16 ก.ย. 57 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ย้ายสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ออกไปจากกระทรวงอุตสาหกรรม ก็มีความเป็นไปได้ที่จะปรับโครงสร้างการบริหารกระทรวงอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ โดยการนำกระทรวงอุตสาหกรรมรวมกับกระทรวงพาณิชย์ เป็นกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า แบบกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (เมติ) ของญี่ปุ่น ซึ่งผมอาจจะเป็นรัฐมนตรีอุตสาหกรรมคนสุดท้ายก็ได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะได้ข้อสรุป
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า หลักการในการรวมกระทรวงอุตสาหกรรมแลพาณิชย์ ก็เพื่อให้นโยบายการค้าเป็นไปในทิศทางเดียวกันตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิตไปจนถึงการทำตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปิดจุดบกพร่องในปัจจุบันที่นโยบายการผลิต และการค้าไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเกิดผลดีต่อภาคการค้าของไทยทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม หากรูปแบบการรวมกระทรวงมีเพียงการนำกรมภายใต้ทั้ง 2 กระทรวงมาอยู่ภายใต้รัฐมนตรีคนเดียวก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร และยังเกิดปัญหาโครงสร้างการทำงานที่ใหญ่เทอะทะ ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ต่างจากเดิมที่แยกกันทำงาน ซึ่งหากจะใช้รูปแบบนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องควบรวมกระทรวง เพียงแต่ตั้งรองนายกรัฐมนตรีขึ้นมาดูแลทั้ง 2 กระทรวงเป็นการเฉพาะเจาะจง ก็จะช่วยแก้ปัยหาการประสานงานได้บ้างในระดับหนึ่ง
ส่วนแนวทางการรวมกระทรวงที่เกิดผลสูงสุด ควรจะดำเนินตามอย่างกระทรวงเมติของญี่ปุ่น ที่วางโครงสร้างเชิงลึกแบ่งแยกการทำงานของกรมต่างๆอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น กรมรถยนต์ กรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ กรมสิ่งทอ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละกรมก็จะรับผิดชอบในสายงานตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และการทำตลาดการลงทุนในต่างประเทศทั้งสายอุตสาหกรรม มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งยังมีองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ป่น (เจโทร) ทำให้สามารถผลักดันการค้า การลงทุนไปในทิศทางเดียวกัน
ขณะที่ประเทศไทย มีพื้นฐานการผลิตต่างจากญี่ปุ่น ดังนั้นการควบรวมจะต้องเน้นในอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเข้มแข็ง เช่น อุตสาหกรรมแปรรุปสินค้าเกษตร รวมทั้งอาจจะตั้งกรมใหม่ดูแลภาคการผลิตรายคลัสเตอร์ เช่น กรมแปรรูปสินค้าการเกษตร คลัสเตอร์แฟชั่น คลัสเตอร์สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น เพื่อให้แต่ละกรมรับผิดชอบการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และการทำตลาดในประเทศและต่างประเทศ
“การควบรวมในลักษณะนี้แม้จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และก่อประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด แต่ก็เป็นวิธีที่ดำเนินการได้ยาก เพราะตจ้องยุบควบรวมกรมกองต่างๆมากมาย กระทบกับข้าราชการนับพันคน จึงมองว่ามีโอกาสสำเร็จได้น้อย” แหล่งข่าวกล่าว
ด้าน นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งในการควบรวมกระทรวงอุตสาหกรรมกับกระทรวงพาณิชย์ แบบกระทรวงเมติของญี่ปุ่น แต่อาจจะต้องนำกรมอื่นมารวมอยู่ด้วย เช่น กรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน และนำกรมที่มีไม่เกี่ยวข้องไปรวมกับกรมอื่น เช่น กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเมืองแร่ ที่รับผลิตชอบในการออกประทานบัตรทำเหมืองแร่ และอาชญาบัตรสำรวจแร่ ไปอยู่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การดำเนินการทั้งการผลิตและการค้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน และแก้ปัญหาความเห็นที่ชัดแย้งกันระหว่าง 2 กระทรวง และที่สำคัญจะทำให้ภาคการค้าของไทยมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
“ที่ผ่านมาภาคเอกชนเสนอยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมต่างๆไปยังภาครัฐ แต่ก็ประสบปัญหาในการดำเนินงาน กระทรวงหลักๆอย่างพาณิชย์ และอุตสาหกรรมทำงานไม่พร้อมเพรียงกัน และบางส่วนก็ขัดแย้งกัน ทำให้ถึงแม้จะมียุทธ์ศาสตร์ที่ดี แต่ก็ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ และหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรงขึ้นก็จะทำให้แก้ไขไม่ทันการ ซึ่งในภูมิภาคนี้ประเทศส่วนใหญ่ก็ควบรวมกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์แทบทั้งสิ้น เป็นแนวทางที่ประเทศส่วนใหญ่มองว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด” นายวัลลภ กล่าว
อย่างไรก็ตาม มองว่าการปฏิรูปควบรวมกระทรวงจะทำได้ยากในภาวการณ์เมืองตามปกติ เนื่องจากจะเป็นการลดตำแหน่งรัฐมนตรี ทำให้โครต้ารัฐมนตรีของพรรคการเมืองลดน้อยลง ดังนั้นควรจะเร่งควบรวมให้ได้ภายในรัฐบาลชุดนี้ เพราะหากทำไม่ทันแผนการควบรวมของ 2 กระทรวงนี้ก็เกิดขึ้นได้ยาก
การควบรวมกระทรวงอุตสาหกรรมกับกระทรวงพาณิชย์ เป็นกระทรวงเดียวเหมือนเช่น เมติ ของญี่ปุ่น จะเป็นไปได้หรือไม่
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า หลักการในการรวมกระทรวงอุตสาหกรรมแลพาณิชย์ ก็เพื่อให้นโยบายการค้าเป็นไปในทิศทางเดียวกันตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิตไปจนถึงการทำตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปิดจุดบกพร่องในปัจจุบันที่นโยบายการผลิต และการค้าไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเกิดผลดีต่อภาคการค้าของไทยทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม หากรูปแบบการรวมกระทรวงมีเพียงการนำกรมภายใต้ทั้ง 2 กระทรวงมาอยู่ภายใต้รัฐมนตรีคนเดียวก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร และยังเกิดปัญหาโครงสร้างการทำงานที่ใหญ่เทอะทะ ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ต่างจากเดิมที่แยกกันทำงาน ซึ่งหากจะใช้รูปแบบนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องควบรวมกระทรวง เพียงแต่ตั้งรองนายกรัฐมนตรีขึ้นมาดูแลทั้ง 2 กระทรวงเป็นการเฉพาะเจาะจง ก็จะช่วยแก้ปัยหาการประสานงานได้บ้างในระดับหนึ่ง
ส่วนแนวทางการรวมกระทรวงที่เกิดผลสูงสุด ควรจะดำเนินตามอย่างกระทรวงเมติของญี่ปุ่น ที่วางโครงสร้างเชิงลึกแบ่งแยกการทำงานของกรมต่างๆอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น กรมรถยนต์ กรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ กรมสิ่งทอ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละกรมก็จะรับผิดชอบในสายงานตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และการทำตลาดการลงทุนในต่างประเทศทั้งสายอุตสาหกรรม มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งยังมีองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ป่น (เจโทร) ทำให้สามารถผลักดันการค้า การลงทุนไปในทิศทางเดียวกัน
ขณะที่ประเทศไทย มีพื้นฐานการผลิตต่างจากญี่ปุ่น ดังนั้นการควบรวมจะต้องเน้นในอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเข้มแข็ง เช่น อุตสาหกรรมแปรรุปสินค้าเกษตร รวมทั้งอาจจะตั้งกรมใหม่ดูแลภาคการผลิตรายคลัสเตอร์ เช่น กรมแปรรูปสินค้าการเกษตร คลัสเตอร์แฟชั่น คลัสเตอร์สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น เพื่อให้แต่ละกรมรับผิดชอบการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และการทำตลาดในประเทศและต่างประเทศ
“การควบรวมในลักษณะนี้แม้จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และก่อประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด แต่ก็เป็นวิธีที่ดำเนินการได้ยาก เพราะตจ้องยุบควบรวมกรมกองต่างๆมากมาย กระทบกับข้าราชการนับพันคน จึงมองว่ามีโอกาสสำเร็จได้น้อย” แหล่งข่าวกล่าว
ด้าน นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งในการควบรวมกระทรวงอุตสาหกรรมกับกระทรวงพาณิชย์ แบบกระทรวงเมติของญี่ปุ่น แต่อาจจะต้องนำกรมอื่นมารวมอยู่ด้วย เช่น กรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน และนำกรมที่มีไม่เกี่ยวข้องไปรวมกับกรมอื่น เช่น กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเมืองแร่ ที่รับผลิตชอบในการออกประทานบัตรทำเหมืองแร่ และอาชญาบัตรสำรวจแร่ ไปอยู่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การดำเนินการทั้งการผลิตและการค้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน และแก้ปัญหาความเห็นที่ชัดแย้งกันระหว่าง 2 กระทรวง และที่สำคัญจะทำให้ภาคการค้าของไทยมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
“ที่ผ่านมาภาคเอกชนเสนอยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมต่างๆไปยังภาครัฐ แต่ก็ประสบปัญหาในการดำเนินงาน กระทรวงหลักๆอย่างพาณิชย์ และอุตสาหกรรมทำงานไม่พร้อมเพรียงกัน และบางส่วนก็ขัดแย้งกัน ทำให้ถึงแม้จะมียุทธ์ศาสตร์ที่ดี แต่ก็ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ และหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรงขึ้นก็จะทำให้แก้ไขไม่ทันการ ซึ่งในภูมิภาคนี้ประเทศส่วนใหญ่ก็ควบรวมกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์แทบทั้งสิ้น เป็นแนวทางที่ประเทศส่วนใหญ่มองว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด” นายวัลลภ กล่าว
อย่างไรก็ตาม มองว่าการปฏิรูปควบรวมกระทรวงจะทำได้ยากในภาวการณ์เมืองตามปกติ เนื่องจากจะเป็นการลดตำแหน่งรัฐมนตรี ทำให้โครต้ารัฐมนตรีของพรรคการเมืองลดน้อยลง ดังนั้นควรจะเร่งควบรวมให้ได้ภายในรัฐบาลชุดนี้ เพราะหากทำไม่ทันแผนการควบรวมของ 2 กระทรวงนี้ก็เกิดขึ้นได้ยาก