ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556
หลายประเทศทั่วโลกประกาศต่อต้าน "แร่ใยหิน" ซึ่งเป็นส่วนผสมของวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ จากเดิมมีผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มแรงงานที่เข้าไปสัมผัส แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นอันตรายลุกลามไปถึงกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น
รศ.ดร.กก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ฮ่องกงเป็นอีกประเทศในเอเชียต่อจากญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ บรูไน ไต้หวัน ที่ดำเนินการมาก่อนหน้า เช่นเดียวกับยุโรป ออสเตรเลีย ที่ยกเลิกมาก่อนหน้า ประเทศไทยเสียโอกาสในการลดความเสี่ยงจากใยหิน ทั้งที่มีมติ ครม. มาแล้ว แต่ยังหวังผลประโยชน์การค้าจากรัสเซียมากกว่าชีวิตผู้ใช้แรงงานและผู้บริโภคไทย แทนที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำเรื่องนี้ในอาเซียน
"ในประเทศไทยมีตัวเลขผู้ป่วยโรคจากแร่ใยหินจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ มีความพยายามที่จะเรียกร้องให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดจากแร่ใยหินเช่นเดียวกับอีกกว่า 50 ประเทศ รวมถึงฮ่องกง ที่เพิ่งยกเลิกการใช้อย่างเด็ดขาดไปล่าสุด ในระยะเวลาที่ใกล้กับที่เครือข่าย T-BAN และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ เครือข่ายแรงงาน คือกลุ่มที่ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยปลอดแร่ใยหิน 100% เข้าหารือกับ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ถึงผลสรุปที่จะให้แร่ใยหินเป็นแร่อันตรายที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์"
สมบุญ สีคำดอกแค ผู้ประสานงานเครือข่าย T-BAN เปิดเผยว่า ผลสรุปที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะเป็นยืดเยื้อและเรื้อรัง ภาครัฐไม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง เหมือนฮ่องกงและอีกหลายประเทศ ที่ทันทีที่พบผลวิจัยจากองค์การอนามัยโลก และผลวิจัยจากอีกหลายประเทศทั่วโลก กับจำนวนผู้ป่วยกว่าแสนคนทั่วโลก ต่างเริ่มหันมาสนใจประชาชนของตนเอง และมีมาตรการจัดการออกมา แต่กระทรวงสาธารณสุขไทยกลับเคลื่อนไหวเรื่องนี้ช้ามาก
"เครือข่ายฯ ยืนยันที่จะขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศปลอดจากแร่ใยหิน 100% โดยไม่ต้องการเห็นคนไทยเสี่ยงกับการจะต้องเป็นโรคมะเร็งปอดอีกต่อไป ล่าสุด เครือข่าย T-BAN และแนวร่วมได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องขอทราบความคืบหน้าของการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข ขอให้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน โดยคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหินโดยเร็วที่สุด"
ศ.นพ.สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ ผู้แทนสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในประเทศไทยมีรายงานพบผู้ป่วยเพียง 4 รายในปัจจุบัน แต่เชื่อว่าน่าจะมีผู้ป่วยถึง 500-1,000 ราย เพราะที่ผ่านมาไม่มีระบบในการติดตามผู้ป่วย อีกทั้งการเกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจะต้องใช้เวลา 10-20 ปี ทำให้ขาดการบันทึกการเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงข้อมูลี่พบในต่างประเทศบ่งบอกถึงสถานะการลุกลามของกลุ่มผู้ป่วย ที่เริ่มต้นจากแรงงานที่เข้าไปสัมผัส กำลังจะลามเข้าสู่กลุ่มผู้อยู่อาศัยในครัวเรือน
ขณะที่ข้อมูลจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จากสถิติที่พบในประเทศไทย ได้ตรวจพบผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2552-2555 พบผู้ป่วย 5 ราย และอยู่ระหว่างการวินิจฉัยอีก 7 ราย (ข้อมูลจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม) ในจำนวนนี้มีการวินิจฉัยสาเหตุแล้วว่าเกิดจากแร่ใยหิน 1 ราย ขณะที่ปี 2556 พบเพิ่มอีก 1 ราย ในขณะที่นักวิชาการหลายคนยืนยันตรงกันว่า ผลจากกระบวนการวินิจฉัยที่ยังไม่มีความชัดเจนของหน่วยงานภาครัฐ ทำให้อาจพบจำนวนผู้ป่วยอีกนับร้อยรายที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวินิจฉัยที่มีมาตรฐานชัดเจน ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า หากประเทศไทยยังไม่มีการเลิกใช้แร่ใยหินในอีก 25-30 ปีข้างหน้า จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 1,137 คน/ปี
สถานการณ์ล่าสุดของ "แร่ใยหิน" มฤตยูคร่าชีวิตประชาชนในหลายประเทศ เกือบทุกประเทศหันมาให้ความสำคัญ ด้วยตระหนักและสำนึกในการคุ้มครองสุขภาพและอนามัยให้แก่ประชาชน จนกลายเป็นคำถามสำคัญถึงประเทศไทยว่า จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องนี้ คนไทยยังต้องสังเวยกับโรคร้ายที่เกิดจากแร่ใยหินต่อไปอีกนานเท่าไหร่
'แร่ใยหิน' มหันตภัยสากลที่นานาชาติต้องยกเลิก
หลายประเทศทั่วโลกประกาศต่อต้าน "แร่ใยหิน" ซึ่งเป็นส่วนผสมของวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ จากเดิมมีผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มแรงงานที่เข้าไปสัมผัส แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นอันตรายลุกลามไปถึงกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น
รศ.ดร.กก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ฮ่องกงเป็นอีกประเทศในเอเชียต่อจากญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ บรูไน ไต้หวัน ที่ดำเนินการมาก่อนหน้า เช่นเดียวกับยุโรป ออสเตรเลีย ที่ยกเลิกมาก่อนหน้า ประเทศไทยเสียโอกาสในการลดความเสี่ยงจากใยหิน ทั้งที่มีมติ ครม. มาแล้ว แต่ยังหวังผลประโยชน์การค้าจากรัสเซียมากกว่าชีวิตผู้ใช้แรงงานและผู้บริโภคไทย แทนที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำเรื่องนี้ในอาเซียน
"ในประเทศไทยมีตัวเลขผู้ป่วยโรคจากแร่ใยหินจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ มีความพยายามที่จะเรียกร้องให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดจากแร่ใยหินเช่นเดียวกับอีกกว่า 50 ประเทศ รวมถึงฮ่องกง ที่เพิ่งยกเลิกการใช้อย่างเด็ดขาดไปล่าสุด ในระยะเวลาที่ใกล้กับที่เครือข่าย T-BAN และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ เครือข่ายแรงงาน คือกลุ่มที่ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยปลอดแร่ใยหิน 100% เข้าหารือกับ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ถึงผลสรุปที่จะให้แร่ใยหินเป็นแร่อันตรายที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์"
สมบุญ สีคำดอกแค ผู้ประสานงานเครือข่าย T-BAN เปิดเผยว่า ผลสรุปที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะเป็นยืดเยื้อและเรื้อรัง ภาครัฐไม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง เหมือนฮ่องกงและอีกหลายประเทศ ที่ทันทีที่พบผลวิจัยจากองค์การอนามัยโลก และผลวิจัยจากอีกหลายประเทศทั่วโลก กับจำนวนผู้ป่วยกว่าแสนคนทั่วโลก ต่างเริ่มหันมาสนใจประชาชนของตนเอง และมีมาตรการจัดการออกมา แต่กระทรวงสาธารณสุขไทยกลับเคลื่อนไหวเรื่องนี้ช้ามาก
"เครือข่ายฯ ยืนยันที่จะขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศปลอดจากแร่ใยหิน 100% โดยไม่ต้องการเห็นคนไทยเสี่ยงกับการจะต้องเป็นโรคมะเร็งปอดอีกต่อไป ล่าสุด เครือข่าย T-BAN และแนวร่วมได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องขอทราบความคืบหน้าของการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข ขอให้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน โดยคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหินโดยเร็วที่สุด"
ศ.นพ.สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ ผู้แทนสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในประเทศไทยมีรายงานพบผู้ป่วยเพียง 4 รายในปัจจุบัน แต่เชื่อว่าน่าจะมีผู้ป่วยถึง 500-1,000 ราย เพราะที่ผ่านมาไม่มีระบบในการติดตามผู้ป่วย อีกทั้งการเกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจะต้องใช้เวลา 10-20 ปี ทำให้ขาดการบันทึกการเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงข้อมูลี่พบในต่างประเทศบ่งบอกถึงสถานะการลุกลามของกลุ่มผู้ป่วย ที่เริ่มต้นจากแรงงานที่เข้าไปสัมผัส กำลังจะลามเข้าสู่กลุ่มผู้อยู่อาศัยในครัวเรือน
ขณะที่ข้อมูลจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จากสถิติที่พบในประเทศไทย ได้ตรวจพบผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2552-2555 พบผู้ป่วย 5 ราย และอยู่ระหว่างการวินิจฉัยอีก 7 ราย (ข้อมูลจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม) ในจำนวนนี้มีการวินิจฉัยสาเหตุแล้วว่าเกิดจากแร่ใยหิน 1 ราย ขณะที่ปี 2556 พบเพิ่มอีก 1 ราย ในขณะที่นักวิชาการหลายคนยืนยันตรงกันว่า ผลจากกระบวนการวินิจฉัยที่ยังไม่มีความชัดเจนของหน่วยงานภาครัฐ ทำให้อาจพบจำนวนผู้ป่วยอีกนับร้อยรายที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวินิจฉัยที่มีมาตรฐานชัดเจน ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า หากประเทศไทยยังไม่มีการเลิกใช้แร่ใยหินในอีก 25-30 ปีข้างหน้า จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 1,137 คน/ปี
สถานการณ์ล่าสุดของ "แร่ใยหิน" มฤตยูคร่าชีวิตประชาชนในหลายประเทศ เกือบทุกประเทศหันมาให้ความสำคัญ ด้วยตระหนักและสำนึกในการคุ้มครองสุขภาพและอนามัยให้แก่ประชาชน จนกลายเป็นคำถามสำคัญถึงประเทศไทยว่า จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องนี้ คนไทยยังต้องสังเวยกับโรคร้ายที่เกิดจากแร่ใยหินต่อไปอีกนานเท่าไหร่