ท่านอาจารย์ออกจากบ้านตั้งแต่อายุสิบเจ็ดปี ท่านต้องการหาสิ่งท้าทาย และคิดว่ายิ่งลำบากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อประสบการณ์ชีวิต
ท่านถือคติที่ว่า “มักง่ายได้ยาก ลำบากได้ดี” ท่านจึงเลือกที่จะเดินทางทางบกจากอังกฤษไปอินเดีย ซึ่งต้องผ่านหลายๆ ประเทศ
และประสบการณ์นานาชนิดสมใจท่าน ท่านรู้สึกภูมิใจในตัวเองมาก ตลอดเส้นทางการเดินทาง ผู้คนจะพากันถามอายุท่าน
เพราะเห็นท่านเดินทางมาคนเดียว ทั้งๆ ที่หน้าตายังเด็กมาก พอทราบอายุท่านก็จะส่งเสียงฮือฮาแสดงความประหลาดใจ ทำนองว่า
“ไม่น่าเชื่อเลยนะ อายุแค่นี้เอง เดินทางตามลำพังมาตั้งไกลขนาดนี้” และคงจะซ่อนความหมายว่า “เก่งจัง” เอาไว้ด้วย ท่านจึงปลื้มจนตัวพอง
ท่านได้สร้างอัตตา หรือภาพพจน์ของตัวเองขึ้นมาว่า ท่านเป็นคนที่ไม่รู้จักคำว่า ‘เหงา’ หรือพูดง่ายๆ ท่านเหงาไม่เป็น แล้วท่านก็เชื่อจริงๆ จังๆ ว่าท่านเป็นคนเช่นนั้น
แต่แล้ววันหนึ่ง ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ในประเทศปากีสถาน ซึ่งบรรยากาศในยุคนั้นเต็มไปด้วยความก้าวร้าว
เย็นวันนั้นท่านเดินทางถึงเมืองเพชาวาร์ (Peshawar) ซึ่งอยู่ติดชายแดนอัฟกานิสสถาน หลังจากหาที่พักได้แล้ว
ท่านก็เดินเข้าไปในตลาด ท่านว่าวันนั้นท่านรู้สึกแปลกมากๆ มันกระวนกระวาย เหมือนมีความว่างเปล่าอยู่ภายใน
โหวงๆ ว่างๆ แปลกๆ บอกไม่ถูก ท่านก็ไม่เข้าใจว่าท่านเป็นอะไร รู้แต่ว่ามันแปลกๆ เท่านั้น
ท่านเข้าไปทานอาหารในร้านอาหารเล็กๆ อย่างอ้อยอิ่ง เมื่อถึงเวลาที่ควรจะกลับโรงแรม ท่านกลับเดินเข้าไปนั่งในร้านอาหารร้านที่สอง
สั่งอาหารมาทานเป็นรอบที่สองทั้งๆ ที่ไม่ได้หิวอะไรเลย ท่านรู้แต่ว่าท่านอยากทำอะไรสักอย่าง อยากมีคนอยู่รอบๆ ฟังเขาคุยกัน
และเฝ้าดูคนเข้าคนออกจากร้าน สักพักใหญ่ท่านก็เดินออกจากร้านที่สอง ท่านรู้สึกอิ่มมาก แต่ภายในมันก็ยังว่างเปล่าอยู่ ยังไงๆ ก็ยังไม่ยอมกลับโรงแรม
เชื่อหรือไม่ว่าคืนนั้นท่านไปเข้าร้านอาหารต่ออีกสี่ร้าน ทานอาหารเย็นรวมหกครั้ง ทั้งที่อิ่มแสนอิ่ม ใจหนึ่งท่านสงสัยว่าท่านเป็นบ้าไปหรือเปล่านะ
ความรู้สึกมันรุนแรงและชัดเจนมาก แต่ท่านก็ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร .....นั่นเป็นเพราะทิฐิมานะ และอัตตาที่ท่านสร้างขึ้นมาว่า
ท่านเป็นคนเก่ง อายุแค่สิบเจ็ดปี ก็สามารถเดินทางไปทั่วโลกคนเดียว มีความอดทนสูงและเป็นที่พึ่งของตนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์เล่าว่า แม้ความรู้สึกแสนจะรุนแรงชัดเจน แต่เพราะท่านยังดูจิตใจตัวเองไม่เป็น ท่านจึงมองไม่เห็นและไม่เข้าใจ
ทั้งๆ ที่คนอื่นๆ เห็นท่านแล้วคงดูออกทันทีว่าคนๆ นี้กำลังเหงา ท่านจึงว่าคนเรามักมีจุดบอดเสมอ
การปฏิบัติขัดเกลาจิตใจนั้น เราต้องจริงจังและจริงใจ ต้องใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา ถ้ามีคนมาชี้ให้เราเห็นจุดบอดของเรา
เท่ากับเขาชี้ขุมทรัพย์ให้เราทีเดียว เราอย่าไปโกรธเขา แต่เราต้องขอบคุณเขา
--
ที่มา: 'เรื่องท่านเล่า' หนังสือรวมนิทานที่พระอาจารย์ชยสาโรเมตตาเล่าไว้ เรียบเรียงโดย ศรีวรา อิสสระ
https://th-th.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org
จิตบูดเพราะจุดบอด
ท่านถือคติที่ว่า “มักง่ายได้ยาก ลำบากได้ดี” ท่านจึงเลือกที่จะเดินทางทางบกจากอังกฤษไปอินเดีย ซึ่งต้องผ่านหลายๆ ประเทศ
และประสบการณ์นานาชนิดสมใจท่าน ท่านรู้สึกภูมิใจในตัวเองมาก ตลอดเส้นทางการเดินทาง ผู้คนจะพากันถามอายุท่าน
เพราะเห็นท่านเดินทางมาคนเดียว ทั้งๆ ที่หน้าตายังเด็กมาก พอทราบอายุท่านก็จะส่งเสียงฮือฮาแสดงความประหลาดใจ ทำนองว่า
“ไม่น่าเชื่อเลยนะ อายุแค่นี้เอง เดินทางตามลำพังมาตั้งไกลขนาดนี้” และคงจะซ่อนความหมายว่า “เก่งจัง” เอาไว้ด้วย ท่านจึงปลื้มจนตัวพอง
ท่านได้สร้างอัตตา หรือภาพพจน์ของตัวเองขึ้นมาว่า ท่านเป็นคนที่ไม่รู้จักคำว่า ‘เหงา’ หรือพูดง่ายๆ ท่านเหงาไม่เป็น แล้วท่านก็เชื่อจริงๆ จังๆ ว่าท่านเป็นคนเช่นนั้น
แต่แล้ววันหนึ่ง ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ในประเทศปากีสถาน ซึ่งบรรยากาศในยุคนั้นเต็มไปด้วยความก้าวร้าว
เย็นวันนั้นท่านเดินทางถึงเมืองเพชาวาร์ (Peshawar) ซึ่งอยู่ติดชายแดนอัฟกานิสสถาน หลังจากหาที่พักได้แล้ว
ท่านก็เดินเข้าไปในตลาด ท่านว่าวันนั้นท่านรู้สึกแปลกมากๆ มันกระวนกระวาย เหมือนมีความว่างเปล่าอยู่ภายใน
โหวงๆ ว่างๆ แปลกๆ บอกไม่ถูก ท่านก็ไม่เข้าใจว่าท่านเป็นอะไร รู้แต่ว่ามันแปลกๆ เท่านั้น
ท่านเข้าไปทานอาหารในร้านอาหารเล็กๆ อย่างอ้อยอิ่ง เมื่อถึงเวลาที่ควรจะกลับโรงแรม ท่านกลับเดินเข้าไปนั่งในร้านอาหารร้านที่สอง
สั่งอาหารมาทานเป็นรอบที่สองทั้งๆ ที่ไม่ได้หิวอะไรเลย ท่านรู้แต่ว่าท่านอยากทำอะไรสักอย่าง อยากมีคนอยู่รอบๆ ฟังเขาคุยกัน
และเฝ้าดูคนเข้าคนออกจากร้าน สักพักใหญ่ท่านก็เดินออกจากร้านที่สอง ท่านรู้สึกอิ่มมาก แต่ภายในมันก็ยังว่างเปล่าอยู่ ยังไงๆ ก็ยังไม่ยอมกลับโรงแรม
เชื่อหรือไม่ว่าคืนนั้นท่านไปเข้าร้านอาหารต่ออีกสี่ร้าน ทานอาหารเย็นรวมหกครั้ง ทั้งที่อิ่มแสนอิ่ม ใจหนึ่งท่านสงสัยว่าท่านเป็นบ้าไปหรือเปล่านะ
ความรู้สึกมันรุนแรงและชัดเจนมาก แต่ท่านก็ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร .....นั่นเป็นเพราะทิฐิมานะ และอัตตาที่ท่านสร้างขึ้นมาว่า
ท่านเป็นคนเก่ง อายุแค่สิบเจ็ดปี ก็สามารถเดินทางไปทั่วโลกคนเดียว มีความอดทนสูงและเป็นที่พึ่งของตนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์เล่าว่า แม้ความรู้สึกแสนจะรุนแรงชัดเจน แต่เพราะท่านยังดูจิตใจตัวเองไม่เป็น ท่านจึงมองไม่เห็นและไม่เข้าใจ
ทั้งๆ ที่คนอื่นๆ เห็นท่านแล้วคงดูออกทันทีว่าคนๆ นี้กำลังเหงา ท่านจึงว่าคนเรามักมีจุดบอดเสมอ
การปฏิบัติขัดเกลาจิตใจนั้น เราต้องจริงจังและจริงใจ ต้องใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา ถ้ามีคนมาชี้ให้เราเห็นจุดบอดของเรา
เท่ากับเขาชี้ขุมทรัพย์ให้เราทีเดียว เราอย่าไปโกรธเขา แต่เราต้องขอบคุณเขา
--
ที่มา: 'เรื่องท่านเล่า' หนังสือรวมนิทานที่พระอาจารย์ชยสาโรเมตตาเล่าไว้ เรียบเรียงโดย ศรีวรา อิสสระ
https://th-th.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org