Monday, 23 December 2013
มองเทคนิคแบบ VI
เวลาฟังนักวิเคราะห์ทางเทคนิคพูดถึงราคาหุ้นของแต่ละตัวว่าจะไปทางไหน ควรจะซื้อหรือขาย หรือมีแนวต้านแนวรับเท่าไรแล้ว ผมจะไม่สนใจเลย เหตุผลก็เพราะผมไม่เชื่อว่าวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะสามารถทำเงินได้ ประเด็นสำคัญก็คือ การซื้อ ๆ ขาย ๆ เมื่อราคาขยับไปเพียงเล็กน้อยนั้นทำให้กำไรที่ได้รับคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็น้อยตามไปด้วย และนี่หมายความว่าราคาหุ้นต้องขยับไปตามที่เราคาดด้วยวิธีทางเทคนิคด้วย แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ราคาหุ้นอาจจะขยับไปในทางตรงกันข้าม ผลก็คือเราก็จะขาดทุน ดังนั้น ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจจะบอกได้ถูกต้องถึง 60-70% บอกผิด 30-40% แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องเสียค่าคอมมิชชั่นทุกครั้งไม่ว่าเราจะถูกหรือผิด ผลก็คือ เราก็ไม่เหลืออะไร เป็นไปได้ว่าเราจะขาดทุนมากกว่ากำไรเพราะเราซื้อขายบ่อยมาก ดังนั้น โอกาสที่เราจะรวยหรือได้กำไรมาก ๆ จากการใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคมาซื้อขายหุ้นเป็นประจำจึงเป็นไปได้ยากมาก
ถ้าจะถามว่าผมไม่ยอมรับเลยใช่ไหมว่าเรื่องของเทคนิคนั้นเป็นสิ่งที่มีเหตุผลและก็อาจจะเป็นจริงสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้ คำตอบของผมก็คือ ไม่ใช่! เรื่องของการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นนั้น อาจจะมี “รูปแบบ” ที่พอจะคาดการณ์ได้ มันอาจจะมีเหตุผลรองรับ ว่าที่จริงผมเองก็มักจะสังเกตดูการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นบางตัวอยู่เรื่อย ๆ เมื่อมีเวลาว่าง ผมไม่ได้ใช้กราฟราคาหรือปริมาณการซื้อขายหุ้นแบบนักเทคนิคมืออาชีพ ผมแค่นั่งดูการเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นแต่ละวันและก็พยายามคิดว่ามีอะไรเกิดขึ้น “เบื้องหลัง” หุ้นตัวนั้น และต่อไปนี้ก็คือสิ่งที่ผมคิดว่ามันอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หุ้นเคลื่อนไหวอย่างที่มันกำลังเป็น
เหตุผลข้อแรกก็คือเรื่องของ “จิตวิทยา” ของนักลงทุน ผมคิดว่าเป็นไปได้ที่ราคาหุ้นอาจจะเคลื่อนไหวไปตาม “จิตวิทยาหมู่” ของ “มวลมหาประชากรของนักลงทุน” ที่เข้ามาซื้อขายหุ้นที่พวกเขาเชื่อว่าจะวิ่งขึ้นไปมากด้วยเหตุผลบางอย่าง ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นตัวนั้นขึ้นไปจริงตามคำทำนาย หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Self- Prophecy กระบวนการก็คือ เมื่อนักลงทุนเห็นราคาหุ้นของหุ้น “ยอดนิยม” ปรับตัวสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ พวกเขาก็อยากจะ “กระโดดขึ้นรถ” เพื่อขอทำกำไรไปด้วย นั่นก็คือ พวกเขาเข้าไปซื้อหุ้น และการซื้อหุ้นของพวกเขาก็มีส่วนที่จะช่วยผลักดันให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นก็จะวิ่งขึ้นต่อไปตามที่พวกเขาคาดไว้ และนี่ก็จะดึงดูดให้นักลงทุนคนใหม่เข้ามาซื้อเพิ่มเพื่อหวังทำกำไรและก็ทำให้หุ้นเพิ่มต่อขึ้นไปอีก
เหตุผลข้อสองที่อาจจะเป็นเบื้องหลังของราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ หรือปรับตัวลงมาเรื่อย ๆ “ตามเทคนิค” ก็คือเรื่องของการ “มีข้อมูลที่ไม่เท่ากัน” ของนักลงทุนเกี่ยวกับตัวบริษัทนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทอาจจะค้นพบเหมืองทองคำ หรือกำลังได้งานหรือสัญญาที่จะทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีเยี่ยมในอีกหลายปีข้างหน้า คนที่รู้ก่อนก็คือบุคคลภายในบริษัท Insider) หรือคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็จะเข้ามาซื้อหุ้นก่อนและทำให้ราคาหุ้นขยับปรับตัวขึ้น ครั้นแล้วคนเหล่านั้นก็จะบอกคนใกล้ชิดหรือเพื่อนซึ่งก็จะเข้ามาซื้อเป็นรายต่อไปซึ่งก็จะทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นไปอีก ต่อมานักวิเคราะห์ซึ่งสังเกตเห็นราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นที่เพิ่มขึ้นก็ค้นพบข้อมูล อาจจะโดยการเปิดเผยของบริษัท ก็จะออกบทวิเคราะห์แนะนำให้ซื้อหุ้น ต่อจากนั้น นักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่ก็อาจจะเข้ามาซื้อหุ้นล็อตใหญ่เก็บเข้าพอร์ตส่งผลให้ราคาวิ่งขึ้นอย่างแรง และสุดท้าย นักลงทุนรายย่อยประเภท “แมงเม่า” ก็ได้รับรู้ข่าวสารที่ “ดีสุดยอด” นั้นและเข้ามาซื้อหุ้นซึ่งก็ยิ่งทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปอีก กระบวนการทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดทันทีแต่ค่อย ๆ ทยอยเกิดขึ้นส่งผลให้ราคาค่อย ๆ ปรับตัวขึ้น อาจจะเป็นหลายเดือน ดังนั้น นี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้นักเทคนิคสามารถเข้ามาทำกำไรได้ในจุดใดจุดหนึ่ง
เหตุผลข้อที่สาม เป็นเรื่องของการตอบสนองของคนหรือนักลงทุนต่อข่าวสารที่มักจะไม่พอดีหรือไม่สมบูรณ์หรือไม่ทันทีโดยเฉพาะข้อมูลที่จะต้องนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่นเรื่องของผลประกอบการที่ประกาศออกมาของบริษัท สมมุติว่าบริษัทประกาศว่ามีกำไรเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาด นักลงทุนบางส่วนก็จะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มแต่หลายคนก็ยังอาจจะรีรอเพราะยังไม่แน่ใจว่ากำไรนั้นจะดีต่อไปมากน้อยแค่ไหน หลายคนอาจจะยังไม่ทันได้วิเคราะห์ ดังนั้น ราคาหุ้นก็อาจจะปรับตัวขึ้นบ้างแต่ยังไม่ถึงจุดที่ควรจะเป็น ต่อมาเมื่อนักวิเคราะห์เข้าไปตรวจสอบและออกคำแนะนำให้ซื้อ ราคาหุ้นก็อาจจะขยับตัวขึ้นไป กระบวนการนี้ทำให้ราคาค่อย ๆ ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้นักเทคนิคสามารถเข้าไปซื้อหุ้นทำกำไรได้
ข้อสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ เบื้องหลังของ “แนวรับแนวต้าน” นั้น อาจจะเกิดขึ้นจาก “ความทรงจำ” ของนักลงทุนต่อราคาหุ้นในอดีต ตัวอย่างเช่น ถ้าหุ้นตัวหนึ่งมีการซื้อขายกันที่ราคาประมาณ 10 บาทต่อหุ้นเป็นระยะเวลานานซึ่งทำให้มีคนจำนวนมากที่ซื้อหุ้นมาในต้นทุนประมาณนั้น ครั้นแล้วราคาหุ้นก็ตกลงมาเหลือเพียง 8 บาทต่อหุ้น ดังนั้น เมื่อหุ้นค่อย ๆ ปรับตัวกลับมาที่ 10 บาทต่อหุ้น คนที่ขาดทุนจำนวนมากก็จะขายเพื่อ “เอาทุนคืน” ผลก็คือ หุ้นจะวิ่งเกิน 10 บาทไปยาก ดังนั้น 10 บาทจึงกลายเป็น “แนวต้าน” ในทางตรงกันข้าม เมื่อหุ้นแกว่งตัวอยู่ที่ระดับราคาค่อนข้างต่ำในระดับหนึ่งมานาน นักลงทุนจำนวนมากที่พลาดโอกาสหรือพลาดจังหวะที่จะซื้อเมื่อหุ้นอยู่ในระดับราคาที่สูงก็จะเข้ามาช้อนซื้อหุ้นเมื่อหุ้นตัวนั้นตกลงมาที่ระดับราคาที่ต่ำ ผลก็คือ ที่ราคานั้นจะเป็น “แนวรับ” ที่ราคาจะไม่ลดต่ำกว่านั้นง่าย ๆ
จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองนั้น ผมคิดว่าเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวถึงคงมีความเป็นจริงอยู่ไม่น้อย ผมเคยเห็นหุ้นที่วิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ยาวนานและสูงมาก โดยที่ผมไม่คิดว่าพื้นฐานของมันจะดีพอที่จะรองรับราคาที่ขึ้นไป แต่ในใจก็รู้สึกว่ามันคงจะขึ้นไปอีก เหตุผลก็เพราะว่ามี “แรงเชียร์” และมีคนสนใจพูดถึงกันมาก และแม้แต่ VI ชั้นนำบางคนก็ถือหุ้นจำนวนมาก ดังนั้น หุ้นตัวนั้นก็คงต้องขึ้นตามที่มีการคาดไว้ เป็น Self Prophecy ส่วนในกรณีของหุ้นที่ขยับขึ้นไปในลักษณะที่ว่าอาจจะมีข่าวดีที่บุคคลภายในรู้ก่อนและเริ่มซื้อหุ้นและต่อมาก็มีคนใกล้ชิดหรือคนที่อาจจะรู้ข่าวเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นมาเรื่อย ๆ ก็เป็นสิ่งที่ผมเคยพบมาก่อน เช่นเดียวกับเรื่องของการประกาศผลประกอบการที่ดีขึ้นแต่การปรับขึ้นของราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตลอดเวลา สุดท้ายในเรื่องของแนวรับแนวต้านนั้น ผมก็รู้สึกว่ามันอาจจะมีความเป็นจริงอยู่เหมือนกันแต่ไม่ใช่ในแบบที่นักเทคนิคพูด แนวรับแนวต้านที่บางครั้งผมพบนั้น จะเป็นลักษณะที่หุ้นบางตัวนั้น พอลงถึงจุดหนึ่งก็มักจะมีแรงซื้อเข้ามารับเหมือน ๆ กับว่าคราวก่อนที่หุ้นลงมาแล้วไม่ได้ซื้อ คราวนี้เป็นโอกาส และดังนั้น หุ้นก็มักไม่ลงต่ำกว่านั้น
ทั้งหมดที่พูดถึงนั้น ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องที่จริงแท้แค่ไหน มันอาจจะเป็นความรู้สึกของผมเองที่ติดตามดูราคาของหุ้นบางตัวที่ผมสนใจและก็เห็น “อาการ” หรือรูปแบบของราคาหุ้นเป็นแบบนั้น แต่ถ้าทำการศึกษาจริง ๆ ในหุ้นจำนวนมาก มันอาจจะไม่เป็นแบบนั้นก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมก็ยังไม่เคยใช้การสังเกตหรือการวิเคราะห์ทางเทคนิคมาตัดสินใจซื้อขายหุ้นจริง ๆ เลย ผมยังยึดมั่นว่าจะไม่ใช้ความรู้สึกมาเป็นหลักในการซื้อขายหุ้นเพราะความรู้สึกนั้นอาจจะผิดเพราะมันมักจะ “ลำเอียง” โดยที่เราไม่มีทางจะรู้ตัว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ความรู้สึกนั้น มักจะทำให้การถือหุ้นลงทุนของเราสั้นลง และนี่อาจจะไม่คุ้มค่าเลย ดังนั้น สำหรับผมแล้ว “อาการทางเทคนิค” ของหุ้นนั้น เอาไว้ดูเล่นดีกว่า อย่าเอาไปตัดสินใจซื้อขายหุ้นเลย
Posted by nivate at 11:34 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/12/23/1381
------------------------------------------------------------------------
อ่านแล้ว สงสัยน่ะครับ
ในเมื่อ ดร.ไม่เชื่อ
ไม่มีความรู้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างถึงแก่นแท้
ดร. จะมองเทคนิค ด้วยมุมมอง vi เพื่อ?
ยังไง ก็ต้องได้ข้อสรุปในจุดที่ยืนอยู่แล้ว
พี่ๆมีความเห็นว่าอย่างไรกันบ้างครับ ^ ^
มองเทคนิคแบบ VI
มองเทคนิคแบบ VI
เวลาฟังนักวิเคราะห์ทางเทคนิคพูดถึงราคาหุ้นของแต่ละตัวว่าจะไปทางไหน ควรจะซื้อหรือขาย หรือมีแนวต้านแนวรับเท่าไรแล้ว ผมจะไม่สนใจเลย เหตุผลก็เพราะผมไม่เชื่อว่าวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะสามารถทำเงินได้ ประเด็นสำคัญก็คือ การซื้อ ๆ ขาย ๆ เมื่อราคาขยับไปเพียงเล็กน้อยนั้นทำให้กำไรที่ได้รับคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็น้อยตามไปด้วย และนี่หมายความว่าราคาหุ้นต้องขยับไปตามที่เราคาดด้วยวิธีทางเทคนิคด้วย แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ราคาหุ้นอาจจะขยับไปในทางตรงกันข้าม ผลก็คือเราก็จะขาดทุน ดังนั้น ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจจะบอกได้ถูกต้องถึง 60-70% บอกผิด 30-40% แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องเสียค่าคอมมิชชั่นทุกครั้งไม่ว่าเราจะถูกหรือผิด ผลก็คือ เราก็ไม่เหลืออะไร เป็นไปได้ว่าเราจะขาดทุนมากกว่ากำไรเพราะเราซื้อขายบ่อยมาก ดังนั้น โอกาสที่เราจะรวยหรือได้กำไรมาก ๆ จากการใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคมาซื้อขายหุ้นเป็นประจำจึงเป็นไปได้ยากมาก
ถ้าจะถามว่าผมไม่ยอมรับเลยใช่ไหมว่าเรื่องของเทคนิคนั้นเป็นสิ่งที่มีเหตุผลและก็อาจจะเป็นจริงสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้ คำตอบของผมก็คือ ไม่ใช่! เรื่องของการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นนั้น อาจจะมี “รูปแบบ” ที่พอจะคาดการณ์ได้ มันอาจจะมีเหตุผลรองรับ ว่าที่จริงผมเองก็มักจะสังเกตดูการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นบางตัวอยู่เรื่อย ๆ เมื่อมีเวลาว่าง ผมไม่ได้ใช้กราฟราคาหรือปริมาณการซื้อขายหุ้นแบบนักเทคนิคมืออาชีพ ผมแค่นั่งดูการเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นแต่ละวันและก็พยายามคิดว่ามีอะไรเกิดขึ้น “เบื้องหลัง” หุ้นตัวนั้น และต่อไปนี้ก็คือสิ่งที่ผมคิดว่ามันอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หุ้นเคลื่อนไหวอย่างที่มันกำลังเป็น
เหตุผลข้อแรกก็คือเรื่องของ “จิตวิทยา” ของนักลงทุน ผมคิดว่าเป็นไปได้ที่ราคาหุ้นอาจจะเคลื่อนไหวไปตาม “จิตวิทยาหมู่” ของ “มวลมหาประชากรของนักลงทุน” ที่เข้ามาซื้อขายหุ้นที่พวกเขาเชื่อว่าจะวิ่งขึ้นไปมากด้วยเหตุผลบางอย่าง ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นตัวนั้นขึ้นไปจริงตามคำทำนาย หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Self- Prophecy กระบวนการก็คือ เมื่อนักลงทุนเห็นราคาหุ้นของหุ้น “ยอดนิยม” ปรับตัวสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ พวกเขาก็อยากจะ “กระโดดขึ้นรถ” เพื่อขอทำกำไรไปด้วย นั่นก็คือ พวกเขาเข้าไปซื้อหุ้น และการซื้อหุ้นของพวกเขาก็มีส่วนที่จะช่วยผลักดันให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นก็จะวิ่งขึ้นต่อไปตามที่พวกเขาคาดไว้ และนี่ก็จะดึงดูดให้นักลงทุนคนใหม่เข้ามาซื้อเพิ่มเพื่อหวังทำกำไรและก็ทำให้หุ้นเพิ่มต่อขึ้นไปอีก
เหตุผลข้อสองที่อาจจะเป็นเบื้องหลังของราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ หรือปรับตัวลงมาเรื่อย ๆ “ตามเทคนิค” ก็คือเรื่องของการ “มีข้อมูลที่ไม่เท่ากัน” ของนักลงทุนเกี่ยวกับตัวบริษัทนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทอาจจะค้นพบเหมืองทองคำ หรือกำลังได้งานหรือสัญญาที่จะทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีเยี่ยมในอีกหลายปีข้างหน้า คนที่รู้ก่อนก็คือบุคคลภายในบริษัท Insider) หรือคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็จะเข้ามาซื้อหุ้นก่อนและทำให้ราคาหุ้นขยับปรับตัวขึ้น ครั้นแล้วคนเหล่านั้นก็จะบอกคนใกล้ชิดหรือเพื่อนซึ่งก็จะเข้ามาซื้อเป็นรายต่อไปซึ่งก็จะทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นไปอีก ต่อมานักวิเคราะห์ซึ่งสังเกตเห็นราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นที่เพิ่มขึ้นก็ค้นพบข้อมูล อาจจะโดยการเปิดเผยของบริษัท ก็จะออกบทวิเคราะห์แนะนำให้ซื้อหุ้น ต่อจากนั้น นักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่ก็อาจจะเข้ามาซื้อหุ้นล็อตใหญ่เก็บเข้าพอร์ตส่งผลให้ราคาวิ่งขึ้นอย่างแรง และสุดท้าย นักลงทุนรายย่อยประเภท “แมงเม่า” ก็ได้รับรู้ข่าวสารที่ “ดีสุดยอด” นั้นและเข้ามาซื้อหุ้นซึ่งก็ยิ่งทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปอีก กระบวนการทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดทันทีแต่ค่อย ๆ ทยอยเกิดขึ้นส่งผลให้ราคาค่อย ๆ ปรับตัวขึ้น อาจจะเป็นหลายเดือน ดังนั้น นี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้นักเทคนิคสามารถเข้ามาทำกำไรได้ในจุดใดจุดหนึ่ง
เหตุผลข้อที่สาม เป็นเรื่องของการตอบสนองของคนหรือนักลงทุนต่อข่าวสารที่มักจะไม่พอดีหรือไม่สมบูรณ์หรือไม่ทันทีโดยเฉพาะข้อมูลที่จะต้องนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่นเรื่องของผลประกอบการที่ประกาศออกมาของบริษัท สมมุติว่าบริษัทประกาศว่ามีกำไรเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาด นักลงทุนบางส่วนก็จะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มแต่หลายคนก็ยังอาจจะรีรอเพราะยังไม่แน่ใจว่ากำไรนั้นจะดีต่อไปมากน้อยแค่ไหน หลายคนอาจจะยังไม่ทันได้วิเคราะห์ ดังนั้น ราคาหุ้นก็อาจจะปรับตัวขึ้นบ้างแต่ยังไม่ถึงจุดที่ควรจะเป็น ต่อมาเมื่อนักวิเคราะห์เข้าไปตรวจสอบและออกคำแนะนำให้ซื้อ ราคาหุ้นก็อาจจะขยับตัวขึ้นไป กระบวนการนี้ทำให้ราคาค่อย ๆ ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้นักเทคนิคสามารถเข้าไปซื้อหุ้นทำกำไรได้
ข้อสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ เบื้องหลังของ “แนวรับแนวต้าน” นั้น อาจจะเกิดขึ้นจาก “ความทรงจำ” ของนักลงทุนต่อราคาหุ้นในอดีต ตัวอย่างเช่น ถ้าหุ้นตัวหนึ่งมีการซื้อขายกันที่ราคาประมาณ 10 บาทต่อหุ้นเป็นระยะเวลานานซึ่งทำให้มีคนจำนวนมากที่ซื้อหุ้นมาในต้นทุนประมาณนั้น ครั้นแล้วราคาหุ้นก็ตกลงมาเหลือเพียง 8 บาทต่อหุ้น ดังนั้น เมื่อหุ้นค่อย ๆ ปรับตัวกลับมาที่ 10 บาทต่อหุ้น คนที่ขาดทุนจำนวนมากก็จะขายเพื่อ “เอาทุนคืน” ผลก็คือ หุ้นจะวิ่งเกิน 10 บาทไปยาก ดังนั้น 10 บาทจึงกลายเป็น “แนวต้าน” ในทางตรงกันข้าม เมื่อหุ้นแกว่งตัวอยู่ที่ระดับราคาค่อนข้างต่ำในระดับหนึ่งมานาน นักลงทุนจำนวนมากที่พลาดโอกาสหรือพลาดจังหวะที่จะซื้อเมื่อหุ้นอยู่ในระดับราคาที่สูงก็จะเข้ามาช้อนซื้อหุ้นเมื่อหุ้นตัวนั้นตกลงมาที่ระดับราคาที่ต่ำ ผลก็คือ ที่ราคานั้นจะเป็น “แนวรับ” ที่ราคาจะไม่ลดต่ำกว่านั้นง่าย ๆ
จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองนั้น ผมคิดว่าเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวถึงคงมีความเป็นจริงอยู่ไม่น้อย ผมเคยเห็นหุ้นที่วิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ยาวนานและสูงมาก โดยที่ผมไม่คิดว่าพื้นฐานของมันจะดีพอที่จะรองรับราคาที่ขึ้นไป แต่ในใจก็รู้สึกว่ามันคงจะขึ้นไปอีก เหตุผลก็เพราะว่ามี “แรงเชียร์” และมีคนสนใจพูดถึงกันมาก และแม้แต่ VI ชั้นนำบางคนก็ถือหุ้นจำนวนมาก ดังนั้น หุ้นตัวนั้นก็คงต้องขึ้นตามที่มีการคาดไว้ เป็น Self Prophecy ส่วนในกรณีของหุ้นที่ขยับขึ้นไปในลักษณะที่ว่าอาจจะมีข่าวดีที่บุคคลภายในรู้ก่อนและเริ่มซื้อหุ้นและต่อมาก็มีคนใกล้ชิดหรือคนที่อาจจะรู้ข่าวเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นมาเรื่อย ๆ ก็เป็นสิ่งที่ผมเคยพบมาก่อน เช่นเดียวกับเรื่องของการประกาศผลประกอบการที่ดีขึ้นแต่การปรับขึ้นของราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตลอดเวลา สุดท้ายในเรื่องของแนวรับแนวต้านนั้น ผมก็รู้สึกว่ามันอาจจะมีความเป็นจริงอยู่เหมือนกันแต่ไม่ใช่ในแบบที่นักเทคนิคพูด แนวรับแนวต้านที่บางครั้งผมพบนั้น จะเป็นลักษณะที่หุ้นบางตัวนั้น พอลงถึงจุดหนึ่งก็มักจะมีแรงซื้อเข้ามารับเหมือน ๆ กับว่าคราวก่อนที่หุ้นลงมาแล้วไม่ได้ซื้อ คราวนี้เป็นโอกาส และดังนั้น หุ้นก็มักไม่ลงต่ำกว่านั้น
ทั้งหมดที่พูดถึงนั้น ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องที่จริงแท้แค่ไหน มันอาจจะเป็นความรู้สึกของผมเองที่ติดตามดูราคาของหุ้นบางตัวที่ผมสนใจและก็เห็น “อาการ” หรือรูปแบบของราคาหุ้นเป็นแบบนั้น แต่ถ้าทำการศึกษาจริง ๆ ในหุ้นจำนวนมาก มันอาจจะไม่เป็นแบบนั้นก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมก็ยังไม่เคยใช้การสังเกตหรือการวิเคราะห์ทางเทคนิคมาตัดสินใจซื้อขายหุ้นจริง ๆ เลย ผมยังยึดมั่นว่าจะไม่ใช้ความรู้สึกมาเป็นหลักในการซื้อขายหุ้นเพราะความรู้สึกนั้นอาจจะผิดเพราะมันมักจะ “ลำเอียง” โดยที่เราไม่มีทางจะรู้ตัว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ความรู้สึกนั้น มักจะทำให้การถือหุ้นลงทุนของเราสั้นลง และนี่อาจจะไม่คุ้มค่าเลย ดังนั้น สำหรับผมแล้ว “อาการทางเทคนิค” ของหุ้นนั้น เอาไว้ดูเล่นดีกว่า อย่าเอาไปตัดสินใจซื้อขายหุ้นเลย
Posted by nivate at 11:34 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/12/23/1381
------------------------------------------------------------------------
อ่านแล้ว สงสัยน่ะครับ
ในเมื่อ ดร.ไม่เชื่อ
ไม่มีความรู้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างถึงแก่นแท้
ดร. จะมองเทคนิค ด้วยมุมมอง vi เพื่อ?
ยังไง ก็ต้องได้ข้อสรุปในจุดที่ยืนอยู่แล้ว
พี่ๆมีความเห็นว่าอย่างไรกันบ้างครับ ^ ^