มีคนส่งต่อๆมาให้ครับ ไม่รู้ต้นตอมาจากไหน รู้ลึก ชัดเจนจริงๆ
ฝากเอาไว้ในใจเธอ
รักคุณเท่าฟ้า ... ไม่อยากปล่อยให้เธอล้มละลาย
กราบเรียน ท่านหัวหน้าคสช. และ ทีมบริหารรัฐวิสากิจคสช. ที่กำกับดูแล การบินไทย รวมทั้งพนักงานการบินไทยทุกคน
จากการย่องเบาของแอดมิน V เข้าไปในมุ้งของสายการบินแห่งชาติ ปัจจุบัน พนักงานตั้งแต่ระดับผู้บริหาร - พนักงานระดับปฏิบัติการทุกคนต่าง "ตื่นรู้" ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของอุตสาหกรรมการบิน รวมทั้งการบริหารจัดการที่ผิดพลาดของ บอร์ด & ผู้บริหารระดับสูงในการออกนโยบายต่างๆ ที่ไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เป็นสาเหตุให้บริษัทฯประสบภาวะขาดทุน "เลือดไหลหมดตัว" อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ขององค์กรแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินซึ่งเป็นปัญหาหลักของ บกท.ในวันนี้ ใคร่ขอนำเรียนรายละเอียดบางประการที่ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ถึงท่านที่รับผิดชอบทั้งหมด พร้อมขอเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างองค์กรที่มิใช่เพียงแค่ให้เป็น Lean Organization แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรปรับเปลี่ยน กฏ/ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวในสภาวะการแข่งขันตามหลักการทำธุรกิจ เพื่อเป็นการพัฒนาอย่างอย่างยืนไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. โครงสร้างบอร์ด : กระดุมเม็ดแรกที่ผิดพลาด สถานการณ์เช่นนี้ มีความจำเป็นจะต้องทบทวน/พิจารณาโครงสร้างบอร์ดให้มาจากภาคธุรกิจจริงๆ เพื่อบอร์ดจะได้สามารถเข้าใจ โครงสร้าง/การดำเนินการ/ กลยุทธ์ ทางธุรกิจการบินที่แม้แต่ Warren Buffett ยังเรียกอุตสากหรรมการบินว่า Death Trap for Investors เพื่อให้องค์กรสามารถแก้วิกฤติได้
รวมทั้ง ทบทวน/พิจารณา การให้สิทธิใช้ บัตร Barter ที่บริษัทฯ ออกให้ VP/EVP/Board ทุกคน เพื่อใช้เลี้ยงรับรองต่างๆ แบบไม่จำกัดวงเงิน !!! จนเป็นเหตุให้ครั้งหนึ่ง มีบอร์ดนายหนึ่ง ชื่อขึ้นต้นด้วย ธ ใช้บัตรดังกล่าวไปด้วยเงินจำนวนหลายล้านบาท อยากทราบว่า ใช้เงินคืน บกท.ครบหรือยัง? และ บอร์ดทั้งหลายที่เข้ามากำกับดูแลให้ขาดทุนอย่างต่อเนื่องได้ขนาดนี้ได้แต่เข้ามารับผลประโยชน์ และ ลาออกไปในยามวิกฤกติ โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยหรือ? บอร์ดที่ขอลาออกช่วงที่บริษัทฯ กำลังทำแผนฟื้นฟูนั้น เป็นพวกที่ควรขึ้น Bad list ว่าไม่มีฝีมือ จึงไม่ควรไปเป็นบอร์ดที่ใดอีก
2. ควรปรับลดโครงสร้างบริษัทฯให้เป็น Lean Organization อย่างจริงจัง มิใช่ "รวยกระจุก จนกระจาย ขยายเป็นหย่อมๆ" เยี่ยงนี้ เช่น สายการพาณิชย์ (DN) มี 1 EVP ที่แวดล้อมไปด้วย 9 VP โอวววว แม่เจ้า ไฉนแบ่งเขตการขายด้วยสภาพภูมิศาสตร์ถี่ยิบ เยี่ยงกลีบส้มเขียวหวานปานนี้ มันน่าเกลียดออกนอกตำรา Organization Structure ไปไหม แม้แต่เด็กอนุบาลก็มองออกว่า ทำกล่องให้คน หรือ อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ไม่แพ้กัน หน่วยสนับสนุนธุรกิจการบิน (D1) ต้องกำกับดูแล 5 หน่วยงานใหญ่ๆ รวมแล้วหลายหมื่นล้าน ตั้งแต่การจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคบนเครื่องบิน คาร์โก้ ครัวการบิน การบริการภาคพื้น และลานจอด ไม่ทราบว่า ผู้อนุมัติโครงสร้างนี้ โง่ หรือ บ้า กันแน่ ไหนบอกว่าจะ Lean ???? และเมื่อ Lean แล้ว ฝากท่านทั้งหลายช่วยคิดต่อด้วยว่า VP ทั้งหลายที่ตั้งมามากมายนั้นจะเอาไปไว้ที่ไหน หรือจะปล่อยให้ใช้สิทธิต่างๆของบริษัทฯต่อไปจนเกษียณ?
3. ควรปรับลดค่ารถ หรือ ค่าน้ำมัน EVP, VP จาก 75,000 บาท และ 70,000 บาท/เดือน ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง เนื่องจาก ผู้บริหารกลุ่มดังกล่าว มีสิทธิที่จะใช้รถบริษัท (รถตู้ที่มีอยู่หลายคัน) ได้ เหตุใดจึงต้องให้ transportation allowance สูงถึงเพียงนี้ ทั้งที่ค่าใช้จ่ายนี้มีขึ้นเพื่อสนับสนุนการประชุมนอกสถานที่ระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานใหญ่-ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ให้กับระดับผู้บริหารซึ่งไม่มีสิทธิเบิกค่ารถได้เหมือนพนักงานระดับปฏิบัติที่สามารถเบิกได้ตามจริง แต่เหตุใด ค่าน้ำมันของผู้บริหารระดับ 10-11 จึงมีอัตราสูงเกินจริงขนาดนั้น จึงใคร่ขอเรียนความจริงเพื่อเป็นข้อมูลพิจารณาปรับลด ให้เกิดความเหมาะสมตามหลักความเป็นจริง และเพื่อความเป็นธรรมต่อพนักงานทั้งองค์กร
4. ควรปรับลดค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทางเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของ EVP, VP จากเดิมที่มากกว่าพนักงานทั่วไป .5 เท่า ให้เท่ากับพนักงานทั่วไป อย่ามาอ้างว่า ต้อง Entertain เพราะท่านเหล่านี้มีงบ Entertain อยู่แล้วทุกคน โรงแรมที่พักบริษัทก็จ่ายให้แล้ว อาหารการกินแต่ละเมืองที่ท่านไป พนักงานทั่วไปก็ต้องจ่ายราคาเดียวกับท่าน มีเหตุผลใดหรือที่ท่านจะได้เบี้ยเลี้ยงมากกว่า
5. ควรยกเลิก Vacation Compensation คือ พนง.ที่ลาพักร้อนไม่หมดตามสิทธิ วันพักร้อนที่เหลือจะสะสมได้ 3 ปี ถ้าปีที่ 3 ยังคงเหลืออยู่ (จาก 3 ปีก่อนหน้า) จะได้เป็นเงินทดแทน ทำให้พนง.บางส่วนที่เห็นแก่ตัวใช้วันลาป่วย และเก็บวันพักร้อนไว้เพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน ทำให้บริษัทฯต้องจ่ายเงินส่วนนี้โดยไม่ควรต้องจ่าย อย่ามาอ้างว่า ลาพักร้อนไม่ได้ ในเมื่อสามารถวางแผนระยะยาวได้ และระเบียบบริษัทฯ ยืดหยุ่นให้ 3 ปีแล้ว ระเบียบที่"ให้เปรียบ" พนักงานเช่นนี้ เลิกได้แล้ว (ปัจจุบัน ผู้บริหารหลายฝ่ายไม่อนุมัติการจ่ายเงินส่วนนี้แล้ว แต่ควรเป็นคำสั่ง/ระเบียบบริษัทฯอย่างเป็นทางการ)
6. ควรปรับโครงสร้างเงินเดือนพนักงานให้เหมาะสม ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม และระเบียบรัฐวิสาหกิจเพื่อ ยกเลิกการหักภาษี ณ ที่จ่ายของพนักงานที่บรรจุเข้าทำงานก่อนปี พ.ศ. 2548 เพื่อบริษัทฯจะได้ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อีกต่อไป ปัจจุบัน พนักงานระดับ junior clerk, clerk ซึ่งใช้คุณวุฒิปริญญาตรี รับเงินเดือนขั้นต้น 8,4xx /9,2xx บาท customer service agent 1 เงินเดือนขั้นต้น 12,xxx บาท (ไม่รวมภาษี) จะเห็นว่า พนักงาน กบท. ไม่ได้มีเงินเดือนสูงมากมายเหมือนที่ใครๆเข้าใจผิดมาตลอด อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างเงินเดือน พร้อมกับการยกเลิกการหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถทำเป็นแผนระยะสั้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย/ต้นทุนในการดำเนินการขององค์กรได้ทันที
7. ควรทบทวนการประกาศวันหยุดบริษัทฯ ให้เหมาะสม และเอื้อต่อการทำธุรกิจ ไม่ใช่ใครหยุด บกท.ก็หยุด ใครหยุดชดเชย บกท.ก็หยุด เช่น วันพืชมงคล ธุรกิจใดๆก็ไม่หยุด บกท.หยุดเพื่อ? เพราะวันหยุดนักขัตฤกษ์เหล่านั้น หากบริษัทฯประกาศเป็นวันหยุด บริษัทฯต้องจ่าย OT ให้พนักงานที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายแรงงานวันละ 40 กว่าล้านบาท ถึงเวลาหรือยังที่ทุกคนในองค์กรควรเปลี่ยน mindset และมี commercial mind มากกว่านี้
8. ควรให้ผู้บริหารระดับ Director ขึ้นไปที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ / ควบคุมค่าใช้จ่าย / เสี่ยงต่อการเอื้อประโยชน์และรับประโยชน์จากคู่ค้า แสดงบัญชีทรัพย์สินก่อน / หลัง รับตำแหน่ง เพื่อป้องกันการทุจริตและแสดงความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่
9. ผู้บริหารระดับสูงที่ตัดสินใจผิดพลาดเรื่องไทยสมายล์ ควรแก้ไขสิ่งผิด โดยยกเลิกการให้ บกท. แบกต้นทุนไทยสมายล์เสียที ไทยสมายล์ควร spin off หรือ แยกตัวจาก บกท. อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้แล้ว วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งไทยสมายล์ในตอนแรกนั้นดี แต่การดำเนินการทุกอย่างยังต้องขอความช่วยเหลือจากการบินไทย ตั้งแต่การใช้ code /TG ร่วมกับการบินไทย พนักงานบกท. หลายส่วน เช่น Call center/ Check-in และทั้งกระบวนการให้บริการภาคพื้นต้องปฏิบัติงานให้ไทยสมายล์โดยกินเงินเดือนบกท. โดยที่ บกท. ไม่เคยมีรายได้จากไทยสมายล์เช่นเดียวกับการให้บริการสายการบินลูกค้าอื่นๆ ยังไม่นับรวมถึงการบินทับเส้นทางเดียวกับ บกท. เรื่องนี้นอกจากผิดพลาดมาตั้งแต่แรกแล้ว ยังซ้ำเติมด้วยการให้คนป่วยหนัก (TG) ลงไปช่วยคนหัดว่ายน้ำ สุดท้าย ตายทั้งคู่
10. บอร์ดควรอนุมัติให้ขายเครื่องบิน A340 ที่ บกท.ถูกอดีตนายกฯคนหนึ่งบังคับให้ซื้อเพื่อบินเส้นทาง BKK-LAX ทั้งที่ทุกฝ่ายทักท้วงแล้วว่า เครื่องบินแบบดังกล่าวไม่เหมาะสมต่อการซื้อเข้าประจำฝูงบินพาณิชย์ เพราะกินน้ำมันมาก และไม่เคยมีสายการบินใดมีกำไรจากการการใช้เครื่องบินแบบดังกล่าวเลย ทุกวันนี้ บกท.ยังแบกค่าใช้จ่ายอีกมากมายทั้งค่าบำรุงรักษาและค่าจอด โดยไม่ได้รับอนุมัติจากบอร์ดให้ขายเสียที ยิ่งเก็บไว้นานเท่าไร บกท. ก็ยิ่งเจ็บตัวจากการขาดทุนมากขึ้นเท่านั้น
ถ้าเราอยากจะเห็น การบินไทย บินอยู่บนฟ้า อีก 5-10-20-30 ปีข้างหน้า วันนี้ เราพร้อมเปลี่ยนตัวเองหรือยัง สิ่งเหล่านี้มิใช่ การเสียสละ หากแต่เป็น การปรับตัวเพื่อการอยู่รอดอย่างยั่งยืน ไม่มีสิ่งใดในโลก มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ หากสิ่งนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม ความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมได้
สรุป "DD เอ๋ย DD ที่ดี ต้องมีหน้าที่ผ่าตัด 10 อย่าง" ด้วยกัน !!!
ขอบคุณทุกท่านในสายการบินแห่งชาติ ที่ให้ข้อมูลเหล่านี้กับแอดมิน
รักคุณเท่าฟ้า ... ไม่อยากปล่อยให้เธอล้มละลาย
มีคนส่งต่อๆมาให้ครับ ไม่รู้ต้นตอมาจากไหน รู้ลึก ชัดเจนจริงๆ
ฝากเอาไว้ในใจเธอ
รักคุณเท่าฟ้า ... ไม่อยากปล่อยให้เธอล้มละลาย
กราบเรียน ท่านหัวหน้าคสช. และ ทีมบริหารรัฐวิสากิจคสช. ที่กำกับดูแล การบินไทย รวมทั้งพนักงานการบินไทยทุกคน
จากการย่องเบาของแอดมิน V เข้าไปในมุ้งของสายการบินแห่งชาติ ปัจจุบัน พนักงานตั้งแต่ระดับผู้บริหาร - พนักงานระดับปฏิบัติการทุกคนต่าง "ตื่นรู้" ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของอุตสาหกรรมการบิน รวมทั้งการบริหารจัดการที่ผิดพลาดของ บอร์ด & ผู้บริหารระดับสูงในการออกนโยบายต่างๆ ที่ไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เป็นสาเหตุให้บริษัทฯประสบภาวะขาดทุน "เลือดไหลหมดตัว" อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ขององค์กรแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินซึ่งเป็นปัญหาหลักของ บกท.ในวันนี้ ใคร่ขอนำเรียนรายละเอียดบางประการที่ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ถึงท่านที่รับผิดชอบทั้งหมด พร้อมขอเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างองค์กรที่มิใช่เพียงแค่ให้เป็น Lean Organization แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรปรับเปลี่ยน กฏ/ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวในสภาวะการแข่งขันตามหลักการทำธุรกิจ เพื่อเป็นการพัฒนาอย่างอย่างยืนไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. โครงสร้างบอร์ด : กระดุมเม็ดแรกที่ผิดพลาด สถานการณ์เช่นนี้ มีความจำเป็นจะต้องทบทวน/พิจารณาโครงสร้างบอร์ดให้มาจากภาคธุรกิจจริงๆ เพื่อบอร์ดจะได้สามารถเข้าใจ โครงสร้าง/การดำเนินการ/ กลยุทธ์ ทางธุรกิจการบินที่แม้แต่ Warren Buffett ยังเรียกอุตสากหรรมการบินว่า Death Trap for Investors เพื่อให้องค์กรสามารถแก้วิกฤติได้
รวมทั้ง ทบทวน/พิจารณา การให้สิทธิใช้ บัตร Barter ที่บริษัทฯ ออกให้ VP/EVP/Board ทุกคน เพื่อใช้เลี้ยงรับรองต่างๆ แบบไม่จำกัดวงเงิน !!! จนเป็นเหตุให้ครั้งหนึ่ง มีบอร์ดนายหนึ่ง ชื่อขึ้นต้นด้วย ธ ใช้บัตรดังกล่าวไปด้วยเงินจำนวนหลายล้านบาท อยากทราบว่า ใช้เงินคืน บกท.ครบหรือยัง? และ บอร์ดทั้งหลายที่เข้ามากำกับดูแลให้ขาดทุนอย่างต่อเนื่องได้ขนาดนี้ได้แต่เข้ามารับผลประโยชน์ และ ลาออกไปในยามวิกฤกติ โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยหรือ? บอร์ดที่ขอลาออกช่วงที่บริษัทฯ กำลังทำแผนฟื้นฟูนั้น เป็นพวกที่ควรขึ้น Bad list ว่าไม่มีฝีมือ จึงไม่ควรไปเป็นบอร์ดที่ใดอีก
2. ควรปรับลดโครงสร้างบริษัทฯให้เป็น Lean Organization อย่างจริงจัง มิใช่ "รวยกระจุก จนกระจาย ขยายเป็นหย่อมๆ" เยี่ยงนี้ เช่น สายการพาณิชย์ (DN) มี 1 EVP ที่แวดล้อมไปด้วย 9 VP โอวววว แม่เจ้า ไฉนแบ่งเขตการขายด้วยสภาพภูมิศาสตร์ถี่ยิบ เยี่ยงกลีบส้มเขียวหวานปานนี้ มันน่าเกลียดออกนอกตำรา Organization Structure ไปไหม แม้แต่เด็กอนุบาลก็มองออกว่า ทำกล่องให้คน หรือ อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ไม่แพ้กัน หน่วยสนับสนุนธุรกิจการบิน (D1) ต้องกำกับดูแล 5 หน่วยงานใหญ่ๆ รวมแล้วหลายหมื่นล้าน ตั้งแต่การจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคบนเครื่องบิน คาร์โก้ ครัวการบิน การบริการภาคพื้น และลานจอด ไม่ทราบว่า ผู้อนุมัติโครงสร้างนี้ โง่ หรือ บ้า กันแน่ ไหนบอกว่าจะ Lean ???? และเมื่อ Lean แล้ว ฝากท่านทั้งหลายช่วยคิดต่อด้วยว่า VP ทั้งหลายที่ตั้งมามากมายนั้นจะเอาไปไว้ที่ไหน หรือจะปล่อยให้ใช้สิทธิต่างๆของบริษัทฯต่อไปจนเกษียณ?
3. ควรปรับลดค่ารถ หรือ ค่าน้ำมัน EVP, VP จาก 75,000 บาท และ 70,000 บาท/เดือน ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง เนื่องจาก ผู้บริหารกลุ่มดังกล่าว มีสิทธิที่จะใช้รถบริษัท (รถตู้ที่มีอยู่หลายคัน) ได้ เหตุใดจึงต้องให้ transportation allowance สูงถึงเพียงนี้ ทั้งที่ค่าใช้จ่ายนี้มีขึ้นเพื่อสนับสนุนการประชุมนอกสถานที่ระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานใหญ่-ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ให้กับระดับผู้บริหารซึ่งไม่มีสิทธิเบิกค่ารถได้เหมือนพนักงานระดับปฏิบัติที่สามารถเบิกได้ตามจริง แต่เหตุใด ค่าน้ำมันของผู้บริหารระดับ 10-11 จึงมีอัตราสูงเกินจริงขนาดนั้น จึงใคร่ขอเรียนความจริงเพื่อเป็นข้อมูลพิจารณาปรับลด ให้เกิดความเหมาะสมตามหลักความเป็นจริง และเพื่อความเป็นธรรมต่อพนักงานทั้งองค์กร
4. ควรปรับลดค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทางเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของ EVP, VP จากเดิมที่มากกว่าพนักงานทั่วไป .5 เท่า ให้เท่ากับพนักงานทั่วไป อย่ามาอ้างว่า ต้อง Entertain เพราะท่านเหล่านี้มีงบ Entertain อยู่แล้วทุกคน โรงแรมที่พักบริษัทก็จ่ายให้แล้ว อาหารการกินแต่ละเมืองที่ท่านไป พนักงานทั่วไปก็ต้องจ่ายราคาเดียวกับท่าน มีเหตุผลใดหรือที่ท่านจะได้เบี้ยเลี้ยงมากกว่า
5. ควรยกเลิก Vacation Compensation คือ พนง.ที่ลาพักร้อนไม่หมดตามสิทธิ วันพักร้อนที่เหลือจะสะสมได้ 3 ปี ถ้าปีที่ 3 ยังคงเหลืออยู่ (จาก 3 ปีก่อนหน้า) จะได้เป็นเงินทดแทน ทำให้พนง.บางส่วนที่เห็นแก่ตัวใช้วันลาป่วย และเก็บวันพักร้อนไว้เพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน ทำให้บริษัทฯต้องจ่ายเงินส่วนนี้โดยไม่ควรต้องจ่าย อย่ามาอ้างว่า ลาพักร้อนไม่ได้ ในเมื่อสามารถวางแผนระยะยาวได้ และระเบียบบริษัทฯ ยืดหยุ่นให้ 3 ปีแล้ว ระเบียบที่"ให้เปรียบ" พนักงานเช่นนี้ เลิกได้แล้ว (ปัจจุบัน ผู้บริหารหลายฝ่ายไม่อนุมัติการจ่ายเงินส่วนนี้แล้ว แต่ควรเป็นคำสั่ง/ระเบียบบริษัทฯอย่างเป็นทางการ)
6. ควรปรับโครงสร้างเงินเดือนพนักงานให้เหมาะสม ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม และระเบียบรัฐวิสาหกิจเพื่อ ยกเลิกการหักภาษี ณ ที่จ่ายของพนักงานที่บรรจุเข้าทำงานก่อนปี พ.ศ. 2548 เพื่อบริษัทฯจะได้ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อีกต่อไป ปัจจุบัน พนักงานระดับ junior clerk, clerk ซึ่งใช้คุณวุฒิปริญญาตรี รับเงินเดือนขั้นต้น 8,4xx /9,2xx บาท customer service agent 1 เงินเดือนขั้นต้น 12,xxx บาท (ไม่รวมภาษี) จะเห็นว่า พนักงาน กบท. ไม่ได้มีเงินเดือนสูงมากมายเหมือนที่ใครๆเข้าใจผิดมาตลอด อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างเงินเดือน พร้อมกับการยกเลิกการหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถทำเป็นแผนระยะสั้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย/ต้นทุนในการดำเนินการขององค์กรได้ทันที
7. ควรทบทวนการประกาศวันหยุดบริษัทฯ ให้เหมาะสม และเอื้อต่อการทำธุรกิจ ไม่ใช่ใครหยุด บกท.ก็หยุด ใครหยุดชดเชย บกท.ก็หยุด เช่น วันพืชมงคล ธุรกิจใดๆก็ไม่หยุด บกท.หยุดเพื่อ? เพราะวันหยุดนักขัตฤกษ์เหล่านั้น หากบริษัทฯประกาศเป็นวันหยุด บริษัทฯต้องจ่าย OT ให้พนักงานที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายแรงงานวันละ 40 กว่าล้านบาท ถึงเวลาหรือยังที่ทุกคนในองค์กรควรเปลี่ยน mindset และมี commercial mind มากกว่านี้
8. ควรให้ผู้บริหารระดับ Director ขึ้นไปที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ / ควบคุมค่าใช้จ่าย / เสี่ยงต่อการเอื้อประโยชน์และรับประโยชน์จากคู่ค้า แสดงบัญชีทรัพย์สินก่อน / หลัง รับตำแหน่ง เพื่อป้องกันการทุจริตและแสดงความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่
9. ผู้บริหารระดับสูงที่ตัดสินใจผิดพลาดเรื่องไทยสมายล์ ควรแก้ไขสิ่งผิด โดยยกเลิกการให้ บกท. แบกต้นทุนไทยสมายล์เสียที ไทยสมายล์ควร spin off หรือ แยกตัวจาก บกท. อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้แล้ว วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งไทยสมายล์ในตอนแรกนั้นดี แต่การดำเนินการทุกอย่างยังต้องขอความช่วยเหลือจากการบินไทย ตั้งแต่การใช้ code /TG ร่วมกับการบินไทย พนักงานบกท. หลายส่วน เช่น Call center/ Check-in และทั้งกระบวนการให้บริการภาคพื้นต้องปฏิบัติงานให้ไทยสมายล์โดยกินเงินเดือนบกท. โดยที่ บกท. ไม่เคยมีรายได้จากไทยสมายล์เช่นเดียวกับการให้บริการสายการบินลูกค้าอื่นๆ ยังไม่นับรวมถึงการบินทับเส้นทางเดียวกับ บกท. เรื่องนี้นอกจากผิดพลาดมาตั้งแต่แรกแล้ว ยังซ้ำเติมด้วยการให้คนป่วยหนัก (TG) ลงไปช่วยคนหัดว่ายน้ำ สุดท้าย ตายทั้งคู่
10. บอร์ดควรอนุมัติให้ขายเครื่องบิน A340 ที่ บกท.ถูกอดีตนายกฯคนหนึ่งบังคับให้ซื้อเพื่อบินเส้นทาง BKK-LAX ทั้งที่ทุกฝ่ายทักท้วงแล้วว่า เครื่องบินแบบดังกล่าวไม่เหมาะสมต่อการซื้อเข้าประจำฝูงบินพาณิชย์ เพราะกินน้ำมันมาก และไม่เคยมีสายการบินใดมีกำไรจากการการใช้เครื่องบินแบบดังกล่าวเลย ทุกวันนี้ บกท.ยังแบกค่าใช้จ่ายอีกมากมายทั้งค่าบำรุงรักษาและค่าจอด โดยไม่ได้รับอนุมัติจากบอร์ดให้ขายเสียที ยิ่งเก็บไว้นานเท่าไร บกท. ก็ยิ่งเจ็บตัวจากการขาดทุนมากขึ้นเท่านั้น
ถ้าเราอยากจะเห็น การบินไทย บินอยู่บนฟ้า อีก 5-10-20-30 ปีข้างหน้า วันนี้ เราพร้อมเปลี่ยนตัวเองหรือยัง สิ่งเหล่านี้มิใช่ การเสียสละ หากแต่เป็น การปรับตัวเพื่อการอยู่รอดอย่างยั่งยืน ไม่มีสิ่งใดในโลก มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ หากสิ่งนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม ความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมได้
สรุป "DD เอ๋ย DD ที่ดี ต้องมีหน้าที่ผ่าตัด 10 อย่าง" ด้วยกัน !!!
ขอบคุณทุกท่านในสายการบินแห่งชาติ ที่ให้ข้อมูลเหล่านี้กับแอดมิน