เมื่อวันที่ 13 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ออกมาให้ข่าวผ่านสื่อเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากแร่ใยหินโดยมีการอ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยระบุถึงข้อมูลของทั้งสององค์กรดังกล่าวว่าแร่ใยหินบางชนิดไม่มีอันตราย ที่อาจมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงนั้น
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่ดังกล่าวว่า โทษของแร่ใยหินที่มีต่อสุขภาพนั้นร้ายแรงเกินกว่าที่นักวิชาการหรือองค์กรสากลระหว่างประเทศจะยอมรับได้ ดังนั้นกว่า 50 ประเทศทั่วโลกจึงได้ยกเลิกการใช้อย่างสมบูรณ์ และInternational Labour Organization (ILO) หรือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีคำแนะนำอย่างชัดเจนว่าจะระงับการใช้แร่ใยหิน การให้ข่าวเป็นสิทธิ เป็นการสื่อสารไปยังผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ส่วนรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไรคงเป็นเรื่องของนโยบาย คงไม่ใช่ว่าใครพูดอย่างไรแล้วก็จะให้เป็นอย่างนั้น
“ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตอบอย่างเป็นทางการไปแล้ว ทั้งที่ คณะรัฐมนตรี และกระทรวงอุตสาหกรรมว่าแร่ใยหินทุกประเภทมีอันตราย โดยกระทรวงสาธารณสุขพบข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็น องค์การอนามัยโลก และ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ว่าแร่ใยหินมีอันตรายจริง และมีคำแนะนำให้ยกเลิกในทันที ส่วนจะมีแผนการยกเลิกอย่างไรนั้น ก็คงเป็นเรื่องการตัดสินใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
นพ.นพพร กล่าวต่อไปว่า ทางกระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปทำการดูแลแรงงานในช่วงระยะเวลาที่รอการยกเลิก ซึ่งมีความชัดเจน เป็นคำสั่งจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยจะทำทั้งการเข้าไปตรวจสอบวินิจฉัย และติดตามผู้ป่วย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลของกระทรวง ที่สำรวจโดยหลายสถาบันและนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัย ล่าสุดในประเทศไทย พบผู้ป่วยแล้ว 4-6 ราย
ขณะที่ นางสมบุญ สีคำดอกแค ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย หรือ T-BAN กล่าวว่า การออกมาให้ข้อมูลที่อ้างถึงข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศทั้งองค์การอนามัยโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่ระบุว่า ข้อมูลสององค์กรดังกล่าวชี้ว่า แร่ใยหินไม่เป็นอันตรายนั้นเป็นข้อมูลที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง องค์การอนามัยโลกเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศ ในสังกัดสหประชาชาติ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขของไทยได้ข้อสรุปจากทั้ง WHO และ องค์การแรงงานระหว่างประเทศแล้ว จึงประกาศให้แร่ใยหินทุกชนิดเป็นวัตถุอันตราย และเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในมนุษย์
“การให้ข่าวใดๆ ควรที่จะเป็นไปตามข้อมูลข้อเท็จจริง โดยเฉพาะข้อมูลที่อ้างอิงจากกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้มีการประชุมคณะกรรมการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพจากแร่ใยหินมาต่อเนื่อง5 ครั้ง โดยครั้งที่5 ได้ข้อสรุปตรงกันแล้วว่า แร่ใยหินมีอันตรายก่อให้เกิดมะเร็งต่อมนุษย์ โดยมีรายงานจากองค์กรระหว่างประเทศ และจากสถาบันวิชาการในประเทศจากหลายมหาวิทยาลัยเป็นเครื่องยืนยัน แต่ขณะนี้มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้เสียประโยชน์ พยายามสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือความคลาดเคลื่อนว่า แร่ใยหินไครโซไทล์ไม่มีอันตรายที่จะก่อโรคมะเร็ง ซึ่งไม่ควรให้ข่าวที่บิดเบือนเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางธุรกิจ” นางสมบุญ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า หน่วยงานที่ถูกกล่าวอ้างโดยศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ได้เคยเข้าร่วมประชุมกับทางกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2555 โดย Dr.Maureen E. Birmingham ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และ Ms.Ingrid Christnesen จากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดยืนยันชัดเจนว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นอันตราย และเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในมนุษย์ โดยผู้คนราว 107,000 คนทั่วโลกเสียชีวิตเพราะโรคปอดที่มีสาเหตุจากแร่ใยหิน และแต่ละปีผู้คนหลายพันคนเสียชีวิตเนื่องจากสัมผัสกับแร่ใยหิน ส่วนประชากร 125 ล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงจากการสัมผัสกับแร่ใยหินในชีวิตประจำวัน
ที่มา นสพ.แนวหน้า วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557
ยัน“แร่ใยหิน”อันตรายสธ.ย้ำ50ประเทศเลิกใช้แล้ว กลุ่มต้านโวยนายทุนบิดเบือน
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่ดังกล่าวว่า โทษของแร่ใยหินที่มีต่อสุขภาพนั้นร้ายแรงเกินกว่าที่นักวิชาการหรือองค์กรสากลระหว่างประเทศจะยอมรับได้ ดังนั้นกว่า 50 ประเทศทั่วโลกจึงได้ยกเลิกการใช้อย่างสมบูรณ์ และInternational Labour Organization (ILO) หรือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีคำแนะนำอย่างชัดเจนว่าจะระงับการใช้แร่ใยหิน การให้ข่าวเป็นสิทธิ เป็นการสื่อสารไปยังผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ส่วนรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไรคงเป็นเรื่องของนโยบาย คงไม่ใช่ว่าใครพูดอย่างไรแล้วก็จะให้เป็นอย่างนั้น
“ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตอบอย่างเป็นทางการไปแล้ว ทั้งที่ คณะรัฐมนตรี และกระทรวงอุตสาหกรรมว่าแร่ใยหินทุกประเภทมีอันตราย โดยกระทรวงสาธารณสุขพบข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็น องค์การอนามัยโลก และ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ว่าแร่ใยหินมีอันตรายจริง และมีคำแนะนำให้ยกเลิกในทันที ส่วนจะมีแผนการยกเลิกอย่างไรนั้น ก็คงเป็นเรื่องการตัดสินใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
นพ.นพพร กล่าวต่อไปว่า ทางกระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปทำการดูแลแรงงานในช่วงระยะเวลาที่รอการยกเลิก ซึ่งมีความชัดเจน เป็นคำสั่งจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยจะทำทั้งการเข้าไปตรวจสอบวินิจฉัย และติดตามผู้ป่วย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลของกระทรวง ที่สำรวจโดยหลายสถาบันและนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัย ล่าสุดในประเทศไทย พบผู้ป่วยแล้ว 4-6 ราย
ขณะที่ นางสมบุญ สีคำดอกแค ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย หรือ T-BAN กล่าวว่า การออกมาให้ข้อมูลที่อ้างถึงข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศทั้งองค์การอนามัยโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่ระบุว่า ข้อมูลสององค์กรดังกล่าวชี้ว่า แร่ใยหินไม่เป็นอันตรายนั้นเป็นข้อมูลที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง องค์การอนามัยโลกเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศ ในสังกัดสหประชาชาติ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขของไทยได้ข้อสรุปจากทั้ง WHO และ องค์การแรงงานระหว่างประเทศแล้ว จึงประกาศให้แร่ใยหินทุกชนิดเป็นวัตถุอันตราย และเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในมนุษย์
“การให้ข่าวใดๆ ควรที่จะเป็นไปตามข้อมูลข้อเท็จจริง โดยเฉพาะข้อมูลที่อ้างอิงจากกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้มีการประชุมคณะกรรมการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพจากแร่ใยหินมาต่อเนื่อง5 ครั้ง โดยครั้งที่5 ได้ข้อสรุปตรงกันแล้วว่า แร่ใยหินมีอันตรายก่อให้เกิดมะเร็งต่อมนุษย์ โดยมีรายงานจากองค์กรระหว่างประเทศ และจากสถาบันวิชาการในประเทศจากหลายมหาวิทยาลัยเป็นเครื่องยืนยัน แต่ขณะนี้มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้เสียประโยชน์ พยายามสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือความคลาดเคลื่อนว่า แร่ใยหินไครโซไทล์ไม่มีอันตรายที่จะก่อโรคมะเร็ง ซึ่งไม่ควรให้ข่าวที่บิดเบือนเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางธุรกิจ” นางสมบุญ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า หน่วยงานที่ถูกกล่าวอ้างโดยศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ได้เคยเข้าร่วมประชุมกับทางกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2555 โดย Dr.Maureen E. Birmingham ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และ Ms.Ingrid Christnesen จากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดยืนยันชัดเจนว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นอันตราย และเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในมนุษย์ โดยผู้คนราว 107,000 คนทั่วโลกเสียชีวิตเพราะโรคปอดที่มีสาเหตุจากแร่ใยหิน และแต่ละปีผู้คนหลายพันคนเสียชีวิตเนื่องจากสัมผัสกับแร่ใยหิน ส่วนประชากร 125 ล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงจากการสัมผัสกับแร่ใยหินในชีวิตประจำวัน
ที่มา นสพ.แนวหน้า วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557