คำ ผกา : ฝันที่เป็นจริง
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 00:01:01 น.
คำ ผกา
ฝันที่เป็นจริง
ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากระทรวงที่ขยันขันแข็ง ดำเนินนโยบายรับลูก คสช. อย่างรวดเร็ว กระตือรือร้นที่สุด น่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ (อาจจะไม่เป็นธรรมที่จะกล่าวเช่นนี้ เพราะกระทรวงอื่นก็อาจจะขยันไม่แพ้กันแต่ไม่เป็นข่าวมากเท่า) เพราะมีแอ๊กชั่นที่เป็นรูปธรรมตอบสนองต่อนโยบายของ คสช. ได้ทันท่วงที ชนิดพูดวันนี้ วันพรุ่งนี้มีการขานรับไปปฏิการทันที
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมุดพกความดี การจัดการกับวิชาประวัติศาสตร์และพลเมืองดี ล่าสุด จะมีการปรับปรุงหลักสูตรครั้งใหญ่ โดยมีประธานบอร์ด คือ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
เป็นที่รู้กันมานานนับศตวรรษแล้วว่า การศึกษามวลชนคือเครื่องมือของรัฐ (สมัยใหม่) ในการกล่อมเกลาพลเมือง-ฟังดูแย่ ราวกับว่าการศึกษาคือเครื่องมือของรัฐในการล้างสมองล้วนๆ เพราะฉะนั้น หนทางที่จะไม่โดนรัฐล้างสมองก็คงมีหนทางเดียวคือ หยุดส่งลูกไปโรงเรียน และคือที่มาของโฮมสคูลและโรงเรียนทางเลือกต่างๆ นานา
แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว การศึกษามวลชนไม่ได้เท่ากับการ "ล้างสมอง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการศึกษามวลชนนั้นเป็นการศึกษามวลชนโดยรัฐบาลของสังคมที่มีระดับความเป็นประชาธิปไตยสูง
อย่างที่รู้กันดีว่า "รัฐสมัยใหม่" มาพร้อมกับการจากไปของรัฐอาณาจักรแบบโบราณ และมาพร้อมกับกำเนิดและสำนึกแห่งความเป็น "ชาติ" ที่หมายถึง solidarity ของพลเมือง (เสมอภาค เสรีภาพ และภราดรภาพ) "การศึกษา" ในสายตาของรัฐสมัยใหม่ มุ่งหวังผลประโยชน์สองทางบนฐานความเชื่อมั่นในความเสมอภาคเป็นเบื้องต้นก่อน นั่นคือ เชื่อว่าสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาต้องเป็นของพลเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
ผลประโยชน์แรกที่รัฐสมัยใหม่คาดหวังจากการที่พลเมืองได้รับการศึกษา คือ "ทรัพยากรมนุษย์" เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติ
ดังนั้น การศึกษาจึงหมายถึงการเพิ่มคุณภาพของพลเมืองในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิต เพิ่มปริมาณของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เพิ่มปริมาณของแรงงานที่มีทักษะ ฝีมือ ฯลฯ
ผลประโยชน์ที่สองที่รัฐสมัยใหม่จำต้องบังคับให้เกิดขึ้นให้จงได้คือ การใช้การศึกษาสร้างจิตสำนึกแบบ "พลเมือง" แทนจิตสำนึกของ "ลูกที่ดิน" อันเป็นความสัมพันธ์เดิมในระบอบศักดินาเก่า สำหรับรัฐสมัยใหม่ พลเมืองต้องขึ้นต่อ "ชาติ" มิใช่ "มูลนาย" ในยุคต้นๆ ของการสร้างรัฐสมัยใหม่ พลังของการปลุกความรักชาติจึงเข้มข้นและยากจะบอกว่าคือกระบวนการล้างสมองหรือไม่
แต่โดยมากใช้คำว่า "การกล่อมเกลาทางสังคม"
สําหรับสังคมไทย เรามีการศึกษามวลชนตามความหมายข้างต้นนี้ก็เมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แล้ว และช่วงที่มีการ "กล่อมเกลาทางสังคม" อย่างหนักหน่วงเพื่อสร้างสำนึกพลเมืองที่ขึ้นต่อชาติ แทนจิตสำนึกเดิมที่ขึ้นต่อมูลนายอย่างหนักหน่วงที่สุดนั้น เกิดขึ้นในช่วงของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนทำให้ จอมพล ป. ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำฟาสซิสต์มาจนถึงทุกวันนี้
เข้าใจว่าผู้ที่กล่าวหา จอมพล ป. เช่นนี้ ได้ละเลยที่จะศึกษา "การกล่อมเกลาทางสังคม" ผ่านระบบการศึกษาของไทยในช่วงหลังปี 2500 ลงมา เพราะหากศึกษาต่อมา จะตระหนักว่า ผู้ที่คู่ควรกับฉายาฟาสซิสต์ย่อมไม่ใช่ จอมพล ป. อย่างแน่นอน ชวนให้ฉงนว่าใครกันหนอริเริ่มเรียก จอมพล ป. เช่นนั้น
เขียนมายืดยาวเช่นนี้ เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าการศึกษานั้นไม่เคยบริสุทธิ์ผุดผ่องดีงามอยู่แล้ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราต้องปฏิเสธการศึกษา
แบบเรียนของทุกประเทศในโลกนี้ก็ผ่านยุคที่บิดเบือน โกหก เอาความดีใส่ตัว เอาความชั่วใส่คนอื่น ปลุกสำนึกชาตินิยมอย่างบ้าคลั่ง หรือแต่งเติมประวัติศาสตร์ให้พลเมืองบูชาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองจนไม่ลืมหูลืมตามาก็มาก
บ้างก็ออกแบบการศึกษา แต่งประวัติศาสตร์ใหม่ให้พลเมืองคลั่งชาติจนเข้าสู่สงคราม หรือล่อหลอกให้พลเมืองไปตายเพื่อชาติมาก็เยอะ
ผลพวงจากการรักชาติ คลั่งชาติในยุคสร้างชาติของแต่ละประเทศมีสารพัด ทั้งการทำสงคราม การไปตายเพื่อชาติ การล่าอาณานิคม การกีดกันเจ้าถิ่นอย่างอินเดียนแดงออกไปจากความเป็นพลเมืองอเมริกัน การเหยียดผิว การคลั่งศาสนาในกรณีที่ใช้ศาสนามาเป็นเครื่องมือของการสร้างชาติ
ทว่า หลายๆ สังคมได้ผ่านพ้นห้วงเวลาที่การศึกษามวลชนเป็นเครื่องมือของรัฐในการ "ครอบงำ" พลเมืองมาได้ (แน่นอน มีอีกหลายสังคมที่การศึกษาถูกใช้เป็นเครื่องมือในการครอบงำที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ)
เครื่องมือที่ "สังคม" ใช้ในการต่อสู้กับการศึกษาในฐานะที่เป็นเครื่องมือของรัฐ ก็คือ ความพยายามที่จะเข้าไปมี "ส่วนร่วม" ในการกำหนดทิศทางการศึกษาและนโยบายการศึกษาของรัฐ (มิใช่การตัดช่องน้อยแต่พอตัวด้วยวิธีโฮมสคูลหรือโรงเรียนทางเลือก)
หนทางที่จะเข้าไปมี "ส่วนร่วม" คงมีหนทางเดียวเท่านั้น คือหนทางบนถนนสายที่ชื่อว่าประชาธิปไตย เพราะมีแต่การปกครองระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ที่จะเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าไปแข่งขันเพื่อจะมี "ส่วนร่วม" ในการกำหนดนโยบาย
หลายๆ สังคม หลายๆ ประเทศ สามารถ "แก้ไข" แบบเรียนที่คลั่งชาติ คับแคบ หรือเพิกเฉยต่อคนกลุ่มน้อย คนชายขอบ ก็ด้วยการต่อสู้สองแบบ คือ การรณรงค์ เปิดโปง การโกหกบิดเบือนของรัฐบาล หรือแฉโพยกระบวนการ "แต่ง" ประวัติศาสตร์จอมปลอมของรัฐ-แน่นอนว่าเราจะรณรงค์และแฉโพยเรื่องราวเหล่านี้ก็เฉพาะในสังคมที่มีประชาธิปไตยและหลักประกันสิทธิเสรีภาพของพลเมืองเท่านั้น
ประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยเข้มข้นมากอย่างในยุโรปตะวันตก "สังคม" จึงสามารถช่วงชิง "การศึกษามวลชน" มาอยู่ในกำกับของ "สังคม" มากกว่าจะอยู่ในกำกับของ "รัฐ"
สิ่งที่จะใช้ชี้วัดว่าการศึกษาอยู่ในกำกับของสังคมหรือของรัฐมากกว่ากัน คืออำนาจในการผูกขาดการแต่งตำราเรียน
ประเทศไหนที่ไม่ยอมเปิดโอกาสให้เอกชนผลิตตำราออกมาแข่งกัน ไม่ยอมให้โรงเรียนมีสิทธิเลือกใช้แบบเรียนอย่างอิสระ แสดงว่าประเทศนั้น การศึกษามวลชนอยู่ในกำกับของรัฐมากกว่าของสังคม และย่อมสะท้อนระดับความเป็นประชาธิปไตยด้วย ยิ่งผูกขาด หวงแหนอำนาจตรงนี้มาก ก็ยิ่งแสดงว่ามีความเป็นประชาธิปไตยน้อย
สำหรับคนไทยที่คุ้นเคยกับการอยู่ภายใต้การ "กำกับดูแล" โดยรัฐอย่างใกล้ชิด เรามักจะมีวิธีคิด (ซึ่งหากมองจากสายตาของโลกเสรีนิยม จะพบว่าค่อนข้างประหลาด) นั่นคือ คนไทยโดยมากกลัวและไม่คุ้นเคยกับอิสรภาพและเสรีภาพ
ดังนั้น หากพูดว่า เราควรปล่อยให้เอกชนผลิตตำราเรียนออกมาแข่งกัน และโรงเรียนก็เลือกเองว่าจะใช้เล่มไหนมาสอนนักเรียน เรา-ซึ่งกลัวเสรีภาพ-จึงมักจะตบอกก่อนเป็นเบื้องแรก ก่อนจะพูดว่า
"ต๊าย ตาย ขืนให้ทำอย่างนั้นก็เละตุ้มเป๊ะสิ ใครนึกอยากแต่งตำราแบบไหนก็แต่ง เดี๋ยวก็แต่งมาผิดๆ ถูกๆ โรงเรียนก็เลือกผิดๆ ถูกๆ เด็กก็เรียนไปผิดๆ ถูกๆ ตาย ตาย ตาย แล้วอย่างนี้การศึกษาของเราจะมีมาตรฐานคุณภาพได้ยังไงกัน"
เรา-ซึ่งกลัวอิสรภาพ-จึงไม่เคยตั้งคำถามว่า ระหว่างการผูกขาดการเขียนแบบเรียนอยู่เจ้าเดียว ซึ่งถ้าผิด เราก็ไม่รู้ว่าผิด เพราะไม่มีเวอร์ชั่นอื่นให้เลือกหรือเปรียบเทียบ กับ การปล่อยให้แข่งขันภายใต้มาตรฐานชุดหนึ่ง แบบไหนจะกระตุ้นการผลิตตำราเรียนแบบเรียนที่มีคุณภาพมากกว่ากัน
การปฏิรูปการศึกษาในประเทศที่ไม่กลัวเสรีภาพ จึงหมายถึงการเอาการศึกษาออกจากอุดมการณ์ "อำนาจนิยม"
ในช่วงสั้นๆ ของการมีชีวิตอยู่ของระบอบประชาธิปไตยไทย เคยมีความพยายามจะยกเลิกการบังคับเรื่องทรงผมของนักเรียน เพียงเท่านั้นเอง เหล่ามนุษย์ซึ่งกลัวการมีเสรีภาพเหนือสิ่งอื่นใด ต่างพากันออกมาคัดค้าน
นักเรียนไทยจำนวนไม่น้อย ออกมาคัดค้านทั้งการยกเลิกระเบียบทรงผม และเครื่องแบบ ซึ่งน่าเห็นใจคนเหล่านั้น เพราะระบบการศึกษาของไทยในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เป็นระบบการศึกษาที่ทำทุกอย่างเพื่อลดทอนความเชื่อมั่นในพลังของปัจเจกบุคคล ทว่าส่งเสริมให้เหล่าพลเมืองไทยตั้งแต่ลูกเล็กเด็กแดงขึ้นไป ให้นิยามคุณค่าของตนไว้กับสิ่งอื่นๆ เสมอ เช่น เครื่องแบบของสถาบัน
นักเรียนเหล่านั้นจึงรู้สึกว่าหากปราศจากเครื่องแบบที่พวกเขาสวมใส่อยู่ ชีวิตของพวกเขาก็จะไม่เหลืออะไรเลย
นี่คือโศกนาฏกรรมที่มนุษย์คนหนึ่งไม่อาจภูมิใจหรือมั่นใจกับตัวตนของตนเองโดยปราศจากสิ่งยึดเหนี่ยวจากภายนอก
นับว่าการศึกษาไทยประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในการกล่อมเกลาพลเมืองให้มีความหวาดกลัวของเสรีภาพ ทั้งยังเห็นว่าเสรีภาพเป็นสิ่งชั่วร้าย เป็นเครื่องมือในการทำลายระเบียบอันดีงามของสังคม ระบบการศึกษาได้สร้างพลเมืองที่รักจะถูกควบคุม กำกับ ดูแลใกล้ชิด
เราชอบฟังครูใหญ่เทศนาหน้าเสาธง ครูใหญ่ที่เป็นที่ชื่นชอบของนักเรียนมักเป็นครูใหญ่สุด
บที่จัดการกับพวกเด็กเกเรได้เด็ดขาด ขณะเดียวกันมีความขี้เล่นในความดุ เราจะรู้อยู่เสมอว่าหากเราเป็นเด็กดี ครูใหญ่
บๆ จะหันมาเอ็นดูเราเป็นพิเศษ นั่นยิ่งทำให้ครูใหญ่ดูน่ารักยิ่งขึ้น
สังคมไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่สังคมบนโลกใบนี้ที่ไม่รู้สึกอะไรเลยกับการที่นักศึกษามหาวิทยาลัยยังต้องแต่งเครื่องแบบ
ไม่ต้องพูดถึงว่าเราไม่เคยรู้สึกอะไรเลยกับการที่นักเรียนถูกบังคับให้ตัดผมเกรียน ผมเสมอหู มีเครื่องแบบ ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีการสื่อสาร อินเตอร์เน็ต ได้เปิดโลกให้เราเห็นว่า โลกที่เจริญแล้ว พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ในโลกนี้ ไม่มีที่ไหนให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแต่งเครื่องแบบ
พ่อแม่คนไทยจำนวนมากใฝ่ฝันอยากส่งลูกไปเรียน "เมืองนอก" ที่แปลว่ายุโรปหรืออเมริกา เพราะเชื่อมั่นว่าที่นั่นจะให้การศึกษาที่ดีที่สุดแก่ลูกของตน
แต่ไม่เคยฉุกใจคิดสักนิดว่า ไม่ว่าจะในยุโรปหรืออเมริกา ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนให้นักศึกษาแต่งเครื่องแบบ แล้วทำไมเขาจึงสามารถมอบคุณภาพการศึกษาที่เราใฝ่ฝันถึงได้?
ในสังคมที่ใฝ่ฝันถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตย หากกระทรวงศึกษาธิการพูดถึงการปฏิรูปการศึกษาและการแก้ไขหลักสูตร ฉันคงนึกถึงการยกเลิกระเบียบแบบแผนที่จำลองมาจากการฝึกทหาร แบบซ้ายหันขวาหัน การเข้าแถวฟังโอวาทหน้าเสาธง การตรวจเล็บ ตรวจทรงผม การยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน การยกเลิกการผูกขาดการผลิตแบบเรียน การลดชั่วโมงเรียน การพัฒนาคุณภาพห้องสมุด การทุ่มเทงบประมาณไปกับการสร้างมิวเซียม หอศิลป์ การออกแบบชีวิตในโรงเรียนที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย ลด ละ เลิก แบบแผนมารยาทที่เสริมความเข้มแข็งให้กับระบบลำดับชั้นต่ำ-สูง ส่งเสริมความสัมพันธ์ในแนวราบ กระตุ้นให้นักเรียนมีวิธีคิดเชิงวิพากษ์ ตั้งคำถาม ใช้เหตุผลมากกว่าศรัทธา ปลูกฝังเรื่องการเคารพผู้อื่นในฐานะมนุษย์ที่มีความเสมอภาคกัน
ในสังคมที่ใฝ่ฝันถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตย หากมีการพูดเรื่องปฏิรูปการศึกษา ฉันคงนึกถึงการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่รัฐรวมศูนย์น้อยลง กระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้อยู่ในมือของท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อความกระชับฉับไวในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการศึกษา และการวางหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
ทว่า ในสังคมที่ถูกสอนให้กลัวอิสรภาพ ผู้คนยินดีจะเชื่อว่า "ขนาดควบคุมเข้มงวดขนาดนี้ เด็กยังแย่ เด็กยังเลว ยังแว้น ยังติดยา ยังมั่วเซ็กซ์ ยังไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ถ้าปล่อยอย่างที่ว่ามา มันจะขนาดไหน"
เพราะฉะนั้น การปฏิรูปการศึกษาในสังคมที่หวาดกลัวเสรีภาพ จึงไม่น่าจะเป็นไปในทางอื่น นอกจากการ "กระชับ" การควบคุมให้แน่นหนาขึ้น กระชับสมองให้คิดได้น้อยลง และเชื่อฟังได้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
และหากทำได้สำเร็จ (ซึ่งก็สำเร็จมากอยู่แล้ว) เราจะผลิตพลเมืองที่มีความสุขเพราะถูกควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เราจะผลิตพลเมืองที่ชอบให้รัฐบาลขู่เราไม่ให้ดื่มเหล้า ไม่ให้สูบบุหรี่ เราจะรู้สึกขอบคุณที่ในซองบุหรี่มีรูปคนป่วยน่าเกลียดๆ เพราะเรารู้สึกว่าการจำกัดเสรีภาพของเรานั้น รัฐล้วนทำไปเพราะรักและห่วงใย
หากเราทำสำเร็จ ความปรารถนาที่จะเห็นประเทศไทยที่ไม่เหมือนใครในโลกก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม
.............
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1410541278
คำ ผกา : ฝันที่เป็นจริง
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 00:01:01 น.
คำ ผกา
ฝันที่เป็นจริง
ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากระทรวงที่ขยันขันแข็ง ดำเนินนโยบายรับลูก คสช. อย่างรวดเร็ว กระตือรือร้นที่สุด น่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ (อาจจะไม่เป็นธรรมที่จะกล่าวเช่นนี้ เพราะกระทรวงอื่นก็อาจจะขยันไม่แพ้กันแต่ไม่เป็นข่าวมากเท่า) เพราะมีแอ๊กชั่นที่เป็นรูปธรรมตอบสนองต่อนโยบายของ คสช. ได้ทันท่วงที ชนิดพูดวันนี้ วันพรุ่งนี้มีการขานรับไปปฏิการทันที
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมุดพกความดี การจัดการกับวิชาประวัติศาสตร์และพลเมืองดี ล่าสุด จะมีการปรับปรุงหลักสูตรครั้งใหญ่ โดยมีประธานบอร์ด คือ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
เป็นที่รู้กันมานานนับศตวรรษแล้วว่า การศึกษามวลชนคือเครื่องมือของรัฐ (สมัยใหม่) ในการกล่อมเกลาพลเมือง-ฟังดูแย่ ราวกับว่าการศึกษาคือเครื่องมือของรัฐในการล้างสมองล้วนๆ เพราะฉะนั้น หนทางที่จะไม่โดนรัฐล้างสมองก็คงมีหนทางเดียวคือ หยุดส่งลูกไปโรงเรียน และคือที่มาของโฮมสคูลและโรงเรียนทางเลือกต่างๆ นานา
แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว การศึกษามวลชนไม่ได้เท่ากับการ "ล้างสมอง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการศึกษามวลชนนั้นเป็นการศึกษามวลชนโดยรัฐบาลของสังคมที่มีระดับความเป็นประชาธิปไตยสูง
อย่างที่รู้กันดีว่า "รัฐสมัยใหม่" มาพร้อมกับการจากไปของรัฐอาณาจักรแบบโบราณ และมาพร้อมกับกำเนิดและสำนึกแห่งความเป็น "ชาติ" ที่หมายถึง solidarity ของพลเมือง (เสมอภาค เสรีภาพ และภราดรภาพ) "การศึกษา" ในสายตาของรัฐสมัยใหม่ มุ่งหวังผลประโยชน์สองทางบนฐานความเชื่อมั่นในความเสมอภาคเป็นเบื้องต้นก่อน นั่นคือ เชื่อว่าสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาต้องเป็นของพลเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
ผลประโยชน์แรกที่รัฐสมัยใหม่คาดหวังจากการที่พลเมืองได้รับการศึกษา คือ "ทรัพยากรมนุษย์" เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติ
ดังนั้น การศึกษาจึงหมายถึงการเพิ่มคุณภาพของพลเมืองในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิต เพิ่มปริมาณของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เพิ่มปริมาณของแรงงานที่มีทักษะ ฝีมือ ฯลฯ
ผลประโยชน์ที่สองที่รัฐสมัยใหม่จำต้องบังคับให้เกิดขึ้นให้จงได้คือ การใช้การศึกษาสร้างจิตสำนึกแบบ "พลเมือง" แทนจิตสำนึกของ "ลูกที่ดิน" อันเป็นความสัมพันธ์เดิมในระบอบศักดินาเก่า สำหรับรัฐสมัยใหม่ พลเมืองต้องขึ้นต่อ "ชาติ" มิใช่ "มูลนาย" ในยุคต้นๆ ของการสร้างรัฐสมัยใหม่ พลังของการปลุกความรักชาติจึงเข้มข้นและยากจะบอกว่าคือกระบวนการล้างสมองหรือไม่
แต่โดยมากใช้คำว่า "การกล่อมเกลาทางสังคม"
สําหรับสังคมไทย เรามีการศึกษามวลชนตามความหมายข้างต้นนี้ก็เมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แล้ว และช่วงที่มีการ "กล่อมเกลาทางสังคม" อย่างหนักหน่วงเพื่อสร้างสำนึกพลเมืองที่ขึ้นต่อชาติ แทนจิตสำนึกเดิมที่ขึ้นต่อมูลนายอย่างหนักหน่วงที่สุดนั้น เกิดขึ้นในช่วงของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนทำให้ จอมพล ป. ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำฟาสซิสต์มาจนถึงทุกวันนี้
เข้าใจว่าผู้ที่กล่าวหา จอมพล ป. เช่นนี้ ได้ละเลยที่จะศึกษา "การกล่อมเกลาทางสังคม" ผ่านระบบการศึกษาของไทยในช่วงหลังปี 2500 ลงมา เพราะหากศึกษาต่อมา จะตระหนักว่า ผู้ที่คู่ควรกับฉายาฟาสซิสต์ย่อมไม่ใช่ จอมพล ป. อย่างแน่นอน ชวนให้ฉงนว่าใครกันหนอริเริ่มเรียก จอมพล ป. เช่นนั้น
เขียนมายืดยาวเช่นนี้ เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าการศึกษานั้นไม่เคยบริสุทธิ์ผุดผ่องดีงามอยู่แล้ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราต้องปฏิเสธการศึกษา
แบบเรียนของทุกประเทศในโลกนี้ก็ผ่านยุคที่บิดเบือน โกหก เอาความดีใส่ตัว เอาความชั่วใส่คนอื่น ปลุกสำนึกชาตินิยมอย่างบ้าคลั่ง หรือแต่งเติมประวัติศาสตร์ให้พลเมืองบูชาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองจนไม่ลืมหูลืมตามาก็มาก
บ้างก็ออกแบบการศึกษา แต่งประวัติศาสตร์ใหม่ให้พลเมืองคลั่งชาติจนเข้าสู่สงคราม หรือล่อหลอกให้พลเมืองไปตายเพื่อชาติมาก็เยอะ
ผลพวงจากการรักชาติ คลั่งชาติในยุคสร้างชาติของแต่ละประเทศมีสารพัด ทั้งการทำสงคราม การไปตายเพื่อชาติ การล่าอาณานิคม การกีดกันเจ้าถิ่นอย่างอินเดียนแดงออกไปจากความเป็นพลเมืองอเมริกัน การเหยียดผิว การคลั่งศาสนาในกรณีที่ใช้ศาสนามาเป็นเครื่องมือของการสร้างชาติ
ทว่า หลายๆ สังคมได้ผ่านพ้นห้วงเวลาที่การศึกษามวลชนเป็นเครื่องมือของรัฐในการ "ครอบงำ" พลเมืองมาได้ (แน่นอน มีอีกหลายสังคมที่การศึกษาถูกใช้เป็นเครื่องมือในการครอบงำที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ)
เครื่องมือที่ "สังคม" ใช้ในการต่อสู้กับการศึกษาในฐานะที่เป็นเครื่องมือของรัฐ ก็คือ ความพยายามที่จะเข้าไปมี "ส่วนร่วม" ในการกำหนดทิศทางการศึกษาและนโยบายการศึกษาของรัฐ (มิใช่การตัดช่องน้อยแต่พอตัวด้วยวิธีโฮมสคูลหรือโรงเรียนทางเลือก)
หนทางที่จะเข้าไปมี "ส่วนร่วม" คงมีหนทางเดียวเท่านั้น คือหนทางบนถนนสายที่ชื่อว่าประชาธิปไตย เพราะมีแต่การปกครองระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ที่จะเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าไปแข่งขันเพื่อจะมี "ส่วนร่วม" ในการกำหนดนโยบาย
หลายๆ สังคม หลายๆ ประเทศ สามารถ "แก้ไข" แบบเรียนที่คลั่งชาติ คับแคบ หรือเพิกเฉยต่อคนกลุ่มน้อย คนชายขอบ ก็ด้วยการต่อสู้สองแบบ คือ การรณรงค์ เปิดโปง การโกหกบิดเบือนของรัฐบาล หรือแฉโพยกระบวนการ "แต่ง" ประวัติศาสตร์จอมปลอมของรัฐ-แน่นอนว่าเราจะรณรงค์และแฉโพยเรื่องราวเหล่านี้ก็เฉพาะในสังคมที่มีประชาธิปไตยและหลักประกันสิทธิเสรีภาพของพลเมืองเท่านั้น
ประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยเข้มข้นมากอย่างในยุโรปตะวันตก "สังคม" จึงสามารถช่วงชิง "การศึกษามวลชน" มาอยู่ในกำกับของ "สังคม" มากกว่าจะอยู่ในกำกับของ "รัฐ"
สิ่งที่จะใช้ชี้วัดว่าการศึกษาอยู่ในกำกับของสังคมหรือของรัฐมากกว่ากัน คืออำนาจในการผูกขาดการแต่งตำราเรียน
ประเทศไหนที่ไม่ยอมเปิดโอกาสให้เอกชนผลิตตำราออกมาแข่งกัน ไม่ยอมให้โรงเรียนมีสิทธิเลือกใช้แบบเรียนอย่างอิสระ แสดงว่าประเทศนั้น การศึกษามวลชนอยู่ในกำกับของรัฐมากกว่าของสังคม และย่อมสะท้อนระดับความเป็นประชาธิปไตยด้วย ยิ่งผูกขาด หวงแหนอำนาจตรงนี้มาก ก็ยิ่งแสดงว่ามีความเป็นประชาธิปไตยน้อย
สำหรับคนไทยที่คุ้นเคยกับการอยู่ภายใต้การ "กำกับดูแล" โดยรัฐอย่างใกล้ชิด เรามักจะมีวิธีคิด (ซึ่งหากมองจากสายตาของโลกเสรีนิยม จะพบว่าค่อนข้างประหลาด) นั่นคือ คนไทยโดยมากกลัวและไม่คุ้นเคยกับอิสรภาพและเสรีภาพ
ดังนั้น หากพูดว่า เราควรปล่อยให้เอกชนผลิตตำราเรียนออกมาแข่งกัน และโรงเรียนก็เลือกเองว่าจะใช้เล่มไหนมาสอนนักเรียน เรา-ซึ่งกลัวเสรีภาพ-จึงมักจะตบอกก่อนเป็นเบื้องแรก ก่อนจะพูดว่า
"ต๊าย ตาย ขืนให้ทำอย่างนั้นก็เละตุ้มเป๊ะสิ ใครนึกอยากแต่งตำราแบบไหนก็แต่ง เดี๋ยวก็แต่งมาผิดๆ ถูกๆ โรงเรียนก็เลือกผิดๆ ถูกๆ เด็กก็เรียนไปผิดๆ ถูกๆ ตาย ตาย ตาย แล้วอย่างนี้การศึกษาของเราจะมีมาตรฐานคุณภาพได้ยังไงกัน"
เรา-ซึ่งกลัวอิสรภาพ-จึงไม่เคยตั้งคำถามว่า ระหว่างการผูกขาดการเขียนแบบเรียนอยู่เจ้าเดียว ซึ่งถ้าผิด เราก็ไม่รู้ว่าผิด เพราะไม่มีเวอร์ชั่นอื่นให้เลือกหรือเปรียบเทียบ กับ การปล่อยให้แข่งขันภายใต้มาตรฐานชุดหนึ่ง แบบไหนจะกระตุ้นการผลิตตำราเรียนแบบเรียนที่มีคุณภาพมากกว่ากัน
การปฏิรูปการศึกษาในประเทศที่ไม่กลัวเสรีภาพ จึงหมายถึงการเอาการศึกษาออกจากอุดมการณ์ "อำนาจนิยม"
ในช่วงสั้นๆ ของการมีชีวิตอยู่ของระบอบประชาธิปไตยไทย เคยมีความพยายามจะยกเลิกการบังคับเรื่องทรงผมของนักเรียน เพียงเท่านั้นเอง เหล่ามนุษย์ซึ่งกลัวการมีเสรีภาพเหนือสิ่งอื่นใด ต่างพากันออกมาคัดค้าน
นักเรียนไทยจำนวนไม่น้อย ออกมาคัดค้านทั้งการยกเลิกระเบียบทรงผม และเครื่องแบบ ซึ่งน่าเห็นใจคนเหล่านั้น เพราะระบบการศึกษาของไทยในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เป็นระบบการศึกษาที่ทำทุกอย่างเพื่อลดทอนความเชื่อมั่นในพลังของปัจเจกบุคคล ทว่าส่งเสริมให้เหล่าพลเมืองไทยตั้งแต่ลูกเล็กเด็กแดงขึ้นไป ให้นิยามคุณค่าของตนไว้กับสิ่งอื่นๆ เสมอ เช่น เครื่องแบบของสถาบัน
นักเรียนเหล่านั้นจึงรู้สึกว่าหากปราศจากเครื่องแบบที่พวกเขาสวมใส่อยู่ ชีวิตของพวกเขาก็จะไม่เหลืออะไรเลย
นี่คือโศกนาฏกรรมที่มนุษย์คนหนึ่งไม่อาจภูมิใจหรือมั่นใจกับตัวตนของตนเองโดยปราศจากสิ่งยึดเหนี่ยวจากภายนอก
นับว่าการศึกษาไทยประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในการกล่อมเกลาพลเมืองให้มีความหวาดกลัวของเสรีภาพ ทั้งยังเห็นว่าเสรีภาพเป็นสิ่งชั่วร้าย เป็นเครื่องมือในการทำลายระเบียบอันดีงามของสังคม ระบบการศึกษาได้สร้างพลเมืองที่รักจะถูกควบคุม กำกับ ดูแลใกล้ชิด
เราชอบฟังครูใหญ่เทศนาหน้าเสาธง ครูใหญ่ที่เป็นที่ชื่นชอบของนักเรียนมักเป็นครูใหญ่สุดบที่จัดการกับพวกเด็กเกเรได้เด็ดขาด ขณะเดียวกันมีความขี้เล่นในความดุ เราจะรู้อยู่เสมอว่าหากเราเป็นเด็กดี ครูใหญ่บๆ จะหันมาเอ็นดูเราเป็นพิเศษ นั่นยิ่งทำให้ครูใหญ่ดูน่ารักยิ่งขึ้น
สังคมไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่สังคมบนโลกใบนี้ที่ไม่รู้สึกอะไรเลยกับการที่นักศึกษามหาวิทยาลัยยังต้องแต่งเครื่องแบบ
ไม่ต้องพูดถึงว่าเราไม่เคยรู้สึกอะไรเลยกับการที่นักเรียนถูกบังคับให้ตัดผมเกรียน ผมเสมอหู มีเครื่องแบบ ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีการสื่อสาร อินเตอร์เน็ต ได้เปิดโลกให้เราเห็นว่า โลกที่เจริญแล้ว พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ในโลกนี้ ไม่มีที่ไหนให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแต่งเครื่องแบบ
พ่อแม่คนไทยจำนวนมากใฝ่ฝันอยากส่งลูกไปเรียน "เมืองนอก" ที่แปลว่ายุโรปหรืออเมริกา เพราะเชื่อมั่นว่าที่นั่นจะให้การศึกษาที่ดีที่สุดแก่ลูกของตน
แต่ไม่เคยฉุกใจคิดสักนิดว่า ไม่ว่าจะในยุโรปหรืออเมริกา ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนให้นักศึกษาแต่งเครื่องแบบ แล้วทำไมเขาจึงสามารถมอบคุณภาพการศึกษาที่เราใฝ่ฝันถึงได้?
ในสังคมที่ใฝ่ฝันถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตย หากกระทรวงศึกษาธิการพูดถึงการปฏิรูปการศึกษาและการแก้ไขหลักสูตร ฉันคงนึกถึงการยกเลิกระเบียบแบบแผนที่จำลองมาจากการฝึกทหาร แบบซ้ายหันขวาหัน การเข้าแถวฟังโอวาทหน้าเสาธง การตรวจเล็บ ตรวจทรงผม การยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน การยกเลิกการผูกขาดการผลิตแบบเรียน การลดชั่วโมงเรียน การพัฒนาคุณภาพห้องสมุด การทุ่มเทงบประมาณไปกับการสร้างมิวเซียม หอศิลป์ การออกแบบชีวิตในโรงเรียนที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย ลด ละ เลิก แบบแผนมารยาทที่เสริมความเข้มแข็งให้กับระบบลำดับชั้นต่ำ-สูง ส่งเสริมความสัมพันธ์ในแนวราบ กระตุ้นให้นักเรียนมีวิธีคิดเชิงวิพากษ์ ตั้งคำถาม ใช้เหตุผลมากกว่าศรัทธา ปลูกฝังเรื่องการเคารพผู้อื่นในฐานะมนุษย์ที่มีความเสมอภาคกัน
ในสังคมที่ใฝ่ฝันถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตย หากมีการพูดเรื่องปฏิรูปการศึกษา ฉันคงนึกถึงการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่รัฐรวมศูนย์น้อยลง กระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้อยู่ในมือของท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อความกระชับฉับไวในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการศึกษา และการวางหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
ทว่า ในสังคมที่ถูกสอนให้กลัวอิสรภาพ ผู้คนยินดีจะเชื่อว่า "ขนาดควบคุมเข้มงวดขนาดนี้ เด็กยังแย่ เด็กยังเลว ยังแว้น ยังติดยา ยังมั่วเซ็กซ์ ยังไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ถ้าปล่อยอย่างที่ว่ามา มันจะขนาดไหน"
เพราะฉะนั้น การปฏิรูปการศึกษาในสังคมที่หวาดกลัวเสรีภาพ จึงไม่น่าจะเป็นไปในทางอื่น นอกจากการ "กระชับ" การควบคุมให้แน่นหนาขึ้น กระชับสมองให้คิดได้น้อยลง และเชื่อฟังได้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
และหากทำได้สำเร็จ (ซึ่งก็สำเร็จมากอยู่แล้ว) เราจะผลิตพลเมืองที่มีความสุขเพราะถูกควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เราจะผลิตพลเมืองที่ชอบให้รัฐบาลขู่เราไม่ให้ดื่มเหล้า ไม่ให้สูบบุหรี่ เราจะรู้สึกขอบคุณที่ในซองบุหรี่มีรูปคนป่วยน่าเกลียดๆ เพราะเรารู้สึกว่าการจำกัดเสรีภาพของเรานั้น รัฐล้วนทำไปเพราะรักและห่วงใย
หากเราทำสำเร็จ ความปรารถนาที่จะเห็นประเทศไทยที่ไม่เหมือนใครในโลกก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม
.............
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1410541278