หลังจาก "โอบามา" มีคำสั่งด่วนให้ทหารอเมริกา 3,000 นาย เตรียมตัวไปสู้รบกับไวรัสร้ายอีโบลาที่แอฟริกาตะวันตกเมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่ผ่านมา ขณะเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (ซีดีซี) ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ...ดูเหมือนชาวอเมริกันจะมีทั้งกลุ่มเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย !?!
โดยกลุ่มที่สนับสนุนมองว่า ถึงเวลาแล้วที่พี่บิ๊กของโลกต้องยื่นมือไปช่วยยับยั้งการระบาดของเชื้อมรณะตัวนี้ ก่อนจะลุกลามไปทั่วโลก และสหรัฐอเมริกาอาจกลายเป็นเหยื่อไปด้วย ขณะที่ฝ่ายต่อต้านมองว่า กองทหาร 3,000 นายนั้น สุดท้ายต้องเดินทางกลับเข้ามาอเมริกา ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีใครติดเชื้อร้ายกลับมาหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น การส่งทหารจำนวนมากไป ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่ควรส่งบุคลากรทางการแพทย์ไปช่วยจะดีกว่า...
ระหว่างที่ฝั่งอเมริกากำลังถกเถียงกันเรื่องนี้ คืนวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา ฝั่งยุโรปได้ประกาศผลงานการพัฒนาวัคซีนต่อสู้อีโบลาให้ชาวโลกได้รับรู้ โดย "ศ.เอเดรียน ฮิลล์" มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ประกาศว่า หลังจากทดลองวัคซีนมากว่า 100 ตัว ผลปรากฏว่า มีตัวหนึ่งที่เชื่อว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จในการป้องกันอีโบลา จึงเปิดรับอาสาสมัครร่างกายแข็งแรง 60 คน เพื่อทดลองฉีดวัคซีนที่มีชื่อรหัสว่า “Ebola cAd3 [Zaire]” หรือเป็นวัคซีนที่ป้องกันอีโบลาสายพันธุ์ซาอีร์ ที่กำลังระบาดหนักในปีนี้
อาสาสมัครรายแรกเข้ารับการฉีดวัคซีนช่วงทดลองนี้ คือ "รูธ แอคคินส์" อดีตพยาบาลวัย 48 ปี เธอให้สัมภาษณ์ว่า อยากมีส่วนร่วมในการหยุดยั้งเชื้ออีโบลามานานแล้ว แต่ไม่รู้จะช่วยได้ยังไง พอรู้ว่ามีโครงการรับอาสาสมัครดังกล่าวก็เลยรีบตอบรับทันที ทั้งนี้วัคซีนข้างต้นเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง "กลาสโซสมิทไคลน์" (GlaxoSmithkline: GSK) บริษัทยาเอกชนยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ กับสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases: NIAID) ของอเมริกา
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายว่า ขณะนี้มีหลายประเทศกำลังทดลองยาและวัคซีนเพื่อช่วยกันหยุดยังไวรัสร้ายตัวนี้ และวัคซีนข้างต้นเป็นเพียงตัวหนึ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ช่วงแรกจะไม่เปิดเผยรายละเอียดออกมานัก
"การทดลองวัคซีนในมนุษย์ต้องทำ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ทำเพื่อดูว่ามีความปลอดภัยในคนหรือไม่ ฉีดเข้าไปแล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แล้วค่อยยกระดับเป็นขั้นที่ 2 คือ ฉีดเพื่อศึกษาว่าวัคซีนตัวนี้ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาหรือไม่ ส่วนขั้นที่ 3 ต้องฉีดในจำนวนคนเยอะๆ หลายพันคน เพื่อดูว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ปกติจะต้องใช้เวลา 3-5 ปี แต่ช่วงที่อีโบลาระบาดหนักแบบนี้ อาจมีการย่นระยะเวลาให้น้อยลงได้ แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่า อีกกี่เดือนหรือกี่ปี" ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.ดร.พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า วัคซีนที่กำลังทดลองใช้นั้น เป็นเพียงขั้นเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากอังกฤษแล้วยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังทดลอง เช่น จีน อเมริกา เยอรมนี ฯลฯ คงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เมื่อใส่ไปในร่างกายแล้ว ทำให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่ช่วงนี้นักวิทยาศาสตร์หลายคนรู้สึกกังวลใจ คือ เรื่องการกลายพันธุ์ของไวรัสอีโบลาว่าอาจทำให้วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหานี้ยังไม่มีใครสามารถตอบได้ เพราะคาดเดาไม่ได้ว่า ไวรัสตัวนี้จะกลายพันธุ์ที่ยีนตำแหน่งใด ถ้าเป็นตำแหน่งเดียวกับวัคซีนหรือยาที่ผลิตออกมาจะไม่ได้ผล
"ส่วนเรื่องที่สันนิษฐานกันว่า เชื้ออีโบลาอาจกลายพันธุ์จนทำให้เกิดการแพร่ระบาดด้วยระบบทางเดินอากาศ แทนการสัมผัสเชื้อโดยตรงนั้น ตอนนี้จะพิสูจน์ไม่ได้เลย เพราะทางระบาดวิทยาแล้วต้องรอจนกว่าการระบาดรอบนี้จะเสร็จสิ้นลง หรือใกล้ๆ จะจบ ช่วงนี้กำลังระบาดหนัก ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะจบหรือควบคุมได้ช่วงไหน เมื่อการระบาดจบลง ผู้เชี่ยวชาญก็จะค่อยๆ สืบหาสาเหตุไปเรื่อยๆ ว่า มีเคสไหนบ้างที่น่าสงสัย ขั้นตอนเหล่านี้ใช้เวลานาน" ผู้เชี่ยวชาญไวรัสข้างต้น กล่าว
นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ปกติวิธีพิสูจน์เบื้องต้นจะเริ่มจากสัตว์ในห้องทดลอง เช่น เอาเชื้อไวรัสอีโบลาใส่ในลิง 1 ตัว แล้วให้ลิงอีกตัวที่ไม่มีเชื้อไวรัสอีโบลาอยู่ในกรงใกล้ๆ กัน ไม่สามารถสัมผัสกันได้ แต่หายใจด้วยอากาศในห้องเดียวกัน ถ้าลิงตัวที่ 2 ติดเชื้ออีโบลา ก็แสดงว่ามีความเป็นไปได้ที่จะติดจากทางอากาศไม่ใช่จากการสัมผัสอย่างเดียว
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญไวรัสในประเทศไทยกล่าวแนะนำคล้ายคลึงกันว่า สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขควรทำอย่างเร่งด่วน คือ เตรียมพร้อมในเรื่องอุปกรณ์ป้องกันทุกอย่างไว้ให้มากที่สุด และต้องติดตามศึกษาเรื่องยากับวัคซีนอย่างใกล้ชิด เพราะถ้าเชื้อร้ายตัวนี้ระบาดมาถึงเมืองไทยเมื่อไรจะได้มีมาตรการรับมือที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องวัคซีน ที่ดูเหมือนจะไม่ไกลเกินฝันมากนัก
ล่าสุด สื่อมวลชนของแคนาดารายงานว่า รัฐบาลสามารถผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลาได้แล้ว 1,500 โดส แต่เก็บไว้ใช้ภายในประเทศจำนวนหนึ่ง และจะพยายามผลิตเพิ่มให้มากที่สุดภายใน 6 เดือน ส่วนองค์การอนามัยโลกก็ให้ความหวังว่า วัคซีนอีโบลาน่าจะสำเร็จไม่เกิน ปี 2015 เนื่องจากหลายประเทศกำลังร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพราะเชื่อว่า การระบาดของเชื้ออีโบลาในอนาคตอาจไม่ได้เกิดเฉพาะในพื้นที่แอฟริกาเท่านั้น แต่อาจแพร่ไปที่ทวีปอื่นก็ได้...
http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140922/192555.html
วัคซีน‘อีโบลา’...ฝันไกลหรือใกล้จริง?
หลังจาก "โอบามา" มีคำสั่งด่วนให้ทหารอเมริกา 3,000 นาย เตรียมตัวไปสู้รบกับไวรัสร้ายอีโบลาที่แอฟริกาตะวันตกเมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่ผ่านมา ขณะเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (ซีดีซี) ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ...ดูเหมือนชาวอเมริกันจะมีทั้งกลุ่มเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย !?!
โดยกลุ่มที่สนับสนุนมองว่า ถึงเวลาแล้วที่พี่บิ๊กของโลกต้องยื่นมือไปช่วยยับยั้งการระบาดของเชื้อมรณะตัวนี้ ก่อนจะลุกลามไปทั่วโลก และสหรัฐอเมริกาอาจกลายเป็นเหยื่อไปด้วย ขณะที่ฝ่ายต่อต้านมองว่า กองทหาร 3,000 นายนั้น สุดท้ายต้องเดินทางกลับเข้ามาอเมริกา ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีใครติดเชื้อร้ายกลับมาหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น การส่งทหารจำนวนมากไป ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่ควรส่งบุคลากรทางการแพทย์ไปช่วยจะดีกว่า...
ระหว่างที่ฝั่งอเมริกากำลังถกเถียงกันเรื่องนี้ คืนวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา ฝั่งยุโรปได้ประกาศผลงานการพัฒนาวัคซีนต่อสู้อีโบลาให้ชาวโลกได้รับรู้ โดย "ศ.เอเดรียน ฮิลล์" มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ประกาศว่า หลังจากทดลองวัคซีนมากว่า 100 ตัว ผลปรากฏว่า มีตัวหนึ่งที่เชื่อว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จในการป้องกันอีโบลา จึงเปิดรับอาสาสมัครร่างกายแข็งแรง 60 คน เพื่อทดลองฉีดวัคซีนที่มีชื่อรหัสว่า “Ebola cAd3 [Zaire]” หรือเป็นวัคซีนที่ป้องกันอีโบลาสายพันธุ์ซาอีร์ ที่กำลังระบาดหนักในปีนี้
อาสาสมัครรายแรกเข้ารับการฉีดวัคซีนช่วงทดลองนี้ คือ "รูธ แอคคินส์" อดีตพยาบาลวัย 48 ปี เธอให้สัมภาษณ์ว่า อยากมีส่วนร่วมในการหยุดยั้งเชื้ออีโบลามานานแล้ว แต่ไม่รู้จะช่วยได้ยังไง พอรู้ว่ามีโครงการรับอาสาสมัครดังกล่าวก็เลยรีบตอบรับทันที ทั้งนี้วัคซีนข้างต้นเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง "กลาสโซสมิทไคลน์" (GlaxoSmithkline: GSK) บริษัทยาเอกชนยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ กับสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases: NIAID) ของอเมริกา
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายว่า ขณะนี้มีหลายประเทศกำลังทดลองยาและวัคซีนเพื่อช่วยกันหยุดยังไวรัสร้ายตัวนี้ และวัคซีนข้างต้นเป็นเพียงตัวหนึ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ช่วงแรกจะไม่เปิดเผยรายละเอียดออกมานัก
"การทดลองวัคซีนในมนุษย์ต้องทำ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ทำเพื่อดูว่ามีความปลอดภัยในคนหรือไม่ ฉีดเข้าไปแล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แล้วค่อยยกระดับเป็นขั้นที่ 2 คือ ฉีดเพื่อศึกษาว่าวัคซีนตัวนี้ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาหรือไม่ ส่วนขั้นที่ 3 ต้องฉีดในจำนวนคนเยอะๆ หลายพันคน เพื่อดูว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ปกติจะต้องใช้เวลา 3-5 ปี แต่ช่วงที่อีโบลาระบาดหนักแบบนี้ อาจมีการย่นระยะเวลาให้น้อยลงได้ แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่า อีกกี่เดือนหรือกี่ปี" ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.ดร.พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า วัคซีนที่กำลังทดลองใช้นั้น เป็นเพียงขั้นเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากอังกฤษแล้วยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังทดลอง เช่น จีน อเมริกา เยอรมนี ฯลฯ คงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เมื่อใส่ไปในร่างกายแล้ว ทำให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่ช่วงนี้นักวิทยาศาสตร์หลายคนรู้สึกกังวลใจ คือ เรื่องการกลายพันธุ์ของไวรัสอีโบลาว่าอาจทำให้วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหานี้ยังไม่มีใครสามารถตอบได้ เพราะคาดเดาไม่ได้ว่า ไวรัสตัวนี้จะกลายพันธุ์ที่ยีนตำแหน่งใด ถ้าเป็นตำแหน่งเดียวกับวัคซีนหรือยาที่ผลิตออกมาจะไม่ได้ผล
"ส่วนเรื่องที่สันนิษฐานกันว่า เชื้ออีโบลาอาจกลายพันธุ์จนทำให้เกิดการแพร่ระบาดด้วยระบบทางเดินอากาศ แทนการสัมผัสเชื้อโดยตรงนั้น ตอนนี้จะพิสูจน์ไม่ได้เลย เพราะทางระบาดวิทยาแล้วต้องรอจนกว่าการระบาดรอบนี้จะเสร็จสิ้นลง หรือใกล้ๆ จะจบ ช่วงนี้กำลังระบาดหนัก ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะจบหรือควบคุมได้ช่วงไหน เมื่อการระบาดจบลง ผู้เชี่ยวชาญก็จะค่อยๆ สืบหาสาเหตุไปเรื่อยๆ ว่า มีเคสไหนบ้างที่น่าสงสัย ขั้นตอนเหล่านี้ใช้เวลานาน" ผู้เชี่ยวชาญไวรัสข้างต้น กล่าว
นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ปกติวิธีพิสูจน์เบื้องต้นจะเริ่มจากสัตว์ในห้องทดลอง เช่น เอาเชื้อไวรัสอีโบลาใส่ในลิง 1 ตัว แล้วให้ลิงอีกตัวที่ไม่มีเชื้อไวรัสอีโบลาอยู่ในกรงใกล้ๆ กัน ไม่สามารถสัมผัสกันได้ แต่หายใจด้วยอากาศในห้องเดียวกัน ถ้าลิงตัวที่ 2 ติดเชื้ออีโบลา ก็แสดงว่ามีความเป็นไปได้ที่จะติดจากทางอากาศไม่ใช่จากการสัมผัสอย่างเดียว
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญไวรัสในประเทศไทยกล่าวแนะนำคล้ายคลึงกันว่า สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขควรทำอย่างเร่งด่วน คือ เตรียมพร้อมในเรื่องอุปกรณ์ป้องกันทุกอย่างไว้ให้มากที่สุด และต้องติดตามศึกษาเรื่องยากับวัคซีนอย่างใกล้ชิด เพราะถ้าเชื้อร้ายตัวนี้ระบาดมาถึงเมืองไทยเมื่อไรจะได้มีมาตรการรับมือที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องวัคซีน ที่ดูเหมือนจะไม่ไกลเกินฝันมากนัก
ล่าสุด สื่อมวลชนของแคนาดารายงานว่า รัฐบาลสามารถผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลาได้แล้ว 1,500 โดส แต่เก็บไว้ใช้ภายในประเทศจำนวนหนึ่ง และจะพยายามผลิตเพิ่มให้มากที่สุดภายใน 6 เดือน ส่วนองค์การอนามัยโลกก็ให้ความหวังว่า วัคซีนอีโบลาน่าจะสำเร็จไม่เกิน ปี 2015 เนื่องจากหลายประเทศกำลังร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพราะเชื่อว่า การระบาดของเชื้ออีโบลาในอนาคตอาจไม่ได้เกิดเฉพาะในพื้นที่แอฟริกาเท่านั้น แต่อาจแพร่ไปที่ทวีปอื่นก็ได้...
http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140922/192555.html