สจฺจานํ จตุโร ปทา
ขีณาสวา ชุตินมนฺโต
เต โลเก ปรินิพฺพุตา
สัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกินิยา เพราะแต่ละสัจจะ ๆ ย่อมมีอาการต้องทำ คือ
ทุกข์ ต้องกำหนดรู้
สมุทัย ต้องละ
นิโรธ ต้องทำให้แจ้ง
มรรค ต้องเจริญให้มาก
ดังนี้ ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำก็เป็นกิริยาทั้งหมด
เพราะเหตุนั้นรวมความได้ว่า สัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นที่มีความว่า
สัจจะทั้ง ๔ เป็นเท้า คือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไป ๔ พัก
จึงจะเสร็จกิจ ต่อจากนั้นไปเรียก อกิริยา ดังความในคาถาต่อมาที่ว่า
พระขีณาสวะเจ้าทั้งหลายดับโลกสามรุ่งเรืองอยู่ คือ ทำการพิจารณาบำเพ็ญเพียร
เป็น ภาวิตา พหุลีกตา คือ ทำ (สติ) ให้มาก เจริญ (สติ) ให้มาก จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมุติทั้งหลายลงไปได้จนเป็นอกิริยา
ก็ย่อมพ้นจาก โ ล ก ส า ม ได้
การดับโลกสามนั้น พระบรมศาสดาของเราก็ประทับนั่งอยู่
ณ ร่มไม้โพธิ์พฤษ์แห่งเดียว มิได้เหาะขึ้นไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลกเลย คงดับอยู่ที่ จิต
ที่จิตนั่นเองเป็นโลกสาม
จึงสามารถทำลายกิริยา คือ ตัวสมมุติหมดสิ้นจากจิต
ยังเหลือแต่ อกิริยา เป็นฐีติธรรม ฐีติจิต อันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล
( เรียบเรียงจากมุตโตทัย ธรรมเทศนาของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ )
-----------------------
พิมพ์คัดลอกจาก หนังสือ พุทธ ธรรม วินัย
วัดป่าสมบัติเจริญธรรมาราม
ขอน้อมใจเผยแพร่เป็นธรรมทาน
อกิริยาเป็นที่สุดในโลก สุดสมมุติบัญญัติ
ขีณาสวา ชุตินมนฺโต
เต โลเก ปรินิพฺพุตา
สัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกินิยา เพราะแต่ละสัจจะ ๆ ย่อมมีอาการต้องทำ คือ
ทุกข์ ต้องกำหนดรู้
สมุทัย ต้องละ
นิโรธ ต้องทำให้แจ้ง
มรรค ต้องเจริญให้มาก
ดังนี้ ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำก็เป็นกิริยาทั้งหมด
เพราะเหตุนั้นรวมความได้ว่า สัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นที่มีความว่า
สัจจะทั้ง ๔ เป็นเท้า คือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไป ๔ พัก
จึงจะเสร็จกิจ ต่อจากนั้นไปเรียก อกิริยา ดังความในคาถาต่อมาที่ว่า
พระขีณาสวะเจ้าทั้งหลายดับโลกสามรุ่งเรืองอยู่ คือ ทำการพิจารณาบำเพ็ญเพียร
เป็น ภาวิตา พหุลีกตา คือ ทำ (สติ) ให้มาก เจริญ (สติ) ให้มาก จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมุติทั้งหลายลงไปได้จนเป็นอกิริยา
ก็ย่อมพ้นจาก โ ล ก ส า ม ได้
การดับโลกสามนั้น พระบรมศาสดาของเราก็ประทับนั่งอยู่
ณ ร่มไม้โพธิ์พฤษ์แห่งเดียว มิได้เหาะขึ้นไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลกเลย คงดับอยู่ที่ จิต
ที่จิตนั่นเองเป็นโลกสาม
จึงสามารถทำลายกิริยา คือ ตัวสมมุติหมดสิ้นจากจิต
ยังเหลือแต่ อกิริยา เป็นฐีติธรรม ฐีติจิต อันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล
( เรียบเรียงจากมุตโตทัย ธรรมเทศนาของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ )
-----------------------
พิมพ์คัดลอกจาก หนังสือ พุทธ ธรรม วินัย
วัดป่าสมบัติเจริญธรรมาราม
ขอน้อมใจเผยแพร่เป็นธรรมทาน