กรมการบินพลเรือนคุมเข้มเที่ยวบินเช่าเหมาลำ
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 17 เมษายน 2557 00:00:01 น.
แนวโน้มการขอจัดตั้งสายการบินเช่าเหมาลำขยายตัวเพิ่มขึ้น สอดรับกับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวของไทย
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาเหมือนกรณีของพีซีแอร์ฟ้องร้องกันอยู่กับบริษัทนำเที่ยว กระทบต่อผู้โดยสาร
ดังนั้นเพื่อป้องกันสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
กระทรวงคมนาคมจึงออกกฎล้อมกรอบบริการเช่าเหมาลำเรียกความเชื่อมั่นคืน ปรับใหม่เน้นเข้มข้น
แยกย่อยประเภทเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยผู้โดยสารให้เหมาะต่อภาวะธุรกิจการบินปัจจุบัน
นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) เปิดเผยว่า
กรมการบินพลเรือนได้เข้มงวดกับการออกใบอนุญาตให้บริการเครื่องบินเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟลต์) มากยิ่งขึ้น
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทิ้งผู้โดยสารเหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา
โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการสายการบินใหม่ที่ยื่นขอใบอนุญาต จะต้องมีอายุของเครื่องบินที่จะนำมาให้บริการไม่เกิน 14 ปี
จากเดิมมีอายุ 20-30 ปี ก็สามารถนำมาให้บริการได้ ในกรณีบำรุงรักษาเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการชาร์เตอร์ไฟลต์รายใหม่ที่จะขอใบอนุญาตให้บริการจะต้องมีเครื่องบินอย่างน้อย 2 ลำ
จึงจะสามารถให้บริการได้ จากเดิมที่มีลำเดียวก็ให้บริการได้ เพื่อป้องกันปัญหาไม่มีเครื่องบินให้บริการ
หากเกิดขัดข้องจนไม่สามารถนำเครื่องขึ้นบินได้ ขณะเดียวกันทางผู้ประกอบการสายการบินต้องวางเงินประกันไว้กับ
บพ.เพื่อจ่ายชดเชยให้กับผู้โดยสารหากเกิดปัญหาขึ้น
เพราะปัจจุบันกรณีของสายการบินพีซีแอร์ ที่ไม่สามารถให้บริการผู้โดยสารกลับมาจากเกาหลีใต้ได้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ก็ยังไม่แล้วเสร็จ
สำหรับคุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนอากาศยานในส่วนของบุคคลธรรมดา
1.ต้องมีสัญชาติไทย
2.ต้องเป็นเจ้าของอากาศยานที่ขอจดทะเบียน หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครองอากาศยานที่ขอจดทะเบียน
และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จดทะเบียนได้ ส่วนนิติบุคคล
3.ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชน จำกัด ต้องจดทะเบียน ตามกฎหมายไทย
โดยมีสำนักงานใหญ่ของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทตั้งอยู่ในประเทศไทย และต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์
ส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดที่ต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนต้องมีสัญชาติไทย
และทุนของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่น้อยกว่า 51%% ต้องเป็นของบุคคลธรรมดา ซึ่งมีสัญชาติไทย
นอกจากนี้ยังได้ให้ทุกสายการบินดำเนินการดังนี้
1.)ต้องทำแผนสำรองกรณีที่ไม่สามารถทำการบินได้ โดยจะต้องมีสายการบินอื่นสามารถให้บริการแทนได้ทันที
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร โดยให้ยื่นเสนอ บพ.ในสัปดาห์หน้า
2.) ทุกสายการบินจะต้องมีเงินค้ำประกันไว้ที่ บพ. เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายกรณีสายการบินนั้นๆ เกิดปัญหา
3.) บพ.จะจัดทำประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องการคุ้ม ครองสิทธิผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยแบบไม่ประจำ
ทั้งในและต่างประเทศให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จากปัจจุบันที่มีประกาศกระทรวงคมนาคมคุ้มครองผู้โดยสารเฉพาะ
สายการบินเส้นทางบินประจำภายในประเทศซึ่งจะกำหนดระยะเวลาในการคุ้มครอง เช่น กรณีเครื่องบินออกช้ากว่ากำหนดเกิน 3 ชั่วโมง
ต้องมีอาหารหรือของว่างไว้บริการ เกิน 6 ชั่วโมงต้องจัดเตรียมห้องพักไว้บริการ เป็นต้น
4.) กำหนดให้สายการบินเช่าเหมาลำต้องมีเครื่องบินให้บริ การมากกว่า 1 ลำ เพื่อสามารถยังคงให้บริการผู้โดยสารได้หากเกิดปัญหาขึ้น
เบื้องต้นอาจกำหนดจำนวน 2 หรือ 3 ลำขึ้นไป เป็นต้น และ 5.บพ.จะมีการตรวจสอบบัญชีของสายการบินทุก 6 เดือน
จากเดิมที่กำหนดไว้ 1 ปี เพื่อให้ทราบปัญหาเกี่ยวกับรายได้ กำไร ขาดทุน หากในอนาคตสายการบินใดมีปัญหาติดหนี้สิน
ทาง บพ.จะได้หาแนวทางในการช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารต่อไป
พร้อมทั้งได้ออกประกาศกระทรวง เรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ พ.ศ.2556
เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำในเส้นทางบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ทั้งที่ให้บริการแบบไม่ประจำเป็นครั้งคราวเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว และให้บริการแบบไม่ประจำตามกำหนดการเดินทาง
ที่ได้ทำสัญญาไว้กับผู้โดยสารหรือผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
สำหรับประกาศดังกล่าวถือเป็นเงื่อนไขประกอบใบอนุญาตของผู้ประกอบการชาร์เตอร์ไฟลต์ของประเทศไทยทุกราย
ทั้งที่ได้รับใบอนุญาตปัจจุบันและในอนาคตที่ต้องยึดถือและปฏิบัติตาม โดยมีมาตรการให้สายการบินต้องรับผิดชอบผู้โดยสาร
จากกรณีเที่ยวบินล่าช้า (ดีเลย์) หรือการยกเลิกเที่ยวบิน จากปัญหาของสายการบินเอง ซึ่ง บพ.กำหนดภายในวันที่ 30 กันยายนนี้
สายการบินต้องนำหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) มาวางไว้กับ บพ. เพื่อประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการยกเลิกเที่ยวบิน
จนทำให้ผู้โดยสารตกเครื่องบิน
สำหรับกฎในการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร จะกำหนดว่ากรณีล่าช้าเกินกว่า 2 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 6 ชั่วโมง
สายการบินต้องจัดหาอาหารและเครื่องดื่มให้แก่ผู้โดยสารตามความเหมาะสมกับระยะเวลาที่รอขึ้นเครื่องบินและจัดอุปกรณ์
ให้แก่ผู้โดยสาร เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
กรณีล่าช้าเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไป สายการบินต้องปฏิบัติต่อผู้โดยสารเช่นเดียวกับมาตรการคุ้มครองผู้โดยสารกรณียกเลิกเที่ยวบิน
ซึ่งกรณียกเลิกเที่ยวบินก่อนเดินทางเกินกว่า 3 วัน ต้องแจ้งข่าวการยกเลิกเที่ยวบินให้ผู้โดยสารหรือผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยเร็วที่สุด
และ ต้องคืนเงินค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมอื่นใดที่เรียกเก็บเต็มตามจำนวนที่จ่ายไปสำหรับการเดินทาง
หรือ เฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้เดินทางให้แก่ผู้โดยสารหรือผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวแล้วแต่กรณี.
จากข้อความในข่าวด้านบน มันมีมาตั้งแต่เดือนเมษายน แล้วทำไมยังเกิดปัญหาขึ้นมาในช่วงนี้อีกครับ สงสัยจริงๆ
แล้วก็เรื่องอายุเครื่องบินอีก กำหนดว่าไม่เกิน14ปี แต่ใครๆก็บอกว่าสายการบินบางแห่งเครื่องบินอายุตั้ง29ปีแล้วละครับ
กรมการบินพลเรือน มีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้เครื่องบิน และ เที่ยวบินเช่าเหมาลำ แล้วทำไม ยังมีปัญหากัน ???
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 17 เมษายน 2557 00:00:01 น.
แนวโน้มการขอจัดตั้งสายการบินเช่าเหมาลำขยายตัวเพิ่มขึ้น สอดรับกับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวของไทย
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาเหมือนกรณีของพีซีแอร์ฟ้องร้องกันอยู่กับบริษัทนำเที่ยว กระทบต่อผู้โดยสาร
ดังนั้นเพื่อป้องกันสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
กระทรวงคมนาคมจึงออกกฎล้อมกรอบบริการเช่าเหมาลำเรียกความเชื่อมั่นคืน ปรับใหม่เน้นเข้มข้น
แยกย่อยประเภทเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยผู้โดยสารให้เหมาะต่อภาวะธุรกิจการบินปัจจุบัน
นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) เปิดเผยว่า
กรมการบินพลเรือนได้เข้มงวดกับการออกใบอนุญาตให้บริการเครื่องบินเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟลต์) มากยิ่งขึ้น
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทิ้งผู้โดยสารเหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา
โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการสายการบินใหม่ที่ยื่นขอใบอนุญาต จะต้องมีอายุของเครื่องบินที่จะนำมาให้บริการไม่เกิน 14 ปี
จากเดิมมีอายุ 20-30 ปี ก็สามารถนำมาให้บริการได้ ในกรณีบำรุงรักษาเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการชาร์เตอร์ไฟลต์รายใหม่ที่จะขอใบอนุญาตให้บริการจะต้องมีเครื่องบินอย่างน้อย 2 ลำ
จึงจะสามารถให้บริการได้ จากเดิมที่มีลำเดียวก็ให้บริการได้ เพื่อป้องกันปัญหาไม่มีเครื่องบินให้บริการ
หากเกิดขัดข้องจนไม่สามารถนำเครื่องขึ้นบินได้ ขณะเดียวกันทางผู้ประกอบการสายการบินต้องวางเงินประกันไว้กับ
บพ.เพื่อจ่ายชดเชยให้กับผู้โดยสารหากเกิดปัญหาขึ้น
เพราะปัจจุบันกรณีของสายการบินพีซีแอร์ ที่ไม่สามารถให้บริการผู้โดยสารกลับมาจากเกาหลีใต้ได้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ก็ยังไม่แล้วเสร็จ
สำหรับคุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนอากาศยานในส่วนของบุคคลธรรมดา
1.ต้องมีสัญชาติไทย
2.ต้องเป็นเจ้าของอากาศยานที่ขอจดทะเบียน หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครองอากาศยานที่ขอจดทะเบียน
และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จดทะเบียนได้ ส่วนนิติบุคคล
3.ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชน จำกัด ต้องจดทะเบียน ตามกฎหมายไทย
โดยมีสำนักงานใหญ่ของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทตั้งอยู่ในประเทศไทย และต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์
ส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดที่ต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนต้องมีสัญชาติไทย
และทุนของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่น้อยกว่า 51%% ต้องเป็นของบุคคลธรรมดา ซึ่งมีสัญชาติไทย
นอกจากนี้ยังได้ให้ทุกสายการบินดำเนินการดังนี้
1.)ต้องทำแผนสำรองกรณีที่ไม่สามารถทำการบินได้ โดยจะต้องมีสายการบินอื่นสามารถให้บริการแทนได้ทันที
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร โดยให้ยื่นเสนอ บพ.ในสัปดาห์หน้า
2.) ทุกสายการบินจะต้องมีเงินค้ำประกันไว้ที่ บพ. เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายกรณีสายการบินนั้นๆ เกิดปัญหา
3.) บพ.จะจัดทำประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องการคุ้ม ครองสิทธิผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยแบบไม่ประจำ
ทั้งในและต่างประเทศให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จากปัจจุบันที่มีประกาศกระทรวงคมนาคมคุ้มครองผู้โดยสารเฉพาะ
สายการบินเส้นทางบินประจำภายในประเทศซึ่งจะกำหนดระยะเวลาในการคุ้มครอง เช่น กรณีเครื่องบินออกช้ากว่ากำหนดเกิน 3 ชั่วโมง
ต้องมีอาหารหรือของว่างไว้บริการ เกิน 6 ชั่วโมงต้องจัดเตรียมห้องพักไว้บริการ เป็นต้น
4.) กำหนดให้สายการบินเช่าเหมาลำต้องมีเครื่องบินให้บริ การมากกว่า 1 ลำ เพื่อสามารถยังคงให้บริการผู้โดยสารได้หากเกิดปัญหาขึ้น
เบื้องต้นอาจกำหนดจำนวน 2 หรือ 3 ลำขึ้นไป เป็นต้น และ 5.บพ.จะมีการตรวจสอบบัญชีของสายการบินทุก 6 เดือน
จากเดิมที่กำหนดไว้ 1 ปี เพื่อให้ทราบปัญหาเกี่ยวกับรายได้ กำไร ขาดทุน หากในอนาคตสายการบินใดมีปัญหาติดหนี้สิน
ทาง บพ.จะได้หาแนวทางในการช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารต่อไป
พร้อมทั้งได้ออกประกาศกระทรวง เรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ พ.ศ.2556
เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำในเส้นทางบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ทั้งที่ให้บริการแบบไม่ประจำเป็นครั้งคราวเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว และให้บริการแบบไม่ประจำตามกำหนดการเดินทาง
ที่ได้ทำสัญญาไว้กับผู้โดยสารหรือผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
สำหรับประกาศดังกล่าวถือเป็นเงื่อนไขประกอบใบอนุญาตของผู้ประกอบการชาร์เตอร์ไฟลต์ของประเทศไทยทุกราย
ทั้งที่ได้รับใบอนุญาตปัจจุบันและในอนาคตที่ต้องยึดถือและปฏิบัติตาม โดยมีมาตรการให้สายการบินต้องรับผิดชอบผู้โดยสาร
จากกรณีเที่ยวบินล่าช้า (ดีเลย์) หรือการยกเลิกเที่ยวบิน จากปัญหาของสายการบินเอง ซึ่ง บพ.กำหนดภายในวันที่ 30 กันยายนนี้
สายการบินต้องนำหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) มาวางไว้กับ บพ. เพื่อประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการยกเลิกเที่ยวบิน
จนทำให้ผู้โดยสารตกเครื่องบิน
สำหรับกฎในการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร จะกำหนดว่ากรณีล่าช้าเกินกว่า 2 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 6 ชั่วโมง
สายการบินต้องจัดหาอาหารและเครื่องดื่มให้แก่ผู้โดยสารตามความเหมาะสมกับระยะเวลาที่รอขึ้นเครื่องบินและจัดอุปกรณ์
ให้แก่ผู้โดยสาร เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
กรณีล่าช้าเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไป สายการบินต้องปฏิบัติต่อผู้โดยสารเช่นเดียวกับมาตรการคุ้มครองผู้โดยสารกรณียกเลิกเที่ยวบิน
ซึ่งกรณียกเลิกเที่ยวบินก่อนเดินทางเกินกว่า 3 วัน ต้องแจ้งข่าวการยกเลิกเที่ยวบินให้ผู้โดยสารหรือผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยเร็วที่สุด
และ ต้องคืนเงินค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมอื่นใดที่เรียกเก็บเต็มตามจำนวนที่จ่ายไปสำหรับการเดินทาง
หรือ เฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้เดินทางให้แก่ผู้โดยสารหรือผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวแล้วแต่กรณี.
จากข้อความในข่าวด้านบน มันมีมาตั้งแต่เดือนเมษายน แล้วทำไมยังเกิดปัญหาขึ้นมาในช่วงนี้อีกครับ สงสัยจริงๆ
แล้วก็เรื่องอายุเครื่องบินอีก กำหนดว่าไม่เกิน14ปี แต่ใครๆก็บอกว่าสายการบินบางแห่งเครื่องบินอายุตั้ง29ปีแล้วละครับ