คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12
ถึงเรื่องจะผ่านมาหลายวัน และมีพี่น้องท่านที่เคารพนับถือทั้งหลายทั้งในและนอกวงการสื่อมวลชนเขียนถึง-แสดงความเห็นกันเอาไว้แล้ว
แต่ถ้าไม่พูดถึงคดี99ศพที่อาจจะถูกโอนจากศาลอาญาไปเริ่มต้นใหม่ที่ป.ป.ช. เพื่อจะส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองพิจารณา
ก็เหมือนชีวิตขาดอะไรไป
เพราะถ้าคดีนี้ถูกโอนย้ายไปจริงก็หมายความว่า99ศพที่เสียชีวิตในปี 2553 อาจจะตายฟรี
อีกกว่า 2,000 คนที่บาดเจ็บพิการก็เจ็บฟรี
เพราะคดีอาญาไม่มีแล้ว
มีแต่คดีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
แล้วเป็นไปได้หรือครับที่มีคนตายเป็นร้อยคนเจ็บเป็นพันกลางเมืองทั้งหมดเกิดจากอาวุธสงคราม
แล้วไม่ต้องมีคนรับผิดชอบอะไรเลย
คดีฆาตกรรมนะครับ
ถ้าไม่มีใครต้องรับผิดตามกฎหมายเลยสังคมนี้จะอยู่กันเป็นปกติสุขต่อไปอย่างไร
ขนาดท่านธงชัยเสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ท่านยังทำความเห็นแย้งในประเด็นนี้เอาไว้ว่า
ที่ดีเอสไอและอัยการสั่งฟ้องมานั้น เป็นไปตามกฎหมายอาญามาตรา 288 เรื่องการกระทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต
ไม่ใช่มาตรา 157 ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
การไม่พิจารณาคดีในส่วนที่เป็นโทษอาญายังเป็นการตัดสิทธิของญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตที่จะเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการด้วย
นอกจากนี้ยังมีความเห็นของศาลอาญาเองในคดีที่นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ-นายสุเทพเทือกสุบรรณ ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยว่า
เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามหลักฐานการชันสูตรพลิกศพจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
เมื่อปฏิบัติหน้าที่โดยชอบก็เป็นเหตุที่จะเป็นคดีอาญาได้เมื่อเป็นคดีอาญาก็เป็นคนละเรื่องกันกับที่โจทก์ (คือนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ) ขอให้โอนคดีนี้ไปที่ ป.ป.ช.
คำวินิจฉัยนั้นออกมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557
ส่วนคำสั่งหลังเรื่องการโอนคดีนั้นออกมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2557
20 วันเท่านั้น อะไรจะเปลี่ยนได้ไวขนาดนี้
และเชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยคงจำได้ว่าองค์กรอิสระบางแห่ง (หรือหลายแห่ง) ให้ความ "เอ็นดูพรรคการเมืองบางพรรค นักการเมืองบางคนเป็นพิเศษขนาดไหน"
มีคดีก็ไม่เคยต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริง ไม่เคยต้องพิสูจน์ตัวเอง
ถ้าหนนี้เกิดคดีพลิกออกมาว่าทุกอย่างบริสุทธิ์สดใส ทำไม่เกินหน้าที่
ถามจริงๆ ละครับ มีท่านไหนเชื่อหรือว่าสังคมไทยจะเดินหน้าต่อไปอย่างสงบสันติได้
เลือดคนตายคนเจ็บอาจจะแห้งไปจากพื้นถนนแล้ว
แต่เลือดที่ยังท่วมใจนั้นยังไม่ได้รับการระบาย
ถ้าความจริงกับความยุติธรรมพลอยตายไปด้วย
สังคมนี้จะเหลืออะไรให้ยึดเหนี่ยว?
.........
(ที่มา:มติชนรายวัน 3 กันยายน 2557)
99 ศพ อย่าให้ตายซ้ำ :มติชน
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12
ถึงเรื่องจะผ่านมาหลายวัน และมีพี่น้องท่านที่เคารพนับถือทั้งหลายทั้งในและนอกวงการสื่อมวลชนเขียนถึง-แสดงความเห็นกันเอาไว้แล้ว
แต่ถ้าไม่พูดถึงคดี99ศพที่อาจจะถูกโอนจากศาลอาญาไปเริ่มต้นใหม่ที่ป.ป.ช. เพื่อจะส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองพิจารณา
ก็เหมือนชีวิตขาดอะไรไป
เพราะถ้าคดีนี้ถูกโอนย้ายไปจริงก็หมายความว่า99ศพที่เสียชีวิตในปี 2553 อาจจะตายฟรี
อีกกว่า 2,000 คนที่บาดเจ็บพิการก็เจ็บฟรี
เพราะคดีอาญาไม่มีแล้ว
มีแต่คดีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
แล้วเป็นไปได้หรือครับที่มีคนตายเป็นร้อยคนเจ็บเป็นพันกลางเมืองทั้งหมดเกิดจากอาวุธสงคราม
แล้วไม่ต้องมีคนรับผิดชอบอะไรเลย
คดีฆาตกรรมนะครับ
ถ้าไม่มีใครต้องรับผิดตามกฎหมายเลยสังคมนี้จะอยู่กันเป็นปกติสุขต่อไปอย่างไร
ขนาดท่านธงชัยเสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ท่านยังทำความเห็นแย้งในประเด็นนี้เอาไว้ว่า
ที่ดีเอสไอและอัยการสั่งฟ้องมานั้น เป็นไปตามกฎหมายอาญามาตรา 288 เรื่องการกระทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต
ไม่ใช่มาตรา 157 ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
การไม่พิจารณาคดีในส่วนที่เป็นโทษอาญายังเป็นการตัดสิทธิของญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตที่จะเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการด้วย
นอกจากนี้ยังมีความเห็นของศาลอาญาเองในคดีที่นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ-นายสุเทพเทือกสุบรรณ ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยว่า
เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามหลักฐานการชันสูตรพลิกศพจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
เมื่อปฏิบัติหน้าที่โดยชอบก็เป็นเหตุที่จะเป็นคดีอาญาได้เมื่อเป็นคดีอาญาก็เป็นคนละเรื่องกันกับที่โจทก์ (คือนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ) ขอให้โอนคดีนี้ไปที่ ป.ป.ช.
คำวินิจฉัยนั้นออกมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557
ส่วนคำสั่งหลังเรื่องการโอนคดีนั้นออกมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2557
20 วันเท่านั้น อะไรจะเปลี่ยนได้ไวขนาดนี้
และเชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยคงจำได้ว่าองค์กรอิสระบางแห่ง (หรือหลายแห่ง) ให้ความ "เอ็นดูพรรคการเมืองบางพรรค นักการเมืองบางคนเป็นพิเศษขนาดไหน"
มีคดีก็ไม่เคยต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริง ไม่เคยต้องพิสูจน์ตัวเอง
ถ้าหนนี้เกิดคดีพลิกออกมาว่าทุกอย่างบริสุทธิ์สดใส ทำไม่เกินหน้าที่
ถามจริงๆ ละครับ มีท่านไหนเชื่อหรือว่าสังคมไทยจะเดินหน้าต่อไปอย่างสงบสันติได้
เลือดคนตายคนเจ็บอาจจะแห้งไปจากพื้นถนนแล้ว
แต่เลือดที่ยังท่วมใจนั้นยังไม่ได้รับการระบาย
ถ้าความจริงกับความยุติธรรมพลอยตายไปด้วย
สังคมนี้จะเหลืออะไรให้ยึดเหนี่ยว?
.........
(ที่มา:มติชนรายวัน 3 กันยายน 2557)