ขึ้นค่า taxi ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ กันแน่??

ขึ้นค่า taxi ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ กันแน่??
หันมาทำระบบ ที่ผู้ใช้บริการ กับ taxi มาเจอกันเร็วๆ ไม่ดีกว่าหรือครับ??

เนื่องจากข่าวการขอขึ้นค่า taxi และ ขนส่งสาธารณะ เช่น เรือ จึงเกิดข้อสงสัย และอยากจะแลกเปลี่ยนมุมมองครับ
ซึ่งเรื่อง เรือโดยสารไม่ขอเอ่ยถึง เพราะ ไม่ค่อยมีคนบ่นว่า “หาเรือไม่ได้” มากกว่า “หา taxi ไม่ได้”

กรณี ไม่ขึ้นราคา ผู้เสียประโยชน์คือ คนขับ taxi ในขณะที่ “ผู้ให้เช่า” ยังคงมีรายได้เหมือนเดิม
เผลอๆ อ้างขอขึ้นค่าเช่าเนื่องจากต้นทุนค่าบำรุงของอู่อีก แต่ผู้ใช้บริการไม่ได้รับผลกระทบอะไร
กรณี Taxi ขึ้นราคา ผู้เสียประโยชน์ คือผู้โดยสาร เพราะต้องแบกรับภาระค่าครองชีพเพิ่มมากขึ้น
taxi ไม่ถือว่าได้รับผลประโยชน์ เพราะได้เพียงการบรรเทาความเดือดร้อน โอกาส น่าจะเป็นของ “ผู้ให้เช่า” มากกว่า

จำนวน คนขึ้น Taxi และระยะทางที่ขึ้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่ที่น่าจะส่งผลกับรายได้โดยตรงคือ จำนวน taxi
และ ความสูญเปล่าระหว่างที่ว่างรถ “ว่าง” การขึ้นค่าบริการ taxi ผมจึงมองว่า ไม่ได้ ช่วย เพียงแค่ ช่วยบรรเทา ปัญหาต้นทุนเชื้อเพลิง
เท่านั้น เพราะแปรผันตามกันอยู่แล้ว

แต่ในขณะที่ Taxi มากขึ้น ส่งผลโดยตรงกับ
ปริมาณรถ ; รถติด = ต้นทุนของ taxi ที่ “ว่าง” เพิ่มขึ้น , ค่าครองชีพผู้ใช้บริการ ก็เพิ่มขึ้น
เมื่อ Taxi มากขึ้น ก็จะมี taxi “ว่าง” มากขึ้น = ความสูญเปล่าที่มากขึ้น
แต่ถ้าควบคุมปริมาณ และระบบการให้บริการ ของ taxi น่าจะช่วยได้มากกว่า ซึ่งมันทำยากกว่า แต่อะไรที่ว่า ยาก ปุ๊บ
คือพี่ไทยไม่เอา พี่ไทยชอบ ง่ายๆ เข้าว่า อย่างนั้นหรือ??

ถ้าควบคุม ปริมาณ taxi และบริการ (ปัญหาคือทำได้จริงหรือเปล่า)
อัตราส่วน ผู้ใช้บริการ/ผู้ให้บริการ มากขึ้น taxi วิ่ง “ว่าง” น้อยลง เผลอๆ รายได้มากกว่าการขึ้นค่าบริการซะอีก
ไม่เลือกรับลูกค้าจนเกินไป ก็วิ่ง “ว่าง” น้อยลง ซึ่งถ้ามีระบบ ที่ผู้ใช้บริการ กับ taxi มาเจอกันเร็วๆ นอกจากเพิ่มรายได้ของ taxi แล้ว
ยังลดปัญหา “taxi ป้ายดำ” อีกด้วย คุ้มครองทั้งผู้รับและผู้ให้บริการอีกด้วย เมื่อบริการดี คนก็จะหันมาใช้บริการ taxi เพิ่มมากขึ้น คราวนี้
รายได้ยิ่งเพิ่มเข้าไปอีก

ลองคิดเล่นๆ นะครับ ถ้าขึ้นค่าบริการ แล้ว taxi พออยู่ได้ แต่เมื่อมีคนขับ taxi เพิ่มขึ้น การแข่งกันมากขึ้น รายได้ก็ลดลงอยู่ดี
คนหันมาขับ taxi มากขึ้น คนที่ได้รับผลประโยชน์ก็คือ “ผู้ให้เช่า” มากกว่า “ผู้ใช้บริการ” เพราะผู้ใช้บริการไม่ได้เลือกว่า จะนั่งคันนี้ ไม่นั่งคันนู้น
แต่เป็น taxi ที่เลือก จะรับ/ไม่รับ ซะมากกว่า

ผมคิดถูก/ผิดอย่างไร หรือมีข้อแนะนำข้อคิดอะไร ช่วยอธิบายทีครับ รู้สึกว่าจะมอง “ผู้ให้เช่า” Dark ไปหน่อย จะโดนเก็บไหมครับเนี่ย

คำถามเพิ่มเติม
1.เป็นไปได้หรือไม่ที่ การเดินทาง ด้วย taxi จะถูกกว่าตุ้นทุนการเดินทางด้วยรถส่วนตัว ที่ต้องเสียทั้งเชื้อเพลิงและค่าบำรุงรักษา แถม
ต้นทุนทางอารมณ์ที่ไม่สามารถประเมินได้อีก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่