารที่อ่อนแอส่วนหนึ่งออกไปทำนา เพื่อสะสมเสบียงทัพ ตระเตรียมไว้พร้อมสำหรับการทำศึก ส่งผลให้ทัพของลกซุนเพิ่มพูนขึ้นเป็นหลายหมื่นคน จากนั้นลกซุนก็สั่งกองทัพบุกโจมตีข้าศึกจนแตกพ่ายไปในที่สุด แล้วลกซุนก็กลับไปตั้งมั่นอยู่ที่ทะเลสาบง่อต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากการที่ลกซุนสั่งเกณฑ์ผู้คนเข้าไปเป็นทหารในกองทัพจำนวนมาก ทำให้ ชุ่นอู่ซื่อ เจ้าเมืองห้อยแข ส่งสารไปแจ้งต่อซุนกวนว่าลกซุนกระทำการเกินกว่าเหตุ ทำให้ประชาชนในหัวเมืองแถบนั้นประสบความเดือดร้อนมาก แต่จากนั้นลกซุนก็กลับไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ซุนกวนทราบ เมื่อชี้แจงเรื่องราวแล้ว ลกซุนก็กล่าวยกย่องชื่นชมชุ่นอู่ซื่อมาก ซุนกวนจึงถามว่า เขาเป็นคนกล่าวหาว่าเจ้ากระทำการไม่สมควร แล้วเหตุใดเจ้าจึงชื่นชมเขาด้วยเล่า
ลกซุนจึงตอบว่า “นายท่านอย่าได้ตำหนิเขาเลย การที่คนผู้นี้กล่าวหาข้าน้อยว่ากระทำไม่สมควร สาเหตุเพราะเขามีจิตใจห่วงใยราษฎรเป็นที่ตั้งนั่นเอง” ซุนกวนฟังแล้วก็ยกย่องความใจกว้างของลกซุนยิ่งนัก แล้วกล่าวว่าคนทั่วไปคงมิอาจทำได้เช่นนี้แน่
ยังมีน่าสนใจอีกเกี่ยวกับความทะเยอทะยานต้องการขยายดินแดนของซุนกวน แต่มันติดปัญหาเยอะมาก ลกซุนคือผู้หนึ่งที่คัดค้าน เหตุผลอยู่ในเนื้อความในจดหมายเหตุที่ว่า
ภายหลังเมื่อซุนกวนขึ้นเป็นฮ่องเต้แล้ว ก็มีความคิดจะส่งกองทัพบุกยึดเมืองอี้จิ๋ว (ไต้หวันในปัจจุบัน) และแถบจู่หยา จึงส่งสารไปขอคำแนะนำจากลกซุน แต่ลกซุนส่งสารตอบกลับว่า
“ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ดินแดนในปกครองของเรานั้นยังคงไม่สงบราบคาบ จึงควรที่จะมุ่งสร้างความมั่นคงภายในดินแดนของพวกเราก่อนเป็นสำคัญ หลายปีมานี้ กองทัพของเราทำศึกติดต่อกัน ได้รับความบอบช้ำไม่น้อย ข้าพเจ้ารู้ว่านายท่านมีความกังวลเรื่องแผนการบุกโจมตีอี้จิ๋วจนแทบไม่เป็นอันกินอันนอน แต่เมื่อข้าพเจ้าได้พิจารณาแผนการนี้อย่างถี่ถ้วนหลายครั้งแล้ว ก็พบว่าแทบมองไม่เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการบุกโจมตีครั้งนี้เลย การที่นายท่านส่งกองทัพบุกโจมตีไปยังดินแดนห่างไกลนั้น เป็นการยากที่จะคาดคะเนพยากรณ์ดินฟ้าอากาศได้ อีกทั้งเมื่อทหารของเราอยู่ในดินแดนที่แปลกแตกต่างจากเคย อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยได้ง่าย หากเราส่งกองทัพไปยังดินแดนป่าเถื่อนเช่นนั้น ฝ่ายเรามีแต่จะสูญเสียมากกว่าได้ อีกทั้งดินแดนจู่หยานั้นนับเป็นแดนเถื่อนที่อันตราย ชนพื้นเมืองที่นั้นดุร้ายราวสัตว์ป่า การเข้ายึดครองดินแดนเหล่านี้จึงมิได้มีประโยชน์อันใดกับฝ่ายเราเลย หรือแม้ว่าจะเข้ายึดได้แล้วถอนกำลังกลับมา แต่การไม่มีทหารอยู่ประจำการดินแดนเหล่านั้น ย่อมมิอาจควบคุมชนพื้นเมืองไม่ให้ก่อการได้”
“อันที่จริง ง่อก๊กของเรานั้น มีแสนยานุภาพทางทหารและทรัพยากรมหาศาล เพียงพอที่จะรวบรวมแผ่นดินจีนได้ ดังนั้น สิ่งที่เราควรกระทำคือ เสริมสร้างแสนยานุภาพทางทหารของทัพเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น แล้วนำทัพออกศึกเมื่อถึงกาลอันเหมาะสม”
ง่อก๊กยังมีการก่อกบฏอันเป็นผลมาจากการเกณฑ์ทหารด้วย จากเนื้อหาที่บันทึกว่า
ปีค.ศ.237 (ตรงกับปีศักราชเจียเหอที่ 6) จิวเต้ ขุนพลผู้พิทักษ์พระราชวังของง่อก๊ก ได้ขอคำสั่งเพื่อให้เกณฑ์ไพร่พลแถบเมืองกวนหยง ซุนกวนจึงส่งสารไปถามความเห็นจากลกซุน แต่เนื่องจากลกซุนประเมินแล้วคิดว่าผู้คนในเมืองกวนหยางนั้นมีทีท่าว่าอาจจะก่อจลาจลขึ้น และยังไม่ค่อยเคารพกฎหมายของง่อก๊กด้วย ดังนั้นการสั่งเกณฑ์ทหารในยามนี้จึงไม่เหมาะนัก แต่สุดท้ายจิวเต้ก็ได้สั่งเกณฑ์ทหารจนได้ และก็เป็นผลให้เกิดกบฏขึ้น โดยผู้นำกลุ่มกบฏคือ ง่อจู๋ ได้นำชาวเมืองกวนหยงก่อความวุ่นวายและสังหารจิวเต้ทิ้ง จากนั้นก็เข้ายึดหัวเมืองได้หลายแห่ง ซึ่งเมื่อชาวเมืองหลูเจียงและอี้เจียงทราบเรื่องการลุกฮือครั้งนี้ ก็ลุกขึ้นก่อการไปด้วย
เมื่อลกซุนทราบข่าวการก่อกบฏ จึงนำทัพเข้าปราบปราม ง่อจู๋และเหล่าแกนนำต่างพากันยอมจำนน ลกซุนยอมไว้ชีวิตแล้วให้คนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในกองทัพ
ที่จริงแล้ว ยังมีส่วนน่าสนใจมากในส่วนประวัติของลกซุน แต่เอาเท่านี้ก่อน
จากตรงนี้ คิดว่าน่าจะวิเคราะห์ได้มากกันเลยว่า แท้จริงแล้ว ง่อก๊กนี่เองที่เป็นก๊กซึ่งมีปัญหาความสงบภายในค่อนข้างมาก มีการก่อกบฏจนต้องปราบปรามรุนแรงหลายครั้ง ทั้งจากหัวเมืองต่างๆ ประชาชน จนถึงชนต่างเผ่า กฏหมายของง่อก๊กก็รุนแรง จนทำให้ขุนนางและขุนพลหลายคนเสนอให้แก้ ไม่ว่าจะลกซุน โกะหยง และคนอื่นๆ
ส่วนซุนกวนนั้นแม้จะมีความคิดในการขยายดินแดนมากมาย แต่ก็ยากจะดำเนินการได้ ด้วยติดขัดปัญหาและปัจจัยหลายประการที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้ในชั่วรุ่นของเขา
ปัญหาของง่อก๊ก ภายในสงบสุขจริงหรือภาพลวง สิ่งที่นิยายไม่ได้บอก แต่จดหมายเหตุบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
อ้างจากบางส่วนของ จดหมายเหตุสามก๊ก บทชีวประวัติลกซุน
ปีค.ศ.204 ลกซุนอายุได้ 21 ปี เวลานั้นซุนกวนได้ขึ้นเป็นใหญ่ในง่อก๊กแทนที่ซุกเซ็กพี่ชายที่ล่วงลับไปแล้ว ฝ่ายลกซุนก็ได้เข้ารับราชการอยู่ในสังกัดของซุนกวน เป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาอยู่ในศาลทหารของซุนกวน ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการณ์ประจำอยู่ที่ป้อมปราการแถบอำเภอไห่ฉาง ควบตำแหน่งนายอำเภอดูแลปกครองพื้นที่แถบนั้น
เวลานั้น อำเภอไห่ฉางกำลังประสบความเดือดร้อนอันมาจากช่วงฤดูแล้งติดต่อกันยาวนานหลายปี เมื่อลกซุนได้รับตำแหน่ง จึงสั่งเปิดคลังเสบียงเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ของประชาชน อีกทั้งในอำเภอไห่ฉางเวลานั้น กำลังมีเหล่าโจรผู้ร้ายมาตั้งค่ายชุมนุม สร้างความเดือดร้อนให้แก่หัวเมืองทั้งสามแห่งในบริเวณเมืองง่อ เมืองห้อยแข และเมืองตันหยางอย่างมาก ลกซุนจึงขอให้ซุนกวนส่งทหารมาปราบปรามพวกโจรที่ชุกชุมอยู่บริเวณนั้นให้หมดสิ้นไป ซุนกวนจึงมอบหมายให้ลกซุนนำทัพเข้าปราบค่ายกองโจรของผานหลิมแห่งเมืองห้อยแขลงได้
ผลงานครั้งนี้ทำให้ลกซุนได้รับบรรดาศักดิ์ให้คุมกำลังทหาร 2,000 คน ต่อมาก็เกิดกลุ่มโจรก่อกบฏขึ้นที่กวนหยง ลกซุนจึงนำทหารเข้าปราบปราม เสร็จศึกแล้วจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนพลอยู่ประจำการที่เมืองลี่ผู
ด้วยผลงานความชอบของลกซุนทางการทหารและการดูแลความสงบที่ผ่านมา ซุนกวนจึงประทานบุตรีของซุนเซ็กให้แต่งงานด้วย ดังนั้นลกซุนจึงมีศักดิ์เป็นเขยของตระกูลซุนนับแต่นั้น
เฉินโซ่วบันทึกเพิ่มเติมว่า ซุนกวนมักปรึกษาหารือด้านการทหารและการปกครองกับลกซุนเสมอ ครั้งหนึ่ง ลกซุนเคยเสนอแนะซุนกวนว่า
“บัดนี้ เหล่าขุนศึกในแผ่นดินต่างก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ พวกเขาทั้งหลายกำลังเฝ้ามองดูสถานการณ์ว่าฝ่ายใดจะเพลี่ยงพล้ำ เพื่อที่จะหาโอกาสเข้ายึดครองดินแดนของฝ่ายนั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรเสาะแสวงหาบุคลากรชั้นยอด และคนดีมีฝีมือให้มาช่วยงานเพิ่มขึ้น”
“อย่างไรก็ตาม เผ่าซานเย่ทางใต้นั้นถือว่าเป็นกลุ่มชนที่เข้มแข็ง มีความเชี่ยวชาญในภูมิประเทศทางใต้เป็นอย่างดี หากเราไม่สามารถสยบพวกเผ่าซานเย่ลงได้แล้ว การใหญ่ของเราคงไม่อาจกระทำให้สำเร็จ ดังนั้นเราจึงควรนำทัพเข้าปราบปรามเผ่าซานเย่ แล้วชักจูงผู้คนให้มาเข้าร่วมกับเราด้วย”
ซุนกวนเห็นด้วยกับแผนนี้ จึงแต่งตั้งให้ลกซุนขึ้นเป็นแม่ทัพฝ่ายขวา
นี่เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงว่า ง่อก๊กมีปัญหารุนแรงกับชนเผ่าทางใต้ ลกซุนเองก็เสนอให้ปราบพวกนี้ด้วยความรุนแรงและก็ทำหน้าที่ติดต่อกันหลายปีด้วย
ยังมีที่น่าสนใจ หลังจากลกซุนได้สร้างชื่อเสียงรบชนะเล่าปี่ไปแล้วได้เป็นแม่ทัพใหญ่ ในง่อก๊กมีการก่อกบฏายครั้ง เช่น
ต่อมา หุยเจี๋ยม ผู้นำกลุ่มโจรได้ก่อการขึ้นที่เมืองตันหยาง โจโฉจึงถือโอกาสแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง จากนั้นหุยเจี๋ยมก็ระดมเผ่าซานเย่ให้ร่วมกันก่อการยึดเมืองตันหยาง ซุนกวนจึงสั่งให้ลกซุนนำทัพเข้าปราบความวุ่นวาย
เนื่องจากทัพของลกซุนมีกำลังพลน้อยกว่ามาก ดังนั้นลกซุนจึงวางแผนการ ด้วยการสั่งให้จัดทำธงศึกจำนวนมาก แล้วรอจนถึงยามวิกาล เขาสั่งให้ทหารระดมตีกลองแล้วเป่าแตรศึกให้ดังกระจายออกไป สร้างความสับสนและหวาดระแวงให้แก่ทัพข้าศึก จนกระทั่งกลุ่มโจรต้องล่าถอยกลับไปทันที แล้วลกซุนก็สั่งให้ตั้งค่ายทัพอยู่ในบริเวณนั้น แล้วระดมเกณฑ์ไพร่พลกองทหารเพิ่มเข้ามาในกองทัพ แล้วสั่งให้ทหารที่อ่อนแอส่วนหนึ่งออกไปทำนา เพื่อสะสมเสบียงทัพ ตระเตรียมไว้พร้อมสำหรับการทำศึก ส่งผลให้ทัพของลกซุนเพิ่มพูนขึ้นเป็นหลายหมื่นคน จากนั้นลกซุนก็สั่งกองทัพบุกโจมตีข้าศึกจนแตกพ่ายไปในที่สุด แล้วลกซุนก็กลับไปตั้งมั่นอยู่ที่ทะเลสาบง่อต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากการที่ลกซุนสั่งเกณฑ์ผู้คนเข้าไปเป็นทหารในกองทัพจำนวนมาก ทำให้ ชุ่นอู่ซื่อ เจ้าเมืองห้อยแข ส่งสารไปแจ้งต่อซุนกวนว่าลกซุนกระทำการเกินกว่าเหตุ ทำให้ประชาชนในหัวเมืองแถบนั้นประสบความเดือดร้อนมาก แต่จากนั้นลกซุนก็กลับไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ซุนกวนทราบ เมื่อชี้แจงเรื่องราวแล้ว ลกซุนก็กล่าวยกย่องชื่นชมชุ่นอู่ซื่อมาก ซุนกวนจึงถามว่า เขาเป็นคนกล่าวหาว่าเจ้ากระทำการไม่สมควร แล้วเหตุใดเจ้าจึงชื่นชมเขาด้วยเล่า
ลกซุนจึงตอบว่า “นายท่านอย่าได้ตำหนิเขาเลย การที่คนผู้นี้กล่าวหาข้าน้อยว่ากระทำไม่สมควร สาเหตุเพราะเขามีจิตใจห่วงใยราษฎรเป็นที่ตั้งนั่นเอง” ซุนกวนฟังแล้วก็ยกย่องความใจกว้างของลกซุนยิ่งนัก แล้วกล่าวว่าคนทั่วไปคงมิอาจทำได้เช่นนี้แน่
ยังมีน่าสนใจอีกเกี่ยวกับความทะเยอทะยานต้องการขยายดินแดนของซุนกวน แต่มันติดปัญหาเยอะมาก ลกซุนคือผู้หนึ่งที่คัดค้าน เหตุผลอยู่ในเนื้อความในจดหมายเหตุที่ว่า
ภายหลังเมื่อซุนกวนขึ้นเป็นฮ่องเต้แล้ว ก็มีความคิดจะส่งกองทัพบุกยึดเมืองอี้จิ๋ว (ไต้หวันในปัจจุบัน) และแถบจู่หยา จึงส่งสารไปขอคำแนะนำจากลกซุน แต่ลกซุนส่งสารตอบกลับว่า
“ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ดินแดนในปกครองของเรานั้นยังคงไม่สงบราบคาบ จึงควรที่จะมุ่งสร้างความมั่นคงภายในดินแดนของพวกเราก่อนเป็นสำคัญ หลายปีมานี้ กองทัพของเราทำศึกติดต่อกัน ได้รับความบอบช้ำไม่น้อย ข้าพเจ้ารู้ว่านายท่านมีความกังวลเรื่องแผนการบุกโจมตีอี้จิ๋วจนแทบไม่เป็นอันกินอันนอน แต่เมื่อข้าพเจ้าได้พิจารณาแผนการนี้อย่างถี่ถ้วนหลายครั้งแล้ว ก็พบว่าแทบมองไม่เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการบุกโจมตีครั้งนี้เลย การที่นายท่านส่งกองทัพบุกโจมตีไปยังดินแดนห่างไกลนั้น เป็นการยากที่จะคาดคะเนพยากรณ์ดินฟ้าอากาศได้ อีกทั้งเมื่อทหารของเราอยู่ในดินแดนที่แปลกแตกต่างจากเคย อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยได้ง่าย หากเราส่งกองทัพไปยังดินแดนป่าเถื่อนเช่นนั้น ฝ่ายเรามีแต่จะสูญเสียมากกว่าได้ อีกทั้งดินแดนจู่หยานั้นนับเป็นแดนเถื่อนที่อันตราย ชนพื้นเมืองที่นั้นดุร้ายราวสัตว์ป่า การเข้ายึดครองดินแดนเหล่านี้จึงมิได้มีประโยชน์อันใดกับฝ่ายเราเลย หรือแม้ว่าจะเข้ายึดได้แล้วถอนกำลังกลับมา แต่การไม่มีทหารอยู่ประจำการดินแดนเหล่านั้น ย่อมมิอาจควบคุมชนพื้นเมืองไม่ให้ก่อการได้”
“อันที่จริง ง่อก๊กของเรานั้น มีแสนยานุภาพทางทหารและทรัพยากรมหาศาล เพียงพอที่จะรวบรวมแผ่นดินจีนได้ ดังนั้น สิ่งที่เราควรกระทำคือ เสริมสร้างแสนยานุภาพทางทหารของทัพเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น แล้วนำทัพออกศึกเมื่อถึงกาลอันเหมาะสม”
ง่อก๊กยังมีการก่อกบฏอันเป็นผลมาจากการเกณฑ์ทหารด้วย จากเนื้อหาที่บันทึกว่า
ปีค.ศ.237 (ตรงกับปีศักราชเจียเหอที่ 6) จิวเต้ ขุนพลผู้พิทักษ์พระราชวังของง่อก๊ก ได้ขอคำสั่งเพื่อให้เกณฑ์ไพร่พลแถบเมืองกวนหยง ซุนกวนจึงส่งสารไปถามความเห็นจากลกซุน แต่เนื่องจากลกซุนประเมินแล้วคิดว่าผู้คนในเมืองกวนหยางนั้นมีทีท่าว่าอาจจะก่อจลาจลขึ้น และยังไม่ค่อยเคารพกฎหมายของง่อก๊กด้วย ดังนั้นการสั่งเกณฑ์ทหารในยามนี้จึงไม่เหมาะนัก แต่สุดท้ายจิวเต้ก็ได้สั่งเกณฑ์ทหารจนได้ และก็เป็นผลให้เกิดกบฏขึ้น โดยผู้นำกลุ่มกบฏคือ ง่อจู๋ ได้นำชาวเมืองกวนหยงก่อความวุ่นวายและสังหารจิวเต้ทิ้ง จากนั้นก็เข้ายึดหัวเมืองได้หลายแห่ง ซึ่งเมื่อชาวเมืองหลูเจียงและอี้เจียงทราบเรื่องการลุกฮือครั้งนี้ ก็ลุกขึ้นก่อการไปด้วย
เมื่อลกซุนทราบข่าวการก่อกบฏ จึงนำทัพเข้าปราบปราม ง่อจู๋และเหล่าแกนนำต่างพากันยอมจำนน ลกซุนยอมไว้ชีวิตแล้วให้คนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในกองทัพ
ที่จริงแล้ว ยังมีส่วนน่าสนใจมากในส่วนประวัติของลกซุน แต่เอาเท่านี้ก่อน
จากตรงนี้ คิดว่าน่าจะวิเคราะห์ได้มากกันเลยว่า แท้จริงแล้ว ง่อก๊กนี่เองที่เป็นก๊กซึ่งมีปัญหาความสงบภายในค่อนข้างมาก มีการก่อกบฏจนต้องปราบปรามรุนแรงหลายครั้ง ทั้งจากหัวเมืองต่างๆ ประชาชน จนถึงชนต่างเผ่า กฏหมายของง่อก๊กก็รุนแรง จนทำให้ขุนนางและขุนพลหลายคนเสนอให้แก้ ไม่ว่าจะลกซุน โกะหยง และคนอื่นๆ
ส่วนซุนกวนนั้นแม้จะมีความคิดในการขยายดินแดนมากมาย แต่ก็ยากจะดำเนินการได้ ด้วยติดขัดปัญหาและปัจจัยหลายประการที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้ในชั่วรุ่นของเขา