เหตุการณ์ สั่งยุติ การเสวนาที่มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พร้อมมีเจ้าหน้าที่ควบคุม
ตัวคณะอาจารย์และนักศึกษา นำโดย นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ ส่งโรงพักนั้น
นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่เฉพาะแวดวงมหาวิทยาลัย แต่ยังถูกจับตาจากสังคมทั้งในและ
นอกประเทศด้วย
ขณะ เดียวกัน 60 นักวิชาการจาก 16 สถาบันได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงคสช. เรียกร้องให้เคารพ
เสรีภาพทางวิชาการ โดยอาจารย์จำนวนหนึ่งที่ร่วมลงชื่อ ย้ำจุดยืนการเคลื่อนไหวดังต่อไปนี้
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์
ตาม มาตรฐานทางวิชาการ มีวิธีจัดการความสัมพันธ์ระหว่างวิชาการกับอำนาจการปกครอง
โดยกฎหมายตามปกติหากงานวิชาการไปละเมิดหรือกระทบกับการปกครอง สามารถส่งศาล
ฟ้องร้องกันได้
แต่ในภาวะที่กฎหมายถูกยึดอำนาจ การจัดการเส้นแบ่งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่ยึดอำนาจนั้นตัดสิน
หากตัดสินแล้วไม่ละเมิดผู้อื่น สังคมก็ยอมรับ
แต่ถ้างานวิชาการนั้น ไม่ได้ทำลายหรือล้มเส้นแบ่งความสัมพันธ์ทางการปกครอง ต้องดูว่าเป็น
เรื่องที่ยอมให้มีการละเมิดได้แค่ไหน ทางที่ดีควรให้สังคมตัดสินว่างานวิชาการนั้นกระทบต่อการ
ปกครองหรือไม่ หากกระทบก็คัดค้าน หากไม่ก็สนับสนุน
แม้เสรีภาพจะถูกบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ แต่มักถูกละเมิดโดยนำกฎหมายอื่นมาเอาผิด ทุก
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยยอมรับว่าเสรีภาพไม่ได้เกิดจากกฎหมาย แต่เกิดจากสังคมเห็นพ้อง
ร่วมกันว่าสิ่งนั้นถูกต้อง และคนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพมักจะกลายเป็น ผู้สังเวย แต่คนที่เห็นเป็น
รูปธรรมก็คือคนรุ่นหลัง
ขณะนี้เราเหมือนกลับไปสู่ จุดเริ่มต้น เพราะประชาธิปไตยของเรายังไม่เคยลงราก เป็นประชาธิปไตย
ที่ลอยอยู่เหนือน้ำ จึงถูกตัดขาดได้ง่าย ผู้ที่ไม่มีจิตวิญญาณแห่งเสรีภาพจึงไม่แคร์กับการถูกละเมิด
เสรีภาพนั้น
การ คุมตัวนักวิชาการหรือการส่งเนื้อหาวิชาการให้ผู้มีอำนาจตรวจสอบ ต่างชาติเขารายงานข่าว
นี้ด้วยความสังเวชใจ เพราะที่ผ่านมาประชาธิปไตยของเราถูกมองว่าดีกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค
เดียว กัน แต่ขณะนี้กลับกลายเป็นว่าหนักกว่าประเทศอื่น
สมัย 6 ตุลาฯ ยุคธานินทร์ กรัยวิเชียร เคยมีเหตุการณ์ผู้มีอำนาจเผาหนังสือ เอาตำราเรียนโยนทิ้ง
แม่น้ำ บรรดาอาจารย์ถูกควบคุมตัวโดยกอ.รมน.ประจำภาค ซึ่งขณะนี้มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์
นั้นมาก
ผู้ที่มีอำนาจควรพิจารณาว่า เมื่อเข้ามามีอำนาจแล้วอยากให้คนเชื่อด้วยความกลัว หรือให้คนเชื่อ
ด้วยความศรัทธา
ฮารา ชินทาโร่
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานี
ผมร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐเคารพพื้นที่ทางวิชาการนั้น เป็นการแนะนำในทางบวก
ไม่ใช่การด่าหรือตอบโต้
หาก คสช.อ้างถึงความต้องการให้เกิดความสงบสุขและความปรองดอง โดยไม่ให้จัดเสวนาวิชาการ
ในมหาวิทยาลัย ก็บ่งบอกถึงความไม่ต้องการใช้เหตุผล ซึ่งในระยะยาวจะเป็นผลเสีย
ในสายตาต่างประเทศจะยิ่งไม่เชื่อมั่น เพราะประชาชนไทยไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ยิ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้ง
ใน สังคมหรือประเทศที่ต้องการเป็นประชาธิปไตย รัฐบาลไม่สามารถจำกัดสิทธิเสรีภาพในการ
แสดงความเห็นของประชาชนได้ ทั้งยังต้องได้รับการคุ้มครองเป็นอันดับแรกด้วยซ้ำ
หลักการก่อตั้ง มหาวิทยาลัย คือการแสวงหาความรู้ซึ่งต้อง เปิดกว้าง ไม่อาจบังคับหรือล้างสมอง
กันได้ มหาวิทยาลัยคือพื้นที่ถกเถียงทางความคิด ซึ่งย่อมเป็นความคิดที่แตกต่างหลากหลาย
เพื่อนำไปสู่บรรยากาศในการอยู่ร่วมกันตามสังคมประชาธิปไตย
ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีงานเสวนาวิชาการที่ไหนก่อให้เกิดการจลาจลอย่างที่ฝ่าย ความมั่นคงกลัว
และหวาดระแวง หากมหาวิทยาลัยไม่มีพื้นที่การเสวนาวิชาการเสียแล้ว อุดมศึกษาก็ไม่มีความ
หมายสำหรับสังคมอีกต่อไป กลายเป็นโรงเรียนธรรมดาที่ผลิตคนที่มีแต่การท่องจำ และการบังคับ
ให้เชื่อตามๆ กันไป ไม่ใช่สังคมที่มีวิญญาณหรือจิตใจ
สังเกต ได้ในประเทศที่เป็นเผด็จการ เช่น เกาหลีเหนือ เราไม่อาจรู้จักนักวิชาการสักคน หรือผลงาน
การวิจัยที่สำคัญ เพราะเป็นประเทศปิด ขณะที่เราจดจำชื่อนักวิชาการคนสำคัญหลายๆ คนได้ ซึ่งพวก
เขาอยู่ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ผลงานของพวกเขามีความสำคัญในแวดวงการศึกษา
แม้ขณะนี้ประชาชนยังไม่มีสิทธิในการเลือกตั้ง แต่อย่างน้อยเชื่อว่าการที่ผู้นำประเทศรับฟังเสียงคน
ทุกฝ่าย ย่อมเป็น ผลดีกับประเทศชาติ
อนุสรณ์ อุณโณ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
เหตุการณ์ ระงับงานเสวนาทางวิชาการ ของนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ สะท้อนว่าแหล่งบ่มเพาะ
ทางสติปัญญาของสังคมกำลังถูกทำลาย ทั้งที่ความผิดยังไม่เกิดขึ้น
เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวนักศึกษาและ นักวิชาการทั้งที่ยังไม่มีหลักฐานกระทำผิด ทำให้เรารับรู้ได้อีก
ว่าสภาวการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ ไม่พร้อมรับฟังความเห็นต่างใดๆ
ไม่เข้าใจว่ากรอบที่ว่านั้นคืออะไร แต่ในทางวิชาการมีกรอบของมันเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจริยธรรมการ
ทำวิจัยที่เคารพบุคคล ที่อ้างถึง ยึดถือเหตุผล ข้อมูลข้อเท็จจริง และทฤษฎี
ขณะเดียวกันวิชาการคือพื้นที่ของการถก เถียงโต้แย้งกัน หากเห็นว่าเหตุผล ข้อมูลข้อเท็จจริง
และทฤษฎีที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างถึงผิดเพี้ยน ตรงนี้ไม่ใช่การเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือการยุยง
ปลุกปั่นให้เกิดการกระด้างกระเดื่องตามที่กล่าวอ้าง
ใน ทางกลับกันหากเสรีภาพทางวิชาการถูกปิดกั้น หมาย ความว่าจะมีผู้แสดงความคิดเห็นได้
เพียงฝ่ายเดียว ส่วนอีกฝ่ายที่เห็นต่างก็จะถูกทอดทิ้ง
การส่งหัวข้อเสวนาคงเป็น มาตรการสำหรับนักศึกษา ทั้งที่ถือเป็นการดำเนินกิจกรรมนอกห้องเรียน
ที่เราควรให้ความสำคัญและเปิด พื้นที่ให้ ไม่น่าที่จะต้องตรวจสอบก่อนดำเนินการ
และโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในสภาวการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ ที่ระยะสั้นอาจเห็นว่ามันเงียบสงบ
แต่ในระยะยาวจะไม่เป็นอย่างนั้นแน่ จำเป็นต้องพูดคุยถกเถียงในวงกว้างเพื่อให้สังคมรับรู้และ
ร่วมหาทางคลี่คลาย ปัญหาในอนาคต
อาจารย์ธรรมศาสตร์นอกจากลงชื่อแนบท้ายคำประกาศแล้ว ยังตระหนักอีกว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องหาพื้นที่พูดคุยกับบุคคล ที่มีอำนาจอย่างเป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น
เบื้องต้นหารือกันว่าจะจัด งานเสวนาอย่างต่อเนื่องในศาสตร์ทุกสาขา ยืนยันว่าไม่มีใครอยาก
เห็นความไม่สงบ หรือความโกลาหลเกิดขึ้นในประเทศ หากแต่ต้องการเสนอทางเลือกให้เป็น
ทางออกจากปัญหา
เพื่อให้เราสามารถเดินทางข้ามระยะเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในระหว่าง 1-2 ปีนี้ให้ได้
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE1UUTROelE1Tmc9PQ==§ionid=
รายงานพิเศษ : เสรีภาพทางวิชาการในยุคคสช. ข่าวสดออนไลน์
ตัวคณะอาจารย์และนักศึกษา นำโดย นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ ส่งโรงพักนั้น
นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่เฉพาะแวดวงมหาวิทยาลัย แต่ยังถูกจับตาจากสังคมทั้งในและ
นอกประเทศด้วย
ขณะ เดียวกัน 60 นักวิชาการจาก 16 สถาบันได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงคสช. เรียกร้องให้เคารพ
เสรีภาพทางวิชาการ โดยอาจารย์จำนวนหนึ่งที่ร่วมลงชื่อ ย้ำจุดยืนการเคลื่อนไหวดังต่อไปนี้
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์
ตาม มาตรฐานทางวิชาการ มีวิธีจัดการความสัมพันธ์ระหว่างวิชาการกับอำนาจการปกครอง
โดยกฎหมายตามปกติหากงานวิชาการไปละเมิดหรือกระทบกับการปกครอง สามารถส่งศาล
ฟ้องร้องกันได้
แต่ในภาวะที่กฎหมายถูกยึดอำนาจ การจัดการเส้นแบ่งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่ยึดอำนาจนั้นตัดสิน
หากตัดสินแล้วไม่ละเมิดผู้อื่น สังคมก็ยอมรับ
แต่ถ้างานวิชาการนั้น ไม่ได้ทำลายหรือล้มเส้นแบ่งความสัมพันธ์ทางการปกครอง ต้องดูว่าเป็น
เรื่องที่ยอมให้มีการละเมิดได้แค่ไหน ทางที่ดีควรให้สังคมตัดสินว่างานวิชาการนั้นกระทบต่อการ
ปกครองหรือไม่ หากกระทบก็คัดค้าน หากไม่ก็สนับสนุน
แม้เสรีภาพจะถูกบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ แต่มักถูกละเมิดโดยนำกฎหมายอื่นมาเอาผิด ทุก
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยยอมรับว่าเสรีภาพไม่ได้เกิดจากกฎหมาย แต่เกิดจากสังคมเห็นพ้อง
ร่วมกันว่าสิ่งนั้นถูกต้อง และคนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพมักจะกลายเป็น ผู้สังเวย แต่คนที่เห็นเป็น
รูปธรรมก็คือคนรุ่นหลัง
ขณะนี้เราเหมือนกลับไปสู่ จุดเริ่มต้น เพราะประชาธิปไตยของเรายังไม่เคยลงราก เป็นประชาธิปไตย
ที่ลอยอยู่เหนือน้ำ จึงถูกตัดขาดได้ง่าย ผู้ที่ไม่มีจิตวิญญาณแห่งเสรีภาพจึงไม่แคร์กับการถูกละเมิด
เสรีภาพนั้น
การ คุมตัวนักวิชาการหรือการส่งเนื้อหาวิชาการให้ผู้มีอำนาจตรวจสอบ ต่างชาติเขารายงานข่าว
นี้ด้วยความสังเวชใจ เพราะที่ผ่านมาประชาธิปไตยของเราถูกมองว่าดีกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค
เดียว กัน แต่ขณะนี้กลับกลายเป็นว่าหนักกว่าประเทศอื่น
สมัย 6 ตุลาฯ ยุคธานินทร์ กรัยวิเชียร เคยมีเหตุการณ์ผู้มีอำนาจเผาหนังสือ เอาตำราเรียนโยนทิ้ง
แม่น้ำ บรรดาอาจารย์ถูกควบคุมตัวโดยกอ.รมน.ประจำภาค ซึ่งขณะนี้มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์
นั้นมาก
ผู้ที่มีอำนาจควรพิจารณาว่า เมื่อเข้ามามีอำนาจแล้วอยากให้คนเชื่อด้วยความกลัว หรือให้คนเชื่อ
ด้วยความศรัทธา
ฮารา ชินทาโร่
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานี
ผมร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐเคารพพื้นที่ทางวิชาการนั้น เป็นการแนะนำในทางบวก
ไม่ใช่การด่าหรือตอบโต้
หาก คสช.อ้างถึงความต้องการให้เกิดความสงบสุขและความปรองดอง โดยไม่ให้จัดเสวนาวิชาการ
ในมหาวิทยาลัย ก็บ่งบอกถึงความไม่ต้องการใช้เหตุผล ซึ่งในระยะยาวจะเป็นผลเสีย
ในสายตาต่างประเทศจะยิ่งไม่เชื่อมั่น เพราะประชาชนไทยไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ยิ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้ง
ใน สังคมหรือประเทศที่ต้องการเป็นประชาธิปไตย รัฐบาลไม่สามารถจำกัดสิทธิเสรีภาพในการ
แสดงความเห็นของประชาชนได้ ทั้งยังต้องได้รับการคุ้มครองเป็นอันดับแรกด้วยซ้ำ
หลักการก่อตั้ง มหาวิทยาลัย คือการแสวงหาความรู้ซึ่งต้อง เปิดกว้าง ไม่อาจบังคับหรือล้างสมอง
กันได้ มหาวิทยาลัยคือพื้นที่ถกเถียงทางความคิด ซึ่งย่อมเป็นความคิดที่แตกต่างหลากหลาย
เพื่อนำไปสู่บรรยากาศในการอยู่ร่วมกันตามสังคมประชาธิปไตย
ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีงานเสวนาวิชาการที่ไหนก่อให้เกิดการจลาจลอย่างที่ฝ่าย ความมั่นคงกลัว
และหวาดระแวง หากมหาวิทยาลัยไม่มีพื้นที่การเสวนาวิชาการเสียแล้ว อุดมศึกษาก็ไม่มีความ
หมายสำหรับสังคมอีกต่อไป กลายเป็นโรงเรียนธรรมดาที่ผลิตคนที่มีแต่การท่องจำ และการบังคับ
ให้เชื่อตามๆ กันไป ไม่ใช่สังคมที่มีวิญญาณหรือจิตใจ
สังเกต ได้ในประเทศที่เป็นเผด็จการ เช่น เกาหลีเหนือ เราไม่อาจรู้จักนักวิชาการสักคน หรือผลงาน
การวิจัยที่สำคัญ เพราะเป็นประเทศปิด ขณะที่เราจดจำชื่อนักวิชาการคนสำคัญหลายๆ คนได้ ซึ่งพวก
เขาอยู่ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ผลงานของพวกเขามีความสำคัญในแวดวงการศึกษา
แม้ขณะนี้ประชาชนยังไม่มีสิทธิในการเลือกตั้ง แต่อย่างน้อยเชื่อว่าการที่ผู้นำประเทศรับฟังเสียงคน
ทุกฝ่าย ย่อมเป็น ผลดีกับประเทศชาติ
อนุสรณ์ อุณโณ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
เหตุการณ์ ระงับงานเสวนาทางวิชาการ ของนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ สะท้อนว่าแหล่งบ่มเพาะ
ทางสติปัญญาของสังคมกำลังถูกทำลาย ทั้งที่ความผิดยังไม่เกิดขึ้น
เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวนักศึกษาและ นักวิชาการทั้งที่ยังไม่มีหลักฐานกระทำผิด ทำให้เรารับรู้ได้อีก
ว่าสภาวการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ ไม่พร้อมรับฟังความเห็นต่างใดๆ
ไม่เข้าใจว่ากรอบที่ว่านั้นคืออะไร แต่ในทางวิชาการมีกรอบของมันเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจริยธรรมการ
ทำวิจัยที่เคารพบุคคล ที่อ้างถึง ยึดถือเหตุผล ข้อมูลข้อเท็จจริง และทฤษฎี
ขณะเดียวกันวิชาการคือพื้นที่ของการถก เถียงโต้แย้งกัน หากเห็นว่าเหตุผล ข้อมูลข้อเท็จจริง
และทฤษฎีที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างถึงผิดเพี้ยน ตรงนี้ไม่ใช่การเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือการยุยง
ปลุกปั่นให้เกิดการกระด้างกระเดื่องตามที่กล่าวอ้าง
ใน ทางกลับกันหากเสรีภาพทางวิชาการถูกปิดกั้น หมาย ความว่าจะมีผู้แสดงความคิดเห็นได้
เพียงฝ่ายเดียว ส่วนอีกฝ่ายที่เห็นต่างก็จะถูกทอดทิ้ง
การส่งหัวข้อเสวนาคงเป็น มาตรการสำหรับนักศึกษา ทั้งที่ถือเป็นการดำเนินกิจกรรมนอกห้องเรียน
ที่เราควรให้ความสำคัญและเปิด พื้นที่ให้ ไม่น่าที่จะต้องตรวจสอบก่อนดำเนินการ
และโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในสภาวการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ ที่ระยะสั้นอาจเห็นว่ามันเงียบสงบ
แต่ในระยะยาวจะไม่เป็นอย่างนั้นแน่ จำเป็นต้องพูดคุยถกเถียงในวงกว้างเพื่อให้สังคมรับรู้และ
ร่วมหาทางคลี่คลาย ปัญหาในอนาคต
อาจารย์ธรรมศาสตร์นอกจากลงชื่อแนบท้ายคำประกาศแล้ว ยังตระหนักอีกว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องหาพื้นที่พูดคุยกับบุคคล ที่มีอำนาจอย่างเป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น
เบื้องต้นหารือกันว่าจะจัด งานเสวนาอย่างต่อเนื่องในศาสตร์ทุกสาขา ยืนยันว่าไม่มีใครอยาก
เห็นความไม่สงบ หรือความโกลาหลเกิดขึ้นในประเทศ หากแต่ต้องการเสนอทางเลือกให้เป็น
ทางออกจากปัญหา
เพื่อให้เราสามารถเดินทางข้ามระยะเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในระหว่าง 1-2 ปีนี้ให้ได้
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE1UUTROelE1Tmc9PQ==§ionid=