หลายๆ ท่าน คงคุ้นหูกับคำว่า Economy of Scale หรือ การประหยัดจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง ซึ่งเป็นคำที่นิยมและแพร่หลายที่ใช้กันในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา
โดย CEO และ CFO บริษัทต่างๆ จะสื่อสารกับนักลงทุนว่า "เรากำลังทำธุรกิจของเราให้ขยายใหญ่มากขึ้น เพื่อให้ต้นทุนของเราถูกลง บริษัทเราต้นทุนต่อหน่วยถูกที่สุด ใช้คนได้คุ้มค่าที่สุด บาล บลา บลา............."
บริษัทที่พยายามจะเน้นเรื่อง การประหยัดจากปริมาณ มีอยู่หลากหลายธุรกิจ โดยเน้นการควบรวมกิจการ การขยายกำลังการผลิต หรือ การขยายสาขาต่างๆ ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย
................
แต่จุดตาย ของ การประหยัดของขนาด คือ
1) ต้นทุนสินค้าหรือบริการต่างๆ ไม่สามารถลดลงได้จนถึงเท่ากับ "ศูนย์"
ถึงธุรกิจของคุณจะขยายให้ใหญ่โตแค่ไหนก็ตาม ต้นทุนที่คุณสามารถจะลดได้ก็ไม่อาจเท่ากับ "ศูนย์" ดังนั้นถ้าคุณต้องการให้ผลประกอบการณ์ดีขึ้น คุณก็ต้องหันมาขึ้นราคาอยู่ดี ซึ่งถ้าสินค้าหรือบริการของคุณหลังจากที่ขยายขนาดแล้ว แต่ยังไม่สามารถเป็นผู้นำแบบเบ็ดเสร็จได้ (monopoly) ธุรกิจของคุณก็มีโอกาสที่จะประสบปัญหาในระยะยาวอยู่ดี
2) มุ่งมั่นจากการขยายขนาดสินค้า จนไม่ใส่ใจนวัตกรรมหรือการพัฒนาสินค้าใหม่
ธุรกิจหลายๆ ธุรกิจ เมื่อมียอดขายและมีสัดส่วนการตลาดจากสินค้าที่ตนเองมีอยู่ในปัจจุบันสูงอย่างมีนัยสำคัญ ธุรกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในการลดต้นทุนและเพิ่มปริมาณการขายให้มากขึ้น
จนลืมนึกถึง การพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ มาทดแทนสินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิม เนื่องจากเกรงว่าสินค้าหรือบริการใหม่ๆ จะมา ทดแทน สินค้าหรือบริการที่กำลังขายดีอยู่
................
ตัวอย่างของบริษัท ที่มุ่งเน้นการขยายขนาด แต่สุดท้าย ก็ไปไม่รอด เช่น ธุรกิจที่ทำโรงงานผลิตเหล็ก เพราะถึงแม้จะมีขนาดใหญ่เพียงใด ผูกขาดการผลิตเหล็กมากแค่ไหนก็ตาม แต่สุดท้ายก็มีธุรกิจที่ผลิตสินค้าที่ทดแทนเหล็กได้หรือใช้เหล็กน้อยลง เช่น อลูมิเนียม หรือ พลาสติก ต่างๆ
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวเราหน่อย ก็คือ "Kodak" และ "Nokia" (หลายๆ ท่านคงเกิดมาทันสินค้าของบริษัททั้งสองนี้ ) ที่เป็นที่หนึ่งในตลาดสินค้าของตนเอง คือฟิลม์ถ่ายรูป และ มือถือแบบทั่วไป ทั้งสองบริษัทเป็นผู้นำตลาดของสินค้าที่ตัวเองขาย ธุรกิจมีขนาดใหญ่และมีการประหยัดของขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอดเนื่องจากมุ่งแต่ขยายตลาดของสินค้าที่มีอยู่เดิม ไม่ได้ให้ความสำคัญของสินค้าใหม่ๆ เพราะเกรงว่าจะมาทำลายตลาดสินค้าที่ตนเองกำลังขายอยู่
ธุรกิจใดๆ จะมั่งคั่งอย่างยั่งยืนได้นั้น ธุรกิจนั้นๆ นอกจากจะมีการขยายธุรกิจที่ตนทำอยู่ในปัจจุบันแล้วนั้น ควรที่จะสนใจในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ ออกมาเพื่อที่จะให้ธุรกิจมั่งคั่งอย่างยั่งยืน
เมื่อธุรกิจมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ผู้ถือหุ้นก็จะมั่งคั่งอย่างยั่งยืนไปด้วย
- โชคดีครับ -
credit:
www.facebook.com/SustainW
"- ลงทุนในหุ้นที่ เติบโตจากการประหยัดของขนาด (Economy of Scale) -"
โดย CEO และ CFO บริษัทต่างๆ จะสื่อสารกับนักลงทุนว่า "เรากำลังทำธุรกิจของเราให้ขยายใหญ่มากขึ้น เพื่อให้ต้นทุนของเราถูกลง บริษัทเราต้นทุนต่อหน่วยถูกที่สุด ใช้คนได้คุ้มค่าที่สุด บาล บลา บลา............."
บริษัทที่พยายามจะเน้นเรื่อง การประหยัดจากปริมาณ มีอยู่หลากหลายธุรกิจ โดยเน้นการควบรวมกิจการ การขยายกำลังการผลิต หรือ การขยายสาขาต่างๆ ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย
................
แต่จุดตาย ของ การประหยัดของขนาด คือ
1) ต้นทุนสินค้าหรือบริการต่างๆ ไม่สามารถลดลงได้จนถึงเท่ากับ "ศูนย์"
ถึงธุรกิจของคุณจะขยายให้ใหญ่โตแค่ไหนก็ตาม ต้นทุนที่คุณสามารถจะลดได้ก็ไม่อาจเท่ากับ "ศูนย์" ดังนั้นถ้าคุณต้องการให้ผลประกอบการณ์ดีขึ้น คุณก็ต้องหันมาขึ้นราคาอยู่ดี ซึ่งถ้าสินค้าหรือบริการของคุณหลังจากที่ขยายขนาดแล้ว แต่ยังไม่สามารถเป็นผู้นำแบบเบ็ดเสร็จได้ (monopoly) ธุรกิจของคุณก็มีโอกาสที่จะประสบปัญหาในระยะยาวอยู่ดี
2) มุ่งมั่นจากการขยายขนาดสินค้า จนไม่ใส่ใจนวัตกรรมหรือการพัฒนาสินค้าใหม่
ธุรกิจหลายๆ ธุรกิจ เมื่อมียอดขายและมีสัดส่วนการตลาดจากสินค้าที่ตนเองมีอยู่ในปัจจุบันสูงอย่างมีนัยสำคัญ ธุรกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในการลดต้นทุนและเพิ่มปริมาณการขายให้มากขึ้น
จนลืมนึกถึง การพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ มาทดแทนสินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิม เนื่องจากเกรงว่าสินค้าหรือบริการใหม่ๆ จะมา ทดแทน สินค้าหรือบริการที่กำลังขายดีอยู่
................
ตัวอย่างของบริษัท ที่มุ่งเน้นการขยายขนาด แต่สุดท้าย ก็ไปไม่รอด เช่น ธุรกิจที่ทำโรงงานผลิตเหล็ก เพราะถึงแม้จะมีขนาดใหญ่เพียงใด ผูกขาดการผลิตเหล็กมากแค่ไหนก็ตาม แต่สุดท้ายก็มีธุรกิจที่ผลิตสินค้าที่ทดแทนเหล็กได้หรือใช้เหล็กน้อยลง เช่น อลูมิเนียม หรือ พลาสติก ต่างๆ
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวเราหน่อย ก็คือ "Kodak" และ "Nokia" (หลายๆ ท่านคงเกิดมาทันสินค้าของบริษัททั้งสองนี้ ) ที่เป็นที่หนึ่งในตลาดสินค้าของตนเอง คือฟิลม์ถ่ายรูป และ มือถือแบบทั่วไป ทั้งสองบริษัทเป็นผู้นำตลาดของสินค้าที่ตัวเองขาย ธุรกิจมีขนาดใหญ่และมีการประหยัดของขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอดเนื่องจากมุ่งแต่ขยายตลาดของสินค้าที่มีอยู่เดิม ไม่ได้ให้ความสำคัญของสินค้าใหม่ๆ เพราะเกรงว่าจะมาทำลายตลาดสินค้าที่ตนเองกำลังขายอยู่
ธุรกิจใดๆ จะมั่งคั่งอย่างยั่งยืนได้นั้น ธุรกิจนั้นๆ นอกจากจะมีการขยายธุรกิจที่ตนทำอยู่ในปัจจุบันแล้วนั้น ควรที่จะสนใจในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ ออกมาเพื่อที่จะให้ธุรกิจมั่งคั่งอย่างยั่งยืน
เมื่อธุรกิจมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ผู้ถือหุ้นก็จะมั่งคั่งอย่างยั่งยืนไปด้วย
- โชคดีครับ -
credit: www.facebook.com/SustainW