(บทความ) iPHONE 6 วัตถุนิยมชิ้นใหม่ ติ่งแอปเปิลไทยโคตรบ้าเห่อ! // คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการช่วยปรับพฤติกรรมของลูก ๆ

(บทความ) iPHONE 6 วัตถุนิยมชิ้นใหม่ ติ่งแอปเปิลไทยโคตรบ้าเห่อ! // คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการช่วยปรับพฤติกรรมของลูก ๆ ลดเวลาการรับชมทีวี,ดูทีวีพร้อมกับลูก,ฝึกลูกให้คุ้นเคยกับการปฏิเสธ,ให้รางวัลเด็กด้วย,ชวนลูกเล่นและ ฝึกให้ลูกเสียสละ
ประเด็นหลัก




      ทั้งนี้ ทางเว็บไซต์ parenting.org ได้ให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการช่วยปรับพฤติกรรมของลูก ๆ ให้รอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของลัทธิทุนนิยมเอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
    
       1. ลดเวลาการรับชมทีวี โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการรับชมทีวีของเด็กวัย 1 - 3 ขวบคือ 1 ชั่วโมงต่อวัน
    
       2. ดูทีวีพร้อมกับลูก การที่พ่อแม่นั่งดูอยู่กับลูก ช่วยกลั่นกรองสิ่งต่าง ๆ และให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับวัยของลูก
    
       3. ฝึกลูกให้คุ้นเคยกับการปฏิเสธ เพราะไม่จำเป็นที่เด็กจะต้องได้ "สิ่งของ" ที่พวกเขาต้องการในทันทีที่เรียกร้อง แต่เขาจะได้มันก็ต่อเมื่อถึงโอกาสที่เหมาะสมเท่านั้น
    
       4. ให้รางวัลเด็กด้วย "เวลาและความสนใจ" ไม่ใช่สิ่งของ เมื่อเด็กๆ ทำความดี การกอด หอมแก้ม หรือการให้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันกับลูกๆ เป็นรางวัลที่ดีสำหรับเด็ก
    
       5. ชวนลูกเล่น และทำกิจกรรมต่างๆ
    
       6. ฝึกให้ลูกเสียสละด้วยการพาลูกไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม




______________________________




ไอโฟน 6 วัตถุนิยมชิ้นใหม่ ติ่งแอปเปิลไทยโคตรบ้าเห่อ!




ปรากฏการณ์คลั่งมือถือมีมาทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ช่วงมือถือรุ่นโนเกียดังๆ จนมาถึงรุ่นไอโฟน ของแบบนี้ รวย มีตังค์ก็ซื้อกันไป แต่ถ้าซื้อแล้วทุกข์ เพราะต้องแบกรับภาระผูกพันหนี้สินรายเดือน แบบนี้ก็ไม่ไหว เผลอๆ อาจจะถูกหัวเราะใส่ ตกเป็นขี้ปากชาวบ้าน แต่งตัวดี ใช้มือถือรุ่นแพง แต่เงินในกระเป๋าแฟบ ไม่มีกิน! สร้างค่านิยมผิดเพี้ยนไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน ผลาญเงินพ่อแม่เพื่ออัปตัวเองให้ดูโก้หรู
      
       ไอโฟน 6 วัตถุนิยมชิ้นใหม่
      
       ปฏิเสธไม่ได้ว่า 'ไอโฟน' เป็นโทรศัพท์มือถือที่ทั่วโลกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา ความนิยมของสมาร์ทโฟนแบรนด์นี้นับวันยิ่งทวีความร้อนแรง เช่นเดียวกับในประเทศไทย ผู้ใช้มือถือหลายคนต่างสมัครเป็นสาวกกันเพียบ โดยเฉพาะรุ่นใหม่ล่าสุด แม้จะยังไม่เข้าไทยอย่างเป็นทางการ แต่ก็ที่มีผู้ค้ามือถือหลายรายหิ้วมาขายกันแล้ว
      
       "บางคนซื้อเดือน หรือสองเดือนก็เปลี่ยน รอเล่นของใหม่ไปเรื่อยๆ บางคนซื้อครบทุกสียังมีเลย ซึ่งก็แล้วแต่คน อย่างไอโฟน 6 มีเงินอยากเท่ก็ซื้อเครื่องหิ้วกันไป อยากเท่ก่อนก็ซื้อก่อน" โป๊งเหน่ง ผู้ค้ามือถือร้าน เอ.โอ.บี โมบายในห้างมาบุญครอง ตอกย้ำให้เห็นถึงความคลั่งไคล้ของคนกลุ่มหนึ่งที่อยากเท่ก่อนใคร ยอมทุ่มเงินซื้อ "เครื่องหิ้วไอโฟน 6" ล็อตแรกในราคาเฉียดแสน ทั้งยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า ใครมีไว้ครอบครองย่อมได้รับความโก้เก๋ ดูมีระดับ
      
       ไม่แปลกที่ใครหลายคนอยากจะมีไว้ครอบครอง ทั้งเด็กนักเรียน คนทำงาน รวมไปถึงดารา คนดัง แม้บางคนจะซื้อไม่คุ้มกับเงินที่เสียไปก็ตาม
      
       เรื่องนี้ ป็อก ผู้ค้ามือถือร้าน กู๊ดลัก โมบาย มองว่า ไทยเห่อมีเยอะ อยากเท่ อยากโก้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านปัจจัย และความสุขส่วนตัว
      
       "ถามว่าคนสมัยนี้ใช้มือถือกันคุ้มกับเงินที่เสียไปมั้ย บางคนก็แค่ซื้อ เพราะอยากโก้ เอาจริงๆ แค่เล่นไลน์ เล่นเฟซบุ๊ก หรือเล่นเกมเท่านั้นเอง ในขณะที่บางคน ทำอะไรไม่เป็นเลย ต้องให้ที่ร้านสมัครโน่นนี่นั่นให้ หรือยื่นบัตรเครดิตมาให้สมัครก็มี" เขาเผย พร้อมกับให้ข้อมูลต่อไปว่า ลูกค้าที่มาจองเครื่องหิ้วราคาเฉียดแสน ส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดมากกว่าคนกรุงเทพฯ
      
       ไทยขี้เห่อ เสพติดวัตถุเกินพอดี!
      
       อย่างไรก็ดี ในความเป็นสมาร์ทโฟนแบรนด์ดัง แน่นอนว่า มันได้กลายเป็นวัตถุนิยมที่กลืนกินชีวิตคนยุคใหม่ไปแล้ว ซึ่งมีเสียงสะท้อนทั้งด้านที่เป็นความสุขเฉพาะกลุ่ม กับด้านที่ถูกมองว่า เสพติดวัตถุนิยมจนไม่ลืมหูลืมตา และนี่คือความเห็นบางส่วนจากคนในโลกออนไลน์ที่มองถึงปรากฏการณ์คลั่งมือถือของคนยุคนี้
      
       "คนไทยนี่มันบ้าดีเนอะ บ้าวัตถุจนไม่ลืมหูลืมตา เครื่องหนึ่งตกเกือบครึ่งแสน มิน่าล่ะ โจรมันเลยชุกชุมเพราะราคาเครื่องที่มันล่อตาล่อใจ ใครถือออกมาคุยระวังโดนฉกวิ่งราวเอาง่ายๆ เคยมีข่าวมาแล้วด้วย" จากคุณ บ้าวัตถุจนไม่มีความพอเพียง
      
       "คนที่กล้าซื้อคือคนมีเงิน ใจร้อน บ้าวัตถุ อยากเท่" จากคุณ พี่น้อย
      
       "ถ้ารวยก็ซื้อไปเถอะ แต่ถ้าไม่ แนะนำให้เก็บเงินไว้กินจะดีกว่า...เก็บเงินไว้กิน ใช้จ่ายแบบพอเพียง ไม่เดือดร้อน ดีกว่าถือไอโฟนแล้วกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกมื้อ" จากคุณ ใก็ช่างเค้า เราต้องเอาตัวรอดให้เป็น
      
       ทางด้าน พิธีกรและผู้บริหารรายการแบไต๋ไฮเทค พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ผู้คร่ำหวอดในแวดวงไอที เขาเคยออกมาให้ความเห็นผ่านทีมข่าว ASTVผู้จัดการ Live เกี่ยวกับมือถือแบรนด์นี้ ซึ่งในตอนนั้น เขายอมรับว่า เป็นมือถือที่ดีที่สุดในช่วงปี 2553 แต่สิ่งที่อยากโฟกัสก็คือความคุ้มค่าในการใช้งาน
      
       "เปิดแอปเปิลไอดีเพื่อจะโหลดแอปฯ เองเป็นหรือยัง บางคนยังไม่เป็นนะ ซึ่งน่าพูดถึงเหมือนกันว่าคนส่วนใหญ่ที่ซื้อทำไมไม่เปิดแอปเปิ้ลไอดีเอง แต่ทำไมไปโหลดตามตู้ตามมาบุญครอง เสียเงิน 500 บ้าง 1000 บ้าง โหลดมาแล้วก็ไม่ได้ใช้ ผมว่าตรงนี้เป็นจุดด้อยมากๆ ของบ้านเรา คือเป็นผู้บริโภคอย่างแท้จริง เราไม่ได้เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี แต่เราดันต้องใช้ของที่ดีที่สุด แต่ไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพขั้นสูงสุด" ผู้คร่ำหวอดในแวดวงไอทีเผย
      
       หยุดสักที ค่านิยมที่ผิดเพี้ยน
      
       ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า หลายคนติดกับกลไกการตลาด เกิดการสร้างค่านิยมผิดเพี้ยนหล่อหลอมขึ้นในสังคมไทย ถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก รุ่นหลาน ไม่แปลกที่จะเกิดกระแสความฟุ้งเฟ้อบ้าวัตถุของเด็กรุ่นใหม่ ที่นับวันเกราะความยับยั้งชั่งใจเริ่มมีให้เห็นน้อยลง และอาจนำไปสู่การดิ้นรนแสวงหาบนวิถีทางที่ไม่ถูกต้องตามมา
      
       ความน่าเป็นห่วงนี้ พญ.วรรณพักตร์ วิวัฒนวงศา จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น เคยบอกเอาไว้ว่า พ่อแม่เป็นต้นแบบของลูก โดยเฉพาะลูกวัยอนุบาลที่สามารถเปลี่ยนความคิด และมุมมองได้หลายอย่าง ตลอดจนช่วงวัยนี้เรียนรู้ผ่านการเลียนแบบ ถ้าพ่อแม่ทำตัวบ้าวัตถุนิยมให้ลูกเห็นมากเกินไป ลูกอาจซึมซับจนติดเป็นนิสัยเกินตัวได้
      
       นอกจากนั้น สังคมรอบตัวเด็ก ถือเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความอยากได้อยากมีไม่น้อย โดยเฉพาะสังคมเพื่อน ส่งผลให้พ่อแม่จำนวนหนึ่งที่รัก และอยากให้ลูกทัดเทียมกับเพื่อนคนอื่นๆ ออกแสวงหามาสนองความต้องการของลูก สิ่งเหล่านี้ถือเป็นตัวสร้างนิสัยให้ลูกยึดติดเป็นนิสัยเกินตัวได้ง่าย
      
       "หมอเคยเจอพ่อแม่ที่ตามใจลูกมาตลอด ไม่อยากให้ลูกมีปมด้อย แต่พอถึงจุดหนึ่งตัวเองเริ่มไม่ไหว ก็ระเบิดออกมา โดยที่พ่อแม่เองก็ไม่ได้บอกให้ลูกรู้ถึงปัญหาตั้งแต่แรก ลูกก็งง และเสียใจว่า ทำไมไม่บอกเขา แต่โชคดีที่เด็กคิดได้ ถ้าเด็กที่ติดไปแล้ว เขาไม่สนหรอกว่า พ่อแม่จะเป็นอย่างไร ในเมื่อฉันไม่มี คุณมีหน้าที่ไปหาก็ไปหามาสิ กลายเป็นเด็กก้าวร้าว ขาดความเคารพ บางคนขึ้นไอ้อีกับพ่อแม่เลยก็มี" จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นเผยถึงผลกระทบ
      
       ที่น่ากลัวไปกว่านั้น หากพ่อแม่ตอบสนองให้ลูกไม่ได้เหมือนเดิม จิตแพทย์เด็กท่านนี้ บอกด้วยว่า เด็กอาจหลงเข้าสู่ช่องทางแสวงหาที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม
      
       "พ่อแม่ควรชี้ให้ลูกเห็นถึงการใช้ของที่ไม่เกินตัว โดยไม่ทำให้ลูกเห็นว่า ต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อทำให้ตัวเองดูดี พร้อมกับชี้ให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวเอง เพราะการให้คนอื่นยอมรับ และชื่นชม ไม่จำเป็นต้องใช้ของแพง หรือมียี่ห้อเสมอไป แต่การเป็นเด็กดี น่ารักก็ทำให้คนรอบข้างชื่นชมได้เช่นกัน ถ้าเด็กคิดได้แบบนี้ เมื่ออยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยวัตถุ เด็กจะไม่อ่อนไหว และรู้สึกว่าตัวเองมีปัญหา" จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นขยายความ
      
       ทั้งนี้ ทางเว็บไซต์ parenting.org ได้ให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการช่วยปรับพฤติกรรมของลูก ๆ ให้รอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของลัทธิทุนนิยมเอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
      
       1. ลดเวลาการรับชมทีวี โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการรับชมทีวีของเด็กวัย 1 - 3 ขวบคือ 1 ชั่วโมงต่อวัน
      
       2. ดูทีวีพร้อมกับลูก การที่พ่อแม่นั่งดูอยู่กับลูก ช่วยกลั่นกรองสิ่งต่าง ๆ และให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับวัยของลูก
      
       3. ฝึกลูกให้คุ้นเคยกับการปฏิเสธ เพราะไม่จำเป็นที่เด็กจะต้องได้ "สิ่งของ" ที่พวกเขาต้องการในทันทีที่เรียกร้อง แต่เขาจะได้มันก็ต่อเมื่อถึงโอกาสที่เหมาะสมเท่านั้น
      
       4. ให้รางวัลเด็กด้วย "เวลาและความสนใจ" ไม่ใช่สิ่งของ เมื่อเด็กๆ ทำความดี การกอด หอมแก้ม หรือการให้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันกับลูกๆ เป็นรางวัลที่ดีสำหรับเด็ก
      
       5. ชวนลูกเล่น และทำกิจกรรมต่างๆ
      
       6. ฝึกให้ลูกเสียสละด้วยการพาลูกไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
      
       กระแสคลั่งเทคโนโลยียังมีอยู่ และไม่หายไปจากสังคมไทย แถมโลกทุกวันนี้ยังมีของใหม่ๆ ออกมาล่อใจไม่เว้นแต่ละวัน เก็บตังค์ซื้อกันไม่หวาดไม่ไหว บางสิ่งยั่วยวนให้อยากซื้อเครื่องใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะรู้สึกกันว่า ใช้ยังไม่ทันไรก็เก่าแล้ว แต่ในความเก่ามันไร้คุณค่าจริงหรือ แล้วในความใหม่มันดี และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่ หรือสุดท้ายแล้วเป็นเพราะยอมเสียค่าโง่เพื่อแลกกับความโก้หรูตามกระแสนิยม
      
       ... ของแบบนี้ ถ้ารวยมีเงินก็คงไม่มีใครว่า แต่ถ้าซื้อแล้วทุกข์ เพราะต้องแบกรับภาระผูกพันหนี้สินรายเดือน ลองถามตัวเองดูว่ามันคุ้มหรือไม่
      
       ข่าวโดย ASTVผู้จัดการ Live


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000108630
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่