บทเรียน จากปี๊บ มี ′ธรรมะ′ คนช่วยมาก บทเรียน ′คนดี′ ..... มติชนออนไลน์
มติสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี ใช้ดุลพินิจด้วยตนเอง
ว่าจะเลือกดำรงตำแหน่งใดเพียงตำแหน่งเดียว
ระหว่าง 1 อธิการบดี 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เป็นมติอันเท่ากับยืนยันว่า ข้อเรียกร้องและการเคลื่อนไหวของ ดร.สุกรี เจริญสุข ประสบผลสำเร็จ
เรียกตามสำนวนบ้านๆ ก็คือ "ชนะ"
แต่คำว่าชนะในที่นี้มิได้หมายความแคบๆ สั้นๆ ว่าเป็นชัยชนะของ ดร.สุกรี เจริญสุข
ตรงกันข้าม เป็นชัยชนะของคุณธรรม จริยธรรม ความชอบธรรม
เป็นชัยชนะแห่ง "ธรรม"
การแสดงออก การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของ ดร.สุกรี เจริญสุข
เสมอเป็นเพียงตัวแทนเป็นดั่ง PROXY ของทิศทางและเป้าหมายที่ถูกต้อง
เมื่อมี "ธรรม" นำทาง บำเหน็จย่อมเป็น "ชัยชนะ"
กระนั้น แม้ ดร.สุกรี เจริญสุข จะยึดกุมหลักการอันถูกต้อง แต่หากดำเนินการเคลื่อนไหว
อย่างไม่ชอบธรรม โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จก็ไม่มาก
"วิธีวิทยา" และ "วิธีการ" ที่เหมาะสมจึงสำคัญ
ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนที่มีปราชญ์แห่งการเคลื่อนไหวท่านหนึ่งได้เคยสรุปไว้นานมาแล้วว่า
มี "ธรรมะ" คนช่วยมาก
ไม่มีธรรมะ คนช่วยน้อย
การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการควบ 2 ตำแหน่งของ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน เริ่มจาก
ดร.สุกรี เจริญสุข เพียงผู้เดียว
เดินอย่างโดดเดี่ยว มีเพียงนักข่าวส่วนหนึ่งห้อมล้อม
แต่เนื่องจากข้อเรียกร้องเป็นไปอย่างสอดรับคุณธรรม มโนธรรม ขณะเดียวกัน การเลือกเอา
"ปี๊บ" มาเป็นเครื่องมือ มาเป็นอาวุธ ก็ตรงกับจริตลึกๆ อันดำรงอยู่ในสังคมไทย
เสียงแห่งมโนธรรมจาก "ปี๊บ" จึงก้องกังวาน
เพียงไม่กี่วันก็ปรากฏเสียงสะท้อน ขานรับ จาก 1 จึงกลายเป็น 2 กลายเป็น 4
กลายเป็น 8 จากภายในและจากภายนอกมหาวิทยาลัย
เกิดเป็น "กระแส" เกิดอาการ "กระเพื่อม"
พลานุภาพในทางสังคมเช่นนี้เองที่นำไปสู่มติของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
เสนอต่อต่อมแห่ง "ดุลพินิจ" ของ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ให้เลือกตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
ระหว่าง "อธิการบดี" กับ "รัฐมนตรี"
เป็นมติอันกระตุ้นจิตสำนึกและทางเลือกต่อ "คนดี"
คล้ายกับว่า การเคลื่อนไหวของ ดร.สุกรี เจริญสุข ก็ดี มติอันมาจากสภามหาวิทยาลัยก็ดี
การตัดสินใจของ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ก็ดี
เป็นเรื่อง "ภายใน"
เป็นความจริงที่กระบวนการเคลื่อนไหว กระบวนการอันเป็นที่มาแห่งมติ กระบวนการ
อันเป็นที่มาแห่งดุลพินิจจำกัดกรอบอยู่เพียงในหมู่ "ชาวมหิดล"
แต่เนื่องจากทั้งหมดนี้แวดล้อมในปริมณฑลแห่ง "ความดี"
มติแห่งสภามหาวิทยาลัยมหิดลจึงไม่เพียงแต่จี้ไปยังจุดอันเป็นต่อมของ
นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน เท่านั้น หากแต่ยังสะกิด "ต่อม" แห่งมโนธรรม จริยธรรม
คุณธรรม ของเหล่า "คนดี" ทั้งปวงอย่างลึกซึ้ง
แม้กระทั่งคนดีอย่าง นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
แม้กระทั่งคนดีอย่าง ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ว่ายึดมั่นในหลักการ ยึดมั่นในค่านิยม 12 ประการ
ที่กำหนดให้บ่นท่องกันนั้นมากน้อยเพียงใด
นั่นก็คือ ปรอทแห่งความดี ปรอทแห่งคนดี
จึงถือได้ว่า ผลจากการเคลื่อนไหวของ ดร.สุกรี เจริญสุข ผลจากมติของ
สภามหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินไปในลักษณะอันมีผลสะท้อน ตกกระทบ
เหมือนกับ "แคนนอน" ในแวดวง "บิลเลียด"
แรกที่ ดร.สุกรี เจริญสุข เอา "ปี๊บ" คลุมหัว มีคนจำนวนไม่น้อยหยามหยัน ไยไพ ว่ามิอาจสำเร็จ
แต่พลันที่สภามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติให้ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ไปใช้ "ดุลพินิจ"
เลือกตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง เสียงหยามหยัน ไยไพ ก็น่าจะลดน้อยลง
มีแต่เสียง "ปรบมือ" จากรายการ "แฟ้มบุคคล" ประการเดียว
......
(ที่มา:มติชนรายวัน 19 กันยายน 2557)
www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1411107342
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล vs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่งที่คุณหมอต้องเลือก !!!!!!!!!
มติสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี ใช้ดุลพินิจด้วยตนเอง
ว่าจะเลือกดำรงตำแหน่งใดเพียงตำแหน่งเดียว
ระหว่าง 1 อธิการบดี 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เป็นมติอันเท่ากับยืนยันว่า ข้อเรียกร้องและการเคลื่อนไหวของ ดร.สุกรี เจริญสุข ประสบผลสำเร็จ
เรียกตามสำนวนบ้านๆ ก็คือ "ชนะ"
แต่คำว่าชนะในที่นี้มิได้หมายความแคบๆ สั้นๆ ว่าเป็นชัยชนะของ ดร.สุกรี เจริญสุข
ตรงกันข้าม เป็นชัยชนะของคุณธรรม จริยธรรม ความชอบธรรม
เป็นชัยชนะแห่ง "ธรรม"
การแสดงออก การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของ ดร.สุกรี เจริญสุข
เสมอเป็นเพียงตัวแทนเป็นดั่ง PROXY ของทิศทางและเป้าหมายที่ถูกต้อง
เมื่อมี "ธรรม" นำทาง บำเหน็จย่อมเป็น "ชัยชนะ"
กระนั้น แม้ ดร.สุกรี เจริญสุข จะยึดกุมหลักการอันถูกต้อง แต่หากดำเนินการเคลื่อนไหว
อย่างไม่ชอบธรรม โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จก็ไม่มาก
"วิธีวิทยา" และ "วิธีการ" ที่เหมาะสมจึงสำคัญ
ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนที่มีปราชญ์แห่งการเคลื่อนไหวท่านหนึ่งได้เคยสรุปไว้นานมาแล้วว่า
มี "ธรรมะ" คนช่วยมาก
ไม่มีธรรมะ คนช่วยน้อย
การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการควบ 2 ตำแหน่งของ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน เริ่มจาก
ดร.สุกรี เจริญสุข เพียงผู้เดียว
เดินอย่างโดดเดี่ยว มีเพียงนักข่าวส่วนหนึ่งห้อมล้อม
แต่เนื่องจากข้อเรียกร้องเป็นไปอย่างสอดรับคุณธรรม มโนธรรม ขณะเดียวกัน การเลือกเอา
"ปี๊บ" มาเป็นเครื่องมือ มาเป็นอาวุธ ก็ตรงกับจริตลึกๆ อันดำรงอยู่ในสังคมไทย
เสียงแห่งมโนธรรมจาก "ปี๊บ" จึงก้องกังวาน
เพียงไม่กี่วันก็ปรากฏเสียงสะท้อน ขานรับ จาก 1 จึงกลายเป็น 2 กลายเป็น 4
กลายเป็น 8 จากภายในและจากภายนอกมหาวิทยาลัย
เกิดเป็น "กระแส" เกิดอาการ "กระเพื่อม"
พลานุภาพในทางสังคมเช่นนี้เองที่นำไปสู่มติของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
เสนอต่อต่อมแห่ง "ดุลพินิจ" ของ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ให้เลือกตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
ระหว่าง "อธิการบดี" กับ "รัฐมนตรี"
เป็นมติอันกระตุ้นจิตสำนึกและทางเลือกต่อ "คนดี"
คล้ายกับว่า การเคลื่อนไหวของ ดร.สุกรี เจริญสุข ก็ดี มติอันมาจากสภามหาวิทยาลัยก็ดี
การตัดสินใจของ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ก็ดี
เป็นเรื่อง "ภายใน"
เป็นความจริงที่กระบวนการเคลื่อนไหว กระบวนการอันเป็นที่มาแห่งมติ กระบวนการ
อันเป็นที่มาแห่งดุลพินิจจำกัดกรอบอยู่เพียงในหมู่ "ชาวมหิดล"
แต่เนื่องจากทั้งหมดนี้แวดล้อมในปริมณฑลแห่ง "ความดี"
มติแห่งสภามหาวิทยาลัยมหิดลจึงไม่เพียงแต่จี้ไปยังจุดอันเป็นต่อมของ
นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน เท่านั้น หากแต่ยังสะกิด "ต่อม" แห่งมโนธรรม จริยธรรม
คุณธรรม ของเหล่า "คนดี" ทั้งปวงอย่างลึกซึ้ง
แม้กระทั่งคนดีอย่าง นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
แม้กระทั่งคนดีอย่าง ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ว่ายึดมั่นในหลักการ ยึดมั่นในค่านิยม 12 ประการ
ที่กำหนดให้บ่นท่องกันนั้นมากน้อยเพียงใด
นั่นก็คือ ปรอทแห่งความดี ปรอทแห่งคนดี
จึงถือได้ว่า ผลจากการเคลื่อนไหวของ ดร.สุกรี เจริญสุข ผลจากมติของ
สภามหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินไปในลักษณะอันมีผลสะท้อน ตกกระทบ
เหมือนกับ "แคนนอน" ในแวดวง "บิลเลียด"
แรกที่ ดร.สุกรี เจริญสุข เอา "ปี๊บ" คลุมหัว มีคนจำนวนไม่น้อยหยามหยัน ไยไพ ว่ามิอาจสำเร็จ
แต่พลันที่สภามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติให้ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ไปใช้ "ดุลพินิจ"
เลือกตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง เสียงหยามหยัน ไยไพ ก็น่าจะลดน้อยลง
มีแต่เสียง "ปรบมือ" จากรายการ "แฟ้มบุคคล" ประการเดียว
......
(ที่มา:มติชนรายวัน 19 กันยายน 2557)
www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1411107342