ราคายางพาราดิ่งเหวกระทบยอดขายหมูย่างเมืองตรังวูบ 20% ผู้ประกอบการกัดฟันดัมพ์ราคากิโลกรัมละ 30 บาท ขณะที่ราคาต้นทุนยังสูงลิบ หลายรายยอมเลิกกิจการ เหตุทนขาดทุนไม่ไหว พร้อมเดินหน้าจดลิขสิทธิ์ ห้ามผู้ค้าในจังหวัดอื่นใช้ชื่อหมูย่างเมืองตรัง
นายทวีศักดิ์ ไทรงาม ประธานชมรมผู้ประกอบการหมูย่างจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า สถานการณ์การจำหน่ายหมู่ย่างเมืองตรังในขณะนี้ค่อนข้างเงียบเหงา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยภาพรวม
ยอดขายลดลงไปกว่า 20% สาเหตุหลักมาจากราคายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ราคาน้ำยางสดเพียงกิโลกรัมละ 45-48 บาทเท่านั้น และมีแนวโน้มว่าจะตกต่ำลงไปอีก ทำให้กำลังซื้อของชาวสวนยางซึ่งเป็นลูกค้าหลักลดลงเป็นอย่างมาก
"จากเดิมลูกค้าเคยมาซื้อหมูย่างเป็นกิโลกรัมก็ลดลงมาเหลือครึ่งกิโลกรัมหรือซื้อเพียง 100 บาท ทำให้ตลาดค่อนข้างจะซบเซา ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ 50% และนักท่องเที่ยว 50% แต่เมื่อราคายางไม่ดี การท่องเที่ยวก็อยู่ในช่วงโลว์ซีซั่นก็ทำให้เศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลให้ยอดขายหมูย่างไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าผู้ประกอบการจะร่วมใจกันลดราคาหมูย่างจาก 450 บาท/กก. เหลือ 420 บาท/กก. เพื่อดึงดูดลูกค้า แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ยอดขายกระเตื้องขึ้นไปมากนัก"
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า ผลกระทบดังกล่าวทำให้
ผู้ประกอบการหมูย่างลดลงจาก 80 รายเหลือประมาณ 50 รายเท่านั้น ส่วนหนึ่งหันไปย่างหมูเป็นตัวขายตามออเดอร์ที่สั่งเข้ามาเท่านั้น บางส่วนก็หยุดกิจการไป เพราะไม่สามารถทนต่อสภาพการขาดทุนได้เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการผลิตสูง ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มสูงถึงกิโลกรัมละ 83-86 บาทค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบที่เป็นเครื่องหมูย่าง เชื้อเพลิงสูงขึ้นหมด ขณะที่กำไรต่อตัวสำหรับการย่างหมูประมาณ 10% จากยอดขายที่ขายได้เท่านั้น ซึ่งปีที่ผ่านมายังมีกำไรกว่า 20% แต่ปีนี้ถือว่าลดลงครึ่งต่อครึ่ง
ในช่วงสถานการณ์ปกติ จังหวัดตรังจะใช้หมูวันละเกือบ 200 ตัว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ สำหรับปีนี้ใช้หมูย่างเฉลี่ยวันละประมาณ 100 ตัว ถ้าขายเป็นตัวจะได้ตัวละประมาณ 6,000 บาท ซึ่งจะได้กำไรตัวละ 500-600 บาทเท่านั้น หรือมากที่สุดก็ไม่เกิน 1,000 บาท แต่ผู้ประกอบการก็พยายามรักษาคุณภาพของหมูย่างเมืองตรังให้มีรสชาติที่กรอบนอก นุ่มใน อร่อย กลมกล่อม ลูกค้าที่มาซื้อไปรับประทานจะไม่ผิดหวัง
นอกจากนั้น กลุ่มผู้ประกอบการหมูย่างเมืองตรังกำลังดำเนินการจดลิขสิทธิ์ซึ่ง
ผู้ประกอบการต่างจังหวัดจะใช้ชื่อ หมูย่างเมืองตรังไม่ได้ แต่อนุญาตให้ใช้คำว่า "หมูย่างสูตรเมืองตรัง" รวมทั้งจะมีการควบคุมคุณภาพ รสชาติ ให้อร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมืองตรังเท่านั้น หากไม่มีการควบคุมและมีผู้เลียนแบบไปใช้ชื่อหมูย่างเมืองตรังแล้วทำรสชาติไม่อร่อย คุณภาพไม่ดี ก็จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของเมืองตรัง
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd09UTXdORGt3TXc9PQ%3D%3D
ปรี้จวนเขาบอกให้ไปเลี้ยงโคขุน ทำไหมไม่เชื่อปรี้จวน
***"หมูย่างตรัง" อ่วม ดัมพ์ราคา - เลิกกิจการ***
นายทวีศักดิ์ ไทรงาม ประธานชมรมผู้ประกอบการหมูย่างจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า สถานการณ์การจำหน่ายหมู่ย่างเมืองตรังในขณะนี้ค่อนข้างเงียบเหงา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยภาพรวมยอดขายลดลงไปกว่า 20% สาเหตุหลักมาจากราคายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ราคาน้ำยางสดเพียงกิโลกรัมละ 45-48 บาทเท่านั้น และมีแนวโน้มว่าจะตกต่ำลงไปอีก ทำให้กำลังซื้อของชาวสวนยางซึ่งเป็นลูกค้าหลักลดลงเป็นอย่างมาก
"จากเดิมลูกค้าเคยมาซื้อหมูย่างเป็นกิโลกรัมก็ลดลงมาเหลือครึ่งกิโลกรัมหรือซื้อเพียง 100 บาท ทำให้ตลาดค่อนข้างจะซบเซา ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ 50% และนักท่องเที่ยว 50% แต่เมื่อราคายางไม่ดี การท่องเที่ยวก็อยู่ในช่วงโลว์ซีซั่นก็ทำให้เศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลให้ยอดขายหมูย่างไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าผู้ประกอบการจะร่วมใจกันลดราคาหมูย่างจาก 450 บาท/กก. เหลือ 420 บาท/กก. เพื่อดึงดูดลูกค้า แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ยอดขายกระเตื้องขึ้นไปมากนัก"
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า ผลกระทบดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการหมูย่างลดลงจาก 80 รายเหลือประมาณ 50 รายเท่านั้น ส่วนหนึ่งหันไปย่างหมูเป็นตัวขายตามออเดอร์ที่สั่งเข้ามาเท่านั้น บางส่วนก็หยุดกิจการไป เพราะไม่สามารถทนต่อสภาพการขาดทุนได้เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการผลิตสูง ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มสูงถึงกิโลกรัมละ 83-86 บาทค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบที่เป็นเครื่องหมูย่าง เชื้อเพลิงสูงขึ้นหมด ขณะที่กำไรต่อตัวสำหรับการย่างหมูประมาณ 10% จากยอดขายที่ขายได้เท่านั้น ซึ่งปีที่ผ่านมายังมีกำไรกว่า 20% แต่ปีนี้ถือว่าลดลงครึ่งต่อครึ่ง
ในช่วงสถานการณ์ปกติ จังหวัดตรังจะใช้หมูวันละเกือบ 200 ตัว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ สำหรับปีนี้ใช้หมูย่างเฉลี่ยวันละประมาณ 100 ตัว ถ้าขายเป็นตัวจะได้ตัวละประมาณ 6,000 บาท ซึ่งจะได้กำไรตัวละ 500-600 บาทเท่านั้น หรือมากที่สุดก็ไม่เกิน 1,000 บาท แต่ผู้ประกอบการก็พยายามรักษาคุณภาพของหมูย่างเมืองตรังให้มีรสชาติที่กรอบนอก นุ่มใน อร่อย กลมกล่อม ลูกค้าที่มาซื้อไปรับประทานจะไม่ผิดหวัง
นอกจากนั้น กลุ่มผู้ประกอบการหมูย่างเมืองตรังกำลังดำเนินการจดลิขสิทธิ์ซึ่งผู้ประกอบการต่างจังหวัดจะใช้ชื่อ หมูย่างเมืองตรังไม่ได้ แต่อนุญาตให้ใช้คำว่า "หมูย่างสูตรเมืองตรัง" รวมทั้งจะมีการควบคุมคุณภาพ รสชาติ ให้อร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมืองตรังเท่านั้น หากไม่มีการควบคุมและมีผู้เลียนแบบไปใช้ชื่อหมูย่างเมืองตรังแล้วทำรสชาติไม่อร่อย คุณภาพไม่ดี ก็จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของเมืองตรัง
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd09UTXdORGt3TXc9PQ%3D%3D
ปรี้จวนเขาบอกให้ไปเลี้ยงโคขุน ทำไหมไม่เชื่อปรี้จวน