ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมาก แต่ก็มีหลายต่อหลายคนที่ยังอยากจะเข้ามาสู่ธุรกิจอาหารนี้ ธุรกิจอาหารในประเทศไทยนั้นแบ่งออกไปหลายส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิตส่งออก, ทำเป็นสินค้าอาหารขายในประเทศ, ธุรกิจร้านอาหาร, เครื่องดื่ม, ขนม, เครื่องปรุง, อาหารแช่แข็ง หรือ วัตถุดิบต่างๆ มูลค่ารวมของตลาดนั้นสูงเป็นหลักหลายแสนล้านบาท และการเจริญเติบโตก็มีอย่างต่อเนื่อง
ประเทศไทยนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งทรัพยากรต่างๆ ที่ทำให้เราสามารถที่จะผลิตอาหารได้แทบจะทุกๆอย่าง จึงทำให้บริษัทข้ามชาติหลายๆบริษัท เข้ามาลงทุนธุรกิจอาหารในประเทศไทย
จากประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงนี้มากว่า 10 ปี ผมพอจะสรุปสิ่งที่ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ที่อยากจะเข้ามาในธุรกิจนี้ควรจะรู้คร่าวๆได้ดังนี้
1. ผู้ที่ผลิตอาหารต้องคำนึงถึงความสะอาด ความปลอดภัยเป็นหลักสำคัญที่สุด สำคัญมากกว่าเรื่องอื่นๆทุกเรื่อง ยิ่งในสมัยนี้ ร้านอาหาร หรือ กลุ่มโรงแรมใหญ่ๆ เวลาที่จะเลือกซื้อวัตถุดิบอาหาร ก็จะเลือกจะผู้ผลิตที่มีมาตรฐานระดับสูงเท่านั้น และยิ่งสมัยนี้มีเรื่องของเทคโนโลยีที่สามารถส่งต่อข่าวสารกันอย่างรวดเร็ว หากผู้ผลิตไหนมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยแล้วล่ะก็ ปัญหาตามมานับไม่ถ้วนแน่ๆครับ
2. รสชาติความอร่อย ต้องเป็นที่โดดเด่น ขึ้นชื่อว่าอาหารแล้ว ความอร่อยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอาหารประเภทใด ความอร่อยต้องไม่เป็นสองรองใคร อย่าคิดแค่ว่าจะทำง่ายๆ ทำๆไปแล้ว เดี๋ยวไปเน้น การสร้างแบรนด์ การทำโฆษณา โปรโมชั่น หรือ ลดราคา อย่างอื่นพอจะช่วยได้ แต่ไม่ยั่งยืนแน่นอนครับ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร ต้องอร่อยเท่านั้น
3. ช่องทางการขาย ธุรกิจอาหารนั้นไม่ค่อยซับซ้อนเท่าไหร่ครับ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ขายผ่านช่องทาง Modern trade หรือ ช่องทางค้าปลีกต่างๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือ ห้างค้าส่งอย่าง Makro ส่วนอีกกลุ่มนั้น ในวงการอาหารจะเรียกกันว่าเป็นกลุ่ม Horeca ก็คือ Hotel, Restaurant และ Catering กลุ่มนี้ ถือว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากๆ ครับ เราเรียกอีกอย่างกันว่าช่องทาง foodservice และ กลุ่มสุดท้าย เป็นกลุ่มโรงงานผู้ผลิตอาหารที่มีความต้องการที่จะซื้อวัตถุดิบเพื่อไปผลิตเป็นสินค้าอาหารต่างๆ กลุ่มนี้เหมาะสำหรับคนที่จะขายพวกวัตถุดิบหรือเครื่องปรุงต่างๆครับ ซึ่งวิธีการในการทำการตลาดและการขายกับช่องทางต่างๆนั้นก็แตกต่างกันไป ไว้ในโอกาสหน้าจะมาอธิบายในรายละเอียดให้ทราบนะครับ
4. โครงสร้างราคา ต้นทุน ธุรกิจอาหารนั้นมีโครงสร้างต้นทุนที่อาจจะไม่เหมือนกับธุรกิจอื่นๆสักเท่าไหร่ แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ก็จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสินค้า แต่ต้นทุนของสินค้าส่วนใหญ่มักจะมาจากวัตถุดิบที่จะมีต้นทุนประมาณ 50-80% และถ้าหากเป็นธุรกิจร้านอาหารนั้น ต้นทุนอาหารจะเป็นแค่ 20-30% ของราคาที่ร้านซื้อๆกันตามร้านอาหารนะครับ ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆก็จะเป็นพวกค่าบริหารร้าน ค่าเช่าที่. ดังนั้นหากใครจะมาทำธุรกิจอาหารโดยที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน ต้องศึกษาเรื่องต้นทุนให้ดีนะครับ ไม่เช่นนั้นพอทำธุรกิจไปสักพักอาจจะพบว่า ทำไมไม่มีกำไรซะที
5. การจัดเก็บและการขนส่ง สำหรับธุรกิจอาหารนั้นเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสินค้าอาหารที่มี Shelf life สั้น เช่นของสด หรือ สินค้าที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิแช่เย็น และ แช่แข็ง การจัดเก็บและการขนส่งจะมีผลต่อคุณภาพสินค้าเป็นอย่างมาก การลงทุนและค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จึงสูงขึ้นตามตัวเช่นกัน
6. การบริการ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่ง หากเป็นร้านอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น บริการย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนย่อมรู้อยู่แล้ว แต่ในส่วนของการบริการในแง่ของผู้ผลิตอาหารอื่นๆ หมายถึง การบริการที่มีต่อผู้บริโภค เช่น การมีบริการลูกค้าสัมพันธ์ และ การบริการที่มีต่อคู่ค้า เช่น การช่วยพัฒนาสินค้า, การช่วยลูกค้าวางแผนการสั่งซื้อ, การส่งสินค้าที่ถูกต้องและตรงเวลา, การจัดส่งหรือการรับออร์เดอร์ที่มีบริการอย่างยืดหยุ่น
7. แบรนด์หรือตราสินค้านั้น จำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ แต่การสร้างแบรนด์ในส่วนของธุรกิจอาหารนั้น ขึ้นอยู่กับช่องทางการจัดจำหน่ายและกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายหลัก หากกลุ่มลูกค้าหลักของคุณเป็นกลุ่มโรงงาน หรือ กลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีการทำโฆษณาเพื่อสร้างแบรนด์เหมือนกับสินค้าConsumer Product ซึ่งจริงๆแล้วการสร้าง แบรนด์นั้น ไม่ได้แค่หมายถึงการทำเฉพาะโฆษณา หรือ การทำโลโก้สวยๆ การสร้างแบรนด์นั้นควรจะมากจากการสร้างตัวตนของธุรกิจคุณให้ดีที่สุด โดยเน้นมาจากสิ่งหลักๆที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจที่กล่าวมาแล้วด้านบน เช่น เน้นในด้านความสะอาด ปลอดภัย อร่อย และ การบริการ เมื่อคู่ค้าและลูกค้าของคุณเห็นในสิ่งที่คุณเป็นจริงๆแล้วนั้น นั้นแหล่ะจะเป็นการสร้างแบรนด์ของคุณอย่างถาวร ที่ไม่ใช่การสร้างภาพแบบที่หลายๆบริษัททำอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องหลักๆสำหรับการทำธุรกิจอาหาร และ การวางกลยุทธ์ในด้านต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจอาหารของคุณสามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่ง และ อยู่รอดในตลาดได้ แต่อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์สำหรับแต่ละธุรกิจย่อย ก็ย่อมจะให้ความสำคัญในแต่ละเรื่องแตกต่างกันออกไปเช่น ร้านอาหาร, ร้านเครื่องดื่ม ก็อาจจะต้องมีเรื่องของ Location เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือ อาหารแช่เย็น แช่แข็ง ก็จะเน้นในเรื่องการจัดเก็บและการจัดส่งที่ต้องรักษาอุณหภูมิเพื่อควบคุมคุณภาพ ซึ่งในโอกาสต่อๆไปผมจะมาเขียนเล่าให้ฟังในรายละเอียดของแต่ละธุรกิจอีกครั้งครับ
ที่มา: YES club (Young Entrepreneur Society)
http://goo.gl/K8aVBn
ใครประเด็นอื่นๆ อีก มาแชร์กันได้นะครับ
วิเคราะห์ธุรกิจอาหาร และ 7 กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ
ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมาก แต่ก็มีหลายต่อหลายคนที่ยังอยากจะเข้ามาสู่ธุรกิจอาหารนี้ ธุรกิจอาหารในประเทศไทยนั้นแบ่งออกไปหลายส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิตส่งออก, ทำเป็นสินค้าอาหารขายในประเทศ, ธุรกิจร้านอาหาร, เครื่องดื่ม, ขนม, เครื่องปรุง, อาหารแช่แข็ง หรือ วัตถุดิบต่างๆ มูลค่ารวมของตลาดนั้นสูงเป็นหลักหลายแสนล้านบาท และการเจริญเติบโตก็มีอย่างต่อเนื่อง
ประเทศไทยนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งทรัพยากรต่างๆ ที่ทำให้เราสามารถที่จะผลิตอาหารได้แทบจะทุกๆอย่าง จึงทำให้บริษัทข้ามชาติหลายๆบริษัท เข้ามาลงทุนธุรกิจอาหารในประเทศไทย
จากประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงนี้มากว่า 10 ปี ผมพอจะสรุปสิ่งที่ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ที่อยากจะเข้ามาในธุรกิจนี้ควรจะรู้คร่าวๆได้ดังนี้
1. ผู้ที่ผลิตอาหารต้องคำนึงถึงความสะอาด ความปลอดภัยเป็นหลักสำคัญที่สุด สำคัญมากกว่าเรื่องอื่นๆทุกเรื่อง ยิ่งในสมัยนี้ ร้านอาหาร หรือ กลุ่มโรงแรมใหญ่ๆ เวลาที่จะเลือกซื้อวัตถุดิบอาหาร ก็จะเลือกจะผู้ผลิตที่มีมาตรฐานระดับสูงเท่านั้น และยิ่งสมัยนี้มีเรื่องของเทคโนโลยีที่สามารถส่งต่อข่าวสารกันอย่างรวดเร็ว หากผู้ผลิตไหนมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยแล้วล่ะก็ ปัญหาตามมานับไม่ถ้วนแน่ๆครับ
2. รสชาติความอร่อย ต้องเป็นที่โดดเด่น ขึ้นชื่อว่าอาหารแล้ว ความอร่อยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอาหารประเภทใด ความอร่อยต้องไม่เป็นสองรองใคร อย่าคิดแค่ว่าจะทำง่ายๆ ทำๆไปแล้ว เดี๋ยวไปเน้น การสร้างแบรนด์ การทำโฆษณา โปรโมชั่น หรือ ลดราคา อย่างอื่นพอจะช่วยได้ แต่ไม่ยั่งยืนแน่นอนครับ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร ต้องอร่อยเท่านั้น
3. ช่องทางการขาย ธุรกิจอาหารนั้นไม่ค่อยซับซ้อนเท่าไหร่ครับ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ขายผ่านช่องทาง Modern trade หรือ ช่องทางค้าปลีกต่างๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือ ห้างค้าส่งอย่าง Makro ส่วนอีกกลุ่มนั้น ในวงการอาหารจะเรียกกันว่าเป็นกลุ่ม Horeca ก็คือ Hotel, Restaurant และ Catering กลุ่มนี้ ถือว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากๆ ครับ เราเรียกอีกอย่างกันว่าช่องทาง foodservice และ กลุ่มสุดท้าย เป็นกลุ่มโรงงานผู้ผลิตอาหารที่มีความต้องการที่จะซื้อวัตถุดิบเพื่อไปผลิตเป็นสินค้าอาหารต่างๆ กลุ่มนี้เหมาะสำหรับคนที่จะขายพวกวัตถุดิบหรือเครื่องปรุงต่างๆครับ ซึ่งวิธีการในการทำการตลาดและการขายกับช่องทางต่างๆนั้นก็แตกต่างกันไป ไว้ในโอกาสหน้าจะมาอธิบายในรายละเอียดให้ทราบนะครับ
4. โครงสร้างราคา ต้นทุน ธุรกิจอาหารนั้นมีโครงสร้างต้นทุนที่อาจจะไม่เหมือนกับธุรกิจอื่นๆสักเท่าไหร่ แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ก็จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสินค้า แต่ต้นทุนของสินค้าส่วนใหญ่มักจะมาจากวัตถุดิบที่จะมีต้นทุนประมาณ 50-80% และถ้าหากเป็นธุรกิจร้านอาหารนั้น ต้นทุนอาหารจะเป็นแค่ 20-30% ของราคาที่ร้านซื้อๆกันตามร้านอาหารนะครับ ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆก็จะเป็นพวกค่าบริหารร้าน ค่าเช่าที่. ดังนั้นหากใครจะมาทำธุรกิจอาหารโดยที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน ต้องศึกษาเรื่องต้นทุนให้ดีนะครับ ไม่เช่นนั้นพอทำธุรกิจไปสักพักอาจจะพบว่า ทำไมไม่มีกำไรซะที
5. การจัดเก็บและการขนส่ง สำหรับธุรกิจอาหารนั้นเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสินค้าอาหารที่มี Shelf life สั้น เช่นของสด หรือ สินค้าที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิแช่เย็น และ แช่แข็ง การจัดเก็บและการขนส่งจะมีผลต่อคุณภาพสินค้าเป็นอย่างมาก การลงทุนและค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จึงสูงขึ้นตามตัวเช่นกัน
6. การบริการ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่ง หากเป็นร้านอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น บริการย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนย่อมรู้อยู่แล้ว แต่ในส่วนของการบริการในแง่ของผู้ผลิตอาหารอื่นๆ หมายถึง การบริการที่มีต่อผู้บริโภค เช่น การมีบริการลูกค้าสัมพันธ์ และ การบริการที่มีต่อคู่ค้า เช่น การช่วยพัฒนาสินค้า, การช่วยลูกค้าวางแผนการสั่งซื้อ, การส่งสินค้าที่ถูกต้องและตรงเวลา, การจัดส่งหรือการรับออร์เดอร์ที่มีบริการอย่างยืดหยุ่น
7. แบรนด์หรือตราสินค้านั้น จำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ แต่การสร้างแบรนด์ในส่วนของธุรกิจอาหารนั้น ขึ้นอยู่กับช่องทางการจัดจำหน่ายและกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายหลัก หากกลุ่มลูกค้าหลักของคุณเป็นกลุ่มโรงงาน หรือ กลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีการทำโฆษณาเพื่อสร้างแบรนด์เหมือนกับสินค้าConsumer Product ซึ่งจริงๆแล้วการสร้าง แบรนด์นั้น ไม่ได้แค่หมายถึงการทำเฉพาะโฆษณา หรือ การทำโลโก้สวยๆ การสร้างแบรนด์นั้นควรจะมากจากการสร้างตัวตนของธุรกิจคุณให้ดีที่สุด โดยเน้นมาจากสิ่งหลักๆที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจที่กล่าวมาแล้วด้านบน เช่น เน้นในด้านความสะอาด ปลอดภัย อร่อย และ การบริการ เมื่อคู่ค้าและลูกค้าของคุณเห็นในสิ่งที่คุณเป็นจริงๆแล้วนั้น นั้นแหล่ะจะเป็นการสร้างแบรนด์ของคุณอย่างถาวร ที่ไม่ใช่การสร้างภาพแบบที่หลายๆบริษัททำอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องหลักๆสำหรับการทำธุรกิจอาหาร และ การวางกลยุทธ์ในด้านต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจอาหารของคุณสามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่ง และ อยู่รอดในตลาดได้ แต่อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์สำหรับแต่ละธุรกิจย่อย ก็ย่อมจะให้ความสำคัญในแต่ละเรื่องแตกต่างกันออกไปเช่น ร้านอาหาร, ร้านเครื่องดื่ม ก็อาจจะต้องมีเรื่องของ Location เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือ อาหารแช่เย็น แช่แข็ง ก็จะเน้นในเรื่องการจัดเก็บและการจัดส่งที่ต้องรักษาอุณหภูมิเพื่อควบคุมคุณภาพ ซึ่งในโอกาสต่อๆไปผมจะมาเขียนเล่าให้ฟังในรายละเอียดของแต่ละธุรกิจอีกครั้งครับ
ที่มา: YES club (Young Entrepreneur Society)
http://goo.gl/K8aVBn
ใครประเด็นอื่นๆ อีก มาแชร์กันได้นะครับ