วันอังคารที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐
วันนี้วันพระ
ขอแนะนำบทสวดมนต์ : ปัตติทานคาถา
ยาเทวะตา สันติ วิหาระวาสินี ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง
ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระ มัณฑะเล
เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา
คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต
ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะ สัมภะวา สังเส ทะชาตา อะถะโว ปะปาติกา
นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง
ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา
สังโฆ โหตุ สะมัคโควะ อัตถายะจะ หิตายะจะ
อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโน
วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ ธัมเม อะริยัป ปะเวทิเต
ปะสันนา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน พุทธะสา สะเน
สัมมาธารัง ปะเวจฉันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ
วุฑฒิ ภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง
มาตาปิตา จะ อัตระชัง นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง
เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน ปะชัง รักขันตุ สัพพะทา
https://soundcloud.com/yreiman/yadevatawattri
คำสอนจากบทสวดในบทนี้ สอนไปยังคนดีทั้งหลายที่หมั่นประพฤติธรรม ให้มีอายุยืนยาว
ในข้อนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรับรองไว้ว่า ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง
ธรรมนั้นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม คือรักษาให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรมนั้น ๆ
นอกจากนั้นแล้ว ยังสวดแผ่ไปให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต และที่เกิดขึ้นในทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ ให้มีความสิ้นทุกข์ ประสบสุขทุกคราวไป และขอให้ฝนฟ้าได้ตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เป็นที่พึ่งพาอาศัยของสรรพสัตว์ทั้งหลาย รวมถึงให้พระราชาตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม ปกครองอาณาประชาราฎร์ให้ได้รับความสุขตวามเจริญโดยทั่วกัน
คำว่า “ เทวดา “ นั้น ได้แก่ ท่านผู้ประเสริฐโดยกำเนิด โดยสมมติ โดยความหมดจดพิเศษ จำแนกเป็น ๓ คือ
๑. อุปัตติเทพ แปลว่า เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่ ภูมิเทวดา อากาสัฏฐกเทวดา คือเทวดาผู้สิงอยูที่แผ่นดิน และเทวดาผู้สถิตในอากาศ เรียกว่า สวรรค์
๒. สมมติเทพ ได้แก่ เจ้านาย พระมหากษัตริย์ ผู้ปกครอง พระราชา ผู้เป็นสมมติเทพย่อมทรงตั้งอยู่ในสุกกธรรม (สุกฺกา ชื่อว่า สุกธรรมเพราะเป็นธรรมขาว ก็สุกธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง โดยความเป็นธรรมขาว คือ หิริ โอตัปปะ)
๓. วิสุทธิเทพ แปลว่า เทวดาโดยความหมดจดพิเศษ ได้แก่พระอรหันตเจ้า ย่อมทรงเทวธรรมประจำ ผู้ขาดเทวธรรมจัดเป็นพระอริยเจ้าเพียงพระโสดาบัน (เทวธรรม ประกอบด้วย หิริ คือ การละอายต่อบาป และโอตัปปะ คือการเกรงกลัวต่อผลของบาป)
อานิสงส์
๑. ย่อมเป็นที่รักชอบใจของเทวดาทั้งหลาย
๒. ย่อมบรรลุความเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยศรัทธาธิคุณมีประมาณยิ่ง
๓. เป็นผู้มากด้วยปีติปราโมทย์อยู่ เมื่อยังไม่บรรลุผลอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
๔. ผู้มีปัญญาดีพึงทำความไม่ประมาทในเทวดานุสสติ ซึ่งมีอานุภาพมากอย่างนี้ ในกาลทุกเมื่อ
ข้อควรรู้
๑. บท ปัตติทานะคาถานี้ นิยมสวดในภาคทำวัตรเช้าเหมือนบทกรวดน้ำ
๒. คราวเมื่อท่านไปสู่ที่แปลกเรือน ควรแผ่เมตตาในบทนี้ จักได้รับเมตตาจากเทวดาในเรือนนั้น
๓. ควรเข้าถึงเทวดาด้วยเทวธรรม จักถึงความเป็นเทวดาขณะยังเป็นมนุษย์ เรียกว่า มนุสสะเทโว ได้
๔. ควรได้บูชาหมู่ทวยเทพเทวดาผู้มีคุณ ด้วยเครื่องบูชาอันควร จักได้ผลคู่ควรแก่การสักการะนั้น
ข้อมูล : หนังสือธรรมะในพระพุทธมนต์
โดย : พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)
เครดิต ภาพและข้อความจากแฟนเพจกลุ่มรสธรรมค่ะ
https://www.facebook.com/DharmaRasa
-------------------------------------------------------------
สวัสดีวันพระค่ะ เพื่อนๆ กัลยาณมิตร ทุกท่าน
เจ้าของกระทู้ ยังไม่ได้ไปทำบุญที่วัด ช่วงนี้ได้แต่ทำบุญผ่านตู้เอทีเอ็ม (บุญถวายยอดฉัตร) สวดมนต์ และนั่งสมาธิ
เนื่องจากเพื่อนๆในเฟสบุ๊ค มีทั้งกลุ่ม ที่ภาวนา และชอบไปทำบุญ ก็อาศัยโมทนาบุญของกัลยาณมิตรค่ะ
เลยคิดว่าอาศัย โพสต์นี้ เรียนเชิญเลยแบ่งปัน การทำความดี รักษาศีล ภาวนา
รวมถึง ถ้ามีรูปภาพ ของวัด ของพระพุทธรูปอยากแบ่งปัน เชิญโพสต์ในกระทู้ได้เลยค่ะ
เจ้าของกระทู้โมทนาสาธุการล่วงหน้าค่ะ
วันนี้ วันพระ แบ่งปันกุศลอันงามกันค่ะ
วันอังคารที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐
วันนี้วันพระ
ขอแนะนำบทสวดมนต์ : ปัตติทานคาถา
ยาเทวะตา สันติ วิหาระวาสินี ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง
ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระ มัณฑะเล
เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา
คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต
ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะ สัมภะวา สังเส ทะชาตา อะถะโว ปะปาติกา
นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง
ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา
สังโฆ โหตุ สะมัคโควะ อัตถายะจะ หิตายะจะ
อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโน
วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ ธัมเม อะริยัป ปะเวทิเต
ปะสันนา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน พุทธะสา สะเน
สัมมาธารัง ปะเวจฉันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ
วุฑฒิ ภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง
มาตาปิตา จะ อัตระชัง นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง
เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน ปะชัง รักขันตุ สัพพะทา
https://soundcloud.com/yreiman/yadevatawattri
คำสอนจากบทสวดในบทนี้ สอนไปยังคนดีทั้งหลายที่หมั่นประพฤติธรรม ให้มีอายุยืนยาว
ในข้อนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรับรองไว้ว่า ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง
ธรรมนั้นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม คือรักษาให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรมนั้น ๆ
นอกจากนั้นแล้ว ยังสวดแผ่ไปให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต และที่เกิดขึ้นในทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ ให้มีความสิ้นทุกข์ ประสบสุขทุกคราวไป และขอให้ฝนฟ้าได้ตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เป็นที่พึ่งพาอาศัยของสรรพสัตว์ทั้งหลาย รวมถึงให้พระราชาตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม ปกครองอาณาประชาราฎร์ให้ได้รับความสุขตวามเจริญโดยทั่วกัน
คำว่า “ เทวดา “ นั้น ได้แก่ ท่านผู้ประเสริฐโดยกำเนิด โดยสมมติ โดยความหมดจดพิเศษ จำแนกเป็น ๓ คือ
๑. อุปัตติเทพ แปลว่า เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่ ภูมิเทวดา อากาสัฏฐกเทวดา คือเทวดาผู้สิงอยูที่แผ่นดิน และเทวดาผู้สถิตในอากาศ เรียกว่า สวรรค์
๒. สมมติเทพ ได้แก่ เจ้านาย พระมหากษัตริย์ ผู้ปกครอง พระราชา ผู้เป็นสมมติเทพย่อมทรงตั้งอยู่ในสุกกธรรม (สุกฺกา ชื่อว่า สุกธรรมเพราะเป็นธรรมขาว ก็สุกธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง โดยความเป็นธรรมขาว คือ หิริ โอตัปปะ)
๓. วิสุทธิเทพ แปลว่า เทวดาโดยความหมดจดพิเศษ ได้แก่พระอรหันตเจ้า ย่อมทรงเทวธรรมประจำ ผู้ขาดเทวธรรมจัดเป็นพระอริยเจ้าเพียงพระโสดาบัน (เทวธรรม ประกอบด้วย หิริ คือ การละอายต่อบาป และโอตัปปะ คือการเกรงกลัวต่อผลของบาป)
อานิสงส์
๑. ย่อมเป็นที่รักชอบใจของเทวดาทั้งหลาย
๒. ย่อมบรรลุความเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยศรัทธาธิคุณมีประมาณยิ่ง
๓. เป็นผู้มากด้วยปีติปราโมทย์อยู่ เมื่อยังไม่บรรลุผลอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
๔. ผู้มีปัญญาดีพึงทำความไม่ประมาทในเทวดานุสสติ ซึ่งมีอานุภาพมากอย่างนี้ ในกาลทุกเมื่อ
ข้อควรรู้
๑. บท ปัตติทานะคาถานี้ นิยมสวดในภาคทำวัตรเช้าเหมือนบทกรวดน้ำ
๒. คราวเมื่อท่านไปสู่ที่แปลกเรือน ควรแผ่เมตตาในบทนี้ จักได้รับเมตตาจากเทวดาในเรือนนั้น
๓. ควรเข้าถึงเทวดาด้วยเทวธรรม จักถึงความเป็นเทวดาขณะยังเป็นมนุษย์ เรียกว่า มนุสสะเทโว ได้
๔. ควรได้บูชาหมู่ทวยเทพเทวดาผู้มีคุณ ด้วยเครื่องบูชาอันควร จักได้ผลคู่ควรแก่การสักการะนั้น
ข้อมูล : หนังสือธรรมะในพระพุทธมนต์
โดย : พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)
เครดิต ภาพและข้อความจากแฟนเพจกลุ่มรสธรรมค่ะ
https://www.facebook.com/DharmaRasa
-------------------------------------------------------------
สวัสดีวันพระค่ะ เพื่อนๆ กัลยาณมิตร ทุกท่าน
เจ้าของกระทู้ ยังไม่ได้ไปทำบุญที่วัด ช่วงนี้ได้แต่ทำบุญผ่านตู้เอทีเอ็ม (บุญถวายยอดฉัตร) สวดมนต์ และนั่งสมาธิ
เนื่องจากเพื่อนๆในเฟสบุ๊ค มีทั้งกลุ่ม ที่ภาวนา และชอบไปทำบุญ ก็อาศัยโมทนาบุญของกัลยาณมิตรค่ะ
เลยคิดว่าอาศัย โพสต์นี้ เรียนเชิญเลยแบ่งปัน การทำความดี รักษาศีล ภาวนา
รวมถึง ถ้ามีรูปภาพ ของวัด ของพระพุทธรูปอยากแบ่งปัน เชิญโพสต์ในกระทู้ได้เลยค่ะ
เจ้าของกระทู้โมทนาสาธุการล่วงหน้าค่ะ